ความหวัง ในผลตอบแทนจากอัลลอฮ์
  จำนวนคนเข้าชม  8514

 

ความหวัง ในผลตอบแทนจากอัลลอฮ์

 

อะลี อับดุรเราะห์มานอัล-หซุัยฟีย์

 

         ♥ อัร-เราะญาอ์ หรือความหวัง คือ ความปรารถนาในรางวัลผลตอบแทนของอัลลอฮฺ ตะบาเราะกะวะตะอาลา ท่ีมีต่อการงานท่ีดี ซึ่งเงื่อนไขของ อัร-เราะญาอ์ คือ การทำอะมัลท่ีดี ยับยั้งจากการทำสิ่งที่เป็นบาป และการเตาบัต สำนึกผิดในสิ่งท่ีทำผิดไป

 

         ส่วนการละทิ้งสิ่งทิ่เป็นวาญิบและปฏิบัติตามอารมณ์ ความใคร่ แล้วยังมีความหวังต่ออัลลอฮ์ เรียกว่า เป็นความรู้สึกมั่นใจว่าปลอดภัยจากการลงโทษของอัลลอฮ์ ไม่ใช่เป็นความหวัง หรือ อัร -เราะญาอ์ แต่อย่างใด อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสในเร่ืองนี้ว่า
 

“ไม่มีใครมั่นใจว่าจะปลอดภัยจากอุบายของอัลลอฮฺ นอกจากกลุ่มชนท่ีขาดทุนเท่านั้น” 
 

(สูเราะฮฺอัล-อะอฺรอฟ : 99)

 

         อัลลอฮ์ ทรงแจกแจงอย่างชัดเจนว่า ความหวังหรือ อัร-เราะญาอ์  จะไม่เกิดขึ้นเว้นแต่จะต้องปฏิบัติอะมัลที่ดี และ ความหวังจะไม่เกิดขึ้นเด็ดขาดหากปราศจากการทำดีเสียก่อน อัลลอฮฺ ตะบาเราะกะ วะตะอาลา ได้ดำรัสว่า

 

“แท้จริง บรรดาผู้อ่านคัมภีร์ ของอัลลอฮฺ และดำรงการละหมาด

และบริจาคส่ิงท่ีเราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเขา โดยซ่อนเร้นและเปิดเผย พวกเขาหวังการค้าท่ีไม่ซบเซา”
 

(สูเราะฮฺฟาฏิร:29)

 อัลลอฮฺ ตะอาลาได้ดำรัสอีกว่า

“แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธา และบรรดาผู้ท่ีอพยพ และได้เสียสละต่อสู้ในทางของอัลลอฮฺนั้น

ชนเหล่านี้แหละ ท่ีหวังในความเมตตาของอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺ เป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเมตตาเสมอ”

(สูเราะฮฺอัล-บะเกาะเราะฮฺ : 218)

        ♥ ความหวัง หรือ อัร-เราะญาอ์ คือ อิบาดะฮฺท่ีไม่สามารถมอบให้แก่ผู้อื่นได้ นอกจากกับอัลลอฮ์ เท่านั้น ซึ่งผู้ใดท่ีผูกความหวังของเขาต่อสิ่งอื่นจากพระองค์ ก็ถือเป็นการตั้งภาคี ในเร่ืองนี้อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า

“ดังนั้น ผู้ใดหวังท่ีจะพบพระผู้เป็นเจ้าของเขา ก็ให้เขาประกอบการงานท่ีดี

และอย่าตั้งผู้ใดเป็นภาคีใน การเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขา”

(สูเราะฮฺอัล-กะฮฺฟิ :110 )

          ♥ ความหวัง หรือ อัร-เราะญาอ์ คือ ส่ือหน่ึงท่ีจะทำให้ได้ใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ ดังที่มีหะดีษอัลกุดสีย์ ซึ่งอัลลอฮฺ ตะบาเราะกะวะตะอาลา ได้ดำรัสว่า

“แท้จริงข้าจะอยู่ ณ ท่ีบ่าวของข้าท่ีเขาได้คาดคิดต่อข้า

(คือ ถ้าบ่าวขออภัยโทษอัลลอฮ์จะให้อภัย ,ถ้าบ่าวขอความช่วยเหลืออัลลอฮ์จะให้ความช่วยเหลือ ,ถ้าบ่าวขอดุอาอ์อัลลอฮฺจะตอบรับคำขอนั้น เป็นต้น)

