มูลฐานของการอบรมเด็ก
  จำนวนคนเข้าชม  2403


มูลฐานของการอบรมเด็ก 


โดย…. อ.อิมรอน มะกูดี 
 

     หลังจากการศรัทธาต่ออัลลอฮ์  แล้ว เด็กเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด ที่มนุษย์มีกรรมสิทธิ์อยู่ อัลลอฮ์  ตรัสไว้ความว่า

 

“และจงระลึก เมื่อลุกมานได้กล่าวแก่ลูกของเขา ขณะอบรมสั่งสอนลูกของเขาว่า

โอ้ ลูกที่รัก เจ้าอย่าได้ตั้งภาคีกับอัลลอฮฺ แท้จริง การตั้งภาคี เป็นความอธรรมอย่างใหญ่หลวง

และเราได้สั่งเสียมนุษย์ ให้ทำดีต่อบิดามารดาของเขา มารดาของเขาได้อุ้มครรภ์เขามา ด้วยความอ่อนแอแล้วอ่อนเล่า

และการหย่านมของนางนั้น อยู่ภายในเวลาสองปี ฉะนั้น เจ้าจงขอบคุณต่อข้า (อัลลอฮฺ) และบิดามารดาของเจ้า

และเจ้าต้องกลับมายังข้า และหากเขาทั้งสอง (บิดามารดา) บังคับให้ตั้งภาคีกับข้า โดยเจ้าไม่มีความรู้แล้ว เจ้าก็อย่าปฏิบัติตามเขาทั้งสอง

แต่เจ้าจงคบค้ากับเขาทั้งสอง ในโลกนี้ด้วยดี และดำเนินตามทางของพวกผู้ที่กลับมายังข้า

ภายหลังพวกเจ้าจะต้องกลับมายังข้า แล้วข้าจะบอกพวกเจ้าให้รู้ถึงสิ่งที่พวกเจ้ากระทำ” 

 (ลุกมาน/13-15) 
 

นักวี กล่าวไว้ความว่า     “อันที่จริง ลูกๆนั้น เสมือนหัวใจของเรา เดินอยู่บนพื้นดิน"

 

           เด็กๆเป็นสิ่งสีบทอดของชีวิต ความเป็นอยู่ของมนุษย์ ในพื้นพิภพนี้ หรือเป็นกิ่งก้าน ที่แตกออกมาจากลำต้นมนุษย์ไม่มีคนใด ที่หวังจะได้ดิบได้ดี นอกจากคนคนนั้น เป็นลูกของเขา เด็กนั้นเกิดมาในธรรมชาติของการศรัทธา และการเชื่อถือเรื่องเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า เว้นแต่ว่า บิดารมารดาของเขา จะทำให้เขาหันเห ไปสู่การตั้งภาคี และปฏิเสธการศรัทธา มีรายงานจากอบูฮุรอยเราะฮฺว่า


"مَامِنْ مَوْلُودٍيُوْلَدُ إِلَّاعَلَى الْفِطْرَةِ ، فَأَبَوَاهُ يُهَوِّدَانِهِ وِيُنُصِّرَانِهِ وَيُمَجِّسَانِهِ"

“ไม่มีเด็กคนใดเกิดมา นอกจากจะเกิดมา ในธรรมชาติ (อันบริสุทธิ์)

ฉะนั้น บิดามารดาของเขานั่นแหละ เป็นผู้ทำให้เขาเป็นยิว และเป็นคริสต์ และเป็นมะญูซียฺ (พวกบูชาไฟ)  

(มุสลิม) 


