ศิลปะที่สำคัญของวิธีการดะอฺวะฮฺ ประการที่ 10-13
  จำนวนคนเข้าชม  2823

 

ศิลปะที่สำคัญของวิธีการดะอฺวะฮฺ  30 ประการ 

 

เขียนโดย : อาอิฏบินอับดิลลาฮฺอัลก็อรนีย์

แปลและเรียบเรียงโดย : อาจารย์ อับดุลฆอนี บุญมาเลิศ


 

ศิลปะที่สำคัญของวิธีการดะอฺวะฮฺ ประการที่ 10-13

 

10. ต้องไม่ออกนอกแนวทางของกิตาบุลลอฮฺ

      แท้จริงแล้ว มีนักอบรมและนักเผยแพร่บางคน ที่มีความเป็นห่วงและความปรารถนาอย่างแรงกล้าในการเผยแพร่ศาสนาที่จะให้ผู้คนยำเกรง จนทำให้เขาเพิ่มเติมเข้าไปในเรื่องของศาสนานั้นเกินเลยไปกับความผิดที่ไม่ถึงขั้นนั้น เช่น ในขณะที่พวกเขาได้พูดถึงเรื่องของการทำมะศิยัต (การฝ่าฝืนอย่างหนึ่ง) เขาก็วางโทษเสียหนักเกินไปยิ่งกว่าที่อัลลอฮฺ  ได้ทรงวางเอาไว้เสียอีก เช่นเรื่อง เมื่อต้องการห้ามสูบบุหรี่ และเรื่องบุหรี่ 
 

       เขาจะพูดว่า “ท่านทั้งหลาย แท้จริงแล้ว ใครที่สูบบุหรี่ อัลลอฮฺ  จะมิทรงให้เขาได้เข้าสวรรค์ ซึ่งผลตอบแทนของการสูบบุหรี่นั้นคือนรกญะฮันนัม เขาจะต้องเข้าไปอยู่ในนั้นอย่างตกต่ำและถูกประณาม”

       การพูดดังกล่าวนี้ถือว่าผิด เพราะมีตราชั่งบทลงโทษต่างๆในเรื่องของศาสนา  ยังมีเรื่องของการทำชิริกที่ตกศาสนา และเรื่องที่เป็นบาปใหญ่ เรื่องที่เป็นบาปเล็ก และยังมีเรื่องที่อนุโลมทำได้ และอัลลอฮฺ  ทรงเป็นผู้กำหนดขนาดความผิดของทุกเรื่องเอาไว้แล้ว

 

       จำเป็นอย่างยิ่งที่นักดะอฺวะฮฺจะต้องไม่มักง่ายในเรื่องการลงโทษต่อผู้ทำความผิด ขณะเดียวกันเขาจะต้องไม่มักง่ายเรื่องของผลบุญความดีต่างๆ เช่นเมื่อยกหลักฐานฮะดีษมายืนยัน แต่ก็กลับยกฮาดีษฎออีฟมายืนยัน เช่น บอกว่า
 

        “ใครที่กล่าว่า “ลาอิลาฮะอิลลัลลอฺ มุฮัมมัดร่อซูลุลลอฮฺ” อัลลอฮฺได้สร้างวังให้แก่เข้าถึงเจ็ดสิบแห่งในสวนสวรรค์ ในแต่ละวังนั้นมีเจ็ดสิบทางสวรรค์ ในแต่ละทางสวรรค์นั้นมีเด็กรับใช้เจ็ดสิบคน แล้วจะคงอยู่ในเจ็ดสิบตั้งแต่การละหมาดอัศริจนถึงละหมาดมัฆริบ...!”

       ความมักง่ายดังกล่าวเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง จำเป็นที่คนเราต้องพูดในสิ่งที่ถูกต้อง สำนึกอยู่เสมอว่า ตนนั้นกำลังพูดถึงพระดำรัสของพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากท่านนบี 


11.ไม่นำหลักฐานฮะดีษที่อุปโลกน์ มาบอกเล่า

        จำเป็นอย่างยิ่งที่นักดะอฺวะฮฺ ต้องไม่ยกหลักฐานด้วยการอ้างอิงจากฮะดีษที่เก๊หรือโกหก ต้องสำนึกอยู่เสมอว่า ฮะดีษนั้นถูกคัดกรองมาอย่างดีและทุกฮะดีษนั้นได้รับการตรวจสอบแส้ว ด้วยเหตุนี้ขณะที่คนชื่อ อัลมัศลูบ เป็นมนุษย์มหาปะลัยที่ทำการปลอมแปลงฮะดีษ ถึง 4,000ฮะดีษ อันเป็นฮะดีษเท็จ โดยอ้างท่านนบีมูฮัมหมัด  และได้ถูกจับมาให้ฮารูนอัรรอชีดเพื่อทำการประหาร เมื่อฮารูนอัรรอชีดชักดาบออกมา จอมมหาภัยได้พูดขึ้นมาว่า ท่านจะสังหารฉัน หรือไม่สังหารก็ตาม ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ  ว่า ฉันได้ปลอมแปลงฮะดีษให้แก่ประชาชาติมูฮัมหมัด  ไปแล้วถึง 4,000 ฮะดีษ

