เทศกาลของผู้ปฏิเสธศรัทธา
  จำนวนคนเข้าชม  4681

 

เทศกาลของผู้ปฏิเสธศรัทธา

 

มุหัมมัด ศอลิหฺ อัลมุนัจญิด

 

         ในจำนวนเรื่องอันตรายที่เราได้รับคำสั่งให้ทำตัวแตกต่างจากพวกเขาก็คือ ประเด็นเกี่ยวกับงานรื่นเริงและเทศกาลต่างๆ หรือที่เรียกว่า “อีด” ซึ่งหมายถึงกิจกรรมที่มีขึ้นซ้ำๆ โดยอาจจะจัดเป็นประจำทุกปี ทุกเดือน ทุกสัปดาห์ หรือ บ่อยกว่านั้น โดยสำหรับมุสลิมแล้วมีวันรื่นเริงเพียงสามวันเท่านั้นคือ “วันอีดุลฟิฏรฺ” และ “วันอีดุลอัฎฮา” ซึ่งทั้งสองวันนี้ เป็นเทศกาลประจำปี และอีกวันหนึ่งคือ “วันศุกร์” อันถือเป็นเทศกาลประจำสัปดาห์ ซึ่งสำหรับเราแล้วไม่มีเทศกาลงานรื่นเริงใดๆ นอกจากสามเทศกาลน้ี

 

         เทศกาลรื่นเริงนั้นมีความเกี่ยวเนื่องกับหลักยึดมั่น ศรัทธาอย่างไม่ต้องสงสัย มิได้เป็นเพียงงานรื่นเริงตามประเพณี แต่อย่างใด ทั้งนี้ ผู้ที่ขาดความเข้าใจในเรื่องศาสนามักจะคิดว่า เรื่องเทศกาลต่างๆ เป็นเพียงงานสนุกสนานตามประเพณี เท่านั้น มุสลิมจึงสามารถเข้าร่วมได้

 

        ซึ่งในความเป็นจริงแล้วเทศกาลรื่นเริงต่างๆ นั้นมีความเก่ียวข้องกับศาสนาอย่างชัดเจน ยกตัวอย่างเช่น วันอีดุลฟิฏรฺ ซึ่งเป็นวันรื่นเริงที่มีขึ้นหลังจากเสร็จส้ินการถือศีลอดในเดือน เราะมะฎอน มีการจ่ายซะกาตฟิฏรฺ และอิ่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนา นอกจากนี้ยังมีการละหมาดอีดซึ่งถือเป็นข้อปฏิบัติสำคัญ สำหรับวันดังกล่าว

 

         วันอีดุลอัฎฮาก็เช่นกัน นอกจากการละหมาดอีดแล้ว ก็ยังมีการเชือดสัตว์อุฎหิยะฮฺเพื่อแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮฺ  และยังถือเป็นวันที่มีความสาคัญท่ีสุดในรอบปีอีกด้วย ท้ังนี้ถัดจากวันอีดุลอัฎฮาไป ก็คือวันตัชรีก ซึ่งเป็นวันที่พวกเราจะมีการพบปะสังสรรค์ รับประทานอาหาร เลี้ยงฉลองกันในหมู่เครือญาติ ซึ่งพวกท่านคงได้เห็นแล้วว่าศาสนานั้นได้บัญญัติ ให้เราปฏิบัติตัวอย่างไรในสองเทศกาลนี้ และยังสั่งห้ามมิให้ถือศีลอดในช่วงเวลาดังกล่าวอีกด้วย

 

         ทั้งหมดนี้ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าเทศกาลงานรื่นเริงต่างๆ ล้วนมีความเกี่ยวโยงกับศาสนาท้ังส้ิน โดยสำหรับชาวยิว หรือชาวคริสต์ก็เช่นเดียวกัน เทศกาลงานรื่นเริงของพวกเขาเก่ียวโยงกับความเช่ือและหลักศาสนาของพวกเขาเช่นกัน มิได้เป็นเพียงประเพณีวัฒนธรรมอย่างที่เข้าใจกัน

