ประวัติความเป็นมาของการแสดงละคร
  จำนวนคนเข้าชม  14553


ประวัติความเป็นมาของการแสดงละคร
 

เรียบเรียงโดย อับดุลบารีย์ นาปาเลน
 

          การแสดงละครเป็นการกระทำของบรรดาพวกกุฟฟ้ารฺ(ผู้ปฏิเสธศรัทธา) ที่ได้อุตริกรรมขี้นในศาสนาของพวกเขา แล้วได้กลายมาเป็นประเพณีและความบันเทิง หลังจากนั้นบรรดานักประวัติศาสตร์ได้ระบุถึงที่มาของการแสดงละครโดยมีต้นกำเนิดเริ่มแรกมาจากพวกโยนานหรือพวกกรีกในอดีต ที่ยึดเอาการแสดงละครมาทำเป็นพิธีกรรมทางศาสนาของพวกเขา เรื่องราวของละครกรีกในยุคแรกๆ เป็นการสรรเสริญและเล่าเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้าของพวกเขา พวกกรีกจะนิยมการแสดงละคร จนมีการสร้างโรงละครกลางแจ้งที่ใหญ่โต สามารถจุคนได้เป็นจำนวนมาก และการแสดงละครนี้ได้ลุกลามไปยังกลุ่มชนอื่นๆอีกเช่น ในแถบซีเรีย อียิปและเลบานอน

        โดยรวมแล้วศิลปะกรีกมักจะเน้นการสร้างรูปภาพ สร้างรูปปั้นราชา หรือวีระบุรุษของพวกเขา จนมีการกราบไหว้บูชารูปปั้นดังกล่าวขึ้น งานประติมากรรมพวกเขาจึงมักจะเป็นในรูปทรงของมนุษย์ที่เน้นถึงความสวยงามในรูปลักษณ์ของผู้ชายและผู้หญิง จนนำไปสู่การหลงใหลในรูปลักษณ์และความงามของสรีระ ลักษณะเด่นของงานประติมากรรมสมัยนั้นคือ ประติมากรรมรูปคนเปลือยกาย ศิลปะของพวกโยนานจึงบ่งบอกถึงจิตใจของคนในยุคนั้นที่จะมุ่งไปสู่สิ่งลามก จุดชนวนแห่งกิเลส ดึงดูดอารมณ์ทางเพศ และนิสัยของผู้คนที่ไร้ความละอาย

          ส่วนศิลปะและอารยธรรมของพวกเขาได้ล่มสลายลง อันเนื่องมาจากศิลปะและการกระทำที่ได้ขัดกับหลักคำสั่งของอัลลอฮ์  และได้มีการตั้งภาคีต่อพระองค์ เชิญชวนให้ทำสิ่งลามก หรือสิ่งที่ชั่วร้าย เสมือนกับศิลปะและอารยธรรมของชาวเปอร์เซีย ฟาโรห์ และโรมันที่ได้ล่มสลายมาแล้วในอดีต และชนชาติใดก็ตามที่ศิลปะของพวกเขาขาดศีลธรรมและจริยธรรมตามที่พระองค์อัลลอฮ์  ได้วางไว้ มันต้องพินาศในไม่ช้า นี่คือ แนวทางของอัลลอฮ์  ที่ได้วางให้กับปวงบ่าวของพระองค์

  فَلَمْ يَكُ يَنفَعُهُمْ إِيمَانُهُمْ لَمَّا رَأَوْا بَأْسَنَا سُنَّتَ اللَّهِ الَّتِي قَدْ خَلَتْ فِي عِبَادِهِ وَخَسِرَ هُنَالِكَ الْكَافِرُونَ (85 ) 

"แต่การศรัทธาของพวกเขาจะไม่อำนวยประโยชน์แก่พวกเขาเลยในเมื่อพวกเขาได้เห็นการลงโทษอย่างหนักของเรา