          เนื่องจากตำแหน่งอันสำคัญของเด็กนั้น อยู่ในหัวใจของบิดามารดา และเนื่องจากบิดามารดาเป็นผู้รับผิดชอบในตัวของเด็ก และการอบรมเลี้ยงดูเด็กต่อหน้าพระองค์อัลลอฮ์  ในวันชำระสอบสวน จึงเป็นหน้าที่ของบิดามารดา จะต้องให้ความสนใจ และดูแลอย่างสุดความสามารถ เพื่อลูกๆของเขาทั้งสองจะได้มีมารยาท มีอุปนิสัย อยู่ในระดับที่เหมาะสม และมีความประพฤติ ที่เที่ยงธรรม และเพื่อที่เขาเหล่านั้น จะได้เติบโตขึ้นมา อยู่ในหลักการเชื่อมั่นที่ถูกต้อง และอยู่ในความรักของอัลลอฮฺ  และร่อซูลของพระองค์  บิดามารดา เพื่อนร่วมชาติ และเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย และรักประเทศชาติ และเพื่อที่จะได้เป็นผู้มีความมานะสูง มองการณ์ไกล ใฝ่กิจการที่สูง และออกห่างจากสิ่งที่เลวทรามต่ำช้า 

          เราขอต่ออัลลอฮ์  ให้ทรงนำทางเราทั้งมวล สู่หนทางที่เที่ยงตรง และทรงคุ้มครองเรา ให้พ้นจากความชั่วร้าย และขอได้ทรงโปรดให้เขาเหล่านั้น เป็นปวงบ่าวของผู้มีกัลยาณธรรมของพระองค์ และไพร่พล ผู้มีความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ พระองค์ทรงเป็นผู้พิทักษ์เรา และทรงช่วยเหลือที่ดียิ่ง  

ข้อชี้แนะทางการอบรม

     1. ปราชญ์ทางการศึกษาศาสตร์ ได้มีความเห็นพ้องต้องกันว่า ระยะปีแรก ในอายุของเด็กนั้น มีระยะที่สำคัญที่สุด ด้วยเหตุนี้ จึงจำเป็นที่จะต้องเอาใจใส่กับเด็กเพิ่มมากเป็นพิเศษ โดยที่จะต้องฝึกหัดให้เคยชิน กับมารยาทที่ประเสริฐ และความประพฤติที่ยอดเยี่ยม เพราะผู้ใดเติบโตมา (ด้วยความเคยชิน) กับสิ่งใด ก็จะแก่ลง (ด้วยความเคยชิน) กับสิ่งนั้น 


     2. สมควรที่เราจะต้องให้เด็กอายุเกิน 10 ขวบได้นอนต่างหาก ไม่นอนรวมที่นอนเดียวกับพี่ๆ และน้องๆ หรือบิดา มารดา เพื่อปฏิบัติตามบัญญัติของอัลลอฮฺ  ซึ่งพระองค์ตรัสไว้ความว่า


          “และในเมื่อเด็กๆในหมู่ของพวกเจ้าถึงวัยแห่งความเป็นหนุ่มสาว ก็จงให้เขาเหล่านั้น ได้ขออนุญาต (ในการเข้าพบ) เช่นที่พวกที่มาก่อนหน้าพวกเขาเหล่านั้น ได้ขออนุญาต ในทำนองนั้นแหละ อัลลอฮฺได้ทรงแจ้งโองการต่างๆของพระองค์ แก่พวกเจ้า และอัลลอฮฺทรงเป็นผู้รอบรู้ เป็นผู้ปรีชาญาณ”

(อันนูร/58) 



     3. บิดารมารดาจะต้องใช้ให้เด็ก ทำการละหมาด เมื่ออายุๆ 7 ขวบ และเมื่อเขาอายุ 10 ขวบ แล้วเขายังไม่ยอม ก็จะต้องเฆี่ยนตี 


          บิดามารดาจะต้องใช้ความพยายาม ด้วยวิธีการณ์ต่างๆ ในอันที่จะทำให้เด็กนิยมชมชอบการละหมาด แต่ถ้าบิดามารดาไม่ละหมาด ก็ย่อมเป็นตัวอย่างที่เลวยิ่งแก่ลูกๆ เขาทั้งสองจะต้องแบกบาป ของการที่ลูกหันออกนอกลู่นอกทาง และห่างไกลจากศาสนาของเขา อัลลอฮฺ  ตรัสไว้ความว่า

