กลุ่มอิควานุลมุสลิมีน
  จำนวนคนเข้าชม  21822

 

กลุ่มอิควานุลมุสลิมีน

 

เรียบเรียงโดย  อ.อิสฮาก พงษ์มณี

 

แนวคิดและอุดมการณ์
 

          มุสลิมในยุคปัจจุบันต่างจากมุสลิมในยุคแรกๆของอิสลาม กล่าวคือในยุคแรกๆ นั้นมุสลิม มิได้แยกออกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย แต่ปัจจุบันนี้มุสลิมได้แตกออกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย ซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งแนวคิด ความเชื่อ และการปฏิบัติ ความจริงข้อนี้คงไม่มีใครปฏิเสธได้ การศึกษาว่ากลุ่มใดมีแนวคิด ความเชื่อ และแนวปฏิบัติในลักษณะใด ย่อมเป็นการดีต่อเราอย่างยิ่ง เพราะจะได้ไม่หลงไปสู่กลุ่มแนวคิดที่ไม่ถูกต้อง หรือเพื่อจะได้ร่วมงาน สนับสนุน และเป็นมิตรกับกลุ่มที่มีแนวคิด ความเชื่อ และการปฏิบัติที่ถูกต้อง
 

          กลุ่มอิควานุ้ลมุสลิมีน ก็นับว่าเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่มีบทบาทในปัจจุบันและในอดีตที่ไม่ไกล เกินไปนัก กลุ่มนี้ได้รับการก่อตั้งโดยเชคฮะซัน อัลบันนาในปี ฮ.ศ 1324 หรือใน ค.ศ. 1928 คือหลังจากระบบการปกครองแบบค่อลีฟะห์(อุษมานียะห์)ล่มสลายไปสี่ปี โดยประมาณ การล่มสลายนั้นมีผลสูงมากต่อแนวคิดแบบอิควานนิยมของเชคฮะซัน อัลบันนา คือเป็นแนวคิดที่ จะให้ระบบการปกครองแบบอิสลามเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งซึ่งก็คือระบบค่อลีฟะห์ เพราะเชื่อว่ามุสลิมภายใต้ระบบนี้เท่านั้นจะสามารถยับยั้งความอธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นและสามารถจะต่อสู้กับ ศัตรูทั้งหลายที่รุมทำร้ายพี่น้องมุสลิมอยู่ทั่วทุกมุมโลก ในเบื้องต้นนั้นเป็นแต่เพียงแนวคิดลักษณะ ทฤษฎีที่ยังขาดรายละเอียดและการวางแผนดำเนินงานที่ชัดเจน แต่ต่อมาก็ได้มีการวางรากฐาน ที่ชัดเจนขึ้น มีการจัดรูปแบบขององค์กรที่เด่นชัดขึ้น 

         แนวคิดดังกล่าวได้แพร่หลายออกไปสู่มุสลิมในส่วนต่างๆ ของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกอาหรับ ในประเทศไทยก็มีผู้นำแนวคิดดังกล่าวมาเผยแพร่ซึ่งส่วนใหญ่ฝังตัวอยู่ในหมู่นิสิต นักศึกษา แต่ในประเทศอียิปต์นั้นแนวคิดดังกล่าวนี้เป็นที่แพร่หลายมากทีเดียวโดยเฉพาะในหมู่ คนหนุ่มสาว

 

ท่านฮะซันอัลบันนากล่าวถึงจุดยืนของกลุ่มอิควานฯที่ตนก่อตั้งขึ้นไว้ดังนี้
 

          “แท้จริงอิควานุ้ลมุสลิมีนคือการเรียกร้องแบบซะลัฟ แนวทางแบบซุนนะห์ ข้อเท็จจริง แบบซูฟี เป็นองค์กรการเมือง ทีมกีฬา สมาคมทางวิชาการและวัฒนธรรม บริษัท ทางธุรกิจ และแนวคิดทางสังคม” 
 

(อัลเมาซูอะห์ อัลมุยัสสะเราะห์ ฯ เล่ม 1 หน้า 205)

 

