ลัทธิไซออนิสต์และแผนการก่อตั้งรัฐอิสราเอล
  จำนวนคนเข้าชม  27882


ลัทธิไซออนิสต์และแผนการก่อตั้งรัฐอิสราเอล


          ปีค.ศ.1770 นักลงทุนข้ามชาติได้ร่วมประชุมก่อตั้งมูลนิธิโรดเชิลด์ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ที่เมืองแฟรงค์เฟิรต์ ประเทศเยอรมัน และได้มอบหมายให้ยิวคนหนึ่งชื่อ อาดัม ไวซ์เฮอวิท ร่างบันทึกข้อสนธิสัญญา ของนักปราชญ์อาวุโสแห่งไซออน ให้เป็นปัจจุบัน อาดัมได้ร่างบันทึกข้อสนธิสัญญาดังกล่าวอย่างสมบูรณ์เมื่อปี ค.ศ.1776 เนื้อหาหลักที่ได้รับการบรรจุในแผนนี้คือ ทำลายระบอบการเมืองและคำสอนศาสนาที่มีอยู่ เพื่อเปิดทางให้กับยิวในการครอบครองโลก เผยแพร่แนวคิดของยิวที่มีการบิดเบือนแทนที่ความเชื่อทางศาสนา ยุแหย่ประชาคมโลกให้เกิดความหวาดระแวง บาดหมางและปะทุสงครามระหว่างกัน ปลูกเมล็ดพันธุ์แห่งความขัดแย้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง ดินแดน เผ่าพันธุ์ ความเชื่อและแนวคิดระหว่างคนในชาติ เพื่อให้เกิดความขัดแย้งตลอดเวลา และเป็นโอกาสให้แก่ยิวในการควบคุมสถานการณ์และเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ได้อย่างเต็มที่


          ปีค.ศ.1776 ได้จัดตั้งองค์กรรัศมีแห่งพระเจ้า โดยสามารถรวบรวมบุคคลที่มีชื่อเสียงจากทุกสาขาอาชีพไม่ว่าด้านศิลปะ ภาษา การศึกษา นักวิชาการ เศรษฐศาสตร์ นักธุรกิจจำนวนเกือบ 2,000 คน พร้อมกำหนดมาตรการสำคัญที่จะต้องยึดเป็นแนวปฏิบัติ ได้แก่

     1. ใช้อำนาจเงินและสตรีในการควบคุมผู้มีอิทธิพลและผู้มีตำแหน่งบทบาทสำคัญในทุกระดับชั้นของสังคม ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐ เอกชนหรือประชาสังคมก็ตาม ทั้งนี้เพื่อผลประโยชน์ขององค์กร

       2. สมาชิกที่เป็นนักวิชาการและอยู่ในแวดวงทางการศึกษา จะต้องให้ความสำคัญกับนักศึกษาที่เรียนดี หรือมาจากครอบครัวชนชั้นสูง เพื่อสร้างเป็นทายาทในการเผยแพร่แนวคิดขององค์กร ทั้งนี้ด้วยการให้ทุนการศึกษาและสนับสนุนด้านการเรียนของพวกเขาอย่างเต็มที่

         3. ต้องผลักดันบุคคลที่ยอมสวามิภักดิ์ต่อแนวคิดนี้ให้เป็นผู้นำรัฐบาลหรือเป็นหัวหน้าส่วนราชการ โดยมีองค์กรนี้เป็นผู้บงการอยู่เบื้องหลัง ทั้งนี้เพื่อจะได้ปฏิบัตแผนการณ์ขององค์กรได้อย่างคล่องตัว และมีประสิทธิภาพสูงสุด

     4. สมาชิกทุกคนต้องพยายามเข้าไปมีบทบาทด้านหนังสือพิมพ์และสื่อประชาสัมพันธ์ทุกแขนง เพื่อสามารถเผยแพร่แนวคิดและชี้นำมวลชนตามความต้องการขององค์กร


         หลังจากนั้นองค์กรนี้ ได้เข้าไปซึมซับในองค์กรต่างๆ ทั่วโลกในรูปแบบและชื่ออันหลากหลาย จนกระทั่งเกิดปฏิวัติฝรั่งเศษเมื่อปี ค.ศ. 1798   เกิดสงครามโลกครั้งที่1 ระหว่างปีค.ศ.1914 ถึง 1918 และ สงครามโลกครั้งที่2 ระหว่างปีค.ศ. 1930 ถึง 1945


         แนวคิดเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐยิว ได้เริ่มอย่างเป็นรูปธรรมโดยรัฐบาลอังกฤษที่ได้ก่อตั้งสถานกงสุลครั้งแรกที่เมืองกุดส์ระหว่างปี ค.ศ.1839-1840  ซึ่งรัฐบาลอังกฤษได้ประกาศเจตนารมณ์ในการปกป้องยิว ในขณะที่หนังสือพิมพ์ไทมส์อังกฤษช่วงนั้นได้เริ่มปลุกกระแสความเป็นไปได้ของการก่อตั้งรัฐอิสราเอลโดยการอุดหนุนของรัฐบาลอังกฤษ หลังจากนั้นมีการส่งเอกอัครราชทูตอังกฤษและสหรัฐอเมริกาเพื่อติดต่อเจรจากับสุลฏอนอับดุลฮามิด กษัตริย์ราชวงศ์อุษมานียะฮฺ เกี่ยวกับโครงการการให้พำนักแก่ชาวยิวที่ปาเลสไตน์ ซึ่งได้รับการปฏิเสธจากสุลฏอนอับดุลฮามิดพร้อมกล่าวว่า ชาวยิวสามารถพำนัก ณ ส่วนใดก็ได้ในแผ่นดินที่ครอบครองโดยอาณาจักรอุษมานียะฮฺ ยกเว้นปาเลสไตน์  พระองค์ไม่เพียงปฏิเสธข้อเสนออย่างเดียว แต่ยังออกกฎหมายปีค.ศ.1880 ห้ามมีการอพยพชาวยิวเข้ามาพำนักที่ปาเลสไตน์และห้ามชาวยิวครอบครองที่ดินในปาเลสไตน์ กฎหมายในลักษณะดังกล่าวได้มีการรื้อฟื้นขึ้นใหม่ในปีค.ศ.1893 โดยกำชับห้ามชาวยิวทำการซื้อขายที่ดิน ณ ดินแดนปาเลสไตน์โดยเด็ดขาด


          ราวปี ค.ศ. 1897 ได้มีการก่อตั้งกลุ่มลัทธิไซออนิสม์ (Zionism) โดยกลุ่มชาวยิวปัญญาชนและพ่อค้ายิวที่ทำมาหากินจนร่ำรวยจากทั่วทุกมุมโลกจำนวน 900 คน ซึ่งเป็นผู้แทนองค์กรยิว กว่า 600 องค์กรได้จัดประชุมที่เมืองบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อนำชาวยิว กลับมาตั้งถิ่นฐานสร้างชาติยิวขึ้นมาใหม่บนแผ่นดินปาเลสไตน์ หลังจากกระจัดกระจายเป็นผู้อาศัยในประเทศต่างๆ เช่น รัสเซีย เยอรมัน โปแลนด์ แคนาดา อังกฤษ ซึ่งกลุ่มไซออนิสต์ยึดมั่นในพระคัมภีร์ที่ว่า "ปาเลสไตน์คือดินแดนที่พระเจ้ามอบไว้เพื่อชาวยิว"
 

         กลุ่มไซออนิสต์ใช้เวลานับสิบปีลงทุนกว้านซื้อที่ดินจากเจ้าของที่ดินชาวอาหรับโดยอาศัยช่องว่างทางกฏหมายและความอ่อนแอของระบบราชการ ตลอดจนจัดการพัฒนาพื้นที่ที่เคยแห้งแล้งให้สามารถเพาะปลูกได้ ถึงแม้สุลฏอนอับดุลฮามิดจะออกกฏหมายห้ามชาวยิวซื้อที่ดินในปาเลสไตน์ แต่ทุกอย่างก็สายเกินแก้ ที่ดินส่วนใหญ่ที่เป็นมรดกตกทอดของชาวมุสลิม บัดนี้ได้กลายเป็นกรรมสิทธิ์ของยิวโดยถูกต้องตามกฏหมายไปแล้ว


