สิบ ความดีส่งเสริมให้ปฏิบัติในเดือนรอมาฎอน
  จำนวนคนเข้าชม  3148


สิบ ความดีส่งเสริมให้ปฏิบัติในเดือนรอมาฎอน

 

เรียบเรียง อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

1. จะต้องมีความบริสุทธิ์ใจในการถือศิลอดเพื่ออัลลอฮฺ

 

พระองค์อัลลอฮ์ ตรัสว่า

﴿ أَلَا لِلَّهِ الدِّينُ الْخَالِصُ [الزمر: 3].

ดังนั้นเจ้าจงเคารพภักดีต่อข้า (อัลลอฮ์) โดยเป็นผู้มีความบริสุทธิ์ใจในศาสนาต่อพระองค์"

 

2. จะต้องปฏิบัติตามแบบฉบับของท่านนบี 

 

พระองค์อัลลอฮ์ ตรัสว่า

﴿ وَمَا آتَاكُمُ الرَّسُولُ فَخُذُوهُ وَمَا نَهَاكُمْ عَنْهُ فَانْتَهُوا [الحشر:7].

และสิ่งใดที่ท่านร่อซูลนำมา จง ยึดปฏิบัติและอันใดที่ท่านได้ห้ามพวกเจ้าก็จงละเว้นเสีย

 

3. การถือศีลอด

 

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

قَدْ جَاءَكُمْ رَمَضَانُ شَهْرٌ مُبَارَكٌ افْتَرَضَ اللهُ عَلَيْكُمْ صِيَامَهُ (رواه أحمد)

     "เดือนเราะมะฏอนได้มาถึงพวกท่าน ซึ่งเป็นเดือนอันมีความจำเริญยิ่ง อัลลอฮฺได้ทรงบัญญัติให้พวกท่านถือศีลอดในเดือนนี้

 

4. การละหมาดยามค่ำคืน ยามุลลัยลฺ

 

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

«أَفْشُوا السَّلَامَ، وَأَطْعِمُوا الطَّعَامَ، وَصِلُوا الأَرْحَامَ، وَصَلُّوا وَالنَّاسُ نِيَامٌ، تَدْخُلُوا الْجَنَّةَ بِسَلَامٍ»[

     “โอ้มหาชนทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงให้แพร่กระจายไปซึ่งการให้สลามกันและกัน ท่านทั้งหลายพึงให้อาหารกัน ท่านทั้งหลายพึงละหมาดกลางคืน ในขณะที่ผู้คนต่างหลับนอนกันเถิด แล้วท่านทั้งหลายจะได้เข้าสวรรค์อย่างสะดวกสะบาย

(บันทึกโดย ติรมีซีย์)

 

5. การละหมาดตะรอเวียฮฺ

 

ผลบุญของการละหมาดตะรอเวียฮฺ ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวัซัลลัมได้กล่าวรับรอง ไว้ว่า

((مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيْماَناً وَاحْتِسَاباً غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ))

     “ ผู้ใดที่ดำรงการละหมาดตะรอเวียฮฺรอมาฎอนไว้ด้วยความศรัทธา และหวังในผลตอบแทนแล้ว บาปกรรม ของเขาแต่เก่าก่อนนั้น จะได้รับการอภัยโทษให้

(บันทึกโดย บุคอรีย์และมุสลิม)

 

6. การละหมาดตะรอเวียฮฺเสร็จพร้อมกับอิหม่าม

 

ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวัซัลลัมได้กล่าวรับรอง ไว้ว่า

«إِنَّ الرَّجُلَ إِذَا صَلَّى مَعَ الإِمَامِ حَتَّى يَنْصَرِفَ حُسِبَ لَهُ قِيَامُ لَيْلَةٍ»

     "ผู้ใดที่ยืนละหมาดพร้อมอิหม่าม จนกระทั่งอิหม่ามได้จากไป(เพราะเสร็จสิ้นจากละหมาดแล้ว) จะถูกบันทึกแก่เขาเท่ากับการยืนละหมาดทั้งคืน"

 

7. อ่านกรุอ่านให้มากๆ

 

          เพราะในทุกๆเดือนเราะมะฎอนนั้นท่านญิบรีล อะลัยฮิสสะลาม ก็จะมาพบท่านนบีเพื่อมาศึกษาทบทวนอัลกุรอ่านกับท่าน ดังรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บินอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدَ النَّاسِ، وَكَانَ أَجْوَدُ مَا يَكُونُ فِي رَمَضَانَ حِينَ يَلْقَاهُ جِبْرِيلُ، وَكَانَ يَلْقَاهُ فِي كُلِّ لَيْلَةٍ مِنْ رَمَضَانَ فَيُدَارِسُهُ القُرْآنَ