          จากจุดยืนโดยรวมของกลุ่มอิควานฯที่ผู้ก่อตั้งได้กล่าวไว้ เราพอเข้าใจได้ว่ามันเป็นการ ผสมผสานความแตกต่างหลากหลายเข้าไว้ด้วยกัน นั่นก็คือคำว่าซะลัฟและซูฟี แนวทางแบบซู ฟีนั่นเกิดขึ้นหลังจากยุคของซะลัฟ คือหลังจากยุคศ่อฮาบะห์ ตาบิอีน และตาบิอิตตาบิอีน บิดอะห์ต่างๆมักเกิดจากกลุ่มซูฟีเสียเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการประสานระหว่างคำว่าซูฟีและซุนนะห์ นั้น จึงเป็นเรื่องที่เข้าใจยากและทำยากเพราะมันเป็นสิ่งที่ตรงกันข้าม แต่เนื่องด้วยแนวคิดดังกล่าวนี้ต้องการพลังมวลชนสนับสนุนจึงต้องประสานแนวคิดต่างๆ ไว้ในเวลาเดียวกัน โดยถือหลักว่าเราจะร่วมมือกันในส่วนที่เราตรงกันและจะไม่ว่ากันในส่วนที่เราต่างกัน

 

ลักษณะเด่นของกลุ่มอิควาน ฯตามที่ผู้ก่อตั้งได้ย้ำไว้มีดังนี้คือ (อัลเมาซูอะห์ อัลมุยัสสะเราะห์ ฯ เล่ม 1 หน้า 205)
 

1. ต้องพยายามออกห่างจากการขัดแย้ง(ไม่ว่าเรื่องนั้นจะเป็นเรื่องหลักการศรัทธาก็ตาม)

2. ต้องออกห่างจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีอำนาจและหน้าตาในสังคม

3. ต้องหลีกเลี่ยงกลุ่มต่างๆ (คือหลีกเลี่ยงที่จะไปอยู่กลุ่มหนึ่งกลุ่มใดเฉพาะ)

4. ให้ความสำคัญกับการจัดตั้งอย่างเป็นระบบและดำเนินแผนเป็นขั้นเป็นตอน

5. ปลุกกระแสในเชิงปฏิบัติและผลิตผลงานในลักษณะการโฆษณาและ ประชาสัมพันธ์(กลุ่มของตน)

6. ให้ความสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อคนหนุ่มสาว

7. ให้มีการขยายไปทั้งชนบทและในเมือง


ขั้นตอนการปฏิบัติงานจริงเพื่อให้ลุแก่เป้าหมายดังกล่าวมีดังนี้ (อัลเมาซูอะห์ อัลมุยัสสะเราะห์ ฯ เล่ม 1 หน้า 206)

1. การแนะนำ (การเรียกร้องเชิญชวน)
2. การจัดตั้ง (กลุ่มของตนขึ้นต่างหาก)
3. การปฏิบัติ (ลุกขึ้นต่อสู้)

          ทั้งหมดนี้ก็เพื่อให้ลุแก่วัตถุประสงค์หลัก คือการหวนคืนกลับมาของระบบค่อ-ลีฟะห์ ดังนั้นจุดต่างระหว่างกลุ่มอิควานฯกับกลุ่มมุสลิมอื่นๆ จึงแยกได้ชัดเจนตรงเป้าหมายหลักอยู่ที่การได้มาซึ่งระบบการปกครองแบบอิสลาม ดังนั้นกลุ่มอิควานฯ สามารถจะร่วมกับมุสลิมกลุ่มใดๆก็ได้ หากกลุ่มนั้นสนับสนุนแนวคิดของกลุ่มตนเพื่อลุแก่เป้าหมายสูงสุดก็คือการจัดตั้งระบบค่อลีฟะห์ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงบทสรุปสั้นๆ เกี่ยวกับที่มาของญะมาอะห์ดังกล่าว

(อัตต่อรีก อิลา ญะมาอะตุ้ลอุม หน้า 8)


วิเคราะห์อิควานทั้งในอดีตและปัจจุบัน

          ผู้นำคนแรกของญะมาอะห์หรือกลุ่มอิควานฯ คือ ฮะซันอัลบันนา ฮะซันอัลบันนาคือ ใคร? คำถามนี้มีความสำคัญมากหากไม่รู้จักบุคคลท่านนี้แล้วเราก็คงไม่รู้จักญะมาอะห์อิควานฯ 