“โอ้ ลูกรัก เจ้าจงดำรงละหมาด ใช้ให้ทำความดี ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว

และจงอดทนต่อสิ่งที่ได้ประสบกับเจ้า แท้จริง อันนั้น อยู่ในสิ่งที่ถูกใช้ต่างๆ”

(ลุกมาน/17)



     4. บิดามารดาจะต้องฝึกหัดเด็ก ให้นอนแต่หัวค่ำ และตื่นแต่เช้าตรู่ 

     ฝึกหัดเด็ก ให้กล่าวขณะขึ้นจากที่นอน ในตอนเช้าว่า “อัลหัมดุลิลลาฮิลล่าซี อะหฺยานา บะอฺด่ะมา อะมาตะนา วะอิลัยฮินนู่ชู้ร”
 

     (การสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ผู้ทรงให้ข้าฯมีชีวิตขึ้นมา ภายหลังจากให้ข้าฯสิ้นชีวิตไป และ(ทุกชีวิต) ต้องกลับไปสู่พระองค์) 

          ต่อจากนั้น ก็ให้เด็กได้แสดงความเคารพต่อบิดามารดา และพี่ๆ น้องๆ ด้วยการกล่าวว่า “อัสสลามุอะลัยกุม ว่ะเราะหฺมะตุลลอฮิวะบะเราะกาตุฮฺ” หลังจากนั้น ก็ให้เขาอาบน้ำละหมาด รับประทานอาหารเช้า แล้วก็แต่งตัว 



     5. เมือเด็กรับประทานอาหาร ให้กล่าวว่า “บิสมิลลาฮฺ” (ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ  ) หลังจากนั้น ก็ให้ขอดอาอฺต่อไปนี้ 

" "اَللَّهُمَّ بَارِكْ لَنَا فِيْمَارَزَقْتَنَا وَزِدْنَامِنْهُ"
 

“ข้าแต่พระองค์ ขอพระองค์ทรงให้ความเป็นสิริมงคลแก่สิ่งที่พระองค์ท่านได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่เรา

และขอพระองค์ได้ทรงเพิ่มพูนแก่เรา จากปัจจัยยังชีพนั้นด้วย”

         ต่อจากนั้น เด็กก็รับประทานอาหารที่อยู่ข้างหน้าของเขา อย่างสงบเสงี่ยม และไม่มูมมาม ด้วยการเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว ให้กล่าวว่า

"اَلْحَمدُ لِلَّهِ الَّذِي أَطْعَمَنَاوَسَقَانَاوَجَعَلَنَامِنَ الْمُسْلِمِيْن"
 

“บรรดาการสรรเสริญ เป็นสิทธ์ของอัลลอฮฺ ผู้ทรงให้อาหารแก่เรา ให้น้ำดื่ม แก่เรา

และทำให้เรา เป็นคนหนึ่ง จากบรรดามุสลิม”

ตามซุนนะฮฺแล้ว จำเป็นต้องล้างมือ และล้างปาก ก่อน และหลังรับประทาอาหาร 



     6. สมควรที่จะลดการล้อเล่นกับเด็กให้น้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการใช้ถ้อยคำหยาบคาย และน่าเกลียดกับเด็กการ ล้อเล่นมากๆ กับเด็กจะนำไปสู่การเหยียดหยามผู้ล้อเล่นกับเขา และนำไปสู่การดื้อดึง และการไม่ชอบนั่งร่วมกับผู้ล้อเล่น




      7. สมควรหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาท ระหว่างบิดากับมาดา ต่อหน้าเด็ก เพระการกระทำเช่นนั้น จะทำให้เกิดรอยร้าวขึ้นในหัวใจ มีผลการกระทบกระเทือนต่อความประพฤติ และการสร้างความมัวหมอง ความเศร้าโศกขึ้นในจิตใจของเด็ก




