เงื่อนไขของการทำอิบาดะห์
  จำนวนคนเข้าชม  8783

 

เงื่อนไขของการทำอิบาดะห์

 

แปลและเรียบเรียงโดย...  อบูชีส

 

อะไรคือเงื่อนไขของการทำอิบาดะห์ที่ถูกต้องในอิสลาม ?

 

ท่านเช็คอุสัยมีน ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวไว้ว่า

 

ประการแรก : อิบาดะห์นั้นจะต้องสอดคล้องกับหลักบทบัญญัติในด้านของ"สาเหตุ" 

 

        กล่าวคือ มนุษย์คนใดที่ทำการเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์  ทำอิบาดะห์ด้วยกับอิบาดะห์ใดๆ ก็ตามที่มีโครงสร้างบนสาเหตุที่ไม่ได้รับการยืนยันด้วยกับหลักการของบทบัญญัติ ดังนั้นอิบาดะห์นั้นก็ไม่ถูกตอบรับ ไม่ใช่อิบาดะห์ที่อัลลอฮ์และร่อซูล  สั่งใช้

 

       ตัวอย่างดังกล่าวเช่น การจัดงานเมาลิด(งานวันเกิด)ให้แก่ท่านนบี  เช่นเดียวกับการจัดงานฉลองคืนที่ 27 เดือนร่อญับ ที่อ้างกันว่าท่านนบี  เดินทางสู่ฟากฟ้า(เมียะอ์ร็อจ) ในคืนนั้น ดังนั้นสิ่งที่ไม่ใช่สิ่งที่สอดคล้องกับบทบัญญัติ จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกตอบรับ

 

     1. เพราะว่าไม่ถูกยืนยันทางด้านประวัติศาสตร์ว่า เมียะอ์ร็อจของร่อซูล  (เดินทางขึ้นสู่ฟากฟ้า)เกิดขึ้นในค่ำคืนที่27 และหนังสือฮะดิษจำนวนมากมายที่อยู่เบื้องหน้าเรานี้ไม่ถูกบันทึกแม้แต่อักษรเดียว ที่บ่งชี้ว่าท่านนบี  ถูกนำขึ้นสู่ฟากฟ้าในคืนที่ 27 เดือนร่อญับ จึงเป็นที่รู้กันว่าแท้จริงแล้วมันคือเรื่องเล่าที่ไม่ถูกยืนยันด้วยกับสายรายงานที่ถูกต้อง

 

     2.  ถึงแม้จะยืนยันว่าถูกต้อง แล้วเป็นสิทธิของเราหรือที่จะอุตริให้มีอิบาดะห์ในวันดังกล่าว ? หรือกำหนดให้เป็นวันรื่นเริง ? เป็นไปไม่ได้เลย ด้วยเหตุนี้ครั้นเมื่อท่านนบี ได้มายังเมืองมะดีนะห์ ท่านได้เห็นชาวอันศอรมีวันรื่นเริงสองวัน ที่พวกเขามีการละเล่นในวันทั้งสอง ท่านจึงกล่าวว่า :

 

" แท้จริงอัลลอฮ์ทรงให้แก่พวกท่านด้วยกับสิ่งที่ดีกว่าวันทั้งสอง "

        ท่านได้กล่าวแก่พวกเขาถึง อีดฟิตรี่ และอีดอัฏฮา และนี่คือสิ่งที่บ่งบอกถึงการรังเกียจของท่านนบี  ต่อวันรื่นเริงใดๆ ที่อุตริขึ้นมาใหม่ในอิสลาม อื่นจากวันรื่นเริงของอัลอิสลามทั้งสาม อีดประจำปีทั้งสอง คือ อีดฟิตรี่ และอีดอัฏฮา และอีดประจำสัปดาห์คือ วันศุกร์ หากได้รับการยืนยันว่า แท้จริงท่านร่อซูล ถูกยกขึ้นสู่ฟากฟ้าในคืนที่ 27 เดือนร่อญับ(ซึ่งยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าคือวันไหน) ก็ไม่สมควรที่จะอุตริสิ่งใดในวันดังกล่าว โดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากผู้วางบทบัญญัติ(อัลลอฮ์ )