          ท่านฮะซันอัลบันนาเกิดที่หมู่บ้านมะห์มูดียะห์ เมืองบุฮัยเราะห์ ประเทศอียิปต์ เมื่อปี ค.ศ. 1928 ท่านศึกษาระดับประถมและมัธยมที่บ้านเกิดและศึกษาระดับอุดมศึกษา ณ เมือง ดะ มันฮูร สำเร็จการศึกษาจากสถาบันดารุ้ลอุลูม ท่านเป็นคนเรียนเก่งและฉลาด หลังจากสำเร็จการ ศึกษาก็ได้รับบรรจุให้เป็นครูสอนอยู่วิทยาลัยฝึกหัดครูอยู่หลายปี แต่ก็ลาออกในปี ค.ศ. 1946 สาเหตุเพราะท่านได้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์รายวันซึ่งเป็นของกลุ่มอิควานุ้ลมุสลิมีน 

(ย่อความจากหนังสือ อัลนุกอต เฟาก้อลฮุรูฟ หน้า 81-83)

           หลังจากฮะซันอัลบันนาเสียชีวิต ก็ได้มีการสืบทอดตำแหน่งผู้นำอิควานฯ มาโดยลำดับ ดังนั้นการรู้จักแนวคิดความเชื่อของผู้นำอิควานฯ ในแต่ละยุค จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะนำเราไปสู่ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในแนวคิดความเชื่อแบบอิควานฯ ตลอดจนทราบถึงรูปแบบและแนวทางปฏิบัติของพวกเขาด้วย


แนวทางที่ค้านซุนนะห์และเตาฮีด

เชคฮะซันอัลบันนา เติบโตมาในบรรยากาศของนิกายซูฟี ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะว่าท่านพูดถึงตัวเองไว้ดังนี้ 

          " ข้าพเจ้าสมาคมกับกลุ่มอัลฮัซซอฟียะห์ ณ เมือง ดะมันฮูร และข้าพเจ้าก็เข้าร่วมการชุมนุม(ตามแบบของซูฟีนิกายอัลฮัซซอฟียะห์) อยู่เป็นนิจ ทุกคืน ณ มัสยิดเตาบะห์ " แล้วท่านก็เล่าต่อไปว่า "ซัยยิดอับดุลวะฮาบผู้เป็นหัวหน้าสายฏ่อรีเกาะห์อัลฮัซซอฟี ยะห์ อัชชาซิลียะห์ ก็มาเช่นกัน ข้าพเจ้าได้รับฏ่อรีเกาะห์สายดังกล่าวจากท่านและท่านก็ อนุญาตให้ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติตัวตามขั้นตอนของฏ่อรีเกาะห์ดังกล่าวทุกประการ" 

(มุซักกิรอตุ้ล ดะอฺวะห์วั้ลดาอียะห์ หน้า 27 ของเชคฮะซันอัลบันนา )


          เชคฮะซันอัลบันนามีส่วนร่วมก่อตั้งสมาคมซูฟีสายอัลฮัซซอฟียะห์อัชชาซิลียะห์ ท่านกล่าวว่า "เราเห็นสมควรก่อตั้งสมาคมฟื้นฟู ซึ่งก็คือสมาคมการกุศลฮัซซอฟียะห์ ข้าพเจ้าได้รับเลือกเป็นเลขาสมาคม ฯ และเปลี่ยนเป็นสมาคมอิควานุ้ลมุสลิมีนในกาลต่อมา" 

(มุซักกิรอตุ้ล ดะอฺวะห์วั้ลดาอียะห์ หน้า 28 ของเชคฮะซันอัลบันนา )

น้องชายท่านที่ชื่อว่าอับดุรเราะห์มานเล่าถึงวงซิกรุ้ลเลาะห์ที่ท่านฮะซันอัลบันนาเข้าร่วมไว้ดังนี้ 