นี่คือแนวทางของอัลลอฮที่ได้วางให้กับปวงบ่าวของพระองค์มาก่อนในอดีต

และขณะนั้นบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาก็ได้ขาดทุนอย่างย่อยยับ" 

(อัลฆอเฟรฺ อายะฮฺ ๘๕)

 

           ส่วนในอิสลามห้ามมิให้ผู้ศรัทธาหลงไหลในรูปร่างและความงามของมนุษย์ ในเชิงของรูปธรรมหรือหลงไปยึดติดกับวัตถุทั้งหลาย แต่อิสลามได้ให้ผู้ศรัทธามีการกระทำที่ดีงามด้วยตนเอง เเละอัลลอฮ์จะทรงยกเกียรติพวกเขาให้สูงส่งด้วยการกระทำอันดีงามดังกล่าว


          ต่อมาละครได้ส่งอิทธิพลไปยังศาสนาคริสต์โดยที่อณาจักรโรมันส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ จึงได้มีการผสมผสานกันทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม คริสตจักรจึงทำให้ละครกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง ด้วยการเริ่มจัดการแสดงเป็นฉากสั้นๆ ประกอบเรื่องราวจากคัมภีร์ไบเบิล เเละการแสดงมักจะจัดขึ้นในโบสถ์ เรื่องราวที่แสดงจะเกี่ยวกับพระเยซู และเรื่องราวในคัมภีร์ไบเบิล เช่น วันคริสต์มาส เป็นต้น การแสดงละครรำลึกถึงการประสูติของพระเยซูที่ศาสนาคริสต์บางนิกาย เด็ก ๆ จะแสดงละครเหตุการณ์การประสูติของพระเยซูโดยมีสัตว์ร่วมแสดงด้วยเพื่อความสมจริง หรือร้องบทเพลงที่กล่าวถึงเหตุการณ์ในวันนั้น คริสต์ศาสนิกชนบางคนยังสร้างฉากเหตุการณ์การประสูติในบ้านของพวกเขาด้วย โดยใช้ตุ๊กตาขนาดเล็กประดับเป็นตัวละครในเหตุการณ์

 

          ละครเศร้า التراجيديا โศกนาฏกรรม (อังกฤษ: tragedy) คือ วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละคร (drama) ที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่น เรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอจูเลียต คู่กรรม และละครแทรเจดีของกรีก แสดงให้เห็นชีวิตตัวละครตัวเอก ที่มีความน่ายกย่องสรรเสริญ แต่ต้องดิ้นรนต่อสู้กับอำนาจของชะตากรรมซึ่งเทพเจ้าเป็นผู้ลิขิต แม้ว่าในที่สุดจะต้องพ่ายแพ้และประสบหายนะ แต่เป็นความพ่ายแพ้ที่ดิ้นรนต่อสู้ถึงที่สุด

 

          การแสดงละครเวทีนั้นได้มีในทุกเชื้อชาติ ดังที่มีปรากฏในอินเดียและจีน ยกเว้นชนชาติอาหรับและอิสลามเท่านั้น อันเนื่องมาจากอาหรับ มีร่องรอยของศาสนานบีอิบรอฮีมอยู่ นั้นคือการเชื่อมั่นในอัลลอฮ์  เพียงองค์เดียวโดยไม่มีภาคีใดๆต่อพระองค์ เป็นศาสนาที่สะอาดบริสุทธิ์และชัดเจน โดยไม่มีการให้ความศักดิ์สิทธิ์หรือสักการะบูชาแก่มนุษย์ใดๆทั้งสิ้น

 

          มุสลิมที่อยู่ในยุคอานาจักร์อับบาซียะหฺ ในคราวที่พวกเขาได้เริ่มหลงไหลในความรู้และวัฒนธรรมของพวกโยนาน จึงได้มีการแปลหนังสือความรู้และวัฒนธรรมในทุกๆแขนง นอกจากความรู้ทางศิลปะที่ขัดกับหลักการอิสลามอย่างชัดเจน พวกเขาจึงไม่รู้จักเรื่องการแสดงละคร หรือวรรณคดีต่างๆที่เกี่ยวกับละคร 

