คำสั่งเสีย แด่..ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์
  จำนวนคนเข้าชม  8023


คำสั่งเสีย แด่..ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์

 

เรียบเรียง อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

          มวลการสรรเสริญ เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ การสถาพรอันประเสริฐ และความศานติ จงมีแด่ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ และบรรดาเครือญาติ ตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺของท่านทั้งหลาย และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยไม่มีการตั้งภาคีใดๆ ต่อพระองค์ และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า มุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

 

          แด่พี่น้อง ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ทุกๆท่าน จากคำสั่งเสีย สิบประการที่มีประโยชน์ในการปรับปรุงแก้ไข้ จิตใจ วาจา และการปฏิบัติคุณงามความดีต่างๆในเทศกาลฮัจญ์ เพื่อที่จะให้การทำฮัจญ์ของท่านนั้นเป็นที่ถูกตอบรับ ที่ อัลลอฮฺ ตะอาลา ที่เรามักจะเรียกกันว่า ฮัจญ์มับรูญ์ คือ ฮัจญ์ที่ดี และประเสริฐยิ่ง และการเดินทางของท่านครั้งนี้เดินทางเพื่อการขอบคุณพระเจ้า และแสวงหาความพอพระทัยของพระองค์

 

เสบียงแด่ผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ มีดังนี้

 

1. จะต้องมีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ

 

          พวกท่านจงตั้งเจตนาเพื่อปฏิบัติความดีต่ออัลลอฮฺด้วยการเนีตยที่ดีและบริสุทธิ์ใจในทุกๆกิจการงาน พระองค์อัลลอฮ์ ซุบฮาน่าฮูว่าตะอาลา ตรัสว่า

إِنَّا أَنزَلْنَا إِلَيْكَ الْكِتَابَ بِالْحَقِّ فَاعْبُدِ اللَّهَ مُخْلِصًا لَّهُ الدِّينَ

     "แท้จริงข้า (อัลลอฮ์) ได้ประทานคัมภีร์มายังเจ้าด้วยสัจธรรม ดังนั้นเจ้าจงเคารพภักดีต่อข้า (อัลลอฮ์) โดยเป็นผู้มีความบริสุทธิ์ใจในศาสนาต่อพระองค์"

 (ซูเราะฮ์ อัซซุมัร 2)

ดังที่พระองค์ ตรัสในฮะดิษกุดซีย์ว่า

أنا أغْنَى الشُّركاء عن الشِّرك، مَن عمل عملاً أشرك فيه معي غيري تركته وشركه

     “ฉันเป็นที่เพียงพอแล้วจากการที่พวกท่านนั้นจะตั้งภาคี ใครก็ตามปฏิบัติการงานหนึ่งงานใดโดยมีหุ่นส่วนกับฉัน พระองค์จะทิ้งให้เขาอยู่กับสิ่งนั้น” 

(บันทึกโดยมุสลิม)

          จากเหตุผลที่พระองค์ให้ผู้ที่มาประกอบพิธีฮัจญ์นั้นมาด้วยใจบริสุทธิ์ เพราะแผ่นดินแห่งเมืองมักกะฮ์นั้น เคยปราศจากพืช ผัก ผลไม้ เพื่อบ่งบอกการมาจะต้องมีเป้าหมายเพื่ออัลลอฮฺจริงๆ ไม่ได้มาเพื่อสิ่งอื่นใดนอกจากการทำอิบาดะฮ์เท่านั้น

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

إِنَّمَا الْأَعْمَالُ بِالنِّيَّاتِ     "แท้จริงการงานทั้งหลายนั้นขึ้นอยู่กับเจตนา

(บันทึกโดย อัล-บุคอรียฺ มุสลิม)

     จำเป็น ที่พี่น้องผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ทุกๆท่าน หยุดคิด และตรวจสอบตัวเองว่า เราต้องการอะไรจากการทำฮัจญ์

- การโอ้อวดหรือ

- ความภาคภูมิใจ หรือ

- ความรักจากผู้คน หรือ

- ต้องการความพอพระทัยจากพระเจ้ากันแน่

 

2. คบเพื่อนที่ดี

 

           การคบเพื่อนที่ดีมีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนเราและการปฏิบัติภาระกิจให้สำเร็จลุล่วงได้อย่างดียิ่ง โดยธรรมชาติการเดินทางร่วมกันทำให้เราเห็นกิริยามารยาทที่ดีและไม่ดีของเพื่อนที่ร่วมเดินทาง โดยเฉพาะการเดินทางมาประกอบพิธีฮัจญ์ที่จะต้องพบเจอ ความแออัด เบียดเสียดต่างๆ มากมาย บวกกับผู้คนที่มาจากหลากหลายเชื้อชาติ นิสัยและประเพณีที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จนบางครั้งเราถึงกับอารมณ์เสียไปตามๆกัน ในสิ่งที่ต้องพบเจอในพิธีทำฮัจญ์

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า

اَلْمُؤْمِنُ اَلَّذِي يُخَالِطُ اَلنَّاسَ, وَيَصْبِرُ عَلَى أَذَاهُمْ خَيْرٌ مِنْ اَلَّذِي لَا يُخَالِطُ اَلنَّاسَ وَلَا يَصْبِرُ عَلَى أَذَاهُمْ

มุอฺมินที่คบค้าสมาคมกับเพื่อนมนุษย์ และมีความอดทนต่อการทำร้ายของพวกเขานั้น

ย่อมดีกว่ามุอฺมินที่มิได้คบค้าสมาคมกับเพื่อนมนุษย์ และไม่มีความอดทนต่อการทำร้ายของพวกเขา” 

(บันทึกโดย อัตติรมีซีย์)

          ท่านเราะซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เตือนเกี่ยวกับการเลือกคบเพื่อน โดยที่เราเลือกที่จะนำตัวเข้าไปอยู่ในกลุ่มบุคคลเหล่านั้น ดังที่ท่านเราะซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า

مَثَلُ الْجَلِيسِ الصَّالِحِ وَالسَّوْءِ كَحَامِلِ الْمِسْكِ وَنَافِخِ الْكِيرِ؛ فَحَامِلُ الْمِسْكِ إِمَّا أَنْ يُحْذِيَكَ, وَإِمَّا أَنْ تَبْتَاعَ مِنْهُ, وَإِمَّا أَنْ تَجِدَ مِنْهُ رِيحًا طَيِّبَةً, وَنَافِخُ الْكِيرِ إِمَّا أَنْ يُحْرِقَ ثِيَابَكَ, وَإِمَّا أَنْ تَجِدَ رِيحًا خَبِيثَةً