     “ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นคนที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่สุด และท่านจะมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่สุดในเดือนเราะมะฎอน เมื่อยามที่ท่านพบกับญิบรีล และญิบรีลจะมาพบกับท่านรอซูลในทุกค่ำคืนของเราะมะฎอน แล้วญิบรีลก็จะศึกษาทบทวนอัลกุรอานกับท่าน

(รายงานโดยบุคอรีย์และมุสลิม)

 

และรายงานหะดีษที่ว่า

أن جبريل كان يعْرضُ عَلَى النَّبِيِّ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ الْقُرْآنَ كُلَّ عَامٍ مَرَّةً ، فَعرضَ عَلَيْهِ مَرَّتَيْنِ فِي الْعَامِ الَّذِي قُبِضَ فيه

     “แท้จริงท่านญิบรีลนั้น จะนำเสนอ(ทบทวน)อัลกุรอานต่อท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม หนึ่งครั้งในทุกเราะมะฎอน นอกจากปีที่ท่านเสียชีวิต โดยในปีนั้นอัลกุรอานถูกนำเสนอ(ทบทวน)ให้แก่ท่านสองครั้ง

(รายงานโดยอัลบุคอรีย์)

 

8. การบริจาคทาน

 

          เดือนเราะมะฎอนเป็นเดือนแห่งการบริจาค ซึ่งท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ท่านเป็นผู้ที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้คนเป็นอย่างมาก ดังที่มีรายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ บินอับบาส ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ ว่า

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدَ النَّاسِ، وَكَانَ أَجْوَدُ مَا يَكُونُ فِي رَمَضَانَ حِينَ يَلْقَاهُ جِبْرِيلُ، وَكَانَ يَلْقَاهُ فِي كُلِّ لَيْلَةٍ مِنْ ) ومسلم البخاري رواه ( الْمُرْسَلةَ الرِّيحِ مِنْ بِالْخَيْرِ أَجْوَدُ وَسَلَّمَ عَلَيْهِ اللَّهُ صَلَّى اللَّهِ فَلَرَسُولُ القُرْآنَ فَيُدَارِسُهُ رَمَضَانَ

 

     ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นคนที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่สุด และท่านจะมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มากที่สุดในเดือนเราะมะฎอน

     “เมื่อยามที่ท่านพบกับญิบรีล และญิบรีลจะมาพบกับท่านรอซูลในทุกค่ำคืนของเราะมะฎอน แล้วญิบรีลก็จะศึกษาทบทวนอัลกุรอานกับท่าน

     ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นผู้ที่เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในความดียิ่งกว่าสายลมที่พัดผ่านเสียอีก

(รายงานโดยบุคอรีย์และมุสลิม)

 

9. การเลี้ยงอาหารละศีลอด

 

ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ท่านได้กล่าวว่า

«مَنْ فَطَّرَ صَائِمًا كَانَ لَهُ مِثْلُ أَجْرِهِ غَيْرَ أَنَّهُ لاَ يَنْقُصُ مِنْ أَجْرِ الصَّائِمِ شَيْئًا

     “ผู้ใดที่เลี้ยงอาหารละศีลอดแก่ผู้ถือศีลอด เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับผลบุญของผู้ถือศีลอด(ที่เขาให้อาหาร) โดยที่ผลบุญนั้น (หมายถึงผลบุญเดิมของผู้ถือศีลอดที่เขาเลี้ยงอาหาร) ไม่ได้ลดน้อยลงไปจากผู้ถือศีลอดนั้นแต่อย่างใด

 (รายงานโดย อัต-ติรมิซีย์ อัต-ติรมิซีย์)

 

10. ระวังการพูดเท็จ และโกหก

 

ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า

مَنْ لَمْ يَدَعْ قَوْلَ الزُّورِ وَالْعَمَلَ بِهِ وَالْجَهْل فَلَيْسَ لِلَّهِ حَاجَةٌ فِي أَنْ يَدَعَ طَعَامَهُ وَشَرَابَهُ

     “ผู้ใดไม่ละเว้นจากการพูดที่เป็นเท็จหรือการกระทำที่เป็นเท็จ(หรือเป็นความชั่ว) สำหรับอัลลอฮฺนั้นจะไม่ทรงประสงค์จากการละเว้นอาหารและเครื่องดื่มของเขา

( รายงานโดยบุคอรีย์)

 

และหะดีษที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า

الصِّيَامُ جُنَّةٌ فَلا يَرْفُثْ وَلا يَجْهَلْ وَإِنْ امْرُؤٌ قَاتَلَهُ أَوْ شَاتَمَهُ فَلْيَقُلْ : إِنِّي صَائِمٌ (مَرَّتَيْنِ)

การถือศีลอดนั้นเป็นโล่กำบัง ดังนั้นพวกท่านอย่าได้พูดจาหยาบคาย และอย่าได้พูดเท็จ

( รายงานโดยบุคอรีย์)