ญิฮาด มุสลิมะฮฺในการทำงานศาสนา
  จำนวนคนเข้าชม  3611



บทบาทของสตรี มุสลิมะฮฺในการทำงานศาสนา

โดย ดร มิรอม บินตฺ  ศอแหละ อัลอาติยะญ์

แปลและเรียบเรียง อับดุลวาเฮด สุคนธา

คำนำ

الحمد لله رب العالمين والصلاة والسلام على المبعوث رحمة للعالمين، نبينا محمد وعلى آله وصحبه وسلم تسليماً كثيراً.

          มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของพระองค์อัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาล ขอความสุขความจำเริญและความสันติจงประสบแด่ท่านนบีมูฮำหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ตลอดจนวงศ์วานและมิตรสหายของท่าน 

          จากความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ประทานมาให้นั้นคือ ศาสนาอิสลามและบทบัญญัติที่เที่ยงตรง จำเป็นแก่เราทุกคนต้องขอบคุณต่อพระองค์ให้มาก และร่วมกันช่วยเหลือเผยแพร่และปกป้องศาสนา โดยเฉพาะบรรดาสตรีทั้งหลาย บางครั้งพวกเธอเหล่านนั้นอาจเข้าใจผิดว่าการปกป้องศาสนา ทำงานเผยแพร่ มันเป็นหน้าที่สำหรับผู้ชายเท่านั้น แต่ทว่าบรรดาสตรี คืออีกหนึ่งกำลังสำคัญในการทำงานศาสนาได้อย่างดียิ่ง

          ขอให้พระองค์ประทานความดีแก่พวกเธอเหล่านนี้ให้อยู่ในตาชูแห่งความดีทั้งมวล อามีน 

 

ความหมายของคำว่าญิฮาด

          มนุษย์ส่วนมากมักเข้าใจ ว่า การ ญิฮาด คือ การการทำสงครามในวิถีทางของอัลลอฮฺกับผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาอย่างเดียว  

          คำว่าญิฮาด  جِهاَدْ เป็นคำภาษาอาหรับ ในด้านภาษา คำนี้มาจากคำว่า     جَهْدٌ  ซึ่งหมายถึง การทำอย่างยากลำบาก การปฏิบัติอย่างเต็มที่ ด้วยความเหนื่อยล้า หรือมาจากคำว่า  جُهْدٌ  ที่หมายถึงความพยายามอย่างจริงจัง เพื่อบรรลุถึงสิ่งที่ต้องการ

          ส่วนในด้านวิชาการ ญิฮาดหมายถึงการทุ่มเทสรรพกำลังและความพยายามอย่างสุดความสามารถเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่อัลลอฮฺทรงโปรดปราน

 ท่านอิบนุ ก็อยยิม กล่าวว่า การญิฮาดแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ:

การญิฮาดกับอารมณ์ของตนเอง

การญิฮาดกับมารร้าย ชัยฎอน

การญิฮาดกับผู้ปฏิเสธ

การญิฮาดกับมุสลิมที่อธรรม

 

♥- การญิฮาดกับอารมณ์ของตนเอง ซึ่งถือเป็นพื้นฐานของการญิฮาดในประเภทอื่นๆทั้งหมด มี 4 ระดับคือ  

1. ญิฮาดเพื่อการศึกษา และเรียนรู้

          สตรีมุสลีมะฮ์มีหน้าสำคัญในการคึกษาหาความรู้เช่นเดียวกับผู้ชาย ท่านนบีกล่าวว่า “การศึกษาหาความรู้เพื่อใช้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามบทบัญญัติศาสนา จึงนับว่าเป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทุกคน”    

          ท่านอนัส บินมาลิก  รอซูลศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวไว้มีความว่า

طَلَبُ الْعِلْمِ فَرِيضَةٌ عَلَى كُلِّ مُسْلِمٍ      การศึกษาหาความรู้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคน

 (รายงานโดย อิบนุ มาญะฮฺ)

          เช่นการเรียนรู้เรื่อง หลักศรัทธา ชารีอะ ละหมาด บวช ซะกาต  ทั่วไปเกี่ยวหลักการของศาสนา ส่วนมากในหมู่บรรดาสตรีหลงผิดกระทำในสิ่งที่เป็นการตั้งภาคีเพราะอันเนื่องมาจากการไม่มีความรู้ไม่ได้ศึกษาในหลักการศาสนาที่ถูกต้อง ดูตัวอย่าง  พระนางอาอิชะฮ์  ท่าน อุรวะฮฺ กล่าวว่า  

ما رأيت  أحداً من الناس أعلم بالقرآن ولا بفريضة ولا بحلال ولا بحرام ولا بشعر ولا بحديث العرب ولا بنسب من عائشة رضي الله عنها

“ฉันไม่เคยเห็นใครมีความรู้ทางด้านอัลกรุอ่าน ฟัรฏู เรื่อง หะหาล ฮะรอม บทกวีอาหรับ เรื่องเชื้อสายเท่ากับ ท่านหญิงอาอิชะฮ์”

           ฉะนั้นจำเป็นแก่นักศึกษาต้องเรียนรู้หลักศาสนาที่สำคัญเพราะนั้นคือแหล่งความรู้ทั้งหมด

 

2. ญิฮาดเพื่อการปฏิบัติตามสิ่งที่ได้เรียนรู้

          ซะกาตของความรู้นั้นคือการปฏิบัติและการเผยแพร่ศาสนาตามที่ได้รู้มา เพราะส่วมมากแล้วคนเรามีความรู้แต่ยังขาดการปฏิบัติ

 

3. ญิฮาดเพื่อการเผยแพร่สิ่งที่ได้เรียนรู้ยังผู้อื่น

          สิ่งสำคัญของความรู้นั้นคือการเรียกร้อง เชิญชวนไปสู่ความดี การสั่งใช้ความดี ห้ามปรามความชั่ว ดั่งที่มีรายงานจากอบี อัด-ดัรดาอ์ เราะฎิยัลลอฮุ อันฮุ เล่าว่า ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า  

     “ผู้ใดที่ออกเดินทางเพื่อแสวงหาความรู้ อัลลอฮฺจะอำนวยความสะดวกให้แก่เขาไปสู่สวนสวรรค์”  

     ♦ และแท้จริงมลาอิกะฮฺจะกางปีกเพื่อแสดงความความยินดีแก่เขาในการแสวงหาวิชาความรู้นั้น 

     ♦ และแน่นอนว่าสำหรับผู้รู้นั้นทุกสิ่งจะขออภัยโทษให้แก่เขา แม้กระทั่งบรรดาฝูงปลาในท้องน้ำก็ตาม  

     ♦ และแท้จริง ระดับความประเสริฐของผู้ที่มีความรู้ (อาลิม) เมื่อเทียบกับผู้ที่ขยันทำอิบาดะฮฺแต่มีความรู้น้อย (อาบิด) จะเปรียบเสมือนความประเสริฐของดวงจันทร์ที่เหนือกว่าบรรดาหมู่ดาว 

     ♦ และแท้จริงบรรดาผู้ที่มีความรู้ (อุละมาอ์)พวกเขาคือทายาทของบรรดานบี ซึ่งบรรดานบีมิได้ทิ้งมรดกไว้เป็นเงินดีนารฺ (ทำจากทองคำ-ผู้แปล) หรือดิรฮัม (ทำจากเงิน-ผู้แปล) 

     ♦ ทว่าแท้จริงสิ่งที่พวกเขาทิ้งไว้เป็นมรดกคือวิชาความรู้เท่านั้น ดังนั้น ผู้ใดที่ได้ครอบครองมันไว้ก็ถือว่าเขาได้ครอบครองส่วนแบ่งที่มากมายแล้ว”

 (บันทึกโดยอบูดาวูด และ อัต-ติรมีซียฺ)

 