     “อุปมาเพื่อนที่ดี อุปมัยดังคนที่มีของหอม(ชะมดเชียง) แม้ว่าจะไม่มีสิ่งใดจากของหอมนั้นมาถูกท่านเลย แต่กลิ่นของมันก็จะมาถูกท่านด้วย

     และอุปมัยเพื่อนที่เลว อุปมัยดังช่างหลอมเหล็ก แม้ว่าสิ่งสกปรกจากเตาฟืนจะไม่ถูกท่าน แต่เถ้าถ่านของมันก็จะถูกท่าน

(รายงานโดย อบูดาวู๊ด)

          ฉะนั้นพี่น้องทุกๆท่านจะต้องรักษากิริยามารยาท อดทน อดกลั้น และการมีเพื่อนที่ดีจะช่วยตักเตือนท่าน เพื่อการเชื่อฟังต่ออัลลอฮฺ เพื่อนที่ดีจะคอยห้ามเวลาเราโมโห ไม่พอใจคนใดคนหนึ่ง หรือ คนนั้นนิสัยไม่ดี (เช่น เดินข้ามศีรษะในมัสยิด แซงคิว เดินชนกันเหยียบเท้าในลานเดินตอวาฟบ้าง แย่งกันขึ้นพาหนะ)

 

3. ใช้จ่ายทรัพย์สินในหนทางของอัลลอฮฺ

 

          การใช้จ่ายทรัพย์สินทุกบาท ทุกสตาง์นั้น พระองค์จะทรงสอบสวนบ่าวของพระองค์อย่างถี่ถ้วนในวันกียามะฮ์ หากเป็นการใช้จ่ายนั้นเพื่ออัลลอฮฺแล้ว พวกท่านจงทุ่มเท อย่าได้ตระหนี่ถี่เหนียว ห่วงในทรัพย์สินนั้นๆ

อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า

﴿ وَمَا تُنْفِقُوا مِنْ خَيْرٍ فَلِأَنْفُسِكُمْ وَمَا تُنْفِقُونَ إِلَّا ابْتِغَاءَ وَجْهِ اللَّهِ وَمَا تُنْفِقُوا مِنْ خَيْرٍ يُوَفَّ إِلَيْكُمْ وَأَنْتُمْ لَا تُظْلَمُونَ [البقرة: 272]

     “สิ่งดีใด ที่พวกเจ้าบริจาคไปก็ย่อมได้แก่ตัวของพวกเจ้าเอง และพวกเจ้าจะไม่บริจาคสิ่งใด นอกจากเพื่อแสวงหาความโปรดปรานของอัลลอฮ์เท่านั้น และสิ่งดีใด ที่พวกเจ้าบริจาคไป มันก็จะถูกตอบแทนโดยครบถ้วนแก่พวกเจ้าและพวกเจ้าจะไม่ถูกอยุติธรรม

          จากคำดำรัสของพระองค์ครอบคลุมการใช้จ่ายเพื่อหนทางของอัลลออฺจะได้ความดีมากมาย และสิ่งที่พวกท่านบริจาคไปนั้นมันย่อมได้กับตัวของพวกท่านเอง

ท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ(เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ) ได้กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ(ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะสัลลัม) ได้กล่าวว่า

مَا نَقَصَتْ صَدَقَةٌ مِنْ مَالٍ، وَمَا زَادَ اللَّهُ عَبْدًا بِعَفْوٍ إِلَّا عِزًّا، وَمَا تَوَاضَعَ أَحَدٌ للَّهِ إِلَّا رَفَعَهُ اللَّهُ

     “การบริจาคจะไม่ทำให้ทรัพย์สินพร่องลง และอัลลอฮฺไม่ทรงเพิ่มแก่บ่าวคนใดที่ให้อภัย(คนอื่น)นอกจากเกียรติยศ และไม่มีคนใดที่ถ่อมตนต่ำต้อยเพื่ออัลลอฮฺ เว้นแต่อัลลอฮฺจะทรงยกเกียรติเขา

(บุคครีย์และ มุสลิม)

     การบริจาคทานสมัครใจไม่กำหนดรูปแบบ และปริมาณ ซึ่งสามารถทำได้แม้มีปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ตาม 

ท่านเราะซูล ได้กล่าวว่า

(اتقوا النار ولو بشق تمرة، فمن لم يجد فبكلمة طيبة)

     “ผู้ใดในหมู่พวกท่านสามารถที่จะปกป้องไฟนรก เขาก็จงบริจาค แม้เพียงซีกหนึ่งของผลอินทผลัม แล้วถ้าใครไม่มีก็จงพูดจาสุภาพเรียบร้อย(ก็ถือว่าเป็นการบริจาคทานแล้ว) ”

(บันทึกโดยอะฮหมัด และมุสลิม)

     ท่านนบีเคยบริจาคอูฐหนึ่งร้อยตัว ปรากฏว่า ท่าน ฮากีม อิบนุ ฮัสมฺ ยืนอยู่ที่ทุ่งอารอฟะฮฺพร้อมกับอูฐหนึ่งร้อยเชือก และทาสหนึ่งร้อยคน ท่านปล่อยทาสทั้งหมดให้เป็นอิสระ ผู้คนอยู่ตรงนั้นต่างพากันร้องไห้ด้วยความดีใจและกล่าวพร (ดุอา) ด้วยคำพูดที่ว่า

"ربنا هذا عبدك قد أعتق عبيده، ونحن عبيدك فأعقتنا".