       ฮารูนอัรรอชีด จึงกล่าวว่า  ไม่สำคัญหรอกเจ้าศัตรูของอัลลอฮฺ  จะมีผู้มีความเชี่ยวชาญผู้มีพลังมาบอกได้ว่า ปลอมหรือเก๊ พวกเขาจะทำการสอบสวนคัดกรองจนได้ เช่น อิบนุ มุบาร็อก อบีอิสหาก อัลมัรว์ซียฺ ใช้เวลาไม่ถึงได้สามวัน อับดุลลอฮฺ บินมุบาร็อก ก็ทำการคัดกรองฮะดีษเก๊ได้หมดและสามารถยืนยันได้ว่าเป็นฮะดีษเก๊ทั้งหมด

       ด้วยเหตุนี้ อัลฮัมดุลิลลาฮ์ บรรดาฮะดีษปลอมแปลงทั้งหลายนั้นได้ถูกระบุไว้ชัดเจน จึงขอเตือนบรรดานักดะอฺวะฮฺทั้งหลายให้ระวัง อย่าได้นำมาใช้และตักเตือนผู้คน และตักเตือนถึงอันตรายของฮะดีษปลอมแปลงเหล่านั้น และถ้าหากมีการโต้แย้งว่าไม่เป็นไร มันยังเป็นประโยชน์ต่อการเรียกร้องไปสู่หนทางของอัลลอฮ์  การโต้แย้งดังกล่าวนี้ขึ้นอยู่กับว่าต้องมีที่มาจากท่านรอซูล  อย่างแท้จริงเท่านั้น โดยไม่ใช้ฮะดีษปลอมแปลง เช่นฮะดีษของอัลกอมะฮฺ ที่เขาได้ขัดแย้งกับแม่ของเขา และฮะดีษของษะอุละบะฮฺเกี่ยวกับเรื่องซะกาตหรือฮะดีษอื่นๆ ที่ปลอมแปลงขึ้น ซึ่งนำมาเป็นหลักฐานยืนยันไม่ได้ เพราะจะนำภัยอันตรายยิ่งใหญ่มาสู่ประชาชาติมุสลิม และผลที่จะเกิดจะเป็นความบกพร่องและเป็นอันตรายแก่ประชาชาติ แต่อนุญาตให้นักดะอฺวะฮฺนำมาบอกแก่ผู้คนได้ เฉพาะในการบรรยายหรือการสอน หรือคุฏบะฮฺเกี่ยวกับเรื่องฮะดีษโกหกเท่านั้น เพื่อเป็นการเตือนให้ผู้คนได้รู้ว่าเป็นฮะดีษปลอมแปลง !

การที่จะนำฮะดีษที่ฎออีฟต่างๆ มายืนยันเป็นหลักฐานนั้น มีเงื่อนไขอยู่สามประการด้วยกัน

เงื่อนไขข้อที่หนึ่ง : จะต้องไม่อยู่ในขั้นที่ฎออีฟที่รุนแรงมาก

เงื่อนไขข้อที่สอง : จะต้องมีหลักเกณฑ์โดยรวมทางหลักบัญญัติมาอ้างอิงและสนับสนุนด้วยได้

เงื่อนไขข้อที่สาม : จะต้องไม่ใช่เรื่องสำหรับข้อชี้ขาดตัดสิน จะอนุโลมเฉพาะเรื่องของฟะฎออิลุลอะอฺม้าล (เรื่องส่งเสริมให้ทำความดีเท่านั้น)

ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุอัยตัยมียะฮฺ ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ บอกไว้ว่า “อิมามอะฮฺหมัด” ได้กล่าวว่า

       “เมื่อได้มีฮะดีษเกี่ยวกับเรื่องฮะล้าล และเรื่องฮะรอม พวกเราก็เข้มงวดในระดับฮะดีษนั้น และเมื่อมีฮะดีษเกี่ยวกับ ฟะฎออิ้ล ต่างๆ เราก็อนุโลมให้ นี่เป็นคำพูดที่ดี แม้ว่ามันจะไม่เป็นเอกฉันท์ก็ตาม”


