มรดกที่ไม่เท่าเทียม
  จำนวนคนเข้าชม  6258
.
มรดกที่ไม่เท่าเทียม

แปลโดย อบูชีส
 
 
          เมื่อมีการมอบสิ่งของเหลื่อมล้ำให้แก่ลูกบางคน หลังจากนั้นผู้ปกครองก็เสียชีวิตไป จำเป็นหรือไม่ที่จะต้องนำสิ่งของนั้นคืน(สู่กองมรดก)?

 
คำถาม

 
           ครอบครัวของเราประกอบไปด้วย ลูกสาว5 คน ลูกชาย 4คน มีแม่ และพ่อ ผู้หญิงแต่งงานแล้วทั้งหมด ผู้ชายก็เช่นกัน  พ่อก็เสียชีวิตไปแล้ว และทิ้งที่พักอาศัยขนาด 300 ตารางวา และเราก็อาศัยในนั้น ฉันและพี่ของฉัน แต่ทว่าหลังจากพ่อเสียชีวิตไปสามปี พี่ชายคนโตก็เสียชีวิตทิ้งภรรยา และลูกชาย ลูกสาวของเขาไว้ และเราก็ได้ทราบว่า แท้จริงแล้วพ่อได้มอบและแบ่งครึ่งหนึ่งของบ้านให้แก่พี่ชายคนโตที่เสียชีวิตไป ทั้งๆที่บ้านหลังนี้ควรแบ่งเป็นมรดกให้แก่คนสิบคน หมายถึงฉันและพี่น้องคนอื่นๆของฉัน เราจึงมีปัญหากันเพราะเรื่องนี้  การที่พ่อและพี่ชายคนโตกระทำการนี้โดยพวกเราไม่มีใครรู้เลย  คำถามของฉันคือ เราสามารถที่นำสิ่งนั้นคืนมาเพื่อแบ่งตามมรดกได้หรือไม่? และการกระทำนี้มีข้อตัดสินอย่างไร?

 
คำตอบ : อัลฮัมดุลิลละห์

 
ประการแรก

 
          การให้ไม่เท่าเทียมกันแก่ลูกๆนั้นเป็นที่ต้องห้าม บนทัศนะที่ถูกต้อง จากสองทัศนะของนักวิชาการ แน่นอนว่า ท่านร่อซูล  ได้ห้ามจากความเหลื่อมล้ำ ไม่เท่าเทียมกันระหว่างลูกๆ และเรียกการกระทำนั้นว่า เป็นความอธรรม และความไม่ดี และปฏิเสธการเป็นพยานต่อสิ่งนั้น และยังสั่งใช้ให้คืนสิ่งนั้น

فعن النعمان بن بشير رضي الله عنهما : أن أَبَاهُ أَتَى بِهِ رَسُولَ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ فَقَالَ : إِنِّي نَحَلْتُ ابْنِي هَذَا غُلَامًا كَانَ لِي ، فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ( أَكُلَّ وَلَدِكَ نَحَلْتَهُ مِثْلَ هَذَا ) فَقَالَ : لَا . فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ( فَارْجِعْهُ ) أخرجه البخاري (2586) ، ومسلم (1623) .

 
          จากนัวะอ์มาน บิน บะชีร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา แท้จริงบิดาของเขาได้พาท่านนัวะอ์มานมาหาท่านร่อซูล  และกล่าวว่า : แท้จริงฉันได้มอบให้แก่ลูกชายของฉัน คือ หนูน้อยคนนี้ ที่อยู่กับฉันนี่ 
 
ท่านร่อซูล  จึงกล่าวว่า : ท่านให้ลูกของท่านเหมือนกันหมดทุกคนใหม? 
 
เขาตอบว่า : ไม่ครับ 
 
ท่านร่อซุล  จึงกล่าวว่า : ดังนั้นจงเอาคืนมา

وفي لفظ لمسلم (1623) فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : ( يَا بَشِيرُ أَلَكَ وَلَدٌ سِوَى هَذَا ؟ ) قَالَ : نَعَمْ . فَقَالَ : ( أَكُلَّهُمْ وَهَبْتَ لَهُ مِثْلَ هَذَا ؟ ) قَالَ : لَا . قَالَ : ( فَلَا تُشْهِدْنِي إِذًا ، فَإِنِّي لَا أَشْهَدُ عَلَى جَوْرٍ ) .