          " หลังละหมาดอิชาอฺพี่ชายข้าพเจ้าจะเขาร่วมวงซิกรุ้ลเลาะห์กับบรรดาพี่น้องสายฮัซ ซอฟียะห์ หัวใจของเขา (ฮะซันอัลบันนา) เต็มเปี่ยมไปด้วยรัศมีของอัลเลาะห์ ฉันก็เข้าไป นั่งร่วมซิกรุ้ลเลาะห์ด้วย " เขาเล่าไปถึงตอนที่ว่า

         " คืนนั้นดูสงบและหาได้มีเสียงอื่นใดเว้น แต่เสียงของผู้ซิกรุ้ลเลาะห์หรือแสงสว่างอันเรืองรอง ทันใดนั้นแสงสว่างจากฟากฟ้าก็ปกคลุมสถานที่ดังกล่าว ความสูงส่งของพระผู้อภิบาลก็หล่อหลอมเขาไว้ (หมายถึงเชคฮะ ซัน) กายใจมลายไปหลอมรวมเป็นสิ่งเดียว ทุกสิ่งทุกอย่างหายไปจากการมีอยู่ จนกระทั่ง ท่านรำพึงด้วยเสียงอันอ่อนหวานและขับขานเป็นบทกลอนอันเพราะพริ้งขึ้นว่า

           "อัลเลาะห์กล่าวว่าจงละทิ้งสิ่งที่มีอยู่และสิ่งที่อยู่ในมัน หากเจ้ายังสงสัยในความสำคัญอันสมบูรณ์ยิ่งของข้าฯ ทุกสิ่งทุกอย่างอื่นจากอัลเลาะห์และความจริงของมัน หาได้มีอยู่จริงจะโดยละเอียดหรือโดยรวมก็ตาม " 

 

(จากวารสารอัดดะอฺวะห์ ปี ค.ศ. 1951 ซึ่งอ้างไว้ในหนังสือ "ฮะซันอัลบันนาโดยปลายปากกาของ2 ลูกศิษย์" ญาบิรริซกฺ หน้า 70-71)

          เชคอะห์หมัดนัจมี ผู้รู้อาวุโสและอดีตกอฏี ณ เมืองญีซาน ประเทศซาอุดิอาราเบีย กล่าวว่า

         " บทกลอนดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความเชื่อแบบวะห์ดะติ้ลวุญูด (ทุกสิ่งที่เห็นคือสิ่งเดียวกันนั่นก็คืออัลเลาะห์) และชี้ให้เห็นถึงบิดอะห์การซิกรุ้ลเลาะห์ แบบซูฟี บทสรุปในเรื่องนี้คือหากว่าผู้ที่จะเรียกร้องไปสู่การญิฮาดยังไม่สะอาดใน-ด้านอะกีดะห์ ก็ย่อมจะไม่สามารถพาผู้คนไปสู่ทิศทางที่ถูกต้องได้ เพราะตัวเองหลงทางและเป็นเหตุให้ผู้อื่นหลงทางด้วย" 

          ผู้นำอิควานฯในยุคต่อๆมาก็ไม่ให้ความสำคัญในเรื่องเตาฮีดและอะกีดะห์ และยังมีความเข้าใจผิดๆ ในเรื่องดังกล่าวอีกด้วย เช่น อุมัรอัลตะละมัซซานี อิควานชั้นแนวหน้าเคยกล่าวว่า

          "มี บางคนอ้างว่าท่านร่อซู้ลนั้นสามารถขออภัยโทษ(จากอัลเลาะห์)ให้แก่ผู้มาหาตอนท่านยังมี ชีวิตอยู่เท่านั้น ฉันไม่ทราบแน่ชัดว่าเพราะอะไรถึงไปจำกัดโองการ(ความหมายอัลกุรอ่าน)ไว้แต่เพียงว่าเป็นการขอของร่อซู้ลในยามที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ในโองการ( อัลกุรอ่าน)หาได้ระบุการจำกัดเช่นนั้นไม่ ดังนั้นฉันจึงโน้มเอียงไปในทางทัศนะที่บอกว่า ท่านร่อซู้ลนั้น สามารถจะขออภัยโทษให้แก่ผู้ไปหาท่านได้ไม่ว่าท่านจะยังมีชีวิตอยู่หรือตายไปแล้ว ไม่มีเหตุผลอันใดที่จะแข็งขันดึงดันปฏิเสธการเชื่อมั่นในกะรอมะห์ของบรรดาวะลีทั้งหลาย และเชื่อมั่นในการมุ่งหาบรรดาวะลีเหล่านั้น ณ สุสานของพวกเขาเพื่อขอดุอาใน สุสานนั้นยามเมื่อเกิดความทุกข์ร้อน กะรอมาตของบรรดาวะลีเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงมั๊วอฺญิซาตของบรรดานะบีทั้งหลาย

(ชะฮีดุ้ลเมี๊ยห์รอบ ฯ หน้า 225-226)

         มุสตอฟา อัสสิบาอี้ย์ ผู้นำอิควานในประเทศซีเรียก็ไม่ต่างไปจากผู้นำอิควานฯ ที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว ซึ่งเคยกล่าวเป็นบทกลอนไว้ดังนี้ว่า

     "โอ้ผู้ขับขี่พาหนะมุ่งสู่บ้านหลังนั้นและดินแดนต้องห้าม มุ่งสู่ความดีแสวงหานายแห่งมนุษยชาติ หากความพยายามของท่านที่มุ่งหาคนที่ท่านเลือกเป็นเรื่องสมควร ความพยายามของฉัน เช่นฉัน ต่อผู้สำคัญยิ่ง มันเป็นสิ่งจำเป็น

     โอ้นายของฉัน โอ้สุดที่รักของอัลเลาะห์ ฉันได้มายัง ประตูบ้านของท่านเพื่อมาร้องเรียกให้ฉันได้หายเจ็บป่วย โอ้นายของฉันความเจ็บปวดได้รุมเร้าเรือนร่างของฉัน จากความรุนแรงของความเจ็บปวด ฉันไม่อาจลืม เลือนและหลับลง

     ญาติพี่น้องที่รุมล้อมต่างหลับใหล มีฉันเพียงลำพังที่ข่มตาหลับแต่หลับไม่ลง ฉันมีชีวิตอยู่มายาวนานล้วนเป็นการทำงานทั้งสิ้น แต่มาบัดนี้หาได้มีอะไรเว้นแต่เป็นเพียงถ้อยคำและ ปากกา

     โอ้นายของฉันความใฝ่ฝันถวิลหาการญิฮาดของข้าฯ ช่างยาวนานหากท่านจะกรุณาขอดุอาต่ออัลเลาะห์ผู้ทรงสูงส่งให้ฉันกลับไปอีกครั้งหนึ่ง" 

(วารสาร ฮะฏอร่อตุ้ลอิสลาม หน้า 562-563 ฉบับพิเศษออกเนื่องในวาระการเสียชีวิตของมุส-ตอ2 ฟาสิบาอี้ย์)

 

ไม่ให้ความสำคัญในเรื่องชิรกุ้ลกุโบร

          ฮะซันอัตตุรอบี้ย์ ผู้นำอิควานฯ ในประเทศซูดานก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ละเลยในเรื่องของชิรกฺบิ้ลลา (การตั้งภาคีต่ออัลเลาะห์) เขากล่าวในลักษณะประชดประชันกลุ่มอันศอรซุนนะห์ใน ประเทศซูดานไว้ดังนี้ " พวกเขา(กลุ่มซุนนะห์) ให้ความสำคัญเฉพาะด้านอะกี-ดะห์และชิรกุ้ล กุบูร ( ชิรกฺของพวกกุโบรนิยม) แต่พวกเขาไม่เคยให้ความสำคัญต่อชิรกุ้ลสิยาซะห์ ( ชิรกฺให้ด้านการเมือง) ก็จงปล่อยให้พวกกุโบรฺนิยมเขาฏ่อวาฟ (เดินเวียนรอบ) กุโบรฺกันไปเถิด จนกว่าเราจะมุ่งหน้าถึงโดมแห่งรัฐสภา

(วารสาร อัลอิสติกอมะห์ ปี ฮ.ศ.1408 หน้า 26)

         แกนนำอิควานฯ อีกคนหนึ่งซึ่งเป็นคนซาอุฯ ผู้มีนามว่าอับดุลเลาะห์อัซซาม กล่าวถึงเรื่องชิรกฺ (การตั้งภาคีต่ออัลเลาะห์) ไว้ว่า " แท้จริงเรื่องการต่อสู้กับชิรกฺ เท่าที่ผู้รู้ในยุคอดีต เช่น มุฮำหมัด อิบนุ อับดุลวะฮาบได้กระทำ โดยได้ต่อสู้กับผู้เคารพเจว็ดและหลุมฝังศพ มันหมดยุคหมดสมัยแล้ว แต่ได้มีชิรกฺ(การตั้งภาคีต่ออัลเลาะห์) ในรูปแบบอื่นเข้ามาแทนที่ ซึ่งก็คือชิรกฺของการนำกฏหมายของมนุษย์มาบังคับใช้แทนบทบัญญัติของอัลเลาะห์

("ผู้รู้และนักต่อสู้" เขียนโดย อับดุลเลาะห์อิบนุ อัซซาม หน้า 34 คัดลอกมาจากหนังสือ2 ญะมาอะตุ้ลอุมมฺ หน้า 28)


ซัยยิตกุฏุบ ผู้รู้อีกท่านหนึ่งของญะมาอะห์อิควาน ฯ ได้กล่าวว่า 

          " การเคารพเจว็ดที่ท่านนะบีอิบรอฮีมเรียกร้องลูกหลานและครอบครัวตลอดจนผู้คนทั้งหลายให้ออกห่างนั้น หา ใช่เป็นการเรียกร้องในรูปแบบที่ผิวเผินตามอาหรับโบราณถือปฏิบัติกันมาจากการเคารพ ต้นไม้หรือหินที่ถูกแกะสลักเป็นรูปร่าง เพราะภาพผิวเผินเหล่านั้นไม่อาจครอบคลุมถึง การตั้งภาคีรูปแบบอื่นทั้งหมด การหยุดอยู่ ณ รูปแบบการตั้งภาคีดังกล่าวเป็นการกีดกั้น เรามิให้ล่วงรู้ถึงรูปแบบการตั้งภาคีอื่นๆ ที่หาสิ้นสุดมิได้ เป็นการกีดกั้นเราที่จะมองด้วย สายตาที่ถูกต้องแม่นยำต่อการตั้งภาคีในรูปแบบอื่นๆ ที่ครอบงำมนุษย์ อันเป็นญาฮิลียะห์ ในยุคใหม่"

(ซิลาลุลกุรอ่าน เล่ม 4 หน้า 2114)

           คำพูดของซัยยิดกุฏุบ อาจเข้าใจยากเล็กน้อยแต่ถ้าผู้อ่านคิดตามและพยายามทำความเข้าใจก็จะทราบได้เองว่า เขาต้องการอธิบายถึงอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตั้งภาคีต่ออัลเลาะห์ในยุคปัจจุบัน ซึ่งก็คือระบบการเมืองที่ไม่นำหลักการของอัลเลาะห์มาบังคับใช้อย่างครบถ้วน อิควานฯ มองว่านั้นคือชิรกฺแห่งการบริหารและปกครอง


บิดอะห์ตัฟวีฏ

 

          ตัฟวีฎ คือการยุติที่จะไม่พูดถึงความหมายของพระนามและคุณลักษณะของอัลเลาะห์ มี คนเข้าใจผิดคิดว่าวิธีการดังกล่าวเป็นแนวทางของซะละฟุซซอและห์ (บรรพชนที่ดีทั้งหลายในยุค ต้นอิสลาม) แท้ที่จริงแล้วบรรดาบรรพชนเหล่านั้นหาได้ละเว้นความหมายของพระนามและคุณลักษณะของอัลเลาะห์ ไม่แต่ที่พวกเขาละเว้นก็คือการกล่าวถึงรูปแบบและวิธีการต่างหาก เช่น

          คำพูดของ อิหม่ามมาลิก ที่กล่าวถึงการอยู่เหนือบัลลังก์ของอัลเลาะห์ว่า "การอยู่เหนือบัลลังก์ของอัลเลาะห์เข้าใจได้ (ตามความหมายของศัพท์) แต่วิธีการจะเป็นเช่นใดนั้นไม่ทราบ การถามถึงวิธีการดังกล่าวนั้นเป็นบิดอะห์ " สิ่งที่อิหม่ามมาลิกปฏิเสธนั้นคือวิธีการมิใช่ ความหมาย แต่คำว่าตัฟวีฎหมายถึงปฏิเสธที่จะพูดถึงทั้งวิธีการและความหมาย ซึ่งไม่ใช่ แนวทางของซะละฟุซซอและห์ แต่ประการใด

