มัสยิด บ้านของอัลลอฮฺ
  จำนวนคนเข้าชม  3466


มัสยิด บ้านของอัลลอฮฺ

 

แปลเรียบเรียง .อาบีดีน พัสดุ

 

          บรรดาผู้ที่ทำนุบำรุงบ้านของอัลลอฮฺบนผืนแผ่นดินทั้งหลาย โอ้ผู้ที่อัลลอฮฺ ทรงตระเตรียมที่พำนักให้กับพวกท่านในสวนสวรรค์

อัลลอฮฺ ตรัสว่า 

 

﴿ وَذَكِّرْ فَإِنَّ الذِّكْرَى تَنْفَعُ الْمُؤْمِنِينَ

 

และจงตักเตือนเถิด เพราะแท้จริงการตักเตือนนั้น จะให้ประโยชน์แก่บรรดาผู้ศรัทธา

 

          องค์อภิบาลของเรา ตรัสว่า แท้จริงแล้วการตักเตือนจะให้ประโยชน์แก่บรรดาผู้ศรัทธา , อันเนื่องจากว่าพวกเขามีอีหม่าน มีความเกรงกลัว มีการสำนึกผิดยังอัลลอฮฺ และประพฤติสิ่งที่พระองค์ทรงพอพระทัย , จึงทำให้การตักเตือนให้ประโยชน์แก่พวกเขา , ส่งผลให้ข้อตักเตือนอยู่ในที่ที่เหมาะที่ควร ดังที่อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

‏‏فَذَكِّرْ إِن نَّفَعَتِ الذِّكْرَى سَيَذَّكَّرُ مَن يَخْشَى وَيَتَجَنَّبُهَا الْأَشْقَى

[الأعلى: 9 - 11].

 

     “ดังนั้นจงตักเตือนกันเถิด เพราะการตักเตือนกันนั้นจะยังคุณประโยชน์ ผู้ที่หวั่นกลัวจะได้รำลึก และผู้ที่ชั่วช้ายิ่งจะหลีกเลี่ยงการตักเตือนนั้น

 

          การหลีกเลี่ยงการตักเตือน ที่เขามิได้มีความพร้อมที่จะรับคำตักเตือน  เพราะจะไม่ทำให้การตักเตือนส่งผลดีใดๆ  เสมือนกับผืนดินที่น้ำฝนมิได้ก่อเกิดประโยชน์ใดๆ แก่ผืนดินเลย และในวันนี้เรื่องราวที่ผมจะย้ำเตือนให้ระลึกคือ บ้านของอัลลอฮฺ บรรดามัสยิด

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

﴿ وَأَنَّ الْمَسَاجِدَ لِلَّهِ [الجن: 18]

 

และว่าแท้จริงบรรดามัสยิดนั้นเป็นของอัลลอฮฺ

 

           ในมัสยิด พระนามของอัลลอฮฺได้ถูกเปล่ง ในมัสยิดมีการให้ความบริสุทธิแด่อัลลอฮฺทั้งในยามเช้าและยามเย็น  และจากมัสยิดได้มีการเรียกร้องเชิญชวนสู่การเชื่อฟังและการอิบาดะฮฺต่อพระองค์  และจากมัสยิดแสงแห่งอีหม่านได้เจิดจรัส หัวใจได้ถูกทำให้มีชีวิตชีวา จิตวิญญานได้รับการขัดเกลาให้บริสุทธิ หน้าผากได้ทำการก้มลงสุญูด บรรดาแถวได้ถูกจัดเรียง และบรรดาจิตใจต่างสอดประสานเข้าหากัน

 

   ♣ บรรดามัสยิด คือ สถานที่ของการพบกันระหว่างบ่าวและองค์อภิบาลของเขาผู้ทรงสูงส่ง โดยที่ความเมตตาทั้งหลายต่างถูกประทานลงมา ความพลังพลาดได้รับการให้อภัย และความผิดบาปได้รับการลบล้าง

 

