ประเด็นที่ 4 การพิพากษาตัดสินไม่เป็นไปตามบทบัญญัติศาสนา
  จำนวนคนเข้าชม  5457

ประเด็นที่สี่ :
การพิพากษาตัดสินที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติศาสนา 

         

         
 

อัลกุรอานได้แจกแจงให้ทราบว่า การกระทำที่ขัดต่อหลักการอัลอิสลามเป็นการปฏิเสธอย่างชัดเจน และเป็นการตั้งภาคี (ชิริก) ต่ออัลลอฮ์   และครั้งเมื่อชัยฏอนได้ยุยงผู้ปฏิเสธศรัทธาในมักกะฮ์ให้ถามท่านนะบีมุฮัมมัด   ถึงแพะที่เพิ่งตาย โดยถามว่า ใครเป็นคนฆ่ามัน ? ซึ่งท่าน นะบีมุฮัมมัด   ตอบว่า “อัลลอฮ์   เป็นผู้ฆ่าแพะนั้น” (บันทึกโดย อัตติรมิซีย์ และอันนะซาอีย์ จากรายงานของอิบนุ อับบ๊าส)  ดังนั้น มันจึงยุยงพวกเขาเหล่านั้นให้กล่าวกับท่านนะบีมุฮัมมัด   ว่า “สิ่งที่พวกท่านเชือดมันด้วยกับมือของพวกท่านถือว่าเป็นที่อนุมัติ (ฮะล้าล) และสิ่งที่อัลลอฮ์   ทรงเชือดด้วยกับพระหัตถ์อันทรงเกียรติของพระองค์ถือว่าเป็นที่ต้องห้าม (ฮะรอม)! ถ้าเป็นเช่นนั้นแล้ว พวกท่านทั้งหลายก็ดีกว่าอัลลอฮ์   นะซิ ! ”
                               
อัลลอฮ์    จึงประทานอายะฮ์ต่อไปนี้ลงมา คือ


“…และแท้จริง บรรดาชัยฏอนนั้นจะกระซิบกระซาบ แก่บรรดาสหายของพวกมัน เพื่อที่พวกเขาจะได้โต้เถียงกับพวกเจ้า และหากว่าพวกเจ้า     เชื่อฟังพวกเขาแล้ว  แน่นอนพวกเจ้าก็เป็นผู้ให้มีภาคีขึ้น” (อัลอันอาม:  121)


          และการที่ไม่มีอักษร “ฟาอ์” อยู่ในประโยคที่ว่า إنكم  لمشركون    นั้นเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนของอักษร“ลาม”ว่า หมายถึง "การสาบาน" นั่นคือ เป็นการสาบานจาก อัลลอฮ์    ที่ทรงสาบาน ในอายะฮ์อันทรงเกียรตินี้ว่า

          ผู้ใดที่เชื่อฟัง ชัยฏอน ในการกำหนดและอนุญาตให้กินซากสัตว์ที่ตายเองได้เท่ากับว่าเขาผู้นั้นเป็น “ผู้ตั้งภาคี”(มุชริก) และเป็น “ชิริกอักบัร”(บาปใหญ่) ออกนอกแนวทางของศาสนาอิสลามทำให้พ้นสภาพจากการเป็นมุสลิม โดยมีมติเป็นเอกฉันท์ของบรรดาอุลามะ(นักปราชญ์) และในวันกิยามะฮ์ผู้ที่กระทำการดังกล่าวนั้นจะถูกพระองค์ตำหนิและถูกลงโทษอย่างเจ็บปวด ทรมาน ตลอดกาล

ดังดำรัสของพระองค์ที่ว่า


“ข้ามิได้บัญชากับพวกเจ้าดอกหรือ โอ้ลูกหลานของอาดัมเอ๋ย! ว่าพวกเจ้าอย่าได้เคารพบูชาต่อชัยฏอนมารร้าย แท้จริง มันนั้นเป็นศัตรูตัวฉกาจของพวกเจ้า  และพวกเจ้าจงเคารพภักดีต่อข้า  นี่คือแนวทางอันเที่ยงตรง” (ยาซีน : 60-61)


และอัลลอฮ์   ยังได้นำคำพูดของนะบีอิบรอฮีม อะลัยฮิสลาม สหายคนสนิทของพระองค์ ที่ว่า


“โอ้ พ่อจ๋า! อย่าเคารพบูชาชัยฏอนเป็นอันขาด แท้จริงชัยฏอนนั้น มันดื้อรั้น ต่อพระผู้ทรงกรุณาปรานี”    (มัรยัม  :  44) 


คือ อย่าได้ปฏิบัติตามชัยฏอนในสิ่งที่เป็นการปฎิเสธศรัทธา และเป็นการละเมิดฝ่าฝืนต่ออัลลอฮ์   

พระองค์ตรัสว่า


“พวกเขาจะไม่วิงวอนขออื่นจากพระองค์ นอกจากเจว็ดหญิง  และพวกเขาจะไม่วิงวอน นอกจากต่อชัยฏอนที่ดื้อดันเท่านั้น”    (อันนิซาอ์  : 117)


คือพวกเขาจะไม่เคารพบูชาใครนอกจากชัยฏอนเท่านั้น และนั่นคือการที่พวกเขาปฏิบัติตามบทบัญญัติของชัยฏอนนั่นเอง

