เจ้าอย่าได้กล่าวแก่ทั้งสองด้วยคำว่า อุ๊ฟ
  จำนวนคนเข้าชม  5354


เจ้าอย่าได้กล่าวแก่ทั้งสองด้วยคำว่า อุ๊ฟ



 

โดย ไชยคฺ อับดุรเราะหฺมาน นาศิร อัสสะอฺดียฺ
 

ถอดความ.... ม.ดอนฉิมพลี 
 


ตัวบท 



"وَقَضَى رَبَّكَ أَلاَّتَعْبُدُواْإِلاَّإِيَّاهُ وَبِالْوَالِدَيْنِ إِحْسَانًا إِمَّا يَبْلُغَنَّ عِنْدَكَ اْلكِبَرَ أَحَدُحُمَاأَوْكِلا َهُمَافَلاتَقُلْ لَهُمَاأُفٍّ وَلاَتَنْهَرْهُمَا وَقُلْ لَهُمَاقَوْلاًكَرِيْمًا * وَاخْفِضَ لَهُمَاجَنَاحَ الذُّلِّ مِنَ الرَّحْمَةِ وَقُلْ رَبِّ ارْحَمْهُمَا كَمَارَبَّيَانِي صَغِيْرًا * رَبُّكُمْ أَعْلَمُ بَمَا فِي نُفُوْسِكُمْ إِنْ تَكُوْنُواْصَالِحِيْنَ فَإِنَّهُ كَانَ لِلأَوَّابِيْنَ غَفُوْرًا" 

 


คำแปล


 

“และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้าได้ทรงใช้ ไม่ให้พวกเจ้าเคารพภักดี นอกจาก เฉพาะพระองค์เท่านั้น

และปฏิบัติดีต่อพ่อแม่ทั้งสอง เมื่อคนหนึ่งคนใด หรือสองคนเลย ได้เข้าสู่วัยชรา 
 

ขณะอยู่กับเจ้า เจ้าก็อย่าได้กล่าแก่เขาทั้งสองด้วยคำว่า อุ๊ฟ (คำแสดงความไม่พอใจ) อย่าตะคอกเขาทั้งสอง 
 

จงกล่าวแก่เขาทั้งสอง ด้วยคำกล่าวที่ดี มีเกียรติ จงถ่อมเนื้อถ่อมตัวแก่เขาทั้งสอง ให้มากที่สุด  จากความเมตตา 
 

และจงกล่าว (ขอดุอาอฺ) ว่า....

โอ้ พระผู้เป็นเจ้าของฉัน ขอพระองค์ได้ทรงเอ็นดูเมตตาเขาทั้งสอง เหมือนกับที่เขาทั้งสองได้เลี้ยงดูฉันมา ในขณะที่ฉันยังเล็กอยู่ด้วย 
 

พระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้าเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดถึงสิ่งที่มีอยู่ในตัวของพวกเจ้า

หากพวกเจ้าเป็นคนดี พระองค์นั้น ก็เป็นผู้ที่ให้อภัยเสมอ แก่บรรดาผู้ที่กลับเนื้อกลับตัว”


คำอธิบาย


          “และพระผู้เป็นเจ้าของเจ้าได้ทรงใช้ ” ทรงใช้ทางด้านศาสนา  และทรงใช้ทางด้านบทบัญญัติ “ ว่า พวกเจ้าจักต้องไม่เคารพภักดี ” ต่อคนหนึ่งคนใดจาก จากบรรดาผู้ที่อยู่ในพื้นแผ่นดิน และชั้นฟ้าต่างๆ ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และตายไปแล้ว 


 

          “นอกจากเฉพาะพระองค์เท่านั้น” เพราะว่า พระองค์ คือ พระผู้เป็นเจ้าองค์หนึ่งเดียว  ผู้ให้การช่วยเหลือ ที่ทุกลักษณะแห่งความสมบูรณ์เป็นของพระองค์ และจากลักษณะนั้น สิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เป็นของพระองค์ ในรูปแบบที่ไม่มีคนหนึ่งคนใด จากบรรดาสิ่งสร้างของพระองค์ เหมือนพระองค์ เป็นผู้ประทานความโปรดปราน ที่เห็นได้และเห็นไม้ได้  ผู้ทรงผลักดันให้ความทุกข์ยากต่างๆหมดไป  ผู้ทรงสร้าง ให้ปัจจัยยังชีพ ผู้จัดการบริหารกิจการต่างๆทั้งหมด ซึ้งพระองค์เป็นเจ้าของในเรื่องดังกล่าวเพียงผู้เดียว  และผู้อื่นนั้น ไม่มีอำนาจในเรื่องราวดังกล่าวแต่อย่างใด 


          หลังจากนั้น พระองค์ได้ทรงกล่าวถึงการให้นำเอาสิทธิของพ่อแม่มาปฏิบัติ หลังสิทธิของพระองค์ โดยที่พระองค์ได้ตรัสว่า “และพวกเจ้าจงปฏิบัติดีต่อพ่อแม่” คือ ปฏิบัติดีต่อเขาทั้งสอง ด้วยรูปแบบต่างๆของการปฏิบัติดี ทางด้านคำพูด และการกระทำ เพราะว่าท่านทั้งสอง เป็นเหตุของการมีมาของบ่าว และเขาทั้งสองมีความรักต่อลูก และปฏิบัติดีต่อลูก มีความใกล้ชิดกับลูก อันเป็นสิ่งที่กำหนดให้ต้องมีการย้ำเน้นในสิทธิ และการต้องปฏิบัติดี 


 

          “เมื่อคนหนึ่งคนใด จากเข้าทั้งสองได้เข้าสู่วัยชรา ขณะอยู่กับท่าน หรือสองคนเลย” คือ เมื่อได้เข้าสู่วัยนี้ ที่กำลังของเขาทั้งสองจะอ่อนเปลี้ย  และต้องการความสงสาร และการปฏิบัติดี ซึ่งเป็นสิ่งที่รู้กันดี “เจ้าก็อย่าได้กล่าวแก่เขาทั้งสอง ด้วยคำว่า อุ๊ฟ” และอันนี้ มันเป็นขั้นต่ำสุดของการทำร้าย ซึ่งถูกนำมาเตือน  และความหมาย คือ อย่าได้ทำร้ายเขาทั้งสอง ด้วยการทำร้ายขั้นต่ำสุด 


 

          “และอย่าได้ตะคอกเขาทั้งสอง” ด้วยการใช้คำพูดที่ไม่สุภาพ  ใช้คำพูดที่รุนแรง แข็งกระด้างแก่เขาทั้งสอง “และจงกล่าวแก่เขาทั้งสอง ด้วยคำกล่าวที่ดี มีเกียรติ” ด้วยคำพูดที่เขาทั้งสองรัก มีมารยาท  ค่อยๆพูดค่อยๆจา คำพูที่มีความอ่อนโยน ไพเราะ ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีในหัวใจของเขาทั้งสอง ทำให้จิตใจของเขาทั้งสองเกิดความสบาย ซึ่งอันนั้น จะแตกต่างกันไป ตามความแตกต่างของสภาพ  ขนมธรรมเนียม  ประเพณี และยุคสมัยต่างๆ 


 

          “และจงถ่อมเนื้อถ่อมตัวแก่เขาทั้งให้มาก จากความเมตตา” ถ่อมเนื้อถ่อมตัวแก่เขาทั้งสอง เป็นการแสดงความอ่อนโยน  และความเมตตาแก่เขาทั้งสอง หวังในผลการตอบแทน ไม่ใช่เกิดจากความกลัวในเขาทั้งสอง หรือหวังในทรัพย์สินของเขาทั้งสอง และอื่นจากนั้น จากสิ่งมุ่งหวังต่างๆ ที่บ่าวจะไม่ได้รับการตอบแทนจากการกระทำ 


 

          “และเจ้าจงกล่าว (ขอดุอาอฺ) ว่า โอ้ พระผู้เป็นเจ้าของฉัน ขอพระองค์ ได้ทรงเมตตาเขาทั้งสอง” คือ ขอดุอาอฺให้เขาทั้งสอง ด้วยการได้รับความเมตตา ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ และตายไปแล้ว เป็นการตอบแทน ในการเลี้ยงดูเจ้าในขณะที่เจ้ายังเล็กอยู่ ซึ่งสามารถเข้าใจได้ จากสิ่งที่ได้กล่าวมานี้ว่า ทุกครั้งที่มีการเลี้ยงดู สิทธิก็ยิ่งเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกัน ใครที่ทำหน้าที่ในการเลี้ยงดูมนุษย์ ในศาสนา และโลกนี้ของเขา อย่างดี ที่ไม่ใช่พ่อแม่ เขานั้นก็มีสิทธิ์ต่อผู้ที่เขาได้เลี้ยงดู ในการเลี้ยงดูเขา 


 

          “พระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้า เป็นผู้ที่รู้ดีในสิ่งที่มีอยู่ในตัวของพวกเจ้า หากพวกเจ้าเป็นคนดี แท้จริง พระองค์นั้น เป็นผู้อภัยให้เสมอ แก่บรรดาผู้กลับเนื้อกลับตัว” คือ พระผู้เป็นเจ้าของเจ้า ผู้ทรงสูงส่งยิ่ง เป็นผู้ที่ล่วงรู้ในความลับต่างๆของพวกเจ้า จากความดี และความชั่ว  ในขณะที่พระองค์ จะไม้ทรงมองไปยังการงานต่างๆของพวกเจ้า และร่างกายของพวกเจ้า แต่พระองค์จะทรงมองไปยังหัวใจของพวกเจ้า และสิ่งที่มีอยู่ในนั้น จากความดี และความชั่ว 


          “และหากว่า พวกเจ้าเป็นคนดี” โดยที่ความต้องการ และเป้าหมายต่างๆของพวกเจ้า เป็นสิ่งวนเวียนอยู่กับความพึงพอใจแห่งอัลลอฮฺ และปรารถนา ในสิ่งทำให้พวกเจ้ามีความใกล้ชิดกับพระองค์ และในหัวใจของพวกเจ้าไม่มีความต้องการที่ฝังอยู่เพื่อผู้อื่น นอกเหนือจากอัลลอฮฺ 


         “แท้จริง พระองค์เป็นผู้ที่อภัยให้อย่างมาก แก่บรรดาผู้กลับเนื้อกลับตัว” ซึ่งใครที่พระองค์ได้ทรงไปดูหัวใจของเขา และรู้ว่า ในนั้น ไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใด นอกจากการกลับเนื้อกลับตัวยังพระองค์ ความรักในพระองค์ และความรักในสิ่งที่ให้เกิดความใกล้ชิดกับพระองค์ แท้จริง ถึงแม้ว่า จะมีสิ่งที่เป็นไปตามอุปนิสัยของมนุษย์เกิดขึ้น อัลลอฮฺ ก็ทรงอภัยให้แก่เขา  ยกโทษให้แก่เขา ในสิ่งที่เกิดขึ้นโดยชั่วคราวไม่ได้เกิดขึ้นตลอดกาล  

 


มูลนิธิ ชี้นำสู่สันติสุข