 

         ส่วนหน่ึงจากหลักฐานท่ีบ่งชี้ว่าจำเป็นต้องหลีกห่าง และไม่เข้าร่วมงานเทศกาลของผู้ปฏิเสธอย่างเด็ดขาด ก็คือคำดำรัสของอัลลอฮ์   ที่ความว่า
 

"และบรรดาผู้ไม่เป็นพยานในการเท็จ และเมื่อพวกเขาผ่านเรื่องไร้สาระพวกเขาผ่านไปอย่างมีเกียรติ”

(อัลฟุรกอน:72)

ข้อนี้ถือเป็นคุณลักษณะสำคัญของผู้ศรัทธา


       มุหัมมัด บิน ซีรีน กล่าวว่า “มันคือวันอาทิตย์ใบลาน” หมายถึงวันสำคัญวันหน่ึงในศาสนาคริสต์ โดยพวกเขาจะเฉลิมฉลองในวันอาทิตย์ก่อนวันอีสเตอร์ด้วยการแห่ใบลาน โดยอ้างว่าเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งท่ีพวกเขาได้เข้าไปยังบัยตุลมักดิส (กรุงเยรูซาเล็ม) จึงเห็นได้ว่าเทศกาลของพวกเขาน้ัน เก่ียวข้องกับเรื่องศาสนา มิได้เป็นเพียงแค่ประเพณีถือปฏิบัติ

มุญาฮิด กล่าวว่า “อัซซูรฺ (ال ُُّزور) ก็คือ เทศกาลต่างๆ ของพวกมุชริกีนนั่นเอง”

อัรเราะบีอฺ บินอะนัส ก็ได้กล่าวเช่นเดียวกัน

ส่วนอิกริมะฮฺ กล่าวว่า “เป็นการละเล่นที่พวกเขาเคย ปฏิบัติกันมาในยุคญาฮิลียะฮฺ ซึ่งมีกำหนดเวลาที่แน่นอน”

อัฏเฎาะหาก กล่าวว่า “มันคือเทศกาลของพวกมชุรกิีน”

บางท่านกล่าวว่า “บรรดาผู้ไม่เป็นพยานในการเท็จ” ในอายะฮฺน้ีหมายถึง ผู้ที่ไม่โอนอ่อนไปกับพวกตั้งภาคี หรือไปปะปนเข้าร่วมกับพวกเขา

         ดังนั้น อายะฮฺข้างต้นน้ีจึงเป็นตัวบทท่ีชัดเจนถึงการสั่ง ห้ามมิให้มีส่วนร่วมในงานเทศกาลเฉลิมฉลองของผู้ปฏิเสธศรัทธา โดยในอายะฮฺดังกล่าวพระองค์ตรัสถึงการเป็นพยาน ฉะนั้นการมีส่วนร่วมในเทศกาลรื่นเริงของพวกเขาด้วยตัวเองย่อมเลวร้ายย่ิงกว่า ดังจะเห็นว่าพระองค์ทรงเรียกเทศกาล เหล่านั้นว่า อัซซูร(ความเท็จ) จึงถือเป็นสิ่งที่หะรอมอย่างชัดเจน

ท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ได้เล่าว่า  เมื่อท่านนบี อพยพไปยังมะดีนะฮฺ ท่านพบว่าพวกเขามีวันรื่นเริงอยู่สองวัน 

ท่านจึงถามพวกเขาว่า “สองวันนี้คือ วันอะไรหรือ?” 