     “โอ้พระเจ้าของพวกเรา นี้แหละฮฺบ่าวของพระองค์ แน่นอนเขานั้นให้ปลดปล่อยทาสของเขา และพวกเราคือบ่าวทาสของพระองค์ ขอพระองค์ทรงปลดปล่อยพวกเราด้วยเถิด

     ปรากฏว่าท่านนั้นปลดปล่อยทาสหนึ่งร้อยคน บริจาคอูฐหนึ่งร้อยตัวและ แกะอีกหนึ่งร้อยตัว มีใครบ้างทำแบบนี้ในศาสนาอิสลามนอกจากบรรพชนรุ่นก่อนพวกท่านทั้งหลาย

     ในอูฐแต่ละตัวนั้นมีเหล็กทำมาจากเงินคล้องคออยู่ ด้วยการสลักข้อความว่า ขออัลลอฮฺทรงปลดปล่อยท่าน ฮากีมอิบนุ ฮัซมฺ ด้วยเถิด

 

4. ข้อเตือนใจที่ดีเพื่อรีบเร่งในการปฏิบัติความดี

 

          พวกท่านทั้งหลาย จงพยามและส่งเสริมกันในเรื่องการยึดมั่นและปฏิบัติตามแบบอย่างของ ท่านเราะซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เรียกว่า (ซุนนะฮฺ) เพื่อให้การปฏิบัติสอดคล้องกับแบบอย่างที่ถูกต้องตามหลักการศาสนา และบทบัญญัติอิสลาม โดยเฉพาะการประกอบพิธีอัจญ์ จะต้องสลัดทิ้งอิบาดะฮ์อื่นทั้งหมดเว้นแต่พระองค์เพียงผู้เดียวเท่านั้น

อัลลอฮฺกล่าวว่า

﴿ فَمَنْ كَانَ يَرْجُو لِقَاءَ رَبِّهِ فَلْيَعْمَلْ عَمَلًا صَالِحًا وَلَا يُشْرِكْ بِعِبَادَةِ رَبِّهِ أَحَدًا [الكهف: 110]

     “ดังนั้น ผู้ใดหวังที่จะพบพระผู้เป็นเจ้าของเขา ก็ให้เขาประกอบการงานที่ดี และอย่างตั้งผู้ใดเป็นภาคีในการเคารพภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าของเขาเลย

การงานที่จะถูกตอบรับ การงานจะถูกต้องและตรงกับแบบฉบับของท่านนบีท่านเราะซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม

﴿ الَّذِي خَلَقَ الْمَوْتَ وَالْحَيَاةَ لِيَبْلُوَكُمْ أَيُّكُمْ أَحْسَنُ عَمَلًا [الملك: 2]،

พระผู้ทรงให้มีความตายและให้มีความเป็น เพื่อจะทดสอบพวกเจ้าว่า ผู้ใดบ้างในหมู่พวกเจ้าที่มีผลงานดียิ่ง

ท่านเราะซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

((من عمل عملاً ليس عليه أمرنا فهو رد))

ใครก็ตามที่ปฏิบัติกิจการใดกิจการหนึ่ง ซึ่งเราไม่ได้สั่งใช้ ดังนั้นกิจการนั้นจะถูกปฏิเสธ

(หะดีษศอหี้ห บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม)

ท่านเราะซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

خُذُوا عَنِّي مَناسِكَكُمْ

พวกท่านทั้งหลาย จงยึดเอาจากฉัน พิธีการทำฮัจญ์ของพวกท่าน

( บันทึกโดย อะหมัด มุสลิม นะซาอีย์)

          จงระวังการปฏิบัติ การกล่าวอ้างของผู้รู้บางท่าน เราไม่สามารถรับรองได้ว่าสิ่งนั้นถูกต้องตามแบบฉบับของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมหรือไม่ !

 

5. ฉกฉวยโอกาสในแผ่นดินที่มีเกียรติ

 

          พี่น้องทุกๆท่าน การได้มาอยู่ในช่วงเวลาที่ประเสริฐ บนหน้าพื้นแผ่นดินที่ดีที่สุดบนโลกใบนี้ พวกท่านจงใช้เวลาที่มีอยู่ตรงนี้เพื่อปฏิบัติคุณงามความดีให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมีความสามารถ และตักตวงทั้งกลางวันและกลางคืน เพราะอัลลอฮฺทรงสาบานถึงค่ำคืนที่ประเสริฐในช่วงสิบวันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮ์ อัลลอฮฺทรงสาบานด้วยกับช่วงเวลา 10 วันนี้ พระองค์อัลลอฮ์ ทรงสาบานไว้ในอัลกุรอาน พระองค์อัลลอฮ์ผู้ยิ่งใหญ่ จะไม่สาบานนอกจากด้วยสิ่งที่ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกัน พระองค์ได้เริ่มต้นซูเราะฮ์ อัล-ฟัจญ์ด้วย

والفجْرِ ، وليالٍ عشْرٍ ، والشَّفْعِ ، والوَتْرِ ، واللَّيْلِ إدا يَسْرِ هل في دلك قسَمٌ لِدي حجْرٍ (الفجْر/1-5)

ขอสาบานด้วยยามรุ่งอรุณ และด้วยค่ำคืนทั้งสิบ และด้วยสิ่งที่เป็นคู่และที่เป็นคี่ และด้วยเวลากลางคืนเมื่อมันโคจรไป

ในดังกล่าวนั้นเป็นการสาบานสำหรับผู้ที่มีปัญญามิใช่หรือ..

      “และด้วยค่ำคืนทั้งสิบคือ 10 วันของเดือนซุลฮิจญะฮฺ เป็นคำอธิบายของอิบนุอับบาส อิบนุ ซุบัยรฺ มุญาฮิด และคำกล่าวอีกหลาย ท่านจากชาวสะลัฟ

ท่านอับดุลลอฮฺอิบนุอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุเล่าว่า ท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَا مِنْ أَيَّامٍ أَعْظَمُ عِنْدَ اللَّهِ وَلَا أَحَبُّ إِلَيْهِ مِنْ الْعَمَلِ فِيهِنَّ مِنْ هَذِهِ الْأَيَّامِ الْعَشْرِ فَأَكْثِرُوا فِيهِنَّ مِنْ التَّهْلِيلِ وَالتَّكْبِيرِ وَالتَّحْمِيدِ

     "ไม่มีวันใดอีกแล้วที่การทำความดีจะมีคุณค่าความยิ่งใหญ่และเป็นที่โปรดปรานมากที่สุด ที่อัลลอฮฺ มากไปกว่าการทำความดีในช่วงสิบวันแรก ของเดือนซุลฮิจญะฮฺ ดังนั้นพวกท่านจงพยายามกล่าว ตะฮลีล ตักบีร และตะหฺมีด ให้มากๆ เถิด"

(บันทึกโดยอะหมัด )

ท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

((إن العشر: عشر الأضحى، والوتر: يوم عرفة، والشفع: يوم النحر)).