12. ไม่ตำหนิองค์กร มูลนิธิ สมาคม หรือคณะต่าง ๆ ด้วยการระบุโดยตรง

        จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักดะอฺวะฮ์ ที่จะต้องไม่ตำหนิองค์กรต่าง ๆ โดยกล่าวชื่อกันตรง ๆ หน้าที่ของนักดะอฺวะฮฺนั้น จะต้องบอกแจ้งเรื่องที่เป็นความจริง และเรื่องที่เป็นเท็จ เพื่อที่ผู้อยู่ในความจริงจะได้ทราบว่าตนนั้นทำถูกแล้ว และใครที่มีความมดเท็จอยู่ก็จะรู้ว่าตนนั้นทำผิด เพราะเมื่อเขาได้กระทำการดังกล่าวนั้นไปกระทบเกี่ยวข้องกับคนกลุ่มใหญ่ทั่วไปหรือกับองค์กร หรือตระกูลเป็นรายตัว หรือเกี่ยวกับสมาคม หรือมูลนิธิ หรือห้างร้านบริษัท จะเป็นสาเหตุให้คนเป็นจำนวนมากของพวกเขาหนีห่างไปจากเขาไม่ต้อนรับและละทิ้งเขา การเชิญชวนของเขาดังกล่าวนี้ถือว่าเป็นความผิด ในหนังสือ ได้มีรายงานจากท่านนบี  ว่า

“การตำหนิที่เลวที่สุดนั้นคือ  การที่นักกวีด่าเสียดสีตระกูลนั้น  ด้วยการยกทุกครอบครัวในตระกูลมาเสียดสี” 

(บันทึกโดยบุคคอรี)

        การกระทำเช่นนี้ถือว่าผิด  เพราะผู้ที่ตำหนิว่าตระกูลว่าตระกูลนั้นตระกูลนี้เลวทั้งหมดไม่มีดี เขาพูดผิดแล้ว!! เพราะเขาพูดไม่จริงในเรื่องที่กล่าวนั้น เพราะการตำหนิรวมนั้นเป็นความผิด

        นักดะอฺวะฮฺ ต้องใช้ไหวพริบในการพูดเผยแพร่สั่งสอน เพื่อโน้มน้าวหัวใจคนฟัง ไม่พูดจายั่วยุผู้คนทั้งหลายให้โกรธเขา เพราะธรรมชาติของมนุษย์มักจะโกรธหรือออกรับแทนพวกพ้องวงศ์ของตนหรือประชาชน หรือบริษัท หรือมูลนิธิ หรือสมาคมของพวกเขาทั้งสิ้น ดังนั้นจึงจำเป็นและสมควรที่นักดะอฺวะฮฺต้องหลีกเลี่ยงการตำหนิด่าว่า หรือประณามทับถมผู้คนทั้งหมู่เหล่า หรือผู้เป็นเจ้าของกิจการ หรือผู้ที่สนิทชิดเชื้อ หรือผู้ที่เป็นพี่น้องของเขา ตลอดจนผู้ที่ถูกเชิญชวน เช่น การที่เขาจะพูดว่า “ฉันได้พูดว่า ฉันได้ทำ ฉันได้เขียน ฉันได้สั่ง ฉันได้โกรธ ฉันได้ชอบสนิทสนม” เพราะคำว่า อะนา เป็นคำที่อิบลีส (ชัยฏอน) ชอบใช้

        ท่านอิบนุลกอยยิม ร่อฮิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า  “และจงระวังไว้ให้มากจากการใช้ถ้อยคำที่มีการทรยศฝ่าฝืน เช่นคำว่า  ฉัน และคำว่า  เป็นของฉัน  และคำว่า   ที่ฉัน   ซึ่งทั้งสามคำนี้ที่  อิบลีส, ฟิรเอาวน์ และกอรูน ได้ถูกทดสอบมาแล้ว”

อิบลีส ได้พุดว่า
 

 “...ข้าพระองค์ดีกว่าเขา โดยที่พระองค์ทรงบังเกิดข้าพระองค์มาจากไฟ และได้บังเกิดเขามาจากดิน”

(อัลอะอฺร็อฟ / 12)

ฟิรเอาวน์ ได้พูดว่า
 

“...อาณาจักรแห่งอียิปต์นี้มิได้เป็นของข้าดอกหรือ...”  

(อัซซุครุฟ / 51)

กอรูน ได้พูดว่า
 

“แท้จริงฉันได้รับมันเพราะความรู้ที่ฉันมีอยู่...”

