การทำดีต่อบิดามารดา
  จำนวนคนเข้าชม  6018

 

การทำดีต่อบิดามารดา

ดร.รอชิด บิน หุเสน อัล-อับดุลกะรีม

 

อัลลอฮฺ ตะอาลา ตรัสความว่า 
 

"และพระเจ้าของเจ้าบัญชาว่า พวกเจ้าอย่าเคารพภักดีผู้ใดนอกจากพระองค์เท่านั้นและจงทำดีต่อบิดามารดา

เมื่อผู้ใดในทั้งสองหรือทั้งสองบรรลุสู่วัยชราอยู่กับเจ้า ดังนั้นอย่ากล่าวแก่ทั้งสองว่า อุฟ ! และอย่าขู่เข็ญท่านทั้งสอง

และจงพูดแก่ท่านทั้งสองด้วยถ้อยคำที่อ่อนโยน และจงนอบน้อมแก่ท่านทั้งสอง ซึ่งการถ่อมตนเนื่องจากความเมตตา

และจงกล่าวว่า “ข้าแต่พระเจ้าของฉัน ทรงโปรดเมตตาแก่ท่านทั้งสองเช่นที่ทั้งสองได้เลี้ยงดูฉันเมื่อเยาว์วัย”
 

 {อัล-อิสรออ์: 23-24} 

และทรงอีกตรัสว่า

﴿ وَوَصَّيۡنَا ٱلۡإِنسَٰنَ بِوَٰلِدَيۡهِ حُسۡنٗاۖ ﴾ [العنكبوت: ٩] 
 

"และเราได้สั่งเสียงมนุษย์ให้ทำดีต่อบิดามารดาของเขา"

 {อัล-อันกะบูต: 9} 

ท่านอิบนุมัสอูด เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า
 

« سَأَلْتُ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: أَيُّ الْأَعْمَالِ أَحَبُّ إِلَى اللهِ؟ قَالَ: «الصَّلَاةُ عَلَى وَقْتِهَا» قُلْتُ: ثُمَّ أَيٌّ؟ قَالَ: «ثُمَّ بِرُّ الْوَالِدَيْنِ» قُلْتُ: ثُمَّ أَيٌّ؟ قَالَ: «ثُمَّ الْجِهَادُ فِي سَبِيلِ اللهِ» » [متفق عليه]
 

“ฉันได้ถามท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมว่า “อะมัลใดที่อัลลอฮฺทรงรักมากที่สุด”  

ท่านตอบว่า “คือการละหมาดตามเวลาของมัน” 

ฉันก็ถามอีกว่า “อะไรอีกหลังจากนั้น” 

ท่านตอบว่า “หลังจากนั้นคือการทำดีต่อบุพการีทั้งสอง” 

ฉันก็ถามอีกว่า “อะไรอีกหลังจากนั้น” 

ท่านก็ตอบว่า “หลังจากนั้นคือการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ”

(บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม)

และท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

« جَاءَ رَجُلٌ إِلَى رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَقَالَ: مَنْ أَحَقُّ النَّاسِ بِحُسْنِ صَحَابَتِي؟ قَالَ: «أُمُّكَ» قَالَ: ثُمَّ مَنْ؟ قَالَ: «ثُمَّ أُمُّكَ» قَالَ: " ثُمَّ مَنْ؟ قَالَ: «ثُمَّ أُمُّكَ» قَالَ: ثُمَّ مَنْ؟ قَالَ: «ثُمَّ أَبُوكَ» » [متفق عليه]

“ชายคนหนึ่งมาหาท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม แล้วถามว่า “ผู้ใดคือคนที่มีสิทธิ์มากที่สุดที่ฉันจะต้องคบหาอย่างดี” 

ท่านตอบว่า “คือแม่ของท่าน” 

เขาถามต่ออีกว่า “ใครอีกหลังจากนั้น?” 

ท่านก็ตอบว่า “คือแม่ของท่าน” 

เขาก็ถามอีกว่า “ใครอีกหลังจากนั้น?” 

ท่านก็ตอบว่า “คือแม่ของท่าน” 

เขาก็ถามอีกว่า “ใครอีกหลังจากนั้น?” 

ท่านก็ตอบว่า “หลังจากนั้นก็คือพ่อของท่าน” 

(บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม)

ท่านอับดุลลอฮฺ บินอัมรฺ บินอัลอาศ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า

« جَاءَ رَجُلٌ إِلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، يَسْتَأْذِنُهُ فِي الْجِهَادِ فَقَالَ: «أَحَيٌّ وَالِدَاكَ؟» قَالَ: نَعَمْ، قَالَ: «فَفِيهِمَا فَجَاهِدْ» » [متفق عليه]

“ฉันคนหนึ่งได้มาหาท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม เพื่อมาเขาอนุญาตท่านในการทำญิฮาด 

แล้วท่านก็ถามว่า “พ่อแม่ของท่านยังมีชีวิตอยู่ไหม?” 

เขาตอบว่า “ยังมีอยู่” 

ท่านก็ตอบว่า “เช่นนั้น กับท่านทั้งสองนี้แหล่ะ ที่ท่านจงทำญิฮาด(เพียรพยายามทำดี)” 

(บันทึกโดยอัลบุคอรียฺและมุสลิม)

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

« «رَغِمَ أَنْفُ، ثُمَّ رَغِمَ أَنْفُ، ثُمَّ رَغِمَ أَنْفُ مَنْ أَدْرَكَ أَبَوَيْهِ عِنْدَ الْكِبَرِ، أَحَدَهُمَا أَوْ كِلَيْهِمَا فَلَمْ يُغْفَر لَهُ» » [أخرجه مسلم]

ช่างน่าอัปยศ แล้วก็ช่างอัปยศ แล้วก็ช่างอัปยศ

ผู้ที่ทันได้อยู่กับพ่อแม่คนหนึ่งคนใดหรือทั้งสองของเขาในตอนที่ท่านชรา แต่แล้วเขากลับไม่ได้รับการอภัยโทษ ” 

(บันทึกโดยมุสลิม)


คำอธิบาย

          บิดามารดานั้นมีสิทธิ์อันยิ่งใหญ่ต่อคนเรา อัลลอฮฺได้ทรงกล่าวไว้คู่กันกับสิทธิของอัลลอฮฺอันเป็นมูลเหตุให้อัลลอฮฺทรงสร้างญินและมนุษย์ขึ้นมา นั่นก็คือ การทำอิบาดะฮฺต่อพระองค์ และทรงสั่งใช้ให้ประพฤติดีและทำดีต่อท่านทั้งสอง นั่นก็เพราะบิดามารดา ต้องเผชิญกับความยากลำบากอย่างยิ่ง –โดยเฉพาะมารดา- ในการอบรมเลี้ยงดูและเอาใจใส่ลูกๆ  

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

 ต้องทำดีต่อบิดามารดา และห้ามเนรคุณหรือทำร้ายท่านทั้งสอง แม้จะด้วยกับคำพูดที่เล็กน้อยที่สุดก็ตาม


 การทำดีต่อท่านทั้งสองนั้นในหนึ่งในงานที่อัลลอฮฺทรงรักมากที่สุด และเป็นสาเหตุให้ได้รับการอภัยบาป และเข้าสวรรค์

 สิทธิของมารดาที่เราต้องปฏิบัติดีด้วยนั้น มีมากกว่าและต้องมาก่อนสิทธิของบิดา ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะความอ่อนแอ และความจำเป็นของนาง และความหนักอึ้งที่นางต้องเจอในการเลี้ยงลูก

 หนึ่งในสิทธิของท่านทั้งสองคือ เราต้องดุอาอ์ให้ได้ทั้งสองได้รับความเมตตา

 ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ดุอาอ์ให้แก่ผู้ที่ไม่ทำดีต่อบิดามารดาในยามท่านชราให้ได้รับความตกต่ำ

 


والحمد لله رب العالمين، وصلى الله وسلم على نبينا محمد، وعلى آله وصحبه أجمعين.

 



ผู้แปล: สะอัด วารีย์ / Islamhouse