ความหมายของคำว่าดุอาอ์
  จำนวนคนเข้าชม  18852

 

ความหมายของคำว่าดุอาอ์

 

อ.อิสหาก พงษ์มณี

 

หากผู้ใดศึกษาหลักการศาสนาโดยละเอียดแล้วจะพบว่า ดุอาอ์นั้น ต้องขอด้วยความนอบน้อมและแผ่วเบา ดังมีตัวบทดังนี้


َلاَو َ ين ِدَتْعُ بُّ المْ ِحُ ي َلا ُ نَّه ِ إ ًةَيْفُخَ ا و ً رُّع َضَ ت ْمُبَّكَ ر ْ وا ُعْ }اد اًفْوَخ ُ وه ُعْ اد َ ا و َهِح َلا ْصِإ َدْعَ ب ِضْرَ ي الأ ِ ف ْ وا ُدِسْفُت {ينَ ِنِسْحُالمْ َ مِّن ٌ يب ِرَ اللهِّ ق َتَمْحَ نَّ ر ِ ا إ ًعَمَطَو

 

         "จงวิงวอนขอต่อพระผู้อภิบาลของพวกเจ้าด้วยความนอบน้อม และแผ่วเบา แท้จริงพระองค์ไม่ทรงรักผู้ละเมิด ดังนั้นพวกเจ้า ทั้งหลายอย่าได้สร้างความเสียหายให้เกิดขึ้นในแผ่นดินหลังจากที่ บูรณะมันแล้ว และจงวิงวอนขอต่อพระองค์ทั้ง(เพราะ)กลัว(การ ลงโทษของพระองค์)และหวัง(ในพระเมตตาของพระองค์) แท้จริงพระเมตตาของพระองค์ใกล้ต่อผู้ประพฤติดีทั้งหลาย " 
 

(อัลอะอ์รอฟ / ๕๕-๕๖)

 

ท่านเชากานี่อธิบายไว้ในตัฟสีรของท่านดังนี้

 

     "คำว่า ตะฎอรรั๊วอ์ มาจากคำว่า ฎ่อรออะห์ หมายถึงการลดลงต่ำ การนอบน้อม การยอมจำนน และ
 

     คำว่า คุฟยะห์ หมายถึงให้ ขออย่างแผ่วเบา (ไม่ออกเสียงดังมากจนเกินไป) เพราะมัน เป็นการตัดสิ่งที่จะพาไปสู่การอวดอ้างหรือสิ่งที่จะทำลายความ อิคลาศ (ความบริสุทธิ์ใจ) 
 

        ต่อมาพระองค์ก็ได้อธิบายถึงเหตุผลว่า พระองค์ไม่ทรงรักผู้ละเมิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของดุอาอ์ หรือการละเมิดใดๆ ก็ตาม ผู้ใดที่ละเมิดคำสั่งของอัลลอฮ์ในเรื่องหนึ่งเรื่องใดก็ถือว่าเป็นผู้ละเมิดแล้ว และพระองค์ก็ไม่ทรงรักผู้ละเมิด การละเมิดดังกล่าวรวมไปถึงการละเมิดในเรื่องของดุอาอ์ด้วย และการละเมิดในเรื่องดุอาอ์ควรเข้าอยู่ในความหมายคำว่า ละเมิด ในอันดับต้นๆ ส่วนหนึ่งจากการละเมิดในเรื่องดุอาอ์ คือ ขอในสิ่งที่ไม่เหมาะต่อผู้ขอ เช่นขอให้มีชีวิตอยู่ถาวรในดุนยา หรือขอในสิ่งเป็นไปไม่ได้สำหรับตัวเขา (ผู้ขอ) หรือขอให้ยกระดับผู้ขอเทียบระดับกับบรรดานะบีทั้งหลายในวันอาคิเราะห์ หรือขอด้วยการเปล่งเสียงอันดัง เป็นต้น" 

 

(ตัฟสีร ฟัตฮุ้ลก่อดีร เล่ม ๒ หน้า ๒๑๓)

 

        ท่านอิหม่ามบุคอรีได้ให้ชื่อบทในศ่อเฮี๊ยะห์ของท่านบท หนึ่งว่า "บทว่าด้วยเรื่องไม่สมควรยกเสียงดังในการตักบีร" แล้วท่านก็นำเสนอฮะดีษบทหนึ่งดังนี้