     8. จำเป็นจะต้องปกปิดการแสดงออกซึ่งความเห็นอกเห็นใจ และความเร้นลับทางการเป็นคู่ครองมิให้เด็กเห็น ถ้าเช่นนั้นแล้ว มารยาทก็จะเสียไป และความประพฤติของเขาจะออกนอกลู่นอกทาง และนี่ก็เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่ง




     9. จำเป็นที่คนในครอบครัว จะต้องไม่ออกคำสั่งที่ขัดแย้งกัน ให้แก่เด็ก เช่นบิดาพูดว่า "จงทำเช่นนี้" แต่มารดาสั่งว่า "อย่าทำ" เด็กก็จะอยู่ในสภาพของความยุ่งใจ และความฉงน งงงวย ไม่รู้ว่าจะปฏิบัติตามใคร จะปฏิบัติตามบิดา หรือว่าจะปฏิบัติตามมารดาดี 




     10. ฝึกให้เด็กใช้คำพูดที่สุภาพ หัดให้เคยชินกับการพูดจริง ความซื่อสัตย์ การพูดตรงไปตรงมา และความกล้าหาญ




     11. ฝึกหัดให้เด็กพึ่งพาตัวเอง ในการรับประทานอาหาร ในการดื่ม ในการแต่งกาย การถอดเครื่องแต่งกาย การขัดรองเท้า และในการบริหารตนเอง ด้วยตนเอง




     12. ใช้เด็กให้ทำงานเบาๆ บางอย่าง อาทิเช่น ใช้ให้เอาสิ่งของบางอย่างที่จำเป็นต้องใช้ ในบ้านบางอย่าง ใช้ให้ทำธุระกิจ บริการเพื่อนบ้านบ้าง และให้ช่วยเหลือเพื่อนๆพี่ๆน้องๆในกิจการของเขาเหล่านั้น ถ้าหากเขาจะประสบกับความล้มเหลว ในตอนเริ่มต้น ก็ไม่สมควรที่จะดุตะคอกเขา หากแต่จะต้องส่งเสริมเร่งเร้าเขา เพื่อจะได้กลับไปทำงานอีก




     13. ให้ระวังการขู่เด็กให้หวาดกลัวเด็กกลุ่มอื่นๆ หรือให้หวาดกลัวความมืด ผี เปรต และอื่นๆอีก เพราะการกระทำเช่นนั้น จะปลูกฝังความเลวร้ายของความขี้ขาดตาขาว ความอ่อนแอ และความสะพรึงกลัวขึ้นในจิตใจของเด็ก




     14. หลังตะวันตกดิน จำเป็นที่จะต้องเรียกลูกๆที่กำลังวิ่งเล่นตามท้องถนน ตามลาน ตามสนาม ให้กลับเข้าบ้าน เพื่อรับประทานอาหารค่าความมืด ผี เปรต และอื่นๆ อีก เพราะการกระทำเช่นนั้นจะปลูกฝังความเลวร้ายของความขี้ขาดตาขาว ความอ่อนแอ และความสะพรึงกลัวขึ้นในจิตใจของเด็ก




     15. จำเป็นที่ครอบครัวจะต้องเข้าใจว่า เด็กกับการเล่นนั้นเปรียบเสมือนอาหาร เด็กไม่อาจจะละเว้นการเล่นได้ ทั้งนี้เพื่อเด็กจะได้เติบโตทางร่างกาย และสติปัญญา ฉะนั้นจึงไม่อนุญาตให้สร้างความเหนื่อยอ่อนแก่เด็กๆ ด้วยการใช้ให้ทำงานจิปาถะโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากเด็กกำลังเพลินกับการเล่นกับเพื่อนๆ เพราะการพยายามที่จะให้เด็ก ที่กำลังสนุกอยู่เลิกเล่นนั้น ย่อมจะก่อให้เกิดความน้อยใจ และอาจจะนำไปสู่การฝ่าฝืนบิดามารดา




     16. สมควรฝึกหัดให้เด็กยกย่องบิดามารดา ครูบาอาจารย์ เพื่อนบ้าน และให้เริ่มด้วยการแสดงความเคารพคนเหล่านั้นทุกครั้งที่พบกัน และเมื่อคนเหล่านั้นใช้ให้ทำงานใดๆ เด็กจะต้องไม่ปฏิเสธ




     17. ใครที่ให้คำมั่นสัญญาแก่เด็กอย่างไรแล้ว ก็จำเป็นที่เขาจะต้องปฏิบัติตามสัญญานั้นให้ครบถ้วน ถ้ามิเช่นนั้นแล้ว เขาก็เป็นผู้โกหก ในทัศนะของเด็ก และบางทีการโกหกนั้น ก็จะติดเป็นนิสัย และจะทำให้เด็กเสียคน




     18. จงระวัง อย่าพะเน้าพะนอเด็กจนเกินไป และสงสารเด็กมากนัก ฉะนั้นจึงจำเป็นจะต้องให้เด็กได้พบกับความอ่อนโยน และความเฉียบขาด เมื่อสถานการณ์ต้องการ อีกทั้งจะต้องระวังการตอบสนองเด็กทุกครั้งที่เขาขอ และพืชนั้นถ้าหาก รดน้ำ และใสปุ๋ยมากเกินความจำเป็น ก็จะอ่อนแอและห่อเหี่ยว  


          ในทำนองเดียวกันเด็กสมควรที่จะเข้าใจด้วยว่าชีวิตความเป็นอยู่นั้นมีทั้งความนิ่มนวล และความแข็งกระด้าง มีความอ่อนหวานและความทารุณ มีฤดูใบไม้พลิและฤดูหนาว เด็กทีได้รับการพะเน้าพะนอนั้น ในอนาคตจะไม่สามารถแบกภาระ และทนต่อความคับแค้นของการดำรงชีวิตได้ และกำลังของเขาจะเสื่อมโทรมอย่างรวดเร็ว



     19. วิธีการอบรม และแนะแนวที่ประเสริฐที่สุด ก็คือ การใช้วิธีการทางอ้อม โดยเล่าเรื่องต่างๆให้เด็กฟัง เช่น เรื่องความกล้าหาญ รับใช้ประชาชาติ และประเทศชาติของเขา 

 หรือเรื่องนักประดิษฐ์คิดคัน จนสามารถสร้างเครื่องจักรชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นประโยชน์แก่คนทั้งหลาย 

 หรือเรื่องเด็กหนุ่มคนหนึ่ง ยืนหยัดอยู่ในความสัตย์จริง ในภาวะคับขัน จนกระทั่งความสัจจริงนั้นได้ช่วยให้เขาได้พ้นจากภัยพิบัติ 

 หรือเรื่องของคนรับของฝากไว้ เมื่อเจ้าของมาขอคืนไป ก็ส่งของให้เจ้าของอย่างครบถ้วน เหมือนกับเมื่อตอนเอามาฝาก 

 หรือเรื่องชายคนหนึ่งเดินผ่านคนกลุ่มหนึ่ง กำลังหิวโหย เขาจึงให้อาหารแก่คนเหล่านั้น 

 หรือเรื่องเจ้าของรถยนต์หนึ่ง เห็นเด็กๆกำลังเดินเท้าอยู่บนถนน ก็จอดของรถรับเด็กๆเหล่านั้นไปส่งถึงบ้าน 

        และเรื่องที่คล้ายคลึงกันนั้น แล้วผู้อบรมวิจารณ์เรื่องเหล่านั้น เล็กๆ น้อยๆโดยบอกว่า จำเป็นที่เด็กจะต้องเอาคนเหล่านั้น เป็นตัวอย่าง และปฏิบัติงานให้เกิดเหมือนกับคนเหล่านั้น...

 

 




มูลนิธิ ชี้นำสู่สันติสุข