        เหมือนกับที่ฉันได้กล่าวกับพวกท่านว่า บิดอะห์นั้น เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ และจะเป็นผลร้ายที่เกิดขึ้นกับหัวใจ จนกระทั่งว่าหากมนุษย์อยู่ในขณะดังกล่าว เขาพบว่าหัวใจของเขานั้นนิ่มนวลและอ่อนโยน แต่ในความจริงแล้วมันกลับตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง เพราะแท้จริงความปลื้มปิติของหัวใจด้วยกับความมดเท็จนั้นมันไม่จีรัง ทว่าท้ายที่สุดแล้วก็จะพบกับความเจ็บปวดและความขาดทุน และทุกๆการอุตรินั้นมีความอันตราย เพราะมันได้รวมการใส่ร้ายต่อสาร์น เพราะแท้จริงการอุตรินั้นได้บ่งชี้ว่า ท่านนบี  นั้น ไม่ได้ทำให้บทบัญญัตินั้นสมบูรณ์ ทั้งๆที่ อัลลอฮ์ ทรงตรัสว่า


( اليوم أكملت لكم دينكم وأتممت عليكم نعمتي ورضيت لكم الإسلام دينا )

"วันนี้ข้าได้ทำให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้าและข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า" 

(มาอิดะห์ 3)

        ด้วยเหตุนี้ ฉันจึงกล่าวว่า แท้จริงแล้ว การจัดงานเฉลิมฉลอง คืนที่ 72 ว่าเป็นคืนที่ท่านร่อซูล  ถูกนำขึ้นสู่ฟากฟ้า นั้นเป็นบิดอะห์ เพราะมันถูกสร้างขึ้นมาบนสาเหตุที่บทบัญญัติไม่ได้นำมาด้วยกับมัน



ประการที่สอง อิบาดะห์นั้นจะต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติในด้านของ “ชนิด”

           เช่น การที่คนๆหนึ่งเชือดกุรบานด้วยกับม้า หากมีคนหนึ่งเชือดกุรบานด้วยกับม้า ปรากฏว่าสิ่งดังกล่าวนั้น ขัดแย้งกับบทบัญญัติในด้านชนิดของมัน (เพราะการทำกุรบานนั้นจะต้องมาจากปศุสัตว์ ก็คือ อูฐ วัว แพะ แกะ)



ประการที่สาม การที่อิบาดะห์นั้นจะต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติในด้าน “จำนวน”

       หากคนหนึ่ง ยืนขึ้นละหมาด ซุฮ์ริ หกร็อกอะห์ อิบาดะห์นี้สอดคล้องกับบทบัญญัติหรือไม่ ? หามิได้ แท้จริงแล้วมันไม่ได้สอดคล้องกับบทบัญญัติในด้านจำนวน

         หากคนๆหนึ่งกล่าว ซุบฮานัลลอฮ์ อัลฮัมดุลิลละห์ อัลลอฮุอักบัร 35 ครั้ง หลังละหมาดฟัรฏู ดังกล่าวถูกต้องหรือไม่ ? คำตอบคือ แท้จริง เราจะกล่าวว่า หากท่านตั้งเป้าว่าเป็นการอิบาดะห์ต่ออัลลอฮ์ในจำนวนดังกล่าวนั้น ถือว่า ผิด  หากท่านมีเป้าหมายว่าสิ่งที่เพิ่มขึ้นไม่ได้มาจากสิ่งที่ร่อซูล ได้วางบทบัญญัติเอาไว้และท่านเชื่อมั่นว่า แท้จริงแล้ว สิ่งที่ถูกวางบทบัญญัติคือ 33 ครั้ง ส่วนการเพิ่มเช่นนี้ถือว่าไม่เป็นไร เพราะแท้จริงท่านนั้นได้แยกมันออกจากรูปแบบอิบาดะห์(ที่มีรูปแบบ)ด้วยกับสิ่งดังกล่าว



ประการที่สี่ การที่อิบาดะห์นั้นจะต้องสอดคล้องกับบทบัญญัติในด้าน “วิธีการ”

