ชนิดของการตั้งภาคี
  จำนวนคนเข้าชม  3647


ชนิดของการตั้งภาคี

เรียบเรียง : อิสมาอีล กอเซ็ม

 

ชนิดที่หนึ่ง 

 

          การตั้งภาคีที่ทำให้ออกจากศาสนา และทำให้ตัวผู้ตั้งภาคีต้องอยู่ในนรกตลอดกาล เมื่อเขาเสียชีวิตโดยไม่ได้กลับตัวละทิ้งการตั้งภาคี คือ การมอบการเคารพภักดีอย่างหนึ่งอย่างใดจากชนิดต่างๆของการทำอิบาดะห์ ให้แก่สิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ เช่น การวิงวอนขอต่อสิ่งอื่น นอกจากอัลลอฮฺ และการแสดงความใกล้ชิดด้วยกับการเชือด การบนบานให้แก่สิ่งอื่น จากอัลลอฮฺ ไม่ว่ามอบให้แก่ผู้ตายในหลุมฝังศพ แก่ญิน และบรรดาชัยตอน การมีความกลัวแก่ผู้ที่เสียชีวิต หรือ กลัวต่อญินและบรรดาชัยตอน เช่น เชื่อว่าพวกมันสามารถให้โทษได้ ให้เจ็บป่วยได้ หรือไปมอบความหวังจากสิ่งอื่นๆนอกจากอัลลอฮฺ ในสิ่งที่พวกมันไม่มีความสามารถ นอกจากอัลลอฮฺ เช่น การปลดเปลื้องความทุกข์ ที่ได้ไปวิงวอนขอต่อสิ่งปลูกสร้างบนหลุมฝังศพ ของบรรดาคนดีๆ  

"และพวกเขาจะเคารพภักดีสิ่งอื่นไปจากอัลลอฮ์ ที่มิได้ให้โทษแก่พวกเขา และมิได้ให้ประโยชน์แก่พวกเขา

และพวกเขาจะกล่าวว่า “เหล่านี้คือผู้ช่วยเหลือเรา ณ ที่อัลลอฮ์”

(ซูเราะห์ ยูนุส อายะห์ที่ 18)

 

ชนิดที่สอง 

 

          การตั้งภาคีเล็ก ที่ไม่ได้ทำให้ผู้ตั้งภาคีออกจากศาสนา แต่ทำให้หลักการเอกภาพต่ออัลลอฮฺบกพร่อง และมันเป็นสื่อที่จะนำไปสู่การตั้งภาคีใหญ่ มันมีอยู่สองประเภทด้วยกัน 

 

     ประเภทที่หนึ่ง การตั้งภาคีที่เห็นชัดเจน มีทั้งที่เกี่ยวกับคำพูดและการกระทำ ที่เกี่ยวข้องกับคำพูด คือ การสาบานต่อสิ่งอื่นนอกเหนือจากอัลลอฮฺ  

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮูอะลัยอิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า 

 "ใครได้สาบานต่อสิ่งอืน นอกจากอัลลอฮฺ แท้จริงเขาได้ปฏิเสธ หรือเขาได้ตั้งภาคี "

จากคำพูดของท่านนบี อัลลอฮฺได้ทรงประสงค์และท่านได้ประสงค์ 

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮูอะลัยอิวะสัลลัม ได้กล่าว เมื่อมีชายคนหนึ่งกล่าวว่า อัลลอฮทรงประสงค์และท่านทรงประงค์ 

ท่านได้กล่าวว่า "ฉันได้ทำให้ฉันเสมอเหมือนอัลลอฮฺกระนั้นหรือ ?"

 ท่านจงกล่าวว่า "อัลลอฮทรงประสงค์เพียงพระองค์เดียว "

         และคำพูด - หากไม่ใช่เพราะอัลลอฮฺและคนนั้น – ที่ถูกต้องคือ ให้กล่าวว่า สิ่งที่อัลลอฮฺได้ทรงประสงค์หลังจากนั้นก็ คนนั้น หากไม่ใช่เพราะอัลลอฮฺหลังจากนั้น ก็เพราะคนนั้น คำว่าหลังจากนั้นเป็นการลำดับก่อนหลัง และทิ้งระยะเวลาที่เกิด เป็นการทำให้ความประสงค์ของบ่าวตามความประสงค์ของอัลลอฮฺ 

"และพวกเจ้าจะไม่สมประสงค์สิ่งใดเว้นแต่อัลลอฮฺพระเจ้าแห่งสากลโลกจะทรงประสงค์"

(ซูเราะห์ อัตตักวีร อายะห์ที่ 29)

     สำหรับการใช้ว่า วาว แปลว่า และนั้น มันเป็นคำที่รวมกันและมีหุ้นส่วนกัน ไม่ได้มีความหมายตามลำดับไล่มา เช่นการใช้คำว่า  

مالي إلا الله وأنت وهذا من بركات الله وبركاتك 

     ความหมาย สำหรับฉันไม่มีใครนอกจากอัลลอฮฺ และท่าน นี่คือความจำเริญจากอัลลอฮฺ และความจำเริญจากท่าน