   ♣ บรรดามัสยิด คือบ้านของอัลลอฮฺในผืนแผ่นดินของพระองค์ เป็นสถานที่อิบาดะฮฺ ขอบคุณ และให้เอกภาพต่อพระองค์ และยังเป็นสถานที่ที่อัลลอฮฺทรงรักทรงชอบมากที่สุด และมีเกียรติที่สุด พระองค์

 

     ในฮาดีษ ซอฮีหฺ จากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฏิฯ จากท่านนบี ศอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

"أحبُّ البقاع إلى الله مساجدها، وأبغض البقاع إلى الله أسواقها"

 

แผ่นดินที่รักยิ่งของอัลลอฮ์ คือ มัสยิดต่างๆ และแผ่นดินที่อัลลอฮ์ โกรธยิ่ง คือตลาด

 

     เพราะฉะนั้น.... 

   ♥ ใครก็ตามที่รักอัลลอฮฺ เขาก็จะรักบ้านของพระองค์ จิตใจของเขามีความผูกพันธ์กับมัสยิด  และ

   ♥ ใครก็ตามที่หัวใจของเขาผูกพันกับมัสยิด อัลลอฮฺก็จะทรงให้เขาได้อยู่ภายใต้ร่มเงาแห่งบรรลังค์ของพระองค์ ในวันที่จะไม่มีร่มเงาใดๆ นอกจากร่มเงาของพระองค์

   ♥ ใครก็ตามที่รักมัสยิดเพื่ออัลลอฮฺ  ความรักของเขาที่มีแก่มัสยิดก็คือศาสนาและอิบาดะฮฺ ชัยชนะและผลกำไรการเพิ่มพูน 

   ♥ ใครก็ตามที่รักมัสยิด เขาจะรู้ถึงความสำคัญของมันและปกป้องมันจากความสกปรก เพราะการทำนุบำรุงมัสยิดคือการเข้าใกล้ชิดอัลลอฮฺการทำความสะอาดคือการภักดี และการทำให้มัสยิดสะอาดเรียบร้อยถือเป็นอิบาดะฮฺ 

 

     ดังในฮาดีษ ซอฮีหฺ จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุม กล่าวว่า 

 

"أمر رسول الله صلى الله عليه وسلم بالمساجدِ أن تُبنى في الدور، وأن تُطهر وتطيب

 

     “ท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺ ซ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้สั่งใช้ให้มีการสร้างมัสยิดในละแวกหมู่บ้าน , และให้มีการทำความสะอาดและทำให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

 

          แต่ว่าสถานะของมัสยิดในชีวิตของเราวันนี้ อ่อนแอลง และส่งผลต่อบรรดามุสลิมน้อยลงอย่างมาก หัวใจได้แข็งกระด้างและถูกปิดกั้น ปราศจากความเมตตาในบ้านซึ่งที่ความเมตตาได้ถูกประทานลงมา มีความรังเกียจต่อกัน การโต้แย้งกันในมัสยิดเกิดขึ้นอย่างเปิดเผย การนินทาการว่าร้ายโดยไม่มีใครแสดงออกซึ่งการรังเกียจ การอุตริกรรมในศาสนาแผ่กระจายในมัสยิด การพูดคุยในเรื่องดุนยากิจการของดุนยากลายเป็นสิ่งที่ได้รับการตอบรับและสนับสนุน

 

          การมายังมัสยิดหรือการเข้ามัสยิดกลับกลายเป็นเพียงความเคยชิน  การนั่งในมัสยิดเพื่อรอคอยการละหมาดสำหรับบางคนคือการทำให้เวลาหมดไปเท่านั้น  และการอ่านที่ยาวนานของอิหม่ามในละหมาดเป็นเพียงการทำให้เหน็ดเหนื่อยแก่บรรดาผู้ละหมาด บรรดาผู้ทำนุบำรุงบ้านของอัลลอฮฺ  ความรู้สึกถึงความน่าเกรงขาม ความยิ่งใหญ่ และความศักสิทธิ์ของสถานที่ได้สูญสิ้นไป หัวใจที่ว่างเปล่าและเหือดแห้งจากความรู้สึกถึงความสำคัญของผู้เกี่ยวข้องกับสถานที่แห่งนี้ 