          ความพยายามของยิวไม่หยุดเพียงแค่นั้น พวกเขาพยายามหว่านล้อมสุลฏอนอับดุลฮามิดในทุกวิถีทาง แต่พระองค์ยังยึดมั่นในจุดยืนเดิม พระองค์ได้ออกกฏหมายอนุญาตให้ชาวยิวเข้าในปาเลสไตน์ในฐานะผู้เยี่ยมเยียนโดยมีสิทธิพำนักได้ไม่เกิน 30 วันซึ่งเป็นที่ทราบด้วยการออกวีซ่าเล่มแดง ท้ายสุดชาวยิวซึ่งนำโดยเธียวดอร์ เฮอร์เชิลได้ยื่นข้อเสนอมอบเงินจำนวน 5 ล้านปอนด์เพื่อเป็นค่าตอบแทนส่วนพระองค์แก่สุลฏอนอับดุลฮามิด และ150 ล้านปอนด์เพื่อเป็นเงินงบประมาณฉุกเฉินของประเทศ ตลอดจนเงินอีกจำนวนเท่าไรก็ได้ที่กำหนดโดยอาณาจักรอุษมานียะฮฺเพื่อเป็นเงินกู้ที่ปราศจากดอกเบี้ยและไม่กำหนดเวลาชำระหนี้ ทั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนกับการอนุญาตให้ยิวครอบครองผืนดินสามเหลี่ยมระหว่างเมืองยาฟาและเดดซี (ทะเลมรณะ)  ทั้งๆ ที่ในขณะนั้นอาณาจักรอุษมานียะฮฺประสบภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ และกำลังทำสงครามกับรัสเซีย แต่ สุลฏอนอับดุลฮามิดก็ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวอย่างแข็งขัน พร้อมกล่าวว่า

 “ถึงแม้ท่านจะหยิบยื่นทองขนาดโลกนี้ทั้งใบ ข้าพเจ้าไม่มีวันที่จะรับข้อเสนอของพวกท่านได้  ข้าพเจ้าได้บริหารอาณาจักรอิสลามและปกครองประชาชาติของนบีมูฮัมมัด  มานานกว่า 30 ปี ข้าพเจ้าไม่ยอมแปดเปื้อนประวัติศาสตร์อิสลามที่บรรพบุรุษของข้าพเจ้าได้ร่วมสร้างมาในอดีตโดยเด็ดขาด  พวกท่านไม่มีวันที่จะได้แผ่นดินปาเลสไตน์ตราบใดที่อาณาจักรของข้าพเจ้ายังดำรงคงอยู่”

        จุดยืนอันมั่นคงดุจภูผาของสุลฏอนอับดุลฮามิดในครั้งนี้สร้างความโกรธแค้นแก่ยิวมาก  สุลัยมาน มันซูร ซึ่งเป็นชาวยิวได้บันทึกในจดหมายลับฉบับหนึ่งของเขาว่า “เราได้เสนอจะให้เหรียญทองจำนวนมหาศาลแก่สุลฏอนอับดุลฮามิดเพื่อเป็นสินบนแก่การจะยกที่ดินผืนหนึ่งในเขตการปกครองของตุรกีให้เรา แต่พระองค์ปฏิเสธและไล่คนของเราออกมาอย่างน่าอัปยศ แต่พวกท่านจงมั่นใจเถิดว่า ในเวลาอันเหมาะสมนี้ เราจะต้องทำให้รัฐบาลที่เย่อหยิ่งจองหองนี้พังทลายลงกับพื้นดิน  และจะทำร้ายพวกตุรกีเสียจนให้สภาพของพวกเขาเป็นทุกข์ยิ่งกว่าสภาพของชาวอินเดียนแดงในอเมริกาทีเดียวละ”


