มารยาทกับหลักความเชื่อ
  จำนวนคนเข้าชม  11805


 

 

ความสัมพันธ์ระหว่างมารยาทกับหลักความเชื่อ 

Dr. ซอและห์ บิน ดิรบาช อัซซะรอนี

 

          มวลการสรรเสริญเป็นเอกสิทธ์ของอัลลอฮ์เพียงผู้เดียว  ความสุขความศานติจงประสบแด่ผู้ที่เป็นนะบี และไม่มีนะบีท่านใดหลังจากท่าน

          แท้จริงศาสนาอิสลามนั้นเกี่ยวข้องกับมนุษย์ในทุกๆด้าน เช่น ร่างกาย สติปัญญา วิญญาณ รวมไปถึงพฤติกรรม ความคิด ความรู้สึก และครอบคลุมการใช้ชีวิตในโลกนี้และโลกหน้า  ดังนั้นการเป็นมนุษย์จะไม่มีคุณค่าใดๆเลยเมื่อเขาไม่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับหลักความเชื่อของศาสนาอิสลาม ความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างหลักความเชื่อกับจริยธรรม  และหลักความเชื่อที่ถูกต้องจะต้องสัมพันธ์กับพฤติกรรมที่ดี ปราศจากพฤติกรรมที่น่าตำหนิ  มารยาทนั้นมีความสัมพันธ์กับสามในหกข้อของหลักการศรัทธา ซึ่งเป็นศูนย์รวมของศาสน์แห่งพระผู้เป็นเจ้า  คือ  การศรัทธาต่ออัลลอฮ์  การศรัทธาต่อบรรดาเราะซูล  การศรัทธาต่อการฟื้นคืนชีพ

 

 1.ในส่วนของการศรัทธาต่ออัลลอฮ์ 

        มุสลิมเมื่อแสดงออกถึงมารยาทที่ดี  และห่างไกลจากมารยาทที่ไม่ดี  เพราะเขายึดมั่นว่า อัลลอฮ์ ได้สั่งใช้ในเรื่องดังกล่าว  การแสดงออกจึงเป็นส่วนหนึ่งของมารยาท และมารยาทที่ดีก็เป็นส่วนหนึ่งจากความศรัทธาที่มั่นคง

          แท้จริงอัลลอฮ์ ทรงกำหนดในเรื่องมารยาทให้ดำรงไว้ซึ่งมารยาทที่ดี ดังคำพูดของท่านนะบี

“การศรัทธามีมากกว่า หกสิบแขนง และที่ประเสริฐที่สุดของการศรัทธา

คือ คำปฏิญาณว่า “ไม่มีพระเจ้าที่ถูกเคารพโดยแท้จริงนอกจากอัลลอฮ์” 

ความศรัทธาที่ต่ำสุด คือ การขจัดสิ่งกีดขวางออกจากถนนหนทาง  และความละอายเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา”

          การนำสิ่งกีดขวางออกจากทางที่คนสัญจรไปมาถือเป็นส่วนหนึ่งของมารยาทที่น่าสรรเสริญ และเป็นแขนงหนึ่งของการศรัทธา  บรรดานักวิชาการได้จัดหมวดหมู่แขนงต่างๆของความศรัทธา และลักษณะของการศรัทธาที่เกี่ยวข้องกับมารยาทมากมาย และถือว่ามารยาทที่ดีนั้นเป็นส่วนหนึ่งของความศรัทธา (หนังสือ ของท่านอัลบัยอากีย์ ชื่อหนังสือว่า  ชัวะบุลอีมาน และหนังสือที่มาสรุปแบบย่อของชัวะบุลอีมาน ของ กอซวานีย์ และนอกเหนือจากสองเล่มนี้)

          หะดีษส่วนมากได้นำเรื่องมารยาทจัดอยู่ภายใต้หลักการศรัทธา ตัวอย่างเช่น แท้จริงการมีมารยาทที่ดีเป็นแขนงหนึ่งหรือเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา

 