(อัลเกาะศ็อศ / 78)

         ดังนั้นจงหลีกเลี่ยงถ้อยคำเหล่านี้ "ฉัน , ของฉัน ,ที่ฉัน"  ที่มีความหมายยกตนเป็นผู้ยิ่งใหญ่เหนือชั้นมากเกินไป หากแต่ว่า คำว่า อะนา (ฉัน)นั้นใช้ได้ในการพูด เช่นการพูดว่า ฉันยังทำได้ไม่สมบูรณ์ยังมีความบกพร่องอยู่

       นักดะอฺวะฮฺ  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความอ่อนน้อมถ่อมตนจะต้องปกป้องพี่น้อง และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอคำแนะนำปรึกษาหารือ จะต้องนึกเสมอว่า ยังมีคนที่รู้ยิ่งกว่า ยังมีคนที่เก่งกว่าหรือคนที่ดีกว่าตน

       สลัฟบางคนพูดไว้ว่า “คนที่นิ่งนั้น กำลังรอผลบุญจากอัลลอฮฺ  ส่วนคนที่พูดนั้นกำลังรอความกริ้วโกรธ เพราะผู้พูดนั้นย่อมมีผิดเสมอ”


13. นักดะอฺวะฮฺนั้น  จะต้องรู้จักประมาณตนให้พอเหมาะพอควรกับกาลเทศะ

       นักดะอฺวะฮฺ  ไม่สมควรอย่างยิ่งที่ตำทำเรื่องทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่โตเกินขนาดความเป็นจริง  เพราะในเรื่องราวของศาสนานั้นมีเริ่มและมีจบ

  อัลลอฮฺ ได้ตรัสว่า

“วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก้พวกเจ้าแล้ว ซึ่งศาสนาของพวกเจ้าและข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว  ซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า

และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว"

 (อัลมาอิดะฮฺ / 13)

          ดังนั้น นักดะอฺวะฮฺที่ดี ต้องไม่ทำให้ประเด็นนั้นใหญ่โตเกินขนาดของปัญหานั้น ๆ หรือละเลยเรื่องร้ายแรง จนเรื่องความผิดใหญ่โตกลับกลายเป็นเรื่องไร้ความหมายในสายตาผู้คน ดังเช่น

         นักดะอฺวะฮฺบางคนถือเอาเรื่องการไว้เคราเป็นปัญหาสำคัญมากจนเกินไปถึงขั้นว่า การไว้เครานั้นเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งพอๆ กับหลักการเตาฮีด ทำให้คนตกนรกหรือเข้าสวรรค์ได้ หรือในบางครั้งก็พูดว่าใครโกนเคราเข้านรกไม่ต้องออก ทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่าประเด็นเรื่องเครานั้นเป็นเรื่องซุนนะฮฺที่จำเป็นต้องกระทำ  ใครโกนทิ้งก็ถือว่าฝ่าฝืนสิ่งต้องห้าม  อย่าบอกถึงความผิดจนเกินเลยไปกว่านั้น  เช่นเดียวกับประเด็กเสื้อผ้าลากพื้น การรับประทานอาหารด้วยมือซ้ายหรืออีกหลาย ๆ ประเด็น อย่าได้พูดเกินขนาดของความผิด  เพราะอัลลอฮฺ  ได้ทรงวางขนาดความผิดไว้แล้วในทุกสิ่งอย่างเหมาะสม

        ดังนั้น  นักดะอฺวะฮฺ  จำเป็นต้องกระทำตามแบบฉบับของท่านนบี  ท่านได้บรรยายเรื่องหลักการเตาฮีดเสียเป็นส่วนใหญ่  ในทุกครั้งทุกสถานที่ตามความจำเป็นที่พอเหมาะ เพื่อว่าผู้คนจะได้ไม่ท้อแท้

        เป้าหมายของการอบรมสั่งสอนนั้น  จะต้องไม่ทำให้เรื่องเล็กเป็นเรื่องใหญ่ หรือทำเรื่องใหญ่สำคัญให้เป็นเรื่องเล็กไร้ความหมาย

        บางครั้งผู้คนมองข้ามเรื่องไสยศาสตร์ หรือการทำไสยศาสตร์ แล้วบอกว่าเป็นเพียงบาป ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าในทัศนะของนักวิชาการส่วนใหญ่แล้วจะชี้ขาดว่าเป็นการตกศาสนา แต่ว่ามีนักดะอฺวะฮฺบางคนมองข้ามไปเกี่ยวกับประเด็นของไสยศาสตร์โดยไม่พูดถึง  หรือในบางครั้งก็ละเลยเรื่องที่เกิดขึ้นในการเขียนโจมตีอิสลามจากศัตรูผู้เกลียดชังมุสลิมในวารสาร สื่อสิ่งพิมพ์ และยังบอกว่าอาจเป็นไปได้  ไม่เป็นไร ? หรืออื่นๆ



 

ที่มา อัลอิศลาห์สมาคม