พวกเขาตอบว่า “ในสมัยญาฮิลิยะฮฺ พวกเราเคยละเล่นรื่นเริงกันในสองวันน้ี” 

        ท่านนบี จึงกล่าวแก่พวกเขาว่า “แท้จริงแล้ว อัลลอฮฺ ได้ทรงทดแทนสองวันน้ีด้วยวันที่ดีกว่าสำหรับพวกท่าน นั่นก็คือ วันอีดุลอัฎฮาและวันอีดุลฟิฏรฺ” 

 

(บันทึกโดยอบูดาวูดหะดีษ เลขที่ 1134)


        ซึ่งการทดแทนสิ่งใหม่ให้น้ันย่อมหมายถึงว่า เราควรละทิ้งส่ิงเดิม ท้ังน้ี อัลลอฮฺ  ได้ทรงกำหนดวันอีดุลฟิฏรฺ และวันอีดุลอัฎฮาเป็นการทดแทนแล้ว ดังนั้น วันอื่นๆ ท่ีเคยมีมาในอดีตนั้นก็จำเป็นจะต้องได้รับการยกเลิก

ท่านษาบิต บิน เฎาะหาก เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า มี ชายคนหนึ่งบนบานว่าจะเชือดอูฐท่ีเขตบุวานะฮฺ (เมืองที่อยู่ติด กับมักกะฮฺ) 

ท่านนบี จึงถามเขาว่า “ท่ีนั่นมีรูปเคารพที่เคยใช้กราบไหว้ในสมัยญาฮิลียะฮฺหรือไม่ ?” 

บรรดาเศาะหาบะฮฺ ตอบว่า “ไม่มีครับ” 

ท่านนบี  จึงถามต่อว่า “ตรงนั้นเคยเป็นท่ีจัดงานเฉลิมฉลองของพวกญาฮิลียะฮฺหรือ เปล่า ?” 

พวกเขาตอบว่า “ไม่เคยครับ” 

ท่านนบี  จึงกล่าวแก่เขาว่า “ถ้าเป็นเช่นนั้นก็จงทำตามที่ท่านบนบานเถิด” 

(บันทึกโดยอบู ดาวุด หะดีษเลขท่ี 3310)

       จะเห็นว่าท่านนบี ได้อนุญาตให้ชายคนดังกล่าวทำตามท่ีบนไว้ หลังจากที่ท่านได้สอบถามเน้นย้ำจากบรรดาเศาะหาบะฮฺว่าท่ีแห่งนั้นได้เคยเป็นสถานท่ีจัดงานรื่นเริงของผู้ปฏิเสธศรัทธา หรือมีรูปปั้นรูปเคารพ ของพวกเขาอยู่หรือเปล่า ?

         การท่ีท่านได้ส่ังห้ามมิให้มีการเชือดสัตว์ในสถานท่ี ซึ่งเคยมีการจัดงานเทศกาลของผู้ปฏิเสธศรัทธา ท้ังท่ีในขณะนั้นอาจมิได้มีการจัดงานอยู่แต่เพียงแค่เป็นสถานที่ท่ีพวกเขารวมตัวกันในวันใดวันหนึ่งเท่าน้ัน ก็เพราะท่านไม่ต้องการท่ีจะฟื้นฟูหรือเชิดชูสถานที่ดังกล่าวอันเป็นสถานที่จัดงานรื่นเริงของพวกมุชริกีน เช่นน้ีแล้วการมีส่วนร่วมโดยตรงหรือกระทำสิ่งท่ี พวกเขาทำกันในเทศกาลงานรื่นเริงของพวกเขาเล่าจะมีความผิดเพียงใด ? ในหะดีษบทนี้จะเห็นว่าท่านเราะสูล  ได้ให้ ความสำคัญกับการปฏิเสธงานเฉลิมฉลองรื่นเริงของพวกเขาในทุกรูปแบบ