"وإذا لم يوجد المسرح عند العرب في جاهليتهم فأحرى ألا يوجد لديهم بعد الإسلام الذي قضى على تلك الوثنية العربية وأعاد إليهم دين التوحيد كأصفى وأنقى ما يكون، وتقديس الأشخاص من مظاهر الوثنية، والإسلام ينهى عن ذلك نهياً تاماً مما أدى إلى عدم ظهور "الدراما" لأن نشأة الدراما في عهودها الوثنية كانت قائمة على تقديس من كانوا ملوكاً أو أبطالاً ثم ألهوهم بعد وفاتهم. "

         "และถ้าในกลุ่มอาหรับเองไม่มีการแสดงละครเวทีในยุคญาฮีลียะหฺของพวกเขา ก็สมควรอย่างยิ่งที่พวกเขาจะไม่ให้มันมีขึ้นในอิสลาม ที่มันได้มาลบล้างร่องรอยแห่งการบูชาเจว็ดของชาติอาหรับออกไป และได้ให้พวกเขากลับไปยังศาสนาแห่งอัตเตาฮีด (การให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์  ในการเป็นเจ้า เเละกราบไหว้) ถือเป็นเอกภาพที่สะอาดและบริสุทธิ์ยิ่ง ส่วนการให้ความศักดิ์สิทธิ์ต่อบุคคลนั้นเป็นรูปแบบของการการบูชาเจว็ด และอิสลามได้ห้ามสิ่งดังกล่าวโดยสิ้นเชิง ด้วยเหตุนี้ที่การแสดงละครไม่มีในอิสลาม เพราะการแสดงละครเป็นสิ่งที่เกิดในยุคของการกราบไหว้เจว็ด ที่มันคือผลมาจากการให้ความศักดิ์สิทธิ์ต่อผู้ที่เป็นราชาหรือวีระบุรุษต่างๆ หลังจากนั้นผู้คนก็ไปกราบไหว้พวกเขาหลังจากที่พวกเขาเหล่านั้นได้เสียชีวิตไป" 
 

         ความเชื่อแห่งอัตเตาฮีด(การให้เอกภาพต่ออัลลอฮ)เป็นความเชื่อที่สะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากสิ่งงมงายต่างๆ ส่วนการแสดงละครจะอยู่ในความหลอกลวง การโกหกที่มันไกล้เคียงกับชีริกหรือสิ่งงมงาย ล้วนแล้วเป็นสิ่งที่หลอกลวงต่อผู้ที่นับถือมัน

 

          กระแสของการแสดงละครได้เข้ามาในบ้านเมืองอิสลามหลังจากที่ชาติตะวันตกได้รุ่งเรืองและมีอำนาจ ขณะที่มุสลิมเริ่มมีความโง่ในศาสนา มีสิ่งบิดเบือนและสิ่งอุตริกรรมเกิดขึ้นอย่างมาก ส่วนหนึ่งที่ทำให้พวกเขาหลงชอบในวัฒนธรรมและอารยธรรมของชาติตะวันตก จึงส่งลูกหลานไปเรียนในบ้านเมืองของพวกเขา จนได้มีการแสดงละครด้วยการหาเงิน หารายได้  และได้เรียนรู้กฏเกณฑ์หรือวิธีการแสดงละครและเรียนศิลปะจากพวกเขา จากนั้นก็ได้มาเผยแพร่ต่อในบ้านเมืองอิสลามจนได้เริ่มมีการแสดงละครขึ้นในหมู่มุสลิม 

 