         หากคนๆหนึ่งได้ทำอิบาดะห์ ด้วยกับชนิด และจำนวน และสาเหตุ แต่ทว่า หากเขาได้ทำสิ่งที่ขัดแย้งต่อบทบัญญัติในด้านวิธีการ ดังกล่าวจึงถือว่าใช้ไม่ได้ ตัวอย่างเช่น ชายคนหนึ่ง มีฮะดัษเล็ก และเขาก็ทำน้ำละหมาด แต่เขาล้างเท้าทั้งสองของเขา หลังจากนั้นก็เช็ดศีรษะของเขา หลังจากนั้นก็ล้างมือทั้งสองของเขา หลังจากนั้นก็ล้างหน้าของเขา การอาบน้ำละหมาดของเขาถูกต้องหรือไม่ ? ไม่ได้เลย เพราะเขานั้นได้ทำการขัดแย้งกับบทบัญญัติในด้านวิธีการ



ประการที่ห้า การที่อิบาดะห์นั้นสอดคล้องกับบทบัญญัติในด้าน “เวลา”

        เช่น การที่คนหนึ่งถือศีลอดรอมฏอน ในเดือนชะอ์บาน หรือในเดือนเชาวาล หรือ การที่เขาละหมาดซุฮ์ริ ก่อนตะวันคล้อย หรือหลังจากที่เงาของทุกสิ่งเท่ากัน เพราะแท้จริงหากเขาละหมาดก่อนตะวันคล้อย เขาได้ละหมาดก่อนเวลา และหากเขาละหมาดหลังจากที่เงาของทุกสิ่งเท่ากัน เขาได้ละหมาดหลังจากเวลาของมัน การละหมาดของเขาก็ใช้ไม่ได้

          ด้วยเหตุนี้เรากล่าวว่า เมื่อคนหนึ่งเขาละทิ้งละหมาดอย่างตั้งใจจนกระทั่งหมดเวลา โดยไม่มีอุปสรรค ดังนั้นแท้จริงแล้วการละหมาดของเขาจะไม่ถูกตอบรับ ถึงแม้ว่าเขาจะละหมาดถึงพันครั้ง และจุดนี้เราได้ยึดกฎสำคัญในเรื่องนี้ว่า “อิบาดะห์ทุกอย่างมีเวลาจำกัด เมื่อมนุษย์ให้เวลานั้นหมดไปโดยไม่มีอุปสรรค อิบาดะห์นั้นก็ไม่ถูกตอบรับ”

        หลักฐานดังกล่าว จากฮะดิษของท่านหญิง อาอิชะห์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮา ว่า แท้จริง ท่านนบี กล่าวว่า :

" ใครก็ตามที่ปฏิบัติการงานใด ที่ไม่มีรูปแบบมาจากการงานของเรา การงานนั้นก็ไม่ถูกตอบรับ "



ประการที่หก การที่อิบาดะห์นั้นสอดคล้องกับบทบัญญัติในด้าน “สถานที่”

        หากคนหนึ่งเขาทำการวุกูฟ(หยุดพัก)ในวันอะรอฟะห์ ณ ที่มุซดะลิฟะห์ การวุกูฟของเขาก็ใช้ไม่ได้ เนื่องจากไม่สอดคล้องกับบทบัญญัติในด้าน สถานที่ เช่นเดียวกับตัวอย่างนี้ หากคนหนึ่ง เอียะห์ติกาฟ ในบ้านของเขา ดังกล่าวก็ถือว่าไม่ถูกต้อง เพราะสถานที่เอียะห์ติกาฟคือ มัสยิด ด้วยกับเหตุนี้ การเอียะห์ติกาฟของผู้หญิงในบ้านของนางนั้นจึงไม่ถูกต้อง เพราะไม่ใช่สถานที่เอียะห์ติกาฟ และท่านนบี เมื่อท่านเห็นภรรยาบางคนของท่านกางเต็นท์ของพวกนางในมัสยิด ท่านก็สั่งให้ถอนเต็นท์ และยกเลิกการเอียะห์ติกาฟ และท่านก็ไม่ให้พวกนางไปเอียะห์ติกาฟในบ้านของพวกนาง สิ่งนี้บ่งชี้ให้รู้ว่า ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงเอียะห์ติกาฟในบ้านของนาง เพราะเป็นการขัดกับบทบัญญัติทางด้าน สถานที่

 

และนี่คือ ทั้งหกคุณลักษณะ ที่การปฏิบัติตามจะถูกต้องไม่ได้ เว้นแต่ต้องมีทั้งหกประการนี้จะรวมอยู่ในอิบาดะห์