          พี่น้องผู้ศรัทธาท้ังหลาย ดังน้ัน เทศกาลเฉลิมฉลองนั้นล้วนมีส่วนท่ีเก่ียวกับพิธีกรรม ไม่ว่าจะเป็นการละหมาด การ กล่าวซิกรุลลอฮฺ หรือหลักปฏิบัติทางศาสนาอื่นๆ โดยอาจจะมีส่วนของประเพณีปฏิบัติร่วมด้วยก็ได้ เช่น การเลี้ยงฉลอง การละเล่น หรือการแต่งกายสวยงาม จึงเป็นท่ีประจักษ์ชัดว่า เทศกาลต่างๆไม่ว่าจะเป็นของพวกเราหรือของพวกเขาก็ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับหลักความเชื่ออย่างแน่นอน

        อีกหน่ึงหลักฐานก็คือ คำกล่าวของท่านนบี แก่อบูบักรฺ เมื่อคร้ังที่อบูบักรฺเข้ามายังบ้านของท่านในวันอีด แล้วพบว่ามีเด็กผู้หญิงสองคนกำลังร้องเพลงกันอยู่ ท่านจึงส่ังห้ามนางทั้งสอง ท่านนบี จึงกล่าวว่า

“ปล่อยให้นางท้ังสองร้องไปเถิดอบูบักรฺเอ๋ย ทุกกลุ่มชนล้วนมี เทศกาลรื่นเริงของตัวเอง

และวันน้ีก็คือวันรื่นเริงของพวกเรา” 

(บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ หะดีษเลขท่ี 3931 และมุสลิม หะดีษ เลขที่ 892)

         ประโยคท่ีว่า “วันรื่นเริงของพวกเรา” น้ันหมายความว่าวันนี้เป็นวันรื่นเริงเฉพาะสำหรับพวกเรา ซึ่งทุกกลุ่มชนก็จะมี วันเฉลิมฉลองรื่นเริงเฉพาะของพวกเขา สิ่งน้ีเป็นหลักฐานอีกข้อหนึ่งว่า มุสลิมมีวันรื่นเริงเฉพาะของตัวเอง ฉะน้ัน จึงไม่อนุญาตให้เข้าร่วมเทศกาลงานรื่นเริงของเหล่าผู้ปฏิเสธศรัทธา

         ในโอกาสน้ีสมควรท่ีจะกล่าวถึงพวกไร้สติปัญญาบางกลุ่ม ซึ่งได้ใช้หะดีษข้างต้นเป็นหลักฐานอ้างอิงว่าเพลงและ ดนตรีที่มีอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบันน้ันเป็นท่ีอนุญาต พวกเขามิได้พิจารณาหรือว่าในหะดีษดังกล่าวใครเป็นผู้ร้องเพลง ? เป็นเพียงเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ สองคน ! แล้วในหะดีษก็ไม่ปรากฎว่ามีการใช้เครื่องดนตรีแต่อย่างใด เป็นเพียงเสียงขับร้องของเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ มิเช่นน้ันแล้วท่านเราะสูล ก็คงจะไม่อนุญาตอย่างแน่นอน ขออัลลอฮฺ  ทรง อย่าได้เอาผิดเราในสิ่งที่คนโง่เขลาพวกนี้กระทำเลยและท่านกล่าวในหะดีษอีกบทหนึ่งว่า

“อัลลอฮ์ ทรงให้ประชาชาติก่อนหน้าพวกท่านหันเหออกจากวันศุกร์

โดยพวกยิวเลือกวันเสาร์เป็นวันสำคัญ  ส่วนพวกคริสต์เลือกวันอาทิตย์

แล้วอัลลอฮ์ ก็ทรงนำทางพวกเราจนได้ถือเอาวันศุกร์เป็นวันสำคัญ ” 

(บันทึกโดย มุสลิม หะดีษเลขที่ 856)

       ด้วยเหตุดังกล่าวท่านเราะสูล จึงห้ามมิให้ถือศีลอดในวันศุกร์เพียงวันเดียว เพราะถือเป็นวันอีด ประจำสัปดาห์ของมุสลิม



 

แปลโดย : อุศนา พ่วงศิริ / islamhouse