        ผู้ที่นำละครเข้าในบ้านเมืองอิสลามเป็นคนแรกคือ มารูน บิน มิคาอีล อันนุกก้อซ เกิดที่เมืองซีดาแห่งเลบานอน ได้เรียนรู้และเติมโตที่เมืองเบรุต จากนั้นได้ออกทำงานค้าขายและเดินทางไปยังเมืองอิตาลี แล้วหลงใหลการแสดงละครที่นั่น จนกลับมาเผยแพร่การแสดงละครที่เบรุต พร้อมกับได้แปลละครของมอลีแยร์ นักเขียนบทละครและนักแสดงชาวฝรั่งเศส ซึ่งมีการผสมผสามกับบทกลอนแล้วได้แสดงละครในบ้านของตนด้วยกับเพื่อนๆในปี คศ. ๑๘๔๘.จากนั้นก็ได้แต่งละครเรื่องอื่นอีกจนมีผู้คนเริ่มให้ความสนใจ 

 

          อบูคอลี้ล อัลก็อบบานี คือผู้ที่เริ่มก่อตั้งทำโรงละครเวทีอาหรับ ในอียิปและซีเรีย เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในเรื่องของศิลปะและเล่นดนตรี จนมีการเริ่มเล่นละครเวทีขึ้น และได้เกิดอาชีพแสดงละครที่มีชื่อเรียกกันว่า งานอาชีพของ "อัลกุบบานี" จากนั้นมีการห้ามปรามการกระทำสิ่งดังกล่าวจากบรรดาผู้รู้ทั้งหลายในขณะนั้น และได้ร้องเรียนไปยังรัฐบาลอิสตาน่าที่เป็นเมืองหลวงในยุคนั้น จนได้มีการห้ามปรามอย่างเด็ดขาด

          ต่อมามีนักฟื้นฟูคนหนึ่งได้ขึ้นมาเป็นใหญ่ในตุรกีมีชื่อว่า เมทฮัด บาซา ได้เรียก อัลก้อบบานี ให้ฟื้นฟูการแสดงละครขึ้นมาอีกครั้ง เมือเมทฮัดโดนไล่ออกจากตำแหน่ง อัลกุบบานี ได้หนีไปยังเมืองอียิปต์พร้อมกับดารานักแสดงหลายคน แล้วได้แสดงละครใหม่ที่ชื่อว่า  ( أنس الجليس ) กลับมีผู้ตอบรับมากมาย และมีการผสมผสานกับศิลปะของฝรั่งเสศและชาติอื่นๆ จากนั้นเขายังได้เดินทางไปยังประเทศต่างๆอีก เช่น อิสตาน่า และอเมริกา ส่วนในบั้นปลายได้กลับมาบันทึกประวัติชีวิตในแต่ละวันที่เมืองดามัสกัสแล้วได้เสียชีวิตลงในปี คศ.๑๙๐๒. 

 

         การยึดเอาการแสดงละครมาเป็นประเพณีและเป็นสิ่งบันเทิง มาจากการกระทำของพวกตะวันตกและพวกปฏิเสธศรัทธา โดยมีวัตถุประสงค์หลายอย่างและนามชื่อที่มากมาย จนกลายเป็นอาชีพที่ได้กำไรมากที่สุดอย่างหนึ่ง

 

         บทสรุป 

          ศิลปะและวรรณกรรมของการแสดงละครเวทีต่างๆ เป็นสิ่งแปลกปลอมที่ได้เข้ามาแทรกกับศิลปะของอาหรับและความคิดในอิสลาม อันเนื่องมาจากมันเป็นผลผลิตของชาติและศาสนาอื่นที่เกิดมาจากสภาพและการเป็นอยู่ที่ไม่เหมือนกับสังคมอิสลาม  อิสลามถูกตั้งมาด้วยกับหลักการอัตเตาฮีด ( การให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์  ) ที่สะอาดบริสุทธิ์ และยึดเอามารยาทที่ดีงามมาเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากการให้เอกภาพต่ออัลลอฮ์  ได้