 2. ความสัมพันธ์และมารยาทที่เกี่ยวข้องกับการศรัทธาต่อท่านรอซูล 

          เมื่อมุสลิมได้แสดงออกซึ่งมารยาทที่ท่านเราะซูล ส่งเสริมและเป็นมารยาทที่ได้รับมาจากพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งในการปฏิบัติเขาได้เชื่อมั่นว่านั่นเป็นสิ่งที่ท่านนะบี ได้รับมาจากพระเจ้าของเขา  และจากการอธิบายของท่านนะบี 

          ความต้องการของการศรัทธาต่อเราะซูลของอัลลอฮ์  คือการปฏิบัติตามมารยาทที่ดีงาม และการปลีกตัวออกจากสิ่งที่ห้าม จากพฤติกรรมที่เลวทราม  การแสดงออกซึ่งมารยาทที่ดีนั้นเป็นการปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านนะบี  ซึ่งท่านได้ถูกส่งมาเพื่อให้สร้างมารยาทที่สมบูรณ์ และเป็นแบบอย่างของมารยาทที่สมบูรณ์ มารยาทของท่านได้มีอยู่ในอัลกุรอาน  ความสุขความศานติจงประสบแด่ท่านนะบี

 

3. มารยาทในการศรัทธาต่อโลกหน้า

          ซึ่งมีทั้งการตอบแทนความดี การลงโทษ และการที่ใครคนหนึ่งปฏิบัติในสิ่งที่เป็นมารยาทที่ดี เนื่องด้วยเขามีความเชื่อมั่นและศรัทธาว่าอัลลอฮ์ จะตอบแทนผลบุญ  และเป็นหนทางที่นำเขาไปสู่สวรรค์ ดังที่ปรากฏในหะดีษ

الحديث (عليكم بالصدق فإن الصدق يهدي إلى البر وإن البر يهدي إلى الجنة، وما يزال الرجل يصدق ويتحرى الصدق حتى يكتب عند الله صديقا..)

“จำเป็นแก่พวกท่านที่จะต้องมีความสัตย์จริง เพราะว่าความสัจจริงจะนำไปสู่สิ่งที่ดี และความดีจะนำไปสู่สวรรค์ 

และชายคนหนึ่งยังคงเป็นผู้ซื่อสัตย์ และดำเนินไปในสิ่งที่เป็นความจริง จนกระทั่งอัลลอฮ์ ทรงบันทึกให้เป็นคนสัจจริง....”

และมีปรากฏในหะดีษอีกว่า

“ในหมู่พวกเจ้าคนที่รักยิ่งแก่ฉันและจะอยู่ใกล้ชิดฉันในสถานที่รวมตัวในวันกิยามะห์  คือผู้ที่มีมารยาทดีที่สุดในหมู่พวกเจ้า ...”

          ผู้ศรัทธาควรปลีกตัวออกห่างจากพฤติกรรมที่ไม่ดีต่างๆ เพราะจะถูกลงโทษในวันกิยามะห์ และอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เข้านรก   เราขอจากอัลลอฮ์  ให้รอดพ้นจากสิ่งดังกล่าว

ในหะดีษกล่าวว่า

الحديث (..وإياكم والكذب، فإن الكذب يهدي إلى الفجور، وإن الفجور يهدي إلى النار، وما يزال الرجل يكذب ويتحرى الكذب حتى يكتب عند الله كذاباً)

“พวกเจ้าพึงระวังเรื่องการโกหก  เพราะว่าการโกหกมันจะนำไปสู่ความชั่วต่างๆ และความชั่วนั้นจะนำสู่นรก

และชายคนหนึ่งยังถือว่าโกหกและยังมีพฤติกรรมโกหกอยู่ จนกระทั่งอัลลอฮ์ได้บันทึก ณ ที่เขาว่าเป็นคนโกหก”

มารยาทที่ไม่ดีเป็นสาเหตุที่ทำให้ห่างไกลจากท่านนะบี  ในหะดีษ

، ففي الحديث: (إن أبغضكم إلي وأبعدكم مني مجلساً يوم القيامة الثرثارون والمتشدقون والمتفيهقون..).