 อัลลอฮ์   ทรงตรัสว่า


“และในทำนองนั้นแหละ บรรดาภาคีของพวกเขา ได้ทำให้สวยงามแก่จำนวนมากมายในหมู่มุชริกีน ซึ่งการฆ่าลูกๆ ของพวกเขา...”   (อัลอันอาม:137) 


ดังนั้น จึงเรียกพวกเขาว่าบรรดาผู้ตั้งภาคี ที่ร่วมผสมโรงไปกับการเชื่อฟังตามชัยฏอน  โดยการฝ่าฝืนอัลลอฮ์   ด้วยการฆ่าลูก ๆ ของพวกเขาเอง และเมื่อ อะดีย์ บิน ฮาติม รอฏิยัลลอฮุอันฮุ ได้ถาม ท่านนะบีมุฮัมมัด   ถึงอายะฮ์ ที่ว่า


“พวกเขา (ชาวคริสต์) ได้ยึดเอาบรรดานักปราชญ์ และบรรดาบาทหลวงของพวกเขาเป็นพระเจ้า อื่นจากอัลลอฮ์ และยึดเอา อัล มะซีห์ บุตรของมัรยัม เป้นพระเจ้าด้วย …” (อัตเตาว์บะฮ์ : 31)


ท่านนะบีมุฮัมมัด   ได้ตอบว่าความหมายของคำว่า "ยึดเอาบรรดาบาทหลวงของพวกเขาเป็นพระเจ้า" คือการปฏิบัติตามพวกเขาในการที่พวกเขาห้าม (ฮะรอม) ในสิ่งที่อัลลอฮ์   ทรงอนุมัติ (ฮะล้าล) และการที่พวกเขาอนุมัติ (ฮะล้าล) ในสิ่งที่อัลลอฮ์   ทรงห้าม (ฮะรอม) นั่นเอง" (บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ ฮะดีษเลขที่ 3095 และอัลบัยฮะกีย์ ฮะดีษเลขที่10/116)   


อัลลอฮ์   ทรงตรัสว่า

    
"เจ้ามิได้มองดูบรรดาผู้ที่อ้างตนว่า พวกเขานั้นศรัทธาต่อสิ่งที่ ถูกประทานลงมาแก่เจ้า และสิ่งที่ถูกประทานมาก่อนเจ้าดอกหรือ โดยที่เขาเหล่านั้นต้องการที่จะใช้ "อัฏฏอฆูต" ในการตัดสิน ทั้งๆ ที่พวกเขาถูกใช้ให้ปฏิเสธมัน  และชัยฏอนนั้น ต้องการที่จะให้พวกเขาหลงทางที่ห่างไกล"   (อันนิซาอฺ  : 60)


อัฏฏอฆูต คือ เจว็ด หรือสิ่งที่ถูกเคารพบูชานอกเหนือไปจากอัลลอฮ์  

อัลลอฮ์   ทรงตรัสว่า


"…และผู้ใดที่มิได้ตัดสินด้วยกับสิ่งที่อัลลอฮ์ได้ทรงประทานลงมาแล้ว ชนเหล่านี้แหละ คือผู้ปฏิเสธการศรัทธา"  (อัลมาอิดะฮ์ : 44)


อัลลอฮ์   ทรงตรัสว่า


"อื่นจากอัลลอฮ์กระนั้นหรือ ที่ฉันจะแสวงหาผู้ชี้ขาด ทั้งๆ ที่พระองค์เป็นผู้ทรงประทานคัมภีร์ลงมาแก่พวกท่านในสภาพที่ถูกแจกแจงไว้อย่างละเอียด และบรรดาผู้ที่เรา (อัลลอฮ์) ได้ให้คัมภีร์แก่พวกเขานั้น พวกเขารู้ดีว่าแท้จริงอัลกุรอานนั้น ถูกประทานมาจากพระเจ้าของเจ้า ด้วยความเป็นจริง และเจ้าอย่าได้อยู่ในหมู่ผู้สงสัยเป็นอันขาด"    (อัลอันอาม : 114)


อัลลอฮ์    ทรงตรัสว่า
 

"และถ้อยคำแห่งพระเจ้าของเจ้านั้นครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ซึ่งความสัจจะ และความยุติธรรม ไม่มีผู้ใดเปลี่ยนแปลงบรรดาถ้อยคำของพระองค์ได้ และพระองค์คือผู้ทรงได้ยิน  ผู้ทรงรอบรู้"   (อัลอันอาม : 115)


ดังนั้น พระดำรัสของพระองค์ที่ว่า (صدقا) นั้น หมายถึง ข่าวคราวที่  สัจจริงและ ( وعدلا )หมายถึง บทบัญญัติที่มีความเที่ยงธรรม

อัลลอฮ์   ทรงตรัสว่า


"ข้อตัดสินสมัยญาฮิลียะฮ์ กระนั้นหรือ ที่พวกเขาปราถนา  และใครเล่าที่จะมีข้อตัดสินชี้ขาดที่ดียิ่งไปกว่าอัลลอฮ์  สำหรับกลุ่มชนที่ศรัทธาเชื่อมั่น" (อัลมาอิดะฮ์ : 50)


"ญาฮิลียะฮ์" คือ ยุคสมัยก่อนศาสนาอิสลาม  เป็นยุคที่โง่เขลา มีแต่การกดขี่และข่มเหง ไม่มีความยุติธรรม

ประเด็นที่ 5 >>>>click