การเนียต ในรูปแบบคำพูด
  จำนวนคนเข้าชม  20077


การเนียต ในรูปแบบคำพูด


 

แปลและเรียบเรียงโดย อับดุลวาเอด สุคนธา

        มวลการสรรเสริญทั้งหมดเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ เราขอสรรเสริญต่อพระองค์ เราขอความช่วยเหลือจากพระองค์ เราขออภัยโทษจากพระองค์ เราขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้พ้นจากความชั่วร้ายในตัวของเรา จากการงานที่เลวร้าย และการตั้งเจตนาที่ไม่ดีที่อยู่ในจิตใจของเรา ผู้ใดก็ตามที่พระองค์ทรงนำทางเขา เขาก็จะไม่หลงทาง และผู้ใดก็ตามที่พระองค์ให้เขาหลงทาง ก็จะไม่มีผู้ใดให้ทางนำแก่เขาได้ เว้นแต่พระองค์เท่านั้น

       รูปแบบของการเนีตยนั้น คือ การตั้งเจตนาที่จิตใจในการกระทำสิ่งต่างๆ เรื่อง อิบาดะฮ์ หรือเรื่องทั่วไป หากว่า การตั้งเนียตในรูปแบบการพูด เช่น พูดออกมาว่าฉันเนียตละหมาดศุบฮี 2 ร็อกอะ เพื่ออัลลอฮฺ ตะอาลา หรือละหมาดดุฮรี 4 ร็อกฮะ หรือเนีตยละหมาดซุนนะละหมาดอีซา การกระทำดังกล่าวในรูปแบบนี้ไม่มีซุนนะจากท่านนบี  ไม่มีรูปแบบที่ถูกต้องตามหลักชารีอะฮ์ แต่ทว่าเป็นบิดอะๆคือ สิ่งที่อุตริขึ้นมาเองในศาสนาเพราะว่าท่านนบี  กล่าวว่า

 

“ใครก็ตามที่อุตริ ขึ้นในศาสนาของเราในสิ่งที่ไม่มีแบบอย่างมาจากฉัน การงานนั้น ถือว่าโมฆะไม่ถูกตอบรับ”
 

(บันทึกโดย บุคครีย์ และมุสลิม)

 

       ท่านนบี  นั้นมิได้กล่าวเนีตยออกมาเป็นคำพูด ดังที่มีรายงานในหนังสือ ศ่อเฮียะ มุสลิมกล่าวว่าท่านนบี  กล่าวแก่ชาวอาหรับคนหนึ่ง เกี่ยวกับการละหมาดของเขา ว่า


إِذَا قُمْتَ إِلَى الصَّلاَةِ فَكَبِّرْ، ثُمَّ اقْرَأْ مَا تَيَسَّرَ مَعَكَ مِنَ الْقُرْآنِ

“ครั้นเมื่อท่านลุกขึ้นละหมาด จงกล่าว ตักบีร อัลลอฮุอักบัร จากนั้นจงอ่านจากโองการง่ายๆ จากอัลกรุอ่าน”

 

          ท่านนบี  ไม่ได้สั่งใช้ให้มีการกล่าวเนียตในรูปแบบที่เปล่งเสียออกมาเป็นคำพูด ถ้าหากว่าการกระทำดังกล่าวนั้นมีอยู่จริง ก็ต้องมีรูปแบบจากท่านนบี  และบรรดาสาวกของท่าน ว่าพวกเขานั้นตั้งเจตนาในรูปแบบการเปล่งเสียง มีรายงานในหนังสือ ศ่อเฮียะ มุสลิม จากนางอาฮิชะ กล่าวว่า ท่านนบี 

 

“เวลาที่ท่านนบี  จะละหมาด ท่านจะเริ่มด้วยการกล่าวว่า อัลลอฮุอักบัร คือ การตักบีร เท่านั้น”

 

         ส่วนคนที่กล่าวว่า การตั้งเจตนาในรูปแบบเปล่งเสียงมานั้นมีรูปแบบที่ถูกต้องคำพูดนี้ถือว่า "โมฆะ" ใช้ไม่ได้ การปฏิบัติที่ดี คือการปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านนบี  และบรรดาศ่อฮาบะของท่าน แท้จริง อิสลาม คือ ศาสนาที่สมบูรณ์แบบ ดังที่ อัลลอฮฺตรัสว่า
 

{ الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمُ الإِسْلاَمَ دِيناً}

"วันนี้ เราได้ทำให้ศาสนาของพวกท่านนั้นสมบูรณ์แบบแล้ว ความโปรดปรานของฉัน

และข้านั้นทรงพึงพอพระทัยแก่พวกท่าน ที่ให้อิสลามเป็นศาสนาที่แท้จริง "

(อัลมาอิดะ 3)

ท่านนบี  กล่าวว่า

“ใครก็ตามที่กระทำงานใดที่ไม่ใช่การงานที่มาจากฉัน การงานนั้น ถือว่า โมฆะ ไม่ถูกตอบรับ "

(บันทึกโดย มุสลิม)

         เชคอิสลาม อิบนุ ตัยมียะ กล่าวเอาไว้ในหนังสือ อัลฟาตะวาดุบรอ ว่า การเนีตยโดยการพูดออกมานั้น ถือว่าเป็นการบกพร่องในเรื่องของศาสนาและ สติปัญญา 

- ในเรื่องของศาสนา คือ การทำบิดอะ อุตริสิ่งใหม่ขึ้นมาเอง 

       - ส่วนในเรื่องของสติปัญญาคือ เช่น มีชายคนหนึ่งต้องการรับประทานอาหาร แล้วเขากล่าว ว่า ฉันเนียต วางอาหารลงบนมือ ใส่ภาชนะ เอาเข้าปาก และก็เคี้ยว ต่อมาก็กลืนอาหารนั้น เพื่อทำให้ฉันอิ่ม  นี่คือ ความโง่เขล่าเบาปัญญา


         ท่านยังกล่าวเอาไว้ในหนังสือ มุจมุญฟาตะวา ว่า ไม่จำเป็นและไม่ส่งเสริมให้มีการกล่าวเนีตยในรูปแบบเปล่งเสียงออกมา ตามความเห็นของอุลามา การกระทำแบบนี้ ถือว่า บิดอะฮ์ ค้านหลักชารีอะของอิสลาม ใครที่เชื่อและยึดถือปฏิบัติดังกล่าวนี้ เป็นบุคคลที่ โง่ หลงผิด สมควรแล้วที่เขานั้นจะต้องได้รับบทลงโทษ


          เชค อิบนุ กอยยิมกล่าวเอาไว้ในหนังสือ ซาดุลมาอ้าด ว่า ครั้นเมื่อ ท่านนบี  จะทำละหมาด ท่านก็จะเริ่มด้วยการกล่าว อัลลอฮุอักบัร ท่านนบี  ไม่ได้กล่าวคำพูดใดๆก่อนหน้านี้ หรือการเนียตออกมาเป็นเสียง เว้นแต่การกล่าวตักบีรเท่านั้น ซึ่งท่านนบี  ไม่ได้กล่าวว่า ฉันจะละหมาด หันหน้าไปทางกิตละ 4 ร็อกอะ ไม่ว่าจะเป็นอิหม่ามหรือ มะมูม ก็ตาม หรือว่าเนียตจะชดใช้ละหมาด ฟัรฏู สุนนะ นี่คือรูปแบบของท่านนบี  ในการเนีตย ไม่มีสายรายงานแต่อย่างใด แม้กระทั่ง หะดีษที่ด่ออีฟ ศ่อเฮียะ มุสนัด แม้แต่เพียงคำพูดเดียวที่มีการเปล่งเสียง ไม่มีรูปแบบจากบรรดาศ่ออาบะ ตาบีอีน รวมถึง อิม่ามทั้งสี่มัสฮับด้วย

          เชค อับดุลอาซีร บินบาส เชค มูฮัมหมัด ซอและฮ์ บินอุซัยมีน ศูนย์ชี้ขาดปัญหาศาสนาของซาอุดิอารเบีย ฟัตวาว่า  "การกล่าวเนียตในรูปแบบการเปล่งเสียงออกมาเป็นคำพูด ถือ ว่า บิดอะ ไม่มีในรูปแบบการปฏิบัติจากท่านนบี การตั้งเจตนาอยู่ที่จิตใจเท่านั้น"

 ท่านนบี  กล่าวว่า

 إنما أعمال بالنيات وإنما لكل امرء ما نوى

“แท้จริง การงานนั้น ตั้งอยู่บนการเจตนา และ ทุกกิจการงาน ขึ้นอยู่กับการเนียต” 

(บันทึกโดย บุคครีย์)