- حدثنا محمد بن يوسف حدثنا 2830 سفيان عن عاصم عن أبي عثمان عن أبي موسى الأشعري رضي الله عنه قال كنا مع رسول الله صلى الله عليه وسلم فكنا إذا أشرفنا على واد هللنا وكبرنا ارتفعت أصواتنا فقال النبي صلى الله عليه وسلم يا أيها الناس اربعوا على أنفسكم فإنكم لا تدعون أصم ولا غائبا إنه معكم إنه سميع قريب تبارك اسمه وتعالى جده

 

         มีรายงานจากอะบูมูซา อัลอัชอะรี่ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่าเราเคยร่วม (เดินทาง) ไปกับท่านร่อซู้ล ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เมื่อเราอยู่เหนือหุบเขาหนึ่งหุบเขาใด เรากล่าวตะฮ์ลี้ลและตักบีรกัน เสียงของพวกเราค่อนข้างดัง ท่านร่อซู้ล ศ้อลลัลลอฮุอะลัย ฮิวะซัลลัม จึงกล่าวขึ้นว่า 
 

"โอ้ผู้คนทั้งหลายจงสงสารต่อตัวเองเถิด แท้จริงพวกท่านมิได้วิงวอนขอต่อผู้ที่หูหนวกหรืออยู่ลับหลัง

แท้จริงพระองค์ทรงอยู่กับพวกท่าน พระองค์ทรงได้ยิน และอยู่ใกล้ ผู้ทรงมีพระนามอันจำเริญและสูงส่งยิ่ง"
 

(ศ่อเฮี๊ยะห์อัลบุคอรี เล่ม ๓ หน้า ๑๐๙๑ ลำดับฮะดีษที่ ๒๘๓๐)

          สรุปแล้ว การซิกรุ้ลลอฮ์ก็ดี การขอดุอาอ์ก็ดี ล้วนมีแบบ อย่างให้กล่าวค่อยๆ ไม่ให้ออกเสียงดังเกินควร แต่มีปัญหาว่าฮะดีษของอิบนุอับบาสซึ่งมีบันทึกไว้ในศ่อเฮี๊ยะห์มุสลิมว่า การออกเสียงดังในการซิกรุ้ลลอฮ์หลังละหมาด มีในยุคร่อซู้ล ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งผู้เขียนได้อ้างไว้ในเอกสารดังกล่าว ดูแล้วประหนึ่งว่ารายงานที่ได้อ้างและรายงานที่ผู้เขียนอ้างนั้น มันค้านกันอยู่ ตามหลักวิชาการแล้วเรามีทาง เลือกดังนี้

๑. ประสานรายงานทั้งสอง ที่ดูเหมือนว่าค้านกัน 

๒. และหากประสานไม่ได้ ก็ให้ดูประวัติก่อนหลัง เหตุการณ์ใดเกิดทีหลัง ให้ถือว่ายกเลิกเหตุการณ์ก่อนหน้านั้น

๓. และหากไม่ทราบประวัติก่อนหลัง ก็ให้เลือกที่ชัดเจน และแข็งแรงกว่า

        หลักทั้งสามประการนี้และอีกหลายๆ หลักที่มิได้กล่าวถึงในที่นี้ เป็นที่ยอมรับและทราบดีในหมู่นักวิชาการศาสนาตั้งแต่ อดีตจวบจนปัจจุบัน จึงคงไม่ต้องอ้างอิงใดๆ 

       ในกรณีของเรานี้ เราสามารถประสานรายงานที่ดูเหมือนว่าค้านกันได้ จึงไม่จำเป็นต้องใช้หลักในข้อสองหรือข้อสาม นั่น ก็คือ การซิกรุ้ลลอฮ์หรือการขอดุอาอ์ ต้องกระทำด้วยความนอบน้อม และด้วยเสียงอันแผ่วเบา และหากจะออกเสียงดังพอประมาณในบางครั้งบางกรณีก็ได้ แต่ไม่ใช่กระทำอย่างเป็นกิจวัตร 