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

﴿ وَمَا قَدَرُوا اللَّهَ حَقَّ قَدْرِهِ [الأنعام: 91]

 

และพวกเขา มิได้ให้ความยิ่งใหญ่แก่อัลลอฮฺตามควรแก่ความยิ่งใหญ่ของพระองค์

 

﴿ ذَلِكَ وَمَنْ يُعَظِّمْ شَعَائِرَ اللَّهِ فَإِنَّهَا مِنْ تَقْوَى الْقُلُوبِ

 

ฉะนั้น ผู้ใดที่ให้เกียรติแก่พระบัญญัติของอัลลอฮฺ แท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งแห่งการยำเกรงของจิตใจ

 

﴿ ذَلِكَ وَمَنْ يُعَظِّمْ حُرُمَاتِ اللَّهِ فَهُوَ خَيْرٌ لَهُ عِنْدَ رَبِّهِ

 

เช่นนั้นแหละ และผู้ใดให้เกียรติต่อข้อห้ามทั้งหลายของอัลลอฮฺ มันก็เป็นการดีแก่เขา ที่พระเจ้าของเขา

 

          ดังนั้น มัสยิดมีความศักดิ์สิทธิ์ ไม่อนุญาตให้ละเมิดความศักดิ์สิทธิ์ของมัสยิด ไม่ว่าจะเป็นการซื้อการขาย การติฉินนินทา และการสนทนาในเรื่องดุนยาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ จำเป็นจะต้องปกป้องมัสยิดให้พ้นจากคำพูดที่ไม่ดี หยาบคาย ไร้สาระ และการส่งเสียงดัง 

 

     ท่านซาอี๊ด บิน อัลมุซัยยิบ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่าใครก็ตามที่นั่งร่วมในที่ชุมนุม แท้จริงแล้วเขากำลังนั่งอยู่กับองค์อภิบาลของเขา ดังนั้นเขาไม่มีสิทธิที่จะพูดสิ่งใดนอกจากจะต้องเป็นสิ่งที่ดี

 

          การที่ท่านอยู่ภายในมัสยิดก่อนการละหมาด คือโอกาสสำหรับความสำเร็จด้วยกับรางวัลการตอบแทน ทั้งนี้เนื่องด้วยการขะมักเขม้นอยู่กับการภักดีและการรำลึก -เช่นการอ่านอัลกุรอ่าน การละหมาด และการสดุดีสรรเสริญ ทว่าผู้ที่มาละหมาดบางส่วนละทิ้งความดีเหล่านี้ และสาละวนอยู่กับเรื่องราวคำพูดของผู้คนที่พูดกันไปมา เพราะฉะนั้น บรรดาผู้ที่นั่งอยู่ในมัสยิดไม่ว่าชายหรือหญิง จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามมารยาทของบทบัญญัติ และออกห่างจากสิ่งที่ย้อนแย้งกับการมีมารยาทเหล่านั้น

 

         และส่วนหนึ่งจากการให้ความสำคัญและการให้เกียรติ คือการที่ผู้ศรัทธาเอาใจใส่ต่อการปิดมือถือ  พวกเราทราบดีว่าเป็นธรรมดาของผู้คนที่เขาจะหลงลืม แต่การลืมปิดมือถือ ครั้ง สองครั้ง สามครั้ง ลืมปิดตลอด แล้วไหนเล่าคือการเข้าหาอัลลอฮฺอย่างจริงใจ ? ไหนเล่าการให้ความยิ่งใหญ่ต่อพระองค์ ? ไหนเล่าความละอายต่ออัลลอฮฺ และบรรดาปวงบ่าวผู้ละหมาดของพระองค์ ? ไหนเล่าการให้เกียรติต่อบ้านของพระองค์ ?

 

          นี่คือบ้านของอัลลอฮฺ โอ้พี่น้องผู้มีเกียรติ , บ้านของอัลลอฮฺมีความศักดิ์สิทธิและข้อห้าม อัลลอฮฺทรงพาดพิงสู่พระพักต์ของพระองค์ .... และฉันไม่รู้ว่าในขณะที่ละหมาด หัวใจของพวกเขาจะอยู่กับการละหมาดอย่างไรในเมื่อพวกเขายังให้ความสำคัญและยุ่งอยู่กับโทรศัพท์ของเขา ?

 

          และจากความรักและการให้ความยิ่งใหญ่ต่อมัสยิด  คือการทำความสะอาด และการบำรุงรักษาและซ่อมแซมมัสยิด ผู้คนมากมายในหมู่พวกเรา เอาใจใส่ต่อความสะอาดบ้านของเขา และทำให้มันใหม่เป็นระยะๆ ตามช่วงเวลา  ในหมู่พวกเรามีผู้ที่ทุ่มเทอย่างมากมายในเรื่องเหล่านี้ แต่เป็นที่น่าเสียใจว่าเราไม่ได้เอาใจใส่และให้ความสำคัญต่อความสะอาด การบำรุงรักษา ตระเตรียมเครื่องใช้ที่จำเป็นแก่มัสยิด และการกระทำของเราเหมือนกับเรากำลังกล่าวว่าแน่นอน สำหรับมัสยิดนั้น มีอัลลอฮฺคอยดูแลอยู่แล้ว

 

          ความสะอาดของมัสยิด และการเอาใจใส่ในเรื่องดังกล่าว คือการเอาใจใส่ต่อสถานที่ที่อัลลอฮฺทรงรักยิ่งที่สุด และมันคือความดีทั้งหลายที่บ่าวจะได้รับรางวัลการตอบแทน ด้วยเหตุนี้เอง อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

﴿ فِي بُيُوتٍ أَذِنَ اللَّهُ أَنْ تُرْفَعَ وَيُذْكَرَ فِيهَا اسْمُهُ يُسَبِّحُ لَهُ فِيهَا بِالْغُدُوِّ وَالْآصَالِ [النور: 36]،

 

     “ในบรรดาบ้าน (หมายถึงมัสยิด) อัลลอฮฺทรงอนุญาตให้เทิดพระเกียรติ และให้นามของพระองค์ถูกรำลึกอยู่เสมอ เพื่อที่จะแซ่ซร้องสดุดีแด่พระองค์ในนั้น ทั้งในยามเช้าและยามพลบค่ำ

 

          การเทิดเกียรติมัสยิด คือการให้ความยิ่งใหญ่และให้ความสำคัญต่อมัสยิด ทำให้มัสยิดสะอาดจากสิ่งสกปรก และการดูแลรักษามัสยิดให้พ้นจากสิ่งที่ไม่เหมาะไม่ควร จึงมิใช่การให้ความสำคัญและยิ่งใหญ่แก่มัสยิด การที่ปล่อยให้มัสยิดเปราะเปื้อน ปล่อยปะละเลยให้การกระทำและสิ่งที่ไม่เหมาะสมอยู่ในมัสยิด

 

          ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ชี้แจงเอาไว้ว่า การขจัดสิ่งสกปรกและสิ่งที่เป็นอันตรายออกจากถนนหนทางและสถานที่ต่างๆนั้น คือความดีอันยิ่งใหญ่ โดยที่ท่านนบี ซ็อลฯ ได้กล่าวในฮาดีษที่บันทึกโดยอิหม่ามมุสลิมว่า

 

:(عُرِضَت عليَّ أعمالُ أمَّتي، حسنُها وسيِّئُها، فوجدتُ في محاسنِ أعمالِها الأذى يماطُ عنِ الطَّريقِ)

 

     “การงานต่างๆของประชาชาติของฉันได้ถูกนำเสนอแก่ฉัน , การงานที่ดีและการงานที่ไม่ดี , แล้วฉันได้พบว่าในบรรดาการงานที่ดีเหล่านั้นคือ อันตรายที่ถูกขจัดออกจากถนนหนทาง

          ดังนั้นเมื่อสิ่งเหล่านั้นอยู่ในมัสยิดและถนนหนทางที่ไปสู่มัสยิดก็ย่อมสมควรกว่า (ที่จะขจัดออกไป)


         ได้มีบันทึกโดยอิหม่ามบุคอรีและอิหม่ามมุสลิม จากท่านอบีฮุร็อยเราะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ว่ามีหญิงผิวดำคนหนึ่งได้ทำหน้าที่ทำความสะอาดมัสยิด แล้วท่านร่อซู้ล ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่พบเจอนาง ท่านจึงได้ถามถึงนาง พวกเขา (บรรดาซอฮาบะฮฺ) กล่าวว่า นางได้เสียชีวิตลงแล้ว ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

أفلا كنتم آذنتموني (كأنهم استصغروا أمرها فلم يخبروه) فقال: دلوني على قبرها، فدلوه فصلى عليها"”

 

     “ทำไมพวกท่านจึงไม่แจ้งฉัน (เหมือนกับว่าพวกเขาเห็นว่าเรื่องราวการเสียชีวิตของนางมิได้สำคัญ พวกเขาจึงมิได้แจ้งกับท่านนบี

     แล้วท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า จงบอกฉันถึงหลุมฝังศพของนาง 

     พวกเขาจึงได้บอกท่านนบี แล้วท่านนบีก็ได้ละหมาดให้แก่นาง

 

          พวกท่านทั้งหลายพึงพิจารณาท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เถิด  ท่านถามถึงหญิงคนดังกล่าว และท่านละหมาดให้แก่นาง เพราะนางเป็นผู้กระทำความดี  ดังนั้นเมื่อผู้ที่ทำหน้าที่ทำความสะอาดมัสยิดยังได้รับสิ่งเหล่านี้ แล้วผู้ที่กระทำมากกว่านี้จะได้รับความดีมากมายเพียงใด ?

          เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นสำหรับพวกเรา ในฐานะมุสลิม คือความยำเกรงของพวกเราต่ออัลลอฮฺในบรรดาบ้านของพระองค์ การที่เราทำนุบำรุง และปกปักษ์รักษาขอบเขตข้อห้ามของมัสยิดอย่างสุดความสามารถที่จะทำได้ 

 

الخطبة الثانية

الحمد لله والصلاة والسلام على رسول الله.

جاء رجلٌ يتخطَّى رقابَ الناسِ يومَ الجمعة، والنَّبيُّ صلى اللهُ عليه وسلمَ يخطب، فقال النَّبيُّ صلَّى اللهُ عليه وسلَّمَ: "اجلِسْ فقد آذَيتَ، وآنَيْتَ".

 

     “มีชายคนหนึ่งก้าวข้ามคอผู้คนเข้ามาในวันศุกร์ ขณะที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กำลังคุฏบะฮฺอยู่ 

    แล้วท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ก็กล่าวแก่เขาว่าจงนั่งเถิด เจ้าได้สร้างความรำคาญ และขณะเดียวกันเจ้าก็มาช้าด้วย”” 

     หมายถึง ด้วยกับการที่ท่านมาล่าช้า , ท่านได้สร้างความเดือดร้อนให้แก่บรรดามุสลิมด้วยการก้าวข้ามคอของผู้คน

 

         เพราะฉะนั้น ดังที่สำหรับมัสยิดมีข้อห้าม  สำหรับมุสลิมก็มีข้อห้ามเช่นกัน การสร้างความเดือดร้อนแก่บรรดามุสลิมถือเป็นความผิดที่ใหญ่หลวงที่ผู้กระทำจะได้รับ และความผิดบาปอาจจะเพิ่มขึ้นการลงโทษอาจรุนแรงขึ้นