มุมหนึ่งของอิสลามที่โลกไม่เคยรับรู้
  จำนวนคนเข้าชม  5483

 

มุมหนึ่งของอิสลามที่โลกไม่เคยรับรู้


เขียนโดย... ดร. อาลี สามะ


         การรู้จักอิสลามเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง ซึ่งอิสลามได้มีการส่งเสริมการเรียนการสอนและมีการยกย่องในเรื่องของการศึกษาและแม้กระทั่งผู้รู้ก็ตาม  ดังที่พระองค์อัลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ในพระมหาคัมภีร์อัลกรุอ่านว่า 

“จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด บรรดาผู้รู้และบรรดาผู้ไม่รู้จะเท่าเทียมกันหรือ?  แท้จริงบรรดาผู้มีสติปัญญาเท่านั้นที่จะใคร่ครวญ”

( อัซซุมัร  9)

          เหตุผลสำคัญที่ทำให้มุสลิมได้รับเกียรติอันสูงส่งส่วนหนึ่งนั้นก็เพราะว่า พวกเขาเริ่มจากการศึกษาหาวิชาความรู้และเอาจริงเอาจังกับการศึกษาในวิชาแขนงต่างๆ ทั้งในวิชาการ ทางด้านศาสนาและทางโลก  จนกระทั่งวิชาการเหล่านั้นเป็นที่โดดเด่นและเป็นที่ประจักษ์แก่พลโลก  อีกทั้งได้มีการฉายความรุ่งเรืองแห่งความเป็นอิสลามให้โลกเห็นซึ่งเรารู้ได้จากประวัติศาสตร์อิสลาม เช่น ยุคราชวงค์อุมาวีย์ ราชวงค์อับบาซีย์ และอื่นๆ เป็นต้น


         มีสถาบันการศึกษาและโรงเรียน แวดวงการเรียนการสอนได้งอกเงยมากมาย  แต่ในขณะเดียวกัน ในช่วงเวลานั้นประชาคมยุโรปยังคงเป็นชนป่าเถื่อนไร้ซึ่งการศึกษา  ด้อยต่อการพัฒนาและยังตกอยู่ในเงามืดไร้แสงชี้นำ ต่อมาพวกเขาได้ส่งลูกหลานของพวกเขาเข้ามาเรียนในฝั่งหัวเมืองต่างๆของประเทศมุสลิม โดยเฉพาะเมืองอันดาลุสประเทศสเปน และอีรักในปัจจุบัน  พวกเขาขอเป็นลูกศิษย์ของนักวิชาการอิสลาม อุลามาอิสลาม แล้วนำความรู้ดีๆกลับสู่ภูมิลำเนาตน  อีกทั้งพวกเขายังได้นำหนังสือวิชาการอิสลามนำกลับไปเป็นหลักสูตรตามสถาบันโรงเรียนและมหาลัยต่างๆ ของประเทศเขาอยู่หลายศตวรรษอีกด้วย


          และทั้งหมดดังกล่าวนี้ยืนยันได้แน่ชัดว่า บทบาทอิสลามและโลกมุสลิมนั้นมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาการศึกษาของยุโรป และเป็นเบื้องหลังแห่งความสำเร็จ ความเจริญรุ่งเรืองของประชาคมยุโรปจนถึง ณ ปัจจุบัน


         แต่แล้วความรู้เหล่านี้กลับค่อยๆ เลือนหายไปจากยุโรปและความดีที่พวกเขาได้รับจากศาศนาอิสลามนั้นได้ก็ถูกลบล้าง อันเนื่องมาจากความไม่พอใจของนักบาทหลวงคริสต์  ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ต้องการให้ชนยุโรปและชาวโลกได้รับความรุ่งเรือง  จึงมีการจัดตั้งกลุ่มต่อต้านการศึกษาแล้วใช้อุบายแบบสกปรกยุแยงจนเกิดความรู้สึกไม่ดี  มีการเสียดสีกันขึ้นในระหว่างชาวยุโรปกับชนมุสลิมในเมืองอันดาลุสรวมถึงเมืองอื่นๆด้วย  แล้วได้ออกกฏว่า 

“ผู้ใดศึกษาเรียนรู้และค้นคว้าจากวิชาการอิสลามผู้นั้นจะต้องโดนลงโทษอย่างหนัก”

         จนถึงขนาดจัดตั้งศาลไต่สวนต่อเรื่องดังกล่าวหรือหน่วยข่าวกรองแห่งชาติ  จากนั้นก็ได้มีการดำเนินการไต่สวนอยู่เป็นเวลา 18 ปี  ตั้งแต่ฮิจญ์เราะฮ์ศักราชที่ (1418-1499) ซึ่งมียอดผู้ถูกไต่สวน 10,000 คน และถูกเผาทั้งเป็น 220 คน ถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ 6,086 คน ถูกจับโยนทิ้ง 79 คน และ 23 คน ถูกลงโทษด้วยกับวิธีที่แต่งต่างกันไป  และนี่คือผลลัพธ์ของการกลุ่มทัศนะความคิดที่เรียกร้องให้มีการแยกศาสนา เพื่อไม่ให้เกี่ยวข้องกับชีวิตแห่งความเป็นจริง


         และผลลัพธ์ของการสร้างสัมพันธไมตรีมิตรของยุโรปที่มีต่อมุสลิมพวกเขาได้รับประโยชน์ต่างๆมากมาย เช่น การก้าวหน้าทางด้านวิชา การการศึกษา และความสันติภาพทางด้านการศึกษา سيديو  กล่าวว่า


         “ ความเป็นธรรมชาติและมหัศจรรย์แห่งความรู้ของคิเดร ซึ่งถูกกล่าวไว้หน้าที่ 30 ชั่งน่าทึ่งมาก   มุสลิมศตวรรษตอนกลางเป็นพวกเดียวที่มีความโดดเด่นในด้านวิชาการอย่างมากในขณะนั้น วิชาปรัชญาและวิชาการอื่นๆ ได้เผยแพร่ในทุกแดนทุ่งที่ฝีเท้าที่เขาย่ำถึง แล้วพวกเขาคือสาเหตุหนึ่งที่มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้ยุโรปมีการพัฒนาและ มีความเจริญก้าวหน้า "


         ดังนั้นคงถึงเวลาแล้วที่เราควรตื่นจาการหลับใหล ลุกขึ้นโอบรับอรรยธรรมอันรุ่งเรืองของเรากลับคืนมา แล้วหันมาแข็งขันพัฒนาการศึกษาในสาขาวิชาต่างๆให้กลับมาโดดเด่นอีกครั้ง เราจะไม่ขอหยุดยั้ง แล้วยอมรับการการพ่ายแพ้แล้วลืมเกียรติยศอันสูงศักดิ์ที่เราเคยได้รับอีกต่อไป ด้วยการเหลียวมองหาสาเหตุแห่งความเจริญรุ่งเรืองที่ชนยุโรปได้รับ


         แต่เรานี้แหละจะเป็นผู้กอบกู้เกียรติยศอันนี้ให้ประวัติศาสตร์โลกจารึกอีกครั้งด้วยน้ำพักน้ำแรงของเราเอง การเรียนรู้การศึกษา การอดทนพยายาม และด้วยการพัฒนาศักยภาพตัวของเราให้ดียิ่งขึ้นด้วยหนทางการศึกษา และเราขอสัญญาว่า เราจะอดทนพยายามต่อไปจนกว่าโลกของเราทั้งใบจะเต็มไปด้วยกับความสันติสุขภายใต้การนับถือศาสนาอิสลาม แล้วชนอิสลามจะเป็นผู้โดดเด่นทางด้านวิชาการและโดดเด่นทางด้านความคิดอีกครั้ง
  

 

แปลและเรียบเรียง  อบูบักร สะแหละ  ( อัลนะคีล )