ในสิบวันหมายถึง วันอีด, ส่วนคำว่า วิตร วันขี่ หมายถึง วันอารอฟะ, วันคู่ คือ วันเชือด

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

وَيَذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ فِي أَيَّامٍ مَعْلُومَاتٍ عَلَى مَا رَزَقَهُمْ مِنْ بَهِيمَةِ الْأَنْعَامِ

และกล่าวพระนามอัลลอฮฺในบรรดาวันที่รู้กันอยู่แล้ว ตามที่พระองค์ประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาจากสัตว์สี่เท้า

 (อัลหัจญฺ : 28)

ท่านอิบนิอับบาส กล่าวว่า คำว่าบรรดาวันที่รู้กันอยู่แล้วคือ 10 วันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮฺ 

(อิบนุกะซีร ในตัฟซีรอัลกุร อ่านนุลอะซีม ซูเราะฮฺอัลหัจญฺ อายะฮฺที่ 28)

ท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า

يَوْمُ عَرَفَةَ وَيَوْمُ النَّحْرِ وَأَيَّامُ التَّشْرِيْقِ عِيْدُنَا أَهْلَ الإِسْلاَمِ وَهِيَ أَيَّامُ أَكْلٍ وَشُرْبٍ

"วันอะรอฟะฮฺ วันนะหฺรุและวันตัชรีก เป็นวันรื่นเริงของเรา โอ้ชาวอิสลามมันคือวันแห่งการกิน และดื่ม "

 

6. ไม่มีการงานใดที่จะประเสริฐเท่ากับการได้มาประกอบพิธีฮัจญ์ บ้านของพระองค์ อัล กะบะฮฺ

 

ท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

" اَلْحَجُّ الْمَبْرُوْرُ لَيْسَ لَه جَزاَءٌ إلاّ الْجَنَّة "

"ไม่มีการตอบแทนใดๆ สำหรับฮัจย์มับรูรฺ นอกจากสวนสวรรค์

(มุสลิม 1349)

     สมควรพวกท่านทั้งหลาย จะต้องเสียสละเวลาอย่างมากเพื่อการเชื่อฟังและแข่งขันกันทำความดี เพื่อจะให้อัลลอฮฺทรงพอพระทัย เหมือนตัวอย่างของชาวสลัฟที่พวกเขาต่างรีบเร่งไปสู่ความพอพระทัยของอัลลอฮฺอย่างมากมาย

     ปรากฏว่า ท่าน ซะฮีด อิบนุ ญูบีร ครั้งเมื่อเข้าสู่เดือนซุลฮิจญะฮฺ ท่านจะขมักขะเม้นอย่างมากในการทำอิบาดะฮ์ จนดวงไฟตะเกียงของท่านไม่เคยดับลงเลย ในสิบคืน ช่างเป็นที่ปราถนาสำหรับพวกเขา ปลุกคนในครอบครัวเพื่อลุกขึ้นมารับประทานอาหารซะฮูร เพื่อถือบวชในวันอารอฟะฮ์

     แน่นอนในบรรดาวันต่างๆของเดือนซุลฮิจญะฮฺได้รวมอิบาดะต่างๆเอาไว้มากมายในเดือนเดียวกันเช่น การละหมาด ถือศิลอด บริจาค การประกอบพิธีฮัจญ์ โดยเฉพาะวันอาราฟะฮฺ พระองค์ทรงสาบานเอาไว้ว่า

﴿ وَشَاهِدٍ وَمَشْهُودٍ [البروج: 3].

และด้วยผู้เป็นพยานและผู้ที่ถูกเป็นพยาน

صِيامُ يومِ عرفَةَ أحْتَسِبُ على اللهِ أن يكفِّرَ السنةَ التي قبْلَه والسنةَ التي بعدَه

การถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺฉันหวังผลบุญจากพระองค์อัลลอฮ์ ที่จะลบล้างบาปหนึ่งปีที่ผ่านมาและอีกหนึ่งปีหลังจากนั้น

(บันทึกโดยมุสลิม )

 

พระองค์อัลลอฮฺทรงปลดปล่อยบ่าวของพระองค์จากไฟนรกมากที่สุด

 

           ในคัมภีร์อัล-กุรอาน พระองค์อัลลอฮ์จะสาบานด้วยสิ่งที่ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เช่นพระองค์ได้สาบานด้วยวันอะเราะฟะฮ์ โดยมีหลักฐานจากหะดีษที่ท่านเราะซูล ได้กล่าวว่า

أنَّ النبِيَّ قالَ : اليومُ المَوعُودُ : يومُ القِيامة واليومُ المشْهودُ يومُ عرفة والشاهِد يومُ الجُمُعة) (رواه التِّرمدي)

“ (اليوم الموعود ) วันที่ได้นัดไว้ที่พระองค์ได้สาบานในอัล-กุรอาน หมายถึงวันโลกหน้า (اليوم المشهود )

วันที่มนุษย์ได้เห็น คือวันอะเราะฟะฮฺ ส่วนวัน (الشاهِد ) วันที่เป็นพยาน คือวันศุกร์

 

          วันที่พระองค์จะอภัยโทษและปล่อยบ่าวจากขุมนรก โดยมีหะดีษมาอธิบายจุเด่นของวันนี้ว่าท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮารายงานว่า ท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

ما مِن يومٍ أكْثَرَ مِن أن يعْتِقَ اللهُ فيهِ عبْداً منِن النَّارِ مِن يومِ عرفةَ وإنَّه لَيدنُو ثمَّ يباهِي بِهم الملائكةُ فيقولُ : ما أرادَ هؤلاء ؟

ไม่มีวันใดที่พระองค์อัลลฮฺจะปล่อยปวงบ่าวของพระองค์ให้พ้นจากขุมนรกมาก นอกจากในวันอะเราะฟะฮ์

มะลาอิกะฮ์จะเข้าใกล้พวกเขาและจะอวดพวกเขาโดยกล่าวว่า พวกเขาอยากได้อะไร

 (บันทึกโดยมุสลิม )

 

ความประเสริฐของวันนะหัร (วันอีด)

 