 

          สำหรับการกระทำ เช่น การสวมใส่เครืองรางของคลังเพื่อขจัดสิ่งไม่ดี หรือเพื่อปกป้องจากมัน เช่น การแขวนตะกุด เนื่องจากกลัวจากสายตาที่อิจฉาและอื่นๆ หากเรามีความเชื่อว่า สิ่งที่เราแขวนนั้นคือสาเหตุที่มาขจัดสิ่งที่ไม่ดี หรือมาปกป้องจากมันนั้น ถือว่าเป็นการตั้งภาคีเล็ก แท้จริงอัลลอฮฺไม่ได้ให้สิ่งเหล่านี้เป็นสาเหตุ(ในการขจัดหรือการรักษา) หากเขามีความเชื่อว่า แท้จริงด้วยสิ่งนั้นแหละในตัวของมันนั้น สามารถขจัดสิ่งไม่ดี และสามารถปกป้องจากสิ่งไม่ดีได้ ถือว่าเป็นการตั้งภาคีใหญ่ เนื่องจากมันเกี่ยวข้องกับสิ่งอื่น นอกจากอัลลอฮฺ

  

          ประเภทที่สอง ส่วนหนึ่งจากการตั้งภาคีเล็ก การตั้งภาคีที่มันซ่อนเร้น ก็คือที่เกิดขึ้นในความต้องการและเจตนา เช่น การโอ้อวด(ในการทำอิบาดะห์) หรือการต้องการชื่อเสียง เช่น มีคนทำการงานหนึ่งซึงการงานนั้นเป็นการงานที่แสดงออกซึ่งการใกล้ชิดต่ออัลลอฮฺ แต่เขาทำมีเจตนาคำชมเชย เช่น เขาทำการละหมาดอย่างดี หรือเขาทำการบริจาคเพื่อให้มีคนมาชมเชยแก่เขา หรือเขาทำการรำลึกถึงอัลลอฮฺ และอ่านอัลกุรอ่านด้วยเสียงที่ไพเราะ เพื่อให้มีคนได้ยินและเขาจะได้รับคำชมเชย การโอ้อวดหากมันไปปะปนกับการงานมันจะทำให้การงานนั้นเสีย

”ดังนั้น ผู้ใดหวังที่จะพบพระผู้เป็นเจ้าของเขา ก็ให้เขาประกอบการงานที่ดี

และอย่างตั้งผู้ใดเป็นภาคีในการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาเลย“

 

          และส่วนหนึ่งจากการตั้งภาคีเล็ก การประกอบการงานที่จิตใจมีความอยากได้ในเรื่องของดุนยา เช่นผู้ที่ไปประกอบพิธีฮัจญ์ หรือเป็นอิหม่ามนำผู้คนละหมาดเพื่อต้องการเงิน หรือเรียนวิชาที่เกี่ยวกับบทบัญญัติ หรือ ออกญิฮาดเพื่อต้องการเงิน 

 

          ท่านอิบนุลก็อยยิม รอฮิมาอุลลอฮฺได้กล่าวว่า

          สำหรับการตั้งภาคีที่เกี่ยวข้องกับเจตนาดังกล่าวนั้น เสมือนทะเลที่ไม่มีชายฝั่ง และมีจำนวนน้อยที่รอดพ้นจากมันได้ ดังนั้นใครที่มีความประสงค์ในการประกอบอิบาดะห์ของเขา อื่นจากความพอพระทัยของอัลลอฮฺ และได้มีเจตนาอย่างหนึ่งอย่างใดที่ไม่ใช่การใกล้ชิดต่ออัลลอฮ์ และต้องการผลตอบแทนจากพระองค์ แท้จริงได้มีการตั้งภาคีในเจตนาและความต้องการของเขา และความบริสุทธิ์ใจนั้น จะต้องบริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺในการประกอบการงานต่างๆ และบริสุทธิ์ในเจตนาและความต้องการของเขา นั่นคือแนวทางที่บริสุทธิ์เป็นแนวทางของนบี ฮิบรอฮีม ซึงอัลลอฮฺได้ใช้ให้มีความบริสุทธิ์ใจแก่ปวงบ่าวของพระองค์ทั้งหมด และอัลลอฮฺจะไม่รับเว้นแต่แนวทางนี้ มันคือแนวทางอิสลามที่แท้จริง 

"และผู้ใดแสวงหาศาสนาหนึ่งศาสนาใดอื่นจากอิสลามแล้ว ศาสนานั้นก็จะไม่ถูกรับจากเขาเป็นอันขาด

และในปรโลกเขาจะอยู่ในหมู่ผู้ขาดทุน"

(ซูเราะฮฺ อาละอิมรอน 85)

แนวทางอันบริสุทธิ์ของนบีฮิบรออีม ซึ่งใครไม่ยอมรับเขาก็เป็นผู้หนึ่งจากบรรดาผู้ที่โง่เขลา

 

จากหนังสือ กิตาบุตเตาฮีด เชคซอแหละอัลเฟาซา ฮาฟิซออุลลอฮฺ