“แท้จริงคนที่ฉันเกลียดชังยิ่ง และเป็นบุคคลจากพวกเจ้าที่ห่างจากฉัน ในสถานที่วันกิยามะฮ์ คือ

บุคคลที่พูดมากไร้สาระ  คนที่พูดกับผู้คนเป็นเวลานาน(ไม่มีสาระ)และเขามีความภาคภูมิใจในคำพูดของตัวเอง

และบรรดาผู้ที่ยกตนข่มท่าน” 
 

          บทบัญญัติในเรื่องมารยาทและหลักความเชื่อนั้นได้เกี่ยวข้องกัน  โดยที่มีปรากฏในคัมภีร์ อายะต่างๆที่เรียกร้องบรรดาผู้ศรัทธา ซึ่งครอบคลุมหลักการศรัทธา หลักความเชื่อ การปฏิบัติตามมารยาทที่ประเสริฐ  และห้ามมารยาทที่น่าตำหนิ แท้จริงส่วนหนึ่งจากมารยาทของบรรดาผู้ศรัทธา  คือการยึดมั่นอยู่กับการกระทำความดี และละทิ้งสิ่งที่เป็นความชั่ว 

 

          สิ่งที่จะชี้ให้เห็นว่ามารยาทที่ดีเป็นความสัมพันธ์กับหลักความเชื่อที่เหนียวแน่น

1. قال تعالى:(يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لَا تَدْخُلُوا بُيُوتًا غَيْرَ بُيُوتِكُمْ حَتَّى تَسْتَأْنِسُوا وَتُسَلِّمُوا عَلَى أَهْلِهَا ذَلِكُمْ خَيْرٌ لَّكُمْ لَعَلَّكُمْ تَذَكَّرُونَ} (سورة النور:27).

อัลลอฮ์ ทรงตรัสไว้ว่า

 “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย พวกเจ้าอย่าเข้าไปในบ้านใดอื่นจากบ้านของพวกเจ้า

จนกว่าจะขออนุญาตและให้สลามแก่เจ้าของบ้านเสียก่อน

เช่นนั้นแหละเป็นการดีสำหรับพวกเจ้า หวังว่าพวกเจ้าจะใคร่ครวญ”   

(ซูเราะห์ อันนูร อายะที่ 27)

2. وقال سبحانه: (يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لَا يَسْخَرْ قَومٌ مِّن قَوْمٍ عَسَى أَن يَكُونُوا خَيْرًا مِّنْهُمْ وَلَا نِسَاء مِّن نِّسَاء عَسَى أَن يَكُنَّ خَيْرًا مِّنْهُنَّ وَلَا تَلْمِزُوا أَنفُسَكُمْ وَلَا تَنَابَزُوا بِالْأَلْقَابِ بِئْسَ الاِسْمُ الْفُسُوقُ بَعْدَ الْإِيمَانِ وَمَن لَّمْ يَتُبْ فَأُوْلَئِكَ هُمُ الظَّالِمُونَ} (سورة الحجرات:11).

อัลลอฮ์ ทรงตรัสไว้ว่า
 

“โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย! ชนกลุ่มหนึ่งอย่าได้เยาะเย้ยชนอีกกลุ่มหนึ่ง บางทีชนกลุ่มที่ถูกเยาะเย้ยนั้นจะดีกว่าชนกลุ่มที่เยาะเย้ย

และสตรีกลุ่มหนึ่งอย่าได้เยาะเย้ยจะดีกว่ากลุ่มที่เยาะเย้ย และพวกเจ้าอย่าได้ตำหนิตัวของพวกเจ้าเอง

และอย่าได้เรียกกันด้วยฉายาที่ไม่ชอบ ช่างเลวทรามจริง ๆ ที่บรรดาผู้ศรัทธาจะเรียกกันว่าเป็นผู้ฝ่าฝืน

ภายหลังจากที่ได้มีการศรัทธากันแล้ว และผู้ใดไม่สำนึกผิด ชนเหล่านั้นคือบรรดาผู้อธรรม”

3. وقال سبحانه: (يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ اتَّقُواْ اللّهَ وَكُونُواْ مَعَ الصَّادِقِينَ} (سورة التوبة: 119) والآيات

“โอ้ศรัทธาชนทั้งหลาย พึงยำเกรงอัลลอฮ์เถิด และจงอยู่อยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่พูดจริง”

4. ตัวอย่างของท่านนะบี

الحديث (عليكم بالصدق فإن الصدق يهدي إلى البر وإن البر يهدي إلى الجنة، وما يزال الرجل يصدق ويتحرى الصدق حتى يكتب عند الله صديقا..)