        หากเราไม่ยอมประสานตัวบททั้งสองที่ดูค้านกันตามที่ว่านี้ เราก็ต้องตัดอันใดอันหนึ่ง หากจะให้ตัดแล้วก็คงต้องตัดรายงานจากอิบนุอับบาส เพราะเป็นรายงานที่เป็นคำพูดของท่าน และเป็นการอ้างของท่านเท่านั้น แต่รายงานที่เรานำเสนอนี้เป็นคำพูดของท่านนะบี  โดยตรงๆ และยังมีอัลกุรอ่านสนับสนุนอีกด้วย แต่เราก็มิได้ทำเช่นนั้น เพราะเราสามารถประสานรายงานทั้งสองได้ดังที่กล่าวแล้ว 

         อนึ่ง การขอดุอาอ์ก็ดีหรือการซิกรุ้ลลอฮ์ก็ดี หากว่ามีตัวบทหลักฐานชัดเจนว่าให้ออกเสียงดังได้ เราก็ออกเสียงดัง เช่น การออกเสียงดังในดุอาอ์กุนูต การตัลบียะห์ในพิธีหัจญ์ และการกล่าวตักบีรในวันอีดทั้งสอง (อีดุ้ลฟิฏริและอีดุลอัฎฮา) ส่วนที่ไม่ปรากฏหลักฐานให้ออกเสียงดัง เราก็ทำในลักษณะออกเสียงค่อยๆ โดยถือหลักเดิมตามที่อัลกุรอ่านได้ระบุไว้ว่า จงขออย่างนอบน้อมและแผ่วเบา 

         ดังนั้น คำพูดที่ว่ามีหลักฐานให้ออกเสียงดังทั้งการซิกรุ้ลลอฮ์และขอดุอาอ์ นั้น เป็นการพูดกว้างเกินไป และ อาจเป็นเหตุให้ผู้ไม่รู้ทั้งหลายยึดเอาไปใช้อย่างผิดๆ 

       ส่วนการดุอาอ์หลังละหมาดนั้น มีตัวบทถูกต้องชัดเจนซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทุกฝ่ายจึงคงไม่ต้องกล่าวถึงในรายละเอียด แต่ที่น่าเสียดายคือผู้เขียนไม่ได้บอกถึงดุอาอ์ในละหมาดทั้งในขณะสุญูดและก่อนให้สะลาม ซึ่งมีตัวบทส่งเสริมให้กระทำยิ่ง เช่น


- جدثنا سعيد بن منصور وأبو بكر 479 بن أبي شيبة وزهير بن حرب قالوا حدثنا سفيان بن عيينة أخبرني سليمان بن سحيم عن إبراهيم بن عبد الله بن معبد عن أبيه عن بن عباس قال... رسول الله صلى الله عليه وسلم ... وأما السجود فاجتهدوا في الدعاء فقمن أن يستجاب لكم 

           มีรายงานจากอิบนุอับบาสว่า ท่านร่อซู้ล ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "...ส่วนในสุญูดนั้น พวกท่านจงขยันขอดุอาอ์ เพราะ(เป็นที่ๆ) คู่ควร(แก่การที่ดุอาอ์) ของพวกท่านจะถูกตอบรับ" 

(มุสลิม / ๔๗๙)

 ส่วนดุอาอ์หลังตะชะฮุดครั้งสุดท้าย มีหลักฐานดังนี้


- حدثنا مسدد قال حدثنا يحيى عن 800 الأعمش حدثني شقيق عن عبد الله ... ثم يتخير  من الدعاء أعجبه إليه

มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮ์ (อิบนุอับบาส) ว่า ท่านร่อซู้ล ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า 

"หลังจากนั้น (อ่านศ่อละวาตในตะชะฮุดครั้งสุดท้าย) เขาจงขอดุอาอ์ตามที่ชอบ" 

(อัลบุคอรี / ๘๐๐ มุสลิม /๔๐๒)

         ไม่ทราบว่าเหตุใดไม่กล่าวถึงดุอาอ์ในละหมาดด้วย เพราะมีตัวบทหลักฐานที่ชัดเจนเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสุญูด และก่อนให้สะลาม และเป็นดุอาอ์ที่นะบี ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม บอกว่าสามารถเลือกขอได้ตามประสงค์