รายชื่อผู้ที่ได้รับอัลกุรอาน สัปดาห์ที่ 10 วันที่ 23 / 7 / 2555
  จำนวนคนเข้าชม  2367

รายชื่อผู้ที่ได้รับอัลกุรอานแปลไทย 10 ท่าน

สัปดาห์ที่ 10  วันที่ 23 / 7 / 2555

 

1. มะฮ์ยุดดีน  มาหะมะ

2. อัสณีย์  ผาติวรากร

3. ฮุสนา   เหลาะเหม 

4. ตัสนีม จิตรนารี

5. ฮาลีเมาะห์ แวลีเมาะ

6. นายวีระศักดิ์ อำมาตี

7. ลุกมัน ยูโซะ

8. ซูซานา เปาะจิ

9. ซีตีฮาวา  แดงนุ้ย

10. ปราณี  บรรยงคิด         

 

***ทางเราจะจัดส่งให้ทางไปรษณีย์ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น***

ญาซากุมุลลอฮุคอยรอน...สำหรับผู้ร่วมกิจกรรมทุกท่าน

ติดตามรายชื่อได้ในทุก ๆ วันจันทร์ของสัปดาห์

 

 


บทความทีชอบ การงโทษทางกฎหมายในอิสลามแสดงถึงความโหดร้ายทารุณจริงหรือ? โดย ศาสตราจารย์ ดร.มะห์มูด ฮัมดี ซักซูม

สิ่งที่ได้รับจากบทความ  กฎหมายอิสลามเป็นกฎหมายที่สมบูรณ์แบบที่สุดมีความเมตตาและการให้อภัย แข็งแกร่งแฝงความออนโยน เด็ดขาดแต่ยืดหยุ่น มีเงื่อนไขที่รัดกุมมากในการพิจารณาคดี ในส่วนของบทลงโทษมีไว้เพื่อรักษาสิทธิของสมาชิกในสังคมและยุติพฤติกรรมคุกคามสิทธิของผู้อื่น

 

บทความที่ผมประทับใจคือ เสบียงนักดาอีย์ผู้เชิญชวนสู่อัลลอฮฺ ของ เชค มุหัมมัด บิน ศอลิหฺ อัล-อุษัยมีน

ผมอ่านแล้วรู้สึกว่าต้องอดทนมากคับ จงยืนหยัดต่อไป เราทำงานดะวะฮฺ ทำงานเพื่ออัลลอฮไม่ใช่เพื่อมนุษย์ด้วยกันบางครั้งเราก้อแคร์มนุษย์มากกว่าอัลลอฮ บางครั้งมนุษย์ไม่พอใจทำให้เราเกิดความกลัว นี่ขนาดมนุษย์ไม่พอใจเรายังกลัวขนาดนี้เลยแล้วถ้าอัลลอฮไม่พอใจล่ะ?จะเป็นอย่างไร ทำงานดะวะฮต้องเจออุปสรรค นึกถึงท่านนบีให้มากๆ ท่านนบีดะวะฮโดยในยุคของท่านไม่มีไฟฟ้า ไม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยแบบสมัยเราๆ แต่อิสลามกลับรุ่งเรืองและไปไกลยิ่งกว่ายุคของเราซ่ะอีก นั่นเพราะอะไร ก้อเพราะท่านนบียืนหยัด อดทน ท่านนบีถูกทำร้ายต่างๆนานา ถูกต่อต้านในการเผยแพร่สัจธรรม ท่านนบีคือแบบอย่างของนักดาอีย์ คือแบบอย่างของผู้ศรัทธา เวลาผมท้อแท้ กับงานดะวะฮ์ เพราะจะพยายามใช้อัลกรุอานในการให้กำลังใจตัวเอง นึกถึงอายะฮต่างๆ

"แท้จริง ผู้ใดที่ยำเกรงและอดทน แน่นอน อัลลอฮฺจะมิทรงให้รางวัลของบรรดาผู้ทำความดีนั้นสูญหายไป" (ยูสุฟ, 12 : 90)

นี่คืออายะฮที่ผมมักใช้เตือนตัวเองบ่อยๆ เวลาเราทำอะไร เหนื่อย ท้อ จงอดทนเถิด อดทน ณ ดุนยา และจะสบายในอาคิเราะฮ อินชาอัลลอฮ ...

 

บทความที่เลือก เมือครอบครัวของเราฝ่าฝืนอัลลอฮฺ  เขียนโดย : อับดุรเราะฮฺมาน บิน อับดิลลาฮฺ อัลละอฺบูน

ขอบคุณอัลลอฮฺ  ที่พระองค์ทรงทำให้ฉันได้อ่านบทความนี้ ตอนที่รู้สึกประทับใจในบทความ คือ พวกท่านทั้งหลาย…เห็นเช่นใด? คนในครอบครัว หรือญาติพี่น้องของเราเองสักกี่คน? ที่พวกเขากำลังรอคอยการชี้แนะอิสลามจากเราอยู่ เพื่อที่เขาจะได้ใคร่ครวญ  อินชาอัลลอฮฺฉันจะได้ไม่หลงลืมในการตักเตือนคนในครอบครัวที่เป็นที่รักยิ่งของฉัน เพราะหลายต่อหลายคร้้งที่ตัวดิฉันเองและครอบครัวเคยฝ่าฝืนต่อคำสั่งของพระผู้อภิบาล  บทความนี้ได้เตือนสติฉันว่าเราควรปรับปรุงตัวเองเสียใหม่ เพื่อวันหนึ่งพระองค์จะทรงเปลี่ยนแปลงตัวเรา และครอบครัว เพราะพระองค์จะไม่ทรงเปลี่ยนแปลงบ่าวคนใดคนหนึ่งของพระองค์นอกจากเขาคนนั้นจะเปลี่ยนแปลงตัวเขาเองเพื่อพระองค์    และช่วยกันขอดุอาฮฺต่อพระผู้ทรงสร้าง  ผู้ทรงเป็นเจ้าชีวิตของบ่าวของพระองค์ เราทุกคนในครอบครัวจะจับมือพร้อมกันเข้าสวรรค์ของอัลลอฮฺ (ซบ.)    อินชาอัลลอฮ 

 

 บทความที่โดนใจที่สุดคือ ประโยชน์7 ข้อของการมอบหมายต่ออัลลอฮ

 เหตุผลที่โดนใจ  เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราได้มอบหมายต่ออัลลอฮเราก็จะรู้สึกสบายใจ เหมือนได้ทำประกันชั้นหนึ่ง  แต่ไม่ใช่ประกันของบริษัทกระจอกๆๆ ในดุนยา แต่การมอบหมายนี้คือประกันจากพระผู้เป็นเจ้า เจ้าของชีวิตเจ้าของทุกสรรพสิ่งแห่งสากลโลกค่ะ

 

บทความที่ชอบ ชีวิตนบีที่สมถะ    โดย  อ.อับดุลลอฮฺ มานะ

 สิ่งที่ได้รับจากบทความที่ได้อ่าน คือ มุสลิมนั้นควรเรียนรู้ชีวประวัติและแบบอย่างการดำเนินชีวิตของท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ.ล.)ให้เข้าใจลึกซึ้งและนำแนวทางไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง จากที่ได้อ่านบทความนี้ทำให้ดิฉันได้ทราบว่าขนาดท่านนบีมุฮัมหมัด(ซ.ล.) ผู้ที่อัลลอฮฺเลือกให้เป็นรอซูลยังมีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายและไม่ได้มีทรัพย์สินเงินทองมากมายมหาศาล ทั้งๆที่ท่านควรจะได้รับเกียรติจากอัลลอฮให้มีอำนาจ บารมี  มีฐานะร่ำรวย มีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย แต่ท่านก็ได้กล่าวว่าสิ่งเหล่านั้นมันเป็นเพียงความสุขสบายและภาพลวงตาที่อัลลอฮทดสอบมนุษย์เราบนโลกดุนยา(ทางผ่าน)เท่านั้น  ส่วนที่ๆเราจะอยู่ถาวรคือโลกหน้าต่างหาก ดังนั้นเราต้องดำเนินชีวิตบนโลกดุนยานี้ตามแบบอย่างของท่านนบีเพื่อที่เราจะได้รับความสุขสบายในโลกหน้าพร้อมกับท่านนบี...อามีน

 

น้ำตารักษาโรคและหัวใจ (โคนัน มูกอวิม)

นี้เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งที่อิสลามได้รำลึกถึงอัลลอฮฺด้วยความบริสุทธิ์ใจและหลั่งน้าตาออกมา แน่นอนอัลลอฮฺจะทรงตอบแทรความดีทั้งหลาย และยังมีฮาดีษหรืออายะห์อัลกรุอานอีกมากมายข้อดีของการร้องไห้ และรำลึกถึงอัลลอฮฺด้วยหัวใจทีบริสุทธิ์ ไม่ใช่แค่ความดีที่อัลลอฮฺทรงตอบแทนให้ แต่การร้องไห้สามารถที่จะทำให้หัวใจที่แข็งกระด่างอ่อนโยนลงได้ เพื่อที่จะไม่ให้มนุษย์ก้าวราว หงุดหงิด ขี้โมโห เป็นต้น และน้าตานั้นไม่ใช่วัญลักษณ์ของผู้ที่อ่อนแอ ไม่ใช่สัญลักษณ์ของผู้ที่ผ้ายแพ้ แต่เป็นสัญลักษณ์ของผู้ที่อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ ดังนั้นอิสลามจึงเป็นศาสนาที่สมบูรณ์แบบเพียบพร้อมไปทุกรอบด้าน สอนแม้กระทั้งเรื่องที่เราคาดไม่ถึง.....

 


ชื่อบทความ ความกลัว ชื่อผู้เขียน อาจารย์ สุไลมาน ลาตีฟี

ชอบบทความนี้เพราะสรุปได้ว่า ความกลัวนั้นจะมาหลังจากความรู้ และความเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ จะเกิดขึ้นภายหลังจากการที่บุคคลหนึ่งนั้นมีความรู้อย่างลึกซึ้งจริง ๆ มีความรู้ในที่นี้ก็คือ ความรู้ที่จะนำตัวเราสู่การไกล้ชิดต่อพระองค์อัลลอฮฺ และสำหรับบทความนี้ที่โดนใจกระผมมากก็อันเนื่องจากปัจจุบันกระผมเป็นผู้หนึ่งที่กำลังศึกษาในสายของศาสนา จึงมีความรู้สึกเป็นแรงกระตุ้นให้มีความรู้สึกว่าเรานั้น เป็นผู้ที่อัลลอฮฺทรงยกระดับเราและมีความไกล้ชิดต่อพระองค์มากที่สุด ถึงแม้ว่าในสังคมปัจจุบันจะดูตกต่ำก็ตาม

 


บทความที่โดนใจ บทเรียนแห่งความตาย 2 ผู้เขียน ดร.อุมัร สุลัยมาน อัล อัชก็อรฺ

ข้อคิด สะดุดความคิดตรงคำว่า"หลงลืมละเลยกระทำความดี"ลองตรวจสอบหัวใจตัวเองแล้วมีอาการนี้อยู่เพราะชีวิตที่ผ่านมาให้เวลาหัวใจน้อยมาก งานดุนยากับอ่านอัลกุรอานยังละเลยอ่านกุรอาน ให้ความสำคัญอย่างอื่นมากกว่า กลัวโรคหัวใจแข็งกระด้าง ไม่รู้ว่าเป็นโรคนี้หรือยัง แต่จะพยายามรักษาตามสามอย่างที่ว่า ขยันแสวงหาความรู้ศาสนา , ระลึกถึงความตาย , เยี่ยมคนป่วย หรือผู้ใกล้เสียชีวิต อินชาอัลลอฮ ขอพระองค์ทรงรักษาหัวใจข้าพระองค์ให้บริสุทธิ์จากบาปต่างๆด้วยเถิด /อามีน

 

บทความที่ชอบ  การคิดบวก
 
  การคิดบวก คนเราทุกคนถ้ามีความคิดบวกอยู่ในใจเสมอมองอะไรหลาย ๆ ด้านก็จะทำให้สบายใจ เช่นดังนัยน์ตาที่ดีของคนเรานั้นมองความบกพร่องของคนอื่น ไม่เห็น แต่ นัยน์ที่ไม่ดี นั้น ชอบมองเห็นความบกพร่องของคนอื่น

 


บทความที่ ชื่ดชอบและโดนใจคือ สะพานสู่สวรรค์  เขียนโดย มูหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญีรีย์

สรุปมีใจความสั้นๆว่า ผู้ที่จะข้ามสพานนั้นผ่านต้องเป็นผู้ที่ มีความศรัทธาในอัลลอฮฺและรอซูลส่วนผู้ที่ปฏิเสธก็จะตกลงไปในนรกอย่างแน่นอนแสดงว่าผู้ที่เข้าสวรรค์ของอัลลอฮฺได้ต้องบริสุทธิ์จริงๆ   ส่วนสภาพการข้ามเร็วหรือช้านั้น ขึ้นอยู่กับการงานของตนที่ประกอบไว้

 

 

๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐ ๑๐