อับดุลลอฮฺ บิน กุรฏ์ อัษษะมาลีย์ เล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«إِنَّ أَعْظَمَ الْأَيَّامِ عِنْدَ اللهِ تَبَارَكَ وَتَعَالَى يَوْمُ النَّحْرِ، ثُمَّ يَوْمُ الْقَرِّ»

     “บรรดาวันต่างๆที่ประเสริฐที่สุด อัลลอฮฺ คือวันนะหัร หลังจากนั้นวันก็อร (วันที่พักอยู่กับที่ หมายถึงวันที่บรรดาหุจญาจญ์พักอยู่ที่ทุ่งมีนาในวันที่ 11-13 หลังจากวันนะหัร)” 

(อะหมัด อบูดาวูด)

ในวันที่สิบ รวมอิบาดะฮ์หลายชนิด การเชือด การโกน การขว้างเสาหินหน้าเดียว การตอวาฟ

          พี่น้องทุกๆท่านที่มาประกอบพิธีฮัจญ์ นี่คือเวลาอันประเสริฐสำหรับพวกท่านทั้งหลายพร้อมกับมาทำอิบาดะที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในชีวิต ฉะนั้น เราทุกคนอยากจะเป็นคนหนึ่งที่อัลลอฮฺทรงรักและทรงปกป้อง

ดังหะดีษรายงานจากท่านอบูฮูรอยเราะฮฺ ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

(ثَلَاثَةٌ فِي ضَمَانِ اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ، رَجُلٌ خَرَجَ مِنْ بَيْتِهِ إِلَى مَسْجِدٍ مِنْ مَسَاجِدِ اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ، وَرَجُلٌ خَرَجَ غَازِيًا فِي سَبِيلِ اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ، وَرَجُلٌ خَرَجَ حَاجًّا)

มีบุคคล สามประเภทอยู่ภายใต้การปกปักร์รักษาจากอัลลอฮฺ ตะอาลา

- บุคคลออกจากบ้านของเขาไปยังมัสยิดของอัลลอฮฺ

- บุคคลออกไปสู่รบในหนทางของอัลลอฮฺ

- บุคคลเดินทางไปเพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ 

(บันทึกโดย อบูดาวูด)

          ตั้งแต่ท่านเริ่มออกเดินทางจากบ้านไปยังบ้านของอัลลอฮฺ ทุกก้าวย่างของท่านนั้นจะถูกบันทึกความดีและลบล้างความผิด

 

การกล่าวตัลบียะ

 

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

مَا مِنْ مُسْلِمٍ يُلَبِّي إِلَّا لَبَّى مَنْ عَنْ يَمِينِهِ، أَوْ عَنْ شِمَالِهِ مِنْ حَجَرٍ أَوْ شَجَرٍ أَوْ مَدَرٍ حَتَّى تَنْقَطِعَ الْأَرْضُ مِنْ هَاهُنَا وَهَاهُنَا

     “ไม่มีมุสลิมคนใดกล่าวตัลบียะ เว้นแต่ว่า สิ่งที่อยู่จากทางขาวและทางซ้ายของเขา ก้อนหิน ต้นไม้ พื้นดิน กล่าวตัลบียะให้แก่เขา กระทั่งสุดแผ่นดินหนึ่งอีกแผ่นดินหนึ่ง

( อิบนุ มาญะ)

การเดินวนรอบกะบะฮฺ และสัมผัสหิมดำ

 

           ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัมทำการจับหรือสัมผัสกะบะอ์สองมุมด้วยกัน คือ มุมยามานี กับมุมหินดำ ใครสัมผัสตรงนี้ ความผิดของเขานั้นจะถูกลบล้าง

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม

((من طاف بهذا البيت أسبوعاً - أي: سبعة أشواط - فأحصاه كان كعتق رقبة))،

ใครเดินวนรอบกะบะฮ์เจ็ดรอบ จะได้รับภาคผลเท่ากับปลดปล่อยทาส

((لا يضع قدماً ولا يرفع أخرى إلا حطَّ الله عنه خطيئة، وكتب له بها حسنة)).

ทุกๆก้าวที่ยกและเดินอัลลอฮฺ จะทรงลบล้างความผิด และบันทึกความดี

ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้รายงานว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

صَلَاةٌ فِيْ مَسْجِدِيْ هَذَا أَفْضَل مِنْ أَلْفِ صَلَاةٍ فِيْمَا سِوَاه إِلّا المَسْجِد الحَرام

“ 1 ละหมาดในมัสยิดของฉันนี้ประเสริฐกว่า 1000 ละหมาดในที่อื่นๆ นอกจากมัสยิดอัล-หะรอม” 

(บันทึกโดยมุสลิม)

وَصَلَاةٌ فِي الْمَسْجِدِ الْحَرَامِ أَفْضَلُ مِنْ مِائَةِ أَلْفِ صَلَاةٍ

     “ 1 ละหมาดในมัสยิดมัสยิดอัล-หะรอม มักกะฮฺ นี้ประเสริฐกว่า 10000 ละหมาดในที่อื่นๆ นอกจาก เมื่อท่านขว้างเสาหิน โกนศีรษะ ผมทุกเส้นจะถูกบันทึกความดี เมื่อท่านตอวาฟบาปของท่านจะหลุดออกจากตัวของท่าน ดังกับทารกคลอดออกจากท้องมารดา

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่าถึงภาคผลสำหรับผู้ที่โกนศีรษะ ด้วยการขอดุอาให้สามครั้งด้วย

((اللهم اغفر للمحلقين))

โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงอภัยโทษสำหรับผู้โกนศีรษะด้วยเถิด

 

7. การทำฮัจญ์โอกาสของการเปลี่ยนแปลงชีวิต

 

          ผู้ที่มาประกอบพิธีฮัจญ์ จะได้เห็นมนุษย์ชาติพันธ์ที่หลากหลายเชื้อชาติ รับรู้การเป็นอยู่ อุปนิสัย กิริยามารยาท ความเข้มแข็ง และความสามารถของผู้คนมากมาย ท่านจะรับสิ่งที่ดีๆมากมายในช่วงใช้ชีวิตอยู่ที่นครมักกะฮฺ ถือว่าเป็นการฝึกฝนตัวเองขจัดสิ่งที่ไม่ดี ท่านจะได้เห็นจะความอ่อนแอของตัวเอง จะต้องตระเตรียมเสบียงอย่างมากมาย เช่น เรื่องมารยาท ความอดทน อดกลั้น ให้อภัย ใจบุญ ความเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่และเสียสละ