4. ญิฮาดเพื่อการอดทนต่อความยากลำบากต่างๆ ในหนทางของอัลลอฮฺ

          คุณลักษณะของบุคคลที่ทำงานศาสนาในหนทางของอัลลอฮฺ ต้องแบกรับภาระอันนี้ ต้องอดทนต่อการใส่ร้าย อย่าได้ตอบโต้เว้นแต่ด้วยความดีเท่านั้น พระองค์กล่าวว่า 

﴿إِنَّمَا يُوَفَّى الصَّابِرُونَ أَجْرَهُم بِغَيْرِ حِسَابٍ﴾ 

“แท้จริงการตอบแทนให้กับบรรดาผู้ที่อดทน รางวัลไม่เคยคาดคิดมาก่อน”

 

♥- การญิฮาดกับมารร้าย ชัยฎอน มีระดับ คือ :

1. ญิฮาดเพื่อป้องกันข้อเคลือบแคลงสงสัยที่ทำให้การศรัทธา (อีหม่าน)บกพร่อง

อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า 

          “และเราได้จัดให้มีหัวหน้าจากพวกเขา เพื่อจะได้ชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องตามคำบัญชาของเรา ในเมื่อพวกเขามีความอดทน และพวกเขาเชื่อมั่นต่ออายาตทั้งหลายของเรา”

( ซาญาดะ 24)

          เชคอับดุรเราะหมาน กล่าวว่า จะได้รับทางนำแก่พวกเขาเองและคนอื่น และพวกเขาคือบุคคลยกฐานะของศาสนาที่มีเกียรติหลังจากบรรดานบีทั้งหลาย และพวกเขาจะได้รับตำแหน่งบรรดาผู้ที่สัจจริงถือว่าเป็นเกียรติที่สูงส่ง ครั้งเมื่อพวกเขาอดทนในการเรียน การสอน เผยแพร่ศาสนาของอัลลอฮฺ  เจอกับอุปสรรคมากมายในการทำงานศาสนาและพวกเขาปกป้องรอดพ้นจากความผิดและ อารมณ์ใฝ่ต่ำ นี้แหละบุคคลเชื่อมั่นในโองการของอัลลอฮฺ นำไปสู่การยึดมั่นอย่างแท้จริง สิ่งที่นำพวกเขาไปสู่การยึดมั่นที่มั่นคงเพราะมาจากการเรียนและการสอนที่ถูกต้องนั้นเอง

 

2. ญิฮาดเพื่อป้องกันกิเลส และเจตนารมณ์ที่เสียหาย

อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า 

﴿إِنَّ النَّفْسَ لأَمَّارَةٌ بِالسُّوءِ﴾     “แท้จริงจิตใจนั้นถูกครอบงำไว้ด้วยความชั่ว”

( ยูซูฟ 53)

﴿إِنَّ الشَّيْطَانَ لَكُمْ عَدُوٌّ فَاتَّخِذُوهُ عَدُوًّا﴾

“แท้จริง มารชัยฏอนนั้นเป็นศัตรูกับพวกเจ้า ดังนั้น พวกเจ้าจงถือว่ามันเป็นศัตรู”

( ฟาฏิร 6)

 

♥- การญิฮาดกับผู้ปฏิเสธ   ( كُفَّارْ และพวกสับปลับ  ( مُناَفِقِيْن)   การญิฮาดใน 2 ประเภทนี้ มี 4 ระดับ คือ:

1. ญิฮาดด้วยหัวใจ จำเป็นมุสลิมทุกคนต้องกระทำ

2. ญิฮาดด้วยวาจา ดำรัสของอัลลอฮ์ ตะอาลาที่ ตรัสว่า

ادْعُ إِلَى سَبِيلِ رَبِّكَ بِالْحِكْمَةِ وَالْمَوْعِظَةِ الْحَسَنَةِ وَجَادِلْهُمْ بِالَّتِي هِيَ أَحْسَنُ

ท่านจงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระผู้อภิบาลของเจ้า ด้วยวิทยปัญญา และคำตักเตือนที่ดีๆ

และจงตอบโต้พวกเขา ด้วยกับสิ่งที่ดีที่สุด”  

(ซูเราะห์ อันนะฮ์ลุ อายะห์ 125)

          ฮิกมะฮฺ ต้องมีความเข้าใจทุกด้าน เวลาสถานที่ นักดาอีย์ทั้งหลายจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ เริ่มด้วยการเผยแพร่สิ่งที่สำคัญเป็นลำดับขั้นตอน ผู้อ่อนโยนในการดะอฺวะฮฺไปสู่อัลลอฮฺ ต้องมีความบริสุทธิ์ใจ ต่อมาข้อเตือนใจ ส่งเสริมทำดีและข้อเตือนให้ออกห่างการทำผิด การโต้แย้งด้วยคำพูดทางวิชาการที่ดีกว่า ไข้แก้ข้อคลุมเครืออย่างชัดเจน 

3. ญิฮาดด้วยทรัพย์สิน  อัลลอฮ์ ตรัสความว่า

          และจงสู้รบกับพวกเขา จนกว่าการก่อความวุ่นวาย จะไม่ปรากฏขึ้น และจนกว่าการอิบาดะฮฺ  ทั้งหลายจะเป็นสิทธิของอัลลอฮฺเท่านั้น  แต่ถ้าพวกเขายุติ ก็ย่อมไม่มีการเป็นปฏิปักษ์ใด นอกจากแก่บรรดาผู้อธรรมเท่านั้น” 

  (อัตเตาบะฮฺ 41)

          จำเป็นแก่บุคคลทั้งชายและสตรีไม่มีความสามารถในการทำญิฮาดส่งเสริมให้มีการช่วยเหลือ เช่น การบริจาค

4. ญิฮาดด้วยชีวิต

 

♥- การญิฮาดกับมุสลิมที่อธรรม และละเมิดบัญญัติศาสนาการกระทำบิดอะฮฺ มี 3 ระดับคือ:

           จากท่านอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า: “ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ ﷺ กล่าวว่า: 

          “ใครก็ตามในหมู่พวกท่านพบเห็นความชั่วอันใดอันหนึ่ง เขาก็จงเปลี่ยนแปลงมันด้วยมือของเขา หากเขาไม่มีความสามารถก็จงเปลี่ยนแปลงด้วยลิ้น(ด้วยคำพูดหรือการตักเตือน)ของเขา หากเขาไม่มีความสามารถก็จงเปลี่ยนแปลงด้วยใจ(ปฏิเสธด้วยใจ)ของเขา และนั่นคือการศรัทธาที่อ่อนแอที่สุด” 

(หะดีษบันทึกโดยมุสลิม)

          เริ่มความสามารถในการระงับความชั่ว เช่น คนมีอำนาจเป็นผู้นำ แต่หากไม่มีอำนาจ จงตักเตือนด้วยกับลิ้น ดำรัสของอัลลอฮ์ ตะอาลาที่ ตรัสความว่า

“ท่านจงเรียกร้องสู่แนวทางแห่งพระผู้อภิบาลของเจ้า ด้วยวิทยปัญญา และคำตักเตือนที่ดีๆ และจงตอบโต้พวกเขา ด้วยกับสิ่งที่ดีที่สุด” 

(ซูเราะห์ อันนะฮ์ลุ อายะห์ 125)

          หากด้วยกับลิ้นไม่ได้ จงรังเกียจด้วยกับหัวใจเป็นสิ่งสุดท้าย ที่มุสลิมทั้งชายและหญิงควรมี

ญิฮาดด้วยมือ (กำลัง) หากสามารถ

ญิฮาดด้วยวาจา หากไม่สามารถทำได้ในข้อ .

ญิฮาดด้วยหัวใจ หากไม่สามารถทำในข้อ . และข. (อิบนุล ก็อยยิม)

 

มีต่อ.......>>>Click>>>>