          ฮะซันอัลบันนา กล่าวว่า "การค้นคว้าในเรื่องดังกล่าวนี้ (เรื่องพระนามและ คุณลักษณะของอัลเลาะห์) หาบทสรุปที่สิ้นสุดมิได้ เว้นแต่สิ่งเดียวเท่านั้นคือการตัฟวีฎ ต่ออัลเลาะห์ตะอาลา" 

(อัลอะกออิด หน้า 74)

          และยังกล่าวอีกว่า " เราเชื่อมั่นว่าแนวทางของซะลัฟ ฯ คือการยุติ(ที่จะทำความเข้าใจในพระนามและคุณลักษณะของอัลเลาะห์ในกรณีที่ดูคล้ายกับสิ่งถูก สร้าง) และมอบมันคืนสู่อัลเลาะห์ ตะบาร่อก้า วะตะอาลา และเป็นแนวทางที่ควรแก่การ ยึดถือมากที่สุด" 

(อัลอะกออิด หน้า 76)

คำพูดในเชิงดูหมิ่นนะบีของอัลเลาะห์

          ซัยยิดกุฏุบ กล่าวไว้ในหนังสือ "อัตตัศวีร อัลฟันนี้ ฟิ้ลกุรอ่าน" ดังนี้ " ดูตัวอย่างนะ บีมูซา (อะลัยฮิซซะลาม) ท่านเป็นผู้นำที่มีอุปนิสัยเร่าร้อนและเห็นแก่พวกพ้อง" 

(หน้า 162-163)

เชคอับดุลอะซีซ บินบาซ กล่าวว่า " การดูหมิ่นนะบีถือว่าริดดะห์ (หมายถึงตกศาสนาหากจงใจ)" 

(ตัซญีลาตมินฮาญุซซุนนะห์ เทปบันทึกเสียงอัดเมื่อปี่ ฮ.ศ. 1413)

          อะบุ้ลฮะซัน อัลเมาดูดี่ ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่พูดถึงร่อซูลุ้ลเลาะห์ในทางที่ไม่เหมาะสม เขากล่าวว่า " เวลาผ่านพ้นล่วงเลยมานานถึง 1300 ปี (หลังจากที่ท่านร่อซู้ลได้พูดถึงดัจญ้าล) ดัจญ้าลก็ยังไม่ปรากฏ แสดงว่าการคาดคะเนของร่อซู้ลนั้นไม่ถูกต้อง" 

(อัรร่อซาอิ้ล วัลมะซาอิ้ล หน้า 57 )

          ฮะซันอัตตุรอบี่ หัวหน้าอิควานฯ ในซูดาน กล่าววิจารณ์ฮะดีษแมลงวัน คือเมื่อแมลงวัน ตกลงไปในอาหาร ท่านนะบีสั่งให้กดมันจมแล้วค่อยตักทิ้งเพราะปีกข้างหนึ่งมีโรคแต่ปีกของมันอีกข้างหนึ่งมียา ซะฮันอัตตุรอบีกล่าววิจารณ์ว่า " เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องทางการแพทย์ ซึ่งเราต้องถือคำพูดของแพทย์แม้จะเป็นกาเฟรก็ตาม เราคงไม่ยึดถือคำพูดของร่อซู้ล ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เพราะท่านไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว" 

(อัรรอดดุ้ลก่อวีม ฯ ของมุฮำหมัด อะห์หมัด หน้า 81)

         มุฮำหมัดฆ่อซาลี กล่าวว่า " อะบูซัรรฺ (ศ่อฮาบะห์อาวุโสท่านหนึ่ง) เป็นสังคมนิยม เขาได้แนวคิดแบบสังคมนิยมมาจากท่านร่อซู้ล ศ้อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม" 

(อัลอิสลาม อัลมุฟตะรออะลัยฮฺ หน้า 103)