          การทำฮัจญ์โอกาสที่สำคัญเปี่ยมล้นไปด้วย ความรู้ ทรัพย์สิน พากเพียร และร่างกายจะต้องต่อสู้บนเส้นทางแสวงหาจากพระองค์เพื่อความดีของตัวเขาเอง

          ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ มุบาร็อก กล่าวว่า ในขณะฉันไปหาท่านซุฟยาน อัสเสารีย์ในช่วงเย็นของวันอารอฟะฮ์ ในสภาพมาจับหัวเข่า ดวงตาปล่อยวาง ไม่สนใจ (เฉย) ท่านกล่าวกับเขาว่า มันช่างเป็นสภาวะที่น่าเศร้ายิ่งนัก เขากล่าวว่า คิดว่าอัลลอฮฺทรงไม่ให้อภัยโทษ

          โอ้พี่น้อง ฮุจญาจทุกๆท่าน จงใช้โอกาสนี้เพื่อการเปลี่ยนแปลงตัวเองให้มากที่สุด การมีมารยาทที่ดีงามในระหว่างการเดินทางมาประกอบพิธี ตามแบบอย่างของท่านนบี

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เคยกล่าวว่า

«إنَّ مِنْ خِيَارِكُمْ أَحْسَنُكُمْ أَخْلاقاً»

ส่วนหนึ่งจากผู้ที่ประเสริฐที่สุดในหมู่พวกท่าน คือ ผู้ที่มีมารยาทดีในหมู่พวกท่าน

 (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ 3มุสลิม )

          การพยายามขจัดมารยาทที่ไม่ดีออกไป แม้เพียงจุดเล็กๆ ของความบกพร่องที่มีอยู่ในตัวเราย่อมเท่ากับเป็นการพัฒนาตัวเองไปสู่ความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ซึ่งจะนำเราไปสู่เกียรติอันสูงส่งในที่สุด

เพราะท่านรอซูล กล่าวว่า

أَكْمَلُ المُؤمِنِينَ إِيمَاناً أَحسَنُهُم خُلُقاً

มุอฺมิน (ผู้ศรัทธา) ที่มีความสมบูรณ์ที่สุดก็คือ บุคคลที่มีมารยาทงดงามที่สุด

( ติรมีซีย์)

          สิ่งหนึ่งที่พี่น้องผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ควรตระหนักให้มาก การให้อภัยคนรอบข้าง การระงับความโกรธ เรามักจะเจอบ่อยครั้งในการมาทำฮัจญ์เช่น การเดินชนกัน เหยียบกัน แย่งชิงกัน ดาท่อ ตะโกน สิ่งที่ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

﴿ وَالْكَاظِمِينَ الْغَيْظَ وَالْعَافِينَ عَنِ النَّاسِ [آل عمران: 134].

และบรรดาผู้ข่มโทสะและบรรดาผู้ให้อภัยแก่เพื่อนมนุษย์

﴿ خُذِ الْعَفْوَ وَأْمُرْ بِالْعُرْفِ وَأَعْرِضْ عَنِ الْجَاهِلِينَ [الأعراف: 199].

เจ้า (มุฮัมมัด) จงยึดถือไว้ซึ่งการอภัย และจงใช้ให้กระทำสิ่งที่ชอบ และจงผินหลัง ให้แก่ผู้โฉดเขลาทั้งหลายเถิด

﴿ وَلَمَنْ صَبَرَ وَغَفَرَ إِنَّ ذَلِكَ لَمِنْ عَزْمِ الْأُمُورِ [الشورى: 43].

และแน่นอนผู้ที่อดทนและให้อภัย แท้จริงนั่นคือ ส่วนหนึ่งจากกิจการที่หนักแน่นมั่นคง

จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ แท้จริงท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«لَيْسَ الشَّدِيدُ بِالصُّرَعَةِ إنَّمَا الشَّدِيدُ الَّذِي يَـمْلِكُ نَفْسَهُ عِنْدَ الغَضَبِ»

     “ใช่ว่าผู้ที่ปล้ำคนอื่น(ชนะ)จะเป็นคนที่เข้มแข็ง แต่ผู้ที่เข้มแข็งคือผู้ที่สามารถควบคุมอารมณ์โกรธของตัวเองขณะที่โกรธได้” 

(บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ มุสลิม )

จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า

« إنَّ الرِّفْقَ لا يَكُونُ فِي شَيْءٍ إلَّا زَانَـهُ، وَلا يُنْزَعُ مِنْ شَيْءٍ إلَّا شَانَـهُ »

     “แท้จริงความอ่อนโยนนั้นจะไม่มีในสิ่งใดเลยนอกจากจะทำให้สิ่งนั้นได้รับการประดับประดา อีกทั้งมันจะไม่ถูกถอดออกจากสิ่งใดๆ เว้นแต่ตัวมันจะทำให้สิ่งนั้นน่าขยะแขยง

 (บันทึกโดย มุสลิม)

 

ตัวอย่างของการอภัย

 

          เรื่องของ อาลี ซัยนุลอาบีดีน เด็กหนุ่มรับใช้ได้รินน้ำให้แก่นายของเขา แต่แล้วภาชนะได้ตกหล่นบนเท้าของอาลี และภาชนะนั้นก็ได้แตกหัก อาลี จึงโกรธมาก จนกระทั่งใบหน้าเปลี่ยนสี

     เด็กหนุ่มจึงได้กล่าวว่า " โอ้นายของฉัน แท้จริงอัลลอฮฺทรงกล่าวว่า وَالْكَاظِمِيْنَ الْغَيْظَ ความว่าและบรรดาผู้ข่มโทสะ

     อาลี ซัยนุลอาบีดีน จึงกล่าวว่าแท้จริงฉันได้ข่มโทสะของฉันแล้ว

     แล้วเด็กหนุ่มก็กล่าวขึ้นอีกว่าโอ้นายของฉัน และอัลลอฮ์ทรง กล่าวว่า وَالْعَافِيْنَ عَنِ النَّاسِ ความว่าและบรรดาผู้อภัยแก่เพื่อนมนุษย์

     แล้วอาลี ซัยนุลอาบีดีน ก็กล่าวอีกว่าโดยแน่นอนแท้จริง ฉันได้อภัยแก่เจ้าแล้ว

     ดังนั้นเด็กหนุ่มก็ได้กล่าวว่า อัลลอฮฺตรัสว่า وَاللهُ يُحِبُّ الْمُحْسِنِيْنَ ความว่าและอัลลอฮ์นั้นทรงรักผู้กระทำดีทั้งหลาย” (ซูเราะห์ อาลีอิมรอน : 132)

     ดังนั้นอาลี ซัยนุลอาบีดีน จึงกล่าวแก่เขาว่าฉันปล่อยท่านเป็นอิสระ เพื่อพระพักต์ของอัลลอฮ์

     การที่มุสลิมปฏิบัติต่อผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมด้วยจริยธรรมอันสูงส่งเช่นนี้ เป็นเหตุทำให้มีผู้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลามเป็นจำนวนมาก และเป็นการยึดถือแบบอย่างของท่านศาสดามุฮัมหมัด อีกด้วย

     ท่านอับดุลลอฮฺ บุตรมัสอูด กล่าวว่า : ฉันมองดูท่านนบีมุฮัมมัด ขณะที่ท่านกำลังเล่าถึง นบีท่านหนึ่งที่ถูกพวกพ้องของพวกเขาทำร้ายจนเลือดออก เขาใช้มือลูบเลือดที่เปื้อนใบหน้า พลางกล่าวว่า

ข้าแต่องค์อภิบาลได้โปรดให้อภัยแก่พวกพ้องของฉันด้วยเถิด เพราะความจริงพวกเขาไม่รู้

 

8. รู้เป้าหมายและจุดประสงค์ของการมาทำฮัจญ์

 

          ผู้ประกอบพิธีจะต้องตระหนักถึงจุดประสงค์ที่แท้จริงของการมาทำฮัจญ์ เพราะนี้คือสิ่งที่จะตอบโจทย์ในจิตใจของท่านทุกๆคนได้อย่างดี  ไม่มีใครรู้สิ่งที่อยู่ในจิตใจของท่าน นอกจากหัวใจของท่านเองและอัลลอฮฺ ตะอาลา

อัลลอฮฺกล่าวถึงบุคคลที่มีเจตนาไม่ดี

﴿ وَمَنْ يُرِدْ فِيهِ بِإِلْحَادٍ بِظُلْمٍ نُذِقْهُ مِنْ عَذَابٍ أَلِيمٍ [الحج: 25]

และถ้าผู้ใดปรารถนาที่จะออกนอกทางด้วยความอธรรม เราก็จะให้เขาลิ้มรสการลงโทษอย่างเจ็บปวด

          อัลลอฮ์ ทรงทำให้เมืองนี้เป็นเมืองที่ได้รับการพิทักษ์คุ้มครองได้รับความปลอดภัย ดังที่พระองค์ทรงทำให้เมืองมักกะฮ์ได้รับการพิทักษ์คุ้มครอง และมีความปลอดภัย ดังฮะดีษของท่านนบีมุฮัมมัด กล่าวว่า

إن إبراهيم حرم مكة، وإني حرمت المدينة

แท้จริงอิบรอฮีมได้ประกาศพิทักษ์นครมักกะฮ์ ฉันประกาศพิทักษ์นครมะดีนะฮ์

(บันทึกโดยมุสลิม)

ดังฮะดีษของท่านนบีมุฮัมมัด กล่าวว่า

إن هذا البلد حرمه الله يوم خلق السماوات والأرض، فهو حرام بحرمة الله إلى يوم القيامة)).

     “แท้จริงในเมือง (เขตต้องห้าม) อัลลอฮฺทรงพิทักษ์รักษาในวันที่พระองค์ทรงสร้างชั้นฟ้าและแผ่นดิน ซึ่งมันคือเมืองต้องห้ามตราบจนวันกียามะฮ์” 

ฉะนั้นคนที่มาประกอบพิธีฮัจญ์จงระวังการคิดร้าย ไม่ดีต่อคนอื่นในแผ่นดินหะรอม ตลอดจนการกระทำสิ่งที่ไม่ดีต่าง ๆในแผ่นดินนี้

 

9. ความเหน็ดเหนื่อยการทำอิบาดะฮ์จะนำมาซึ่งผลตอบแทนที่มากมาย

 

ดังฮะดีษของท่านนบีมุฮัมมัด กล่าวว่า ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«مَا يَزَالُ البَلاءُ بِالمؤْمِنِ وَالمؤْمِنَةِ فِي نَفْسِهِ، وَوَلَدِهِ، وَمَالِـهِ، حَتَّى يَلْقَى الله وَمَا عَلَيْـهِ خَطِيئَةٌ». أخرجه الترمذي

     “ผู้ศรัทธาทั้งชายและหญิงที่ถูกทดสอบเสมอในตัวเขา บุตรหลาน และทรัพย์สินของเขา จนกระทั่งเขาได้ไปพบกับอัลลอฮฺในสภาพที่ไม่มีบาปใดๆ (เนื่องจากถูกลบล้างด้วยการทดสอบเหล่านั้นแล้ว)” 

(บันทึกโดย อัตติรมิซีย์ )

          ความทุกข์ยาก เดือนร้อนไม่มีใครต้องการมันหรอก แต่หากมันมาประสบกับมนุษย์ เขาย่อมได้รับภาคผลและความดีมากยิ่งขึ้น จงทราบเทิดว่า การประกอบพิธีฮัจญ์นั้นมีได้สุขสบายอย่างที่เราคิดวาดฝันเอาไว้  ไม่ว่าจะเรื่องการกิน การนอน จะต้องแย่งกันไปเดินตอวาฟ จะต้องนอนกลางดินกินกลางทราย ต่อแถวเข้าห้องน้ำ จะต้องยืนขอดุอาในสภาพอากาศที่ร้อน แอร์ไม่เย็น จะต้องขจัดตัณหาอารมณ์ใฝ่ต่ำจะต้องเผชิญในวันนั้นมากมาย จงจำไว้ว่า สวรรค์ของอัลลอฮฺนั้นมีราคา จะต้องแลกด้วยน้ำพักน้ำแรง หยาดเหงื่อ แรงกาย ทรัพย์สิน เพื่อจะสบายในวันข้างหน้า

มีชายคนหนึ่งถาม ท่านเราะสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ว่า อะไรคือสภาพของผู้ที่มาทำฮัจญ์ ?