“พ่อค้าที่มีความสัตย์จริง ซื่อสัตย์ จะอยู่ร่วมกับบรรดานบี บรรดาผู้สัจจริงทั้งหลาย และบรรดาผู้ที่ตายในสนามรบเป็นชะอีด”

5. وقوله: (من كان يؤمن بالله واليوم الآخر فليقل خيراً أو ليصمت، ومن كان يؤمن بالله واليوم الآخر فليكرم جاره، ومن كان يؤمن بالله واليوم الآخر فليكرم ضيفه).

“ผู้ใดที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันสุดท้าย ดังนั้นเขาจงกล่าวคำพูดที่ดี หรือไม่ก็ให้นิ่งเสีย

และผู้ใดที่ศรัทธาต่ออัลลอฮ์และวันสุดท้าย ดังนั้นเขาก็จงให้เกียติรต่อแขกของเขา”

6. وقوله: (لا يؤمن أحدكم حتى يحب لأخيه ما يحب لنفسه) ولما سأل هرقل أبا سفيان عن النبي صلى الله عليه وسلم بماذا يأمر؟ قال له أبو سفيان: (يقول: اعبدوا الله وحده ولا تشركوا به شيء، واتركوا ما يقول آباؤكم، ويأمرنا بالصلاة والصدق والعفاف والصلة). إلى غير ذلك من النصوص الشرعية.

“คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเจ้า จะยังไม่ศรัทธา จนกว่าเขาจะรักต่อพี่น้องของเขาในสิ่งที่เขารักที่จะให้ได้กับตัวเอง”

 

และในขณะที่ อิรอคลา(เฮอคิวลิส)ได้ถามอาบู ซุฟยาน เกี่ยวกับท่านนะบี ว่า “เขาใช้ให้ทำอะไร”(หมายถึงท่านนะบี)

อาบูซุฟยานกล่าวว่า “เขากล่าวว่า พวกท่านจงเคารพภักดีต่ออัลลอฮ์องค์เดียว และพวกเจ้าอย่าได้นำสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาเป็นหุ้นส่วนกับอัลลอฮ์

และให้ละทิ้งสิ่งที่บรรพบุรุษของพวกเจ้าได้กล่าวไว้ และเขาใช้เราให้ทำการละหมาด  ให้ซื่อสัตย์ ให้มีความเมตตาสงสาร ให้ติดต่อเครือญาติ” 

 

          ได้ปรากฏชัดถึงความสัมพันธ์ระหว่างหลักความเชื่อและมารยาท คือสิ่งที่รวมอยู่กับการศรัทธาต่ออัลลอฮ์  และเราะซูลของพระองค์ และวันสุดท้าย การประดับประดามารยาทด้วยสิ่งที่เป็นความดีต่างๆ และสลัดทิ้งซึ่งสิ่งที่ไม่ดี คือการบอกถึงความครอบคลุมของศาสนาที่ยิ่งใหญ่นี้

          โอ้ อัลลอฮ์ เหมือนที่พระองค์ได้ทำให้รูปกายของเราสวยงาม ขอพระองค์โปรดให้มารยาทของเราดีงาม โอ้ ผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปรานี

          ขอความสุขความศานติจงประสบแด่ท่านนะบี  ความจำเริญจงประสบแด่ผู้ที่มารยาทของเขาคือสิ่งที่อยู่ในอัลกุรอาน ตลอดจนเครือญาติของท่านและเหล่าศอหาบะห์ และผู้ที่เจริญรอยตามพวกเขา

 


http://saaid.net/arabic/257.htm

แปลโดย อิสมาอีล  กอเซ็ม