 
ในสำนวนของมุสลิม ท่านร่อซูล  กล่าวว่า : โอ้บะชีร ท่านมีลูกคนอื่นนอกเหนือจากเด็กน้อยคนนี้ใหม ? 
 
เขาตอบว่า : มีครับ  
 
ท่านร่อซูล  จึงกล่าวว่า : แล้วท่านให้แก่ทุกคนเหมือนแบบนี้ใหม ? 
 
เขาตอบว่า : ไม่ครับ 
 
ท่านร่อซูล  กล่าวอีกว่า : ดังนั้นท่านก็ไม่ต้องมาเป็นพยานแก่ฉัน เพราะฉันจะไม่เป็นพยานแก่คนไม่ดี

 
           ท่านเชากานีย์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า : ฮะดิษทั้งหลายนั้นบ่งชี้ถึง ความจำเป็นที่จะต้องเท่าเทียม(ระหว่างลูกๆ) และการเหลื่อมล้ำกันนั้น ถึงว่าเป็น สิ่งที่ไม่ดี และโมฆะ จำเป็นต่อผู้ที่กระทำมันลงไปแล้ว นำสิ่งของนั้นกลับคืนมา

" الدراري المضية شرح الدرر البهية " (1/348


 
ประการที่สอง

 
          เมื่อบิดาได้เหลื่อมล้ำการมอบสิ่งของ(เสน่หา) ในระหว่างลูกๆ หรือเจาะจงให้แค่บางคน  หลังจากนั้นเขาเสียชีวิตไปก่อนแบ่งให้เท่ากัน  ดังนั้นวาญิบ(จำเป็น) ต่อผู้ที่ได้เอาสิ่งที่เพิ่มมากกว่าผู้อื่น(จากสิ่งที่บิดามอบให้ ) คืนสิ่งที่เพิ่มไปยังมรดก  และแบ่งให้แก่ทุกคนที่ได้รับมรดก  นี่คือทัศนะที่อิหม่ามบุคอรีย์ และรายงานจากอิหม่ามอะห์มัด และเป็นทัศนะของอิบนุอะกีล และชัยคุลอิสลามอิบนุตัยมียะห์ และปราชญ์ร่วมสมัยก็คือ องค์กรถาวรณ์เพื่อการชี้ขาดปัญหาศาสนา(ประเทศซาอุ) และชัยค์อุสัยมีน และอีกหลายท่าน ร่อฮิมะฮุมุลลอฮ์ แก่ทุกท่าน

 
          รายงานจากสะอี๊ด บิน มันศูร ด้วยกับสายรายงานของเขา แท้จริงท่านสะอ์ด บิน อุบาดะห์ ได้แบ่งสมบัติชิ้นหนึ่งแก่ลูกของเขา และออกไปยังเมืองชาม และจากนั้นก็มีบุตรชายอีกคนหนึ่งคลอดออกมา และท่านอุบาดะห์ก็เสียชีวิต ท่านอบูบักรและท่านอุมัรทั้งสองก็ได้มาหา ก็อยซ์ บิน สะอ์ด และทั้งสองท่านก็ได้กล่าวว่า
 
"แท้จริงสะอ์ด ได้แบ่งให้ระหว่างลูกของเขา แต่เขาไม่รู้ว่าอะไรเกิดขึ้น(หลังจากนั้น) และพวกเราเห็นว่า ให้ท่านคืน(ส่วนแบ่ง) ให้แก่เด็กน้อยคนนี้ด้วย"

 
          ท่านชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะห์ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า : ทัศนะที่ถูกต้องจากทั้งสองทัศนะของนักวิชาการ คือ แท้จริงการเจาะจงมอบสิ่งของให้แก่ลูกๆบางคนโดยเขาไม่แบกภาระใดๆ จำเป็นต่อเขา(บิดามารดา)ที่จะต้องนำสิ่งนั้นคืนมาในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ ดังที่ท่านนบี  ได้กำชับใช้เอาไว้ และถ้าหากเขาเสียชีวิตไป แต่ยังไม่ได้เอาคืนมา ก็ให้เอาคืนหลังจากที่เขาเสียชีวิตไปแล้ว นี่คือทัศนะที่ถูกต้องที่สุดจากสองทัศนะของนักวิชาการ ที่เชื่อฟังอัลลอฮ์ และร่อซูลของพระองค์ และปฏิบัติตามความยุติธรรมที่ถูกสั่งใช้  เจริญรอยตามท่านอบูบักร และท่านอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา  และไม่อนุมัติให้แก่ผู้ที่ได้รับมอบมากกว่าผู้อื่นจะเอาความเหลื่อมล้ำนั้นไว้  ทว่า จำเป็นต่อเขาที่จะแบ่งให้แก่พี่น้องของเขา ในทรัพย์ทั้งหมดด้วยกับความยุติธรรม (ตามสัดส่วนที่ได้รับจากกองมรดก- ผู้แปล)

 
 الفتاوى الكبرى " (4/184

 
          ท่านชัยค์อุสัยมีน ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า : ที่ถูกคือ แท้จริงเมื่อเขาตาย หมายถึง บิดาผู้ให้เหลื่อมล้ำแก่ลูกบางคน จำเป็นต่อผู้ที่ได้รับความเหลื่อมล้ำนั้น ให้คืนสิ่งที่เขาได้รับมาในกองมรดก หากเขาไม่ทำ ก็ยึดเอาส่วนแบ่งของเขาหากเขาได้รับส่วนแบ่ง(ในกองมรดก) เพราะแท้จริงจำเป็นต่อผู้เป็นบิดาที่ล่วงลับไปแล้วนั้นให้มีความเท่าเทียม ดังนั้นเมื่อเขาเสียชีวิตไปแล้วก่อนที่จะทำอย่างนั้น(ความเท่าเทียม) ก็กลายเป็นเหมือนผู้ติดหนี้ และหนี้สินจำเป็นต้องชดใช้ และบนสิ่งนี้เราขอกล่าวแก่ผู้ที่ได้รับมากกว่าผู้อื่น(ก่อนที่บิดาจะเสียชีวิต) หากท่านต้องการกตัญญูกับบิดาของท่าน ดังนั้นท่านจงคืนสิ่งที่บิดาของท่านมอบให้แก่ท่าน คืนสู่กองมรดก 
 
الشرح الممتع " (11/85) 

 
         สืบเนื่องจากสิ่งนี้ หากว่าเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้วดังที่ท่านได้กล่าวมา ก็ไม่เป็นการดีเลย ถ้าจะทิ้งทรัพย์สินแก่ภรรยาของพี่ชายของเธอและลูกๆของเขา  จำเป็นต่อพวกเขาให้คืนทรัพย์สินสู่กองมรดกของพ่อของเธอ และแบ่งให้แก่ผู้มีสิทธิ์ในกองมรดก (ตามสัดส่วนของแต่ละคนที่จะได้รับ)และสิ่งที่เราหวังจากพวกท่านก็คือ ให้พวกท่านได้รับความง่ายดาย ในการแก้ไขปัญหาการถกเถียงนี้ ด้วยกับการประนีประนอม ความพึงพอใจ การรักษาสัมพันธไมตรีในครอบครัว การเชื่อมสัมพันธ์เครือญาติ ดังที่อัลลอฮ์  ตรัสไว้ว่า 

( وَلا تَنسَوْا الْفَضْلَ بَيْنَكُمْ إِنَّ اللَّهَ بِمَا تَعْمَلُونَ بَصِيرٌ ) البقرة/237

 
"และพวกเจ้าอย่าลืมการทำคุณในระหว่างพวกเจ้าแท้จริงอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงเห็นในสิ่งที่พวกเจ้ากระทำกัน"

والله أعلم .موقع الإسلام سؤال وجواب