((الحاج الشعث التفل))

มาในสภาพ ผมยุ่งเหยิง และ มีกลิ่นและฝุ่นตามตัว

(อิบนุมาญะ)

 

10. ฮัจญ์มับรูร์ ผลตอบแทนคือสวนสวรรค์

 

          วัตถุประสงค์สำคัญที่เป็นสุดยอดความต้องการของทุกคนที่ไปประกอบพิธีฮัจญ์ คือ การได้รับความพึงพอใจจากพระองค์อัลลฮ์ นั่นคือ การที่ได้รับฮัจญ์มับรูร์

     คำว่ามับรูร์ด้านภาษาแปลว่า ดี บริสุทธิ์และสะอาด แต่ศัพท์ทางเทคนิคหมายถึง ฮัจญ์ที่พระองค์อัลลอฮ์ ทรงตอบรับและพึงพอใจ

          ผู้ที่ได้ฮัจญ์มับรูร์ จึงหมายถึงผู้ที่ประสบความสำเร็จสุดยอดในชีวิต เพราะผู้ที่ได้ฮัจญมับรูร์ พระองค์อัลลอฮ์ จะตอบแทนบ่าวของพระองค์ด้วยสวนสวรรค์เท่านั้น ท่านเราะซูล ได้กล่าวเกี่ยวกับบทตอบแทนในฮะดีษบทหนึ่งว่า

العُمْرةُ إلى العمْرةِ كفَّارةٌ لِما بينَها والحجُّ المبْرورُ ليسَ له جزاءٌ إلا الجنَّة

     “การไปเยี่ยมกะบะฮ์จากครั้งหนึ่งไปยังอีกครั้งหนึ่งเป็นการชำระบาปที่ได้กระทำผิดในช่วงนั้น และฮัจญ์ที่มับรูร์นั้นไม่มีการตอบแทนใดๆ นอกจากสวรรค์เท่านั้น

(บันทึกโดยมุสลิม)

เกี่ยวกับความสำคัญของการประกอบพิธีฮัจญ์ ท่านได้ตอบคำถามของเศาะฮาบะฮ์ท่านหนึ่งในตอนหนึ่งว่า 

มีเศาะฮาบะฮ์ท่านหนึ่งได้มาถามท่านเราะซูล ว่า : การงานใดที่ถือว่าประเสริฐที่สุด ?

الإيمانُ بالله ورسولِه قيلَ : ثمَّ مادا ؟ قالَ : جِهادٌ في سبيلِ الله قيل : ثمَّ مادا ؟ قالَ : حجٌّ مبْرورٌ

ท่านตอบว่า : การศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮ์และต่อศาสนทูตของพระองค์

ผู้ถามกล่าวว่า : แล้วอะไรอีก ?

ท่านตอบว่า : การต่อสู้ในหนทางของพระองค์อัลลอฮ์

ผู้ถามถามต่ออีกว่า : แล้วอะไรอีก ?

ท่านตอบว่า : การได้รับ ฮัจญ์มับรูร์ ” 

(บันทึก บุคครีย์)

และในฮะดีษอีกบทหนึ่งท่านเราะซูล ได้กล่าวไว้ว่า

مَن حجَّ فلم يرْفُثْ ولم يفْسُقْ رجَعَ كيومِ ولَدَتْه أمُّه

     “ผู้ใดที่ได้ประกอบพิธีฮัจญ์ และไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กับภริยาและไม่ได้กระทำสิ่งชั่วร้ายอื่นๆ เขาจะได้กลับบ้านด้วยความบริสุทธิ์เสมือนกับวันที่แม่ของเขาให้กำเนิดเขา

(บันทึก บุคครีย์และมุสลิม)

ร่วมถึงการพูดไร้สาระ นินทาใส่ร้ายป้ายสี โกหก หลอกลวง เย้ยหยัน 

เกี่ยวกับการต่อสู้ในหนทางของอัลลฮ์ ในบรรดาสตรี ท่านเราะซูล ได้กล่าวไว้ในตอนหนึ่งว่า

عن عائشةَ أنَّها قالَت : يا رسولَ الله نَرى الجِهادَ أفضَلَ العمَلِ (أفلا نجاهِدُ ؟) قال : لا ، لكنَّ أفضَلُ الجِهادِ حجٌّ مبْرورٌ

        “ท่านหญิงอาอิชะฮ์เคยถามท่านเราะซูลว่า : โอ้ ท่านเราะซูล พวกเราเห็นด้วยกับการต่อสู้ในหนทางของพระองค์อัลลอฮ์ ดังนั้นท่านจะอนุญาตให้พวกเราชาวสตรีทั้งหลายต่อสู้ในหนทางของพระองค์อัลลฮ์ ไหม ?

ท่านตอบว่า : ไม่ การต่อสู้ที่ประเสริฐที่สุดของพวกนาง คือ ฮัจญมับรูร์

(บันทึก บุคอรีย์)

 

สถานะของท่านหลังจากประกอบพิธีฮัจญ์

 

          แน่นอนสถานะพี่น้องที่มาประกอบพิธีฮัจญ์ บางคนกลับไปในสภาพได้รับการอภัยโทษ หรือบางคนกลับไปในสภาพไม่ได้รับอะไรเลย นอกจากความเหน็ดเหนื่อย สิ่งสำคัญท่านจะต้องคำนึงถึงว่า ท่านมาในสภาพมีความผิดจากภูมิลำเนาบ้านเกิดของท่าน ทำไมท่านไม่ชำระล้างบาปของท่านให้ขาวสะอาด หรือท่านจะกลับไปในสภาพเดิมซึ่งไม่ต่างอะไรกับสภาพที่ท่านมา

 

         ฉะนั้นจงเปลี่ยนแปลงบัญชีของพวกท่านด้วยการตักตวงความดี และขออภัยโทษต่อพระองค์ เพื่อจะให้ชีวิตของพวกท่านบริสุทธิ์ดังเด็กทารกที่คลอดออกมาใหม่

 

ฉันขอต่ออัลลอฮฺ ผู้ทรงความเมตตา และตอบรับการขออภัยโทษด้วยเถิด อามีน