        หลังจากที่หมดหวังในการเจรจากับสุลฏอนอับดุลฮามิด ชาวยิวเริ่มใช้แผนสกปรกด้วยการวางแผนโค่นล้มระบบเคาะลีฟะฮฺและลอบปลงพระชนม์ ซึ่งในปีค.ศ 1905 ได้เกิดระเบิดรถยนต์พระที่นั่งของสุลฏอนอับดุลฮามิด แต่เนื่องจากพระองค์ยังไม่ประทับบนรถยนต์คันดังกล่าว พระองค์จึงรอดชีวิตอย่างหวุดหวิด หลังจากนั้นชาวยิวได้เริ่มรณรงค์ใส่ร้ายสุลฏอนอับดุลฮามิดทั้งในประเทศและนอกประเทศ โดยมีสมาคมลับทำหน้าที่เป็นศูนย์การประชุม วางแผนและเป็นศูนย์ปฏิบัติการ มีการแพร่กระจายคำขวัญ เช่นภราดรภาพ เอกภาพ เสมอภาค มีการเผยแพร่ลัทธิชาตินิยมอาหรับ ขบวนการยังเตอร์กได้รับการปลุกใจและสนับสนุนให้หันไปพึ่งการลอบวางเพลิงและการปล้นสะดม จนกระทั่ง กามาล อะตาเตอร์ก และอัสมัต อิโนโนปีค.ศ. 1924 ด้วยการนำของขบวนการยังเตอร์กที่นำโดย มุสตาฟา  กามาล อะตาเตอร์ก และอัสมัต อีโนโน ได้เสนอต่อสภาแห่งชาติตุรกี เพื่อประกาศยกเลิกระบบเคาะลีฟะฮฺอิสลามและสถาปนาตุรกีเป็นรัฐปฏิเสธศาสนา(Secularism) ที่แยกศาสนาออกจากอาณาจักร มีการยกเลิกระบบศาลปกครองอิสลาม ปิดสถานศึกษาศาสนา ยกเลิกระบบมรดกอิสลาม เปลี่ยนอะซานจากภาษาอาหรับเป็นภาษาตุรกี ยกเลิกอักษรอาหรับเป็นอักษรลาติน เปลี่ยนวันหยุดราชการจากวันศุกร์เป็นวันอาทิตย์ มรดกอิสลามเหล่านี้ถูกปราบปรามอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์เมื่อปีคศ.1928 ถือเป็นการปิดตำนานอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ที่เคยเป็นศูนย์รวมของประชาชาติมุสลิมและสัญลักษณ์ความเป็นภราดรภาพอิสลามเป็นเวลานานกว่า  600  ปี และเพื่อเป็นการตอบแทนรางวัลความดีความชอบของทาสรับใช้ที่ชื่อมุสตาฟา  กามาล อะตาเตอร์กนี้ ตุรกีจึงเป็นประเทศแรกที่ได้รับอิสรภาพจากการเป็นประเทศอาณานิคมของอังกฤษ


          ปีค.ศ.1914 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 อาณาจักรอุษมานียะฮฺเป็นฝ่ายแพ้สงคราม และในปีค.ศ. 1918 อาณาจักรอุษมานียะฮฺยอมลงนามสงบศึก ประเทศต่างๆที่เคยอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักรอุษมานียะฮฺก็ถูกเฉือนแบ่งเป็นชิ้นๆโดยนักล่าอาณานิคม โดยเฉพาะปาเลสไตน์ซึ่งตกอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษระหว่างปีค.ศ.1920-1948 


         ความขัดแย้งในการครอบครองดินแดนยังคงคุกรุ่นอยู่เรื่อยมาโดยมีกลุ่มไซออนิสต์ ดำเนินการอยู่ทั้งโดยเบื้องหน้าและเบื้องหลัง จนกระทั่งภาคพื้นยุโรปเกิดสงครามโลกขึ้นและได้ลุกลามขยายวงกว้างมายังดินแดนปาเลสไตน์

          กล่าวได้ว่าผลพวงของสงครามโลกครั้งที่1 คือการล่มสลายของระบบเคาะลีฟะฮฺอิสลาม และผลลัพท์ของสงครามโลกครั้งที่ 2 คือการสถาปนารัฐอันธพาลอิสราเอล ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าผู้บงการที่แท้จริงและผู้ชักใยอยู่เบื้องหลังของสงครามโลกทั้งสองครั้ง หาใช่เป็นผู้อื่นนอกจากยิวไซออนิสต์นั่นเอง

 

 

ที่มา : จากหนังสือ"ปาเลสไตน์ แผ่นดินที่ไร้ประชาชน เพื่อทรชนผู้ไม่มีแผ่นดิน"

ผู้เขียน : มัสลัน มาหะมะ

الكاتب : مرسلان محمد

สถาบันอัสสลาม มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา