ศิลปะที่สำคัญของวิธีการดะอฺวะฮฺ ประการที่ 1-5
  จำนวนคนเข้าชม  3274

 

ศิลปะที่สำคัญของวิธีการดะอฺวะฮฺ  30 ประการ


 

เขียนโดย : อาอิฏบินอับดิลลาฮฺอัลก็อรนีย์

แปลและเรียบเรียงโดย : อาจารย์ อับดุลฆอนี บุญมาเลิศ


ศิลปะที่สำคัญของวิธีการดะอฺวะฮฺ ประการที่ 1-5 

 

 

1.ความบริสุทธิ์ใจ (อิคลาศ) ในการดะอฺวะฮฺ (เผยแพร่)

 

          แท้จริงความอิคลาศในการทำงาน เป็นรากฐานที่มาของความสำเร็จในการทำงานนั้น มีความจำเป็นที่นักเผยแพร่จะต้องมีความอิคลาศในการเผยแพร่ของพวกเขา และตั้งใจทำงานเพื่ออัลลอฮ์ เท่านั้น โดยไม่ต้องเหลียวมองหาส่วนใดของดุนยาที่สูญสลายได้ ดังที่อัลลอฮฺ ได้ตรัสเกี่ยวกับนักเผยแพร่ไว้ในมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ว่า
 

“...ฉันนั้นมิได้ขอค่าจ้างใด จากพวกท่านในการทำหน้าที่เผยแพร่...”
 

(อัลฟุรกอน/57)

 

          ดังนั้นสำหรับนักเผยแพร่แล้ว จะต้องไม่มีการขอตำแหน่งหรือลาภยศใดๆ หรือแม้แต่การมีชื่อเสียง หากแต่ว่า เขาจะต้องมีเป้าหมายในการทำงานของตนเพื่ออัลลอฮ์  เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น
 

“(มุฮัมหมัด)จงกล่าวเถิด ไม่มีรางวัลใดที่ฉันจะขอจากพวกท่าน เพราะมันเป็นของพวกท่าน...”
 

(สะบะอฺ/47)
 

และบทกลอนที่ว่า
 

 “พวกท่านจงเอาทุกสิ่งที่เป็นของพวกท่านไป และพวกท่านจงปล่อยหัวใจของฉันไว้อย่างอิสรเสรีเหมือนคนแปลกหน้า 
 

เพราะฉันนี้ร่ำรวยยิ่งกว่าพวกท่าน และหากพวกท่านปล่อยฉันไว้คนเดียวเปล่าเปลี่ยวมันคงจะดีกว่า !”


 

2.กำหนดเป้าหมายในการเผยแพร่ให้ชัดเจน

          จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่เผยแพร่นั้น จะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำหน้าที่ของตน เป้าหมายนั้นคือการดำรงศาสนาเอาไว้ด้วยการแผ่อำนาจของคุณธรรมความดี โดยการกำจัดขุดรากถอนโคนความชั่วร้ายให้หมดไปจากโลกนี้  
 

ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
 

         “ที่ฉันปรารถนาไม่ใช่สิ่งใด นอกจากการปฏิรูปให้ดีขึ้นเท่าที่ฉันจะสามารถ และความสำเร็จของฉันจะเกิดขึ้นไม่ได้เว้นแต่ด้วยความช่วยเหลือของอัลลอฮ์เท่านั้น ยังพระองค์เท่านั้นที่ฉันขอมอบหมายและยังพระองค์เท่านั้นที่ฉันจะกลับไปหา...”

 (ฮู้ด/88)


3.พยายามทำตัวเป็นนักสู้ (มุญาฮิดีน)

          นักเผยแพร่เปรียบเสมือนนักสู้ในหนทางของอัลลอฮฺ  เพราะการเป็นนักเผยแพร่เหมือนการเป็นนักรบที่รักษาการณ์อยู่ที่ป้อมปราการชายแดน เฝ้ารักษาความปลอดภัยของมาตุภูมิหน้าที่ของนักรบต้องคอยต่อสู้ปราบปรามศัตรูที่เข้ามารุกราน  นักเผยแพร่ก็เช่นเดียวกันที่จะต้องต่อสู้กับบรรดาศัตรูของอัลลอฮฺ  ได้แก่บรรดาพวกที่ต้องการกะทำตามอารมณ์ใครใฝ่ต่ำ สร้างความคุลมเครือสงสัยอยู่ในโคลนตมแห่งความต่ำทราม 

ดังที่อัลลอฮฺ  ได้ตรัสไว้

“และบรรดาผู้ที่ปฏิบัตตามความใครใฝ่ต่ำนั้น ปรารถนาที่จะให้พวกเจ้าเอนเอียงออกไปอย่างมากมาย”

(อัลนิซาอฺ/27)

          ดังนั้นจำเป็นที่นักเผยแพร่ (นักดะอฺวะฮฺ) จะต้องมีลักษณะดังเช่น มุญาฮิดีน และจะต้องพยายามมีความอดทนหนักแน่นต่อสู้บรรดาศัตรูลงได้สำเร็จ 

ดังที่มีคำดำรัสของอัลลอฮฺ  ว่า

          “...จนกระทั่งพวกเจ้าปราบพวกมันจนพ่ายแพ้แล้ว ก็จงจับพวกมันเป็นเชลย หลังจากนั้นจะปล่อยให้เป็นไทหรือจะเรียกเอาค่าไถ่ก็ได้ จนกระทั่งการทำสงครามได้สิ้นสุด จากการปล่อยวางอาวุธ...”

(มุฮัมหมัด/4)


4. แสวงหาความรู้ที่เป็นประโยชน์จากคำสอนที่สืบทอดมาจากท่านนบีมูฮัมหมัด 

          จำเป็นอย่างยิ่งที่นักเผยแพร่ (นักดะอฺวะฮฺ)จะต้องแสวงหาความรู้ที่เป็นประโยชน์จากคำสอนที่สืบทอดมาจากท่านนบีมูฮัมหมัด  ครูผู้สอนคุณธรรม เพื่อที่จะได้ทำการเชิญชวนผู้คนด้วยความรู้ที่ถูกต้องแท้จริง 
ดังที่อัลลอฮฺ  ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอานว่า

          “ มูฮัมหมัดจงกล่าวเถิดว่านี่คือแนวทางของฉันฉันจะเรียกร้องไปสู่ อัลลอฮฺอย่างประจักษ์แจ้ง ทั้งตัวฉันและผู้ปฏิบัติตามฉัน และอัลลอฮฺผู้ทรงมหาบริสุทธิ์และฉันนั้นมิได้อยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคีใดๆ”

(ยูซุฟ/134)

มูญาฮีดีนได้กล่าวว่า อัลบะศีเราะฮฺ แปลว่า "ความรู้" 

และคนอื่นๆบอกว่า อัลบะศีเราะฮฺ มีความหมายว่า "สุขุม" 

และมีผู้ที่แปลคำว่า อัลบะศีเราะฮฺ ว่าเป็น "การให้เอกภาพแด่อัลลออฮฺ "

          ความจริงแล้วทั้งสามความหมายสอดคล้องกันทั้งสิ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่นักเผยแพร่จะต้องมีหลักการให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺ  ผู้ทรงเป็นหนึ่งเดียว นักเผยแพร่จะต้องไม่เกรงกลัวผู้ใดทั้งสิ้นนอกจากอัลลอฮฺ  องค์เดียวเท่านั้น เขาจะไม่มุ่งหวังจากผู้ใด นอกจากอัลลอฮฺ  จะไม่หวาดหวั่นอะไรนอกจากอัลลอฮฺ  ในการที่จะทำผิด และจะต้องไม่รักใครเท่ากับรักอัลลอฮฺ 

          นักเผยแพร่จะต้องเป็นผู้มีความรู้ที่เป็นประโยชน์เหมาะสมกับภารกิจ ต่อความรู้ที่อัลลอฮฺ  ตรัสไว้ในมหาคัมภีร์อัลกุรอานและความรู้ตามที่ท่านรอซูล  ของพระองค์ได้บอกไว้ เพื่อที่จะได้เชิญชวนผู้คนสู่หลักการด้วยวิชาการความรู้ดังกล่าวที่ถูกต้อง โดยสามารถท่องจำอัลกุรอานทั้งเล่มหรือบางส่วน และต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องฮาดิษต่างๆอย่างละเอียด สามารถแยกแยะสายรายงานได้ถูกต้อง ว่าเป็นบทใดในฮาดิษศอเฮียะหฺ หรือบทใดในฮาดิษที่ฎออีฟ เพื่อว่าผู้ที่ได้รับฟังทั้งหลาย จะได้มีความมั่นใจในความรู้ที่ถูกต้องที่เขาได้นำมาเผยแพร่และแสดงให้กับผู้คนทั้งหลายทราบว่า เรานั้นให้เกียรติแนวความคิดข้อเสนอแนะของผู้คน ให้เกียรติการมาร่วมอยู่ด้วยของพวกเขา จำเป็นที่จะต้องเกียรติผู้เข้าร่วมประชุม โดยเสนอวิชาความรู้ให้พวกเขาได้รับประโยชน์เพิ่มเติมทุกครั้ง เป็นการสร้างเสริมไปตามแนวทางของ อะหฺลุลซุนนะฮฺวัลญามาอะฮฺ

          เช่นเดียวกันนักเผยแพร่ต้องรักษาเวลาทั้งขณะที่อยู่ที่พักประจำ หรือแม้แต่อยู่ในช่วงการเดินทาง ตลอดจนในสถานที่นั่งอยู่เป็นประจำเพื่อที่เขาจะสามารถทำหน้าที่สั่งสอนชี้แจงปัญหาและวินิจฉัยประเด็นต่างๆ ได้ถูกต้องเที่ยงตรงให้กับบรรดานักศึกษา และยกย่องให้เกียรติผู้อาวุโส นำประโยชน์จากนักวิชาการ หรือผู้ผ่านประสบการณ์ และจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความฉลาดปราดเปรื่อง เมื่อนักเผยแพร่ปฏิบัติได้เช่นนั้นอัลลอฮฺ  จะทรงให้ผลงานของเขาครบถ้วนสมบูรณ์ คำพูดของเขาก็จะเกิดประโยชน์มีน้ำหนัก น่าเชื่อถือและหลักฐานที่เขานำมาเสนอก็จะได้เปรียบถูกต้องสมบูรณ์เสมอ


5.นักเผยแพร่จะต้องไม่มีนิสัยทะนงตนยโสโอหังว่าตนเองเหนือชั้นกว่าผู้อื่น

         สมควรอย่างยิ่งที่นักดะอฺวะฮฺจะต้องไม่เย่อหยิ่งทะนงตน ต้องมีความนอบน้อมถ่อมตนอยู่เสมอ ไม่วางตนข่มผู้อื่น และต้องระลึกอยู่เสมอว่าความเป็นคนนั้นจะมีความไม่สมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา และผู้สมบูรณ์เพียบพร้อม นั้นมิใช่มนุษย์ แต่คือพระเจ้า ดังนั้นความเป็นมนุษย์คือผู้มีแต่ความขาดแคลนไม่มีความสมบูรณ์ครบถ้วน อัลลอฮฺ  ตรัสว่า 

          “และหากไม่ใช่ความกรุณาโปรดปราน หรือความเอ็นดูเมตตาของอัลลอฮ์ ที่มีต่อเจ้า และก็ไม่มีผู้ใดเลยในหมู่พวกเจ้าสักคนหนึ่งที่บริสุทธิ์ แต่ทว่าอัลลอฮ์ทรงให้ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์เป็นผู้ที่บริสุทธิ์”

(อันนูร/27)

        ดังนั้น พระองค์เท่านั้น คือผู้ทรงสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งแต่เพียงผู้เดียว ส่วนที่ไม่สมบูรณ์ก็คือ เราเป็นมนุษย์ธรรมดา อัลลอฮฺ  ทรงเอาความสมบูรณ์เพียบพร้อมไปหมดสิ้นแล้ว และปล่อยความไม่สมบูรณ์ไว้ที่มวลมนุษย์ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว มนุษย์จึงเป็นผู้ที่ถูกบังเกิดมาจากส่วนที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์

          สำหรับนักดะอฺวะฮฺแล้ว จะต้องปฏิบัติตนต่ออัลลอฮฺ  ด้วยความนอบน้อมถ่อมตนในลักษณะของผู้ที่มีแต่ความไม่สมบูรณ์ยังขาดตกบกพร่องอยู่ตลอดเวลา ทั้งบรรดาชายและหญิง และบรรดาหนุ่มหรือผู้ชราก็ตาม 

อัลลอฮฺ  ได้ตรัสว่า 

“ แท้จริงพระเจ้าของเจ้านั้นเป็นผู้ทรงกว้างขวางในการอภัย พระองค์ทรงรู้จักพวกเจ้าดียิ่ง เมื่อครั้งบังเกิดพวกเจ้าจากแผ่นดิน...”

 

          ดังนั้น เมื่ออัลลอฮฺ ได้ทรงสร้างพวกท่านมาจากดินของแผ่นดินพวกท่านก็คือ ผู้ที่ไม่มีความสมบูรณ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ ท่านนบี  จึงสั่งใช้ให้เราปฏิบัติต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอย่างไม่ถือตน โดยสำนึกตนอยู่เสมอว่า มนุษย์ทั้งหลายนั้นไม่สมบูรณ์ พวกเขานั้นอ่อนแอ เมื่อได้พบเห็นผู้อ่อนแอกว่าต้องได้รีบเข้าไปช่วยเหลือ สนับสนุนให้กำลังใจและชักจูงเขาไปสู่หนทางที่ถูกต้องสมควร

          ส่วนนักดะอฺวะฮฺที่ทะนงตน ดำเนินความเป็นอยู่แบบข่มเหงผู้อื่น ไม่เหมาะสมที่จะสังคมกับใคร เพราะเขาจะคาดหมายจากผู้คนทั้งหลายว่า ตนเองนั้นคือผู้วิเศษ เป็นมลาอิกะฮฺ แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ มีความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างมนุษย์กับมลาอิกะฮ์ คือการกิน การดื่ม ความเข้าใจดังที่กล่าวนั้นเป็นสิ่งผิด โดยเฉพาะดังเช่นยุคศตวรรษที่ 15 ซึ่งไม่มีทั้งท่าน นบีมูฮัมหมัด  และบรรดาศ่อฮาบะฮ์ ที่เป็นบุคคลชั้นแนวหน้า ขณะเดียวกันยังขาดแคลนนักวิชาการหรือผู้รู้ ความคลุมเครือก็จะมีมากขึ้นเป็นลำดับ มีการทำอุตรินอกบทบัญญัติของศาสนาได้ครอบงำพวกเขา ในทุกสถานที่ ทำให้พวกเขาจมดิ่งอยู่ในอารมณ์ใฝ่ต่ำ มีการลุกขึ้นมาสู้รบกับพวกเรา โดยมีการวางแผนที่ซักซ้อมกันเป็นอย่างดีจากสภาโลก  ที่มีเบื้องหลังเป็นแผนการทำลายล้างของพวกกระบวนการไซออนนิสม์โดยที่พวกเขาพร้อมสมัครพรรคพวกรวมเป็นพวกเดียวกัน 

         นักดะอฺวะฮฺที่ดีจะต้องใกล้ชิดกับกลุ่มชนให้มาก ต้องระลึกไว้เสมอว่าตนนั้นยังทำหน้าที่บกพร่อง และพยายามเข้าใจว่า มนุษย์โดยทั่วไปชอบที่จะเบี่ยงเบนออกไปจากหนทางที่เที่ยงตรง ดังนั้นผู้ที่เป็นนักดะอฺวะฮฺที่ดีจะต้องไม่ใช้ชีวิตแบบหยิ่งทะนงตนเป็นอันขาด


 

 

ที่มา อัลอิศลาห์สมาคม