และข้าจะอยู่กับเขา เม่ือเขารำลึกถึงข้า

(อัลลอฮ์ จะทรงรับฟังในส่ิงท่ีบ่าวได้รำลึกถึงพระองค์ ทั้งด้วยลิ้น และหัวใจ)” 

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ หมายเลข 7405 และมสุลมิหมายเลข2675)

         วาญิบท่ีจะต้องผนวกรวมระหว่าง ความกลัว และ ความหวัง ไว้ด้วยกัน ซ่ึงสภาพของบ่าวคนหนึ่งที่จะมีความสมบรูณ์มากที่สุด คือการที่เขาได้มีความรักต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา พร้อมๆ กับการท่ีเขามีความกลัวและความหวังอย่างพอเหมาะพอควร ซึ่งสภาพเช่นนี้ คือสภาพของบรรดานบี อะลัยฮิมุศเศาะลาตุวัสลาม และบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย อัลลอฮฺ ตะอะลา ดำรัสความว่า

“แท้จริงพวกเขา(บรรดานบีทั้งหลาย) ต่างแข่งขันกันในการทำความดี และพวกเขาวิงวอนเราด้วยความหวัง ในความเมตตาของเรา

และด้วยความกลัวต่อการลงโทษของเรา และพวกเขาเป็นผู้ถ่อมตัวเกรงกลัวต่อเรา” 

(สูเราะฮฺอัล-อัมบิยาอ์:90)

และอัลลอฮฺตะอาลาได้ดำรัสอีกว่า

“สีข้างของพวกเขาเคลื่อนห่างจากที่นอน พลางวิงวอนต่อพระเจ้าของพวกเขาด้วยความกลัวและ ความหวัง

และพวกเขาบริจาคสิ่งที่เราได้ให้เป็นเครื่องยังชีพแก่พวกเขา”

(สูเราะฮฺอัส-สัจญฺดะฮฺ :16)

        เมื่อผู้ศรัทธาได้รู้ถึงความเมตตาของอัลลอฮฺท่ีครอบคลุม ทุกส่ิงทุกอย่าง ได้รู้ถึงเกียรติคุณของพระองค์ที่ยิ่งใหญ่อย่างล้นพ้น ได้รู้ถึงการที่พระองค์ได้ให้อภัยในความผิดบาปทั้งหลาย ได้รู้ถึงคุณค่าของสวนสวรรค์ของพระองค์ และได้รู้ถึงผลตอบแทนที่พระองค์จะประทานให้ว่ามีมากมายเพียงใด จิตใจของเขาก็จะรู้สึกปลอดโปร่งและรู้สึกสงบในความหวังและความปรารถนาต่อส่ิงที่มีอยู่ ณ ท่ีอัลลอฮฺ จากสิ่งท่ีดีงามที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย 

         และเมื่อผู้ศรัทธาได้รู้ถึงบทลงโทษของอัลลอฮฺ ท่ีมีความรุนแรงและเกรี้ยวกราด ได้รู้ถึงความยากลำบากในการพิพากษา ได้รู้ถึงความน่าสะพรึงกลัวของวันกิยามะฮฺ ได้รู้ถึงความร้ายกาจของไฟนรก ได้รู้ถึงรูปแบบการลงโทษชนิดต่างๆ ในไฟนรก จิตใจของเขาก็จะสยบและยอมแพ้ รวมถึงจะระมัดระวังตัว และมีความกลัว 

ด้วยเหตุนี้มีหะดีษที่รายงานจากท่านอบีฮุรอยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่าท่านเราะสลูลุลอฮฺ ได้กล่าวว่า

“ถ้าหากผู้ศรัทธาได้รู้ถึงการลงโทษที่มีอยู่ ณ ที่อัลลอฮฺ ไม่มีผู้ใดที่จะคาดหวังสวนสวรรค์ของพระองค์อีก

และหากผู้ปฏิเสธศรัทธาได้รู้ถึงความเมตตาที่มีอยู่ ณ ที่อัลลอฮฺ ก็จะไม่มีผู้ใดที่จะสิ้นหวังในสวนสวรรค์ของพระองค์เลย”

 

(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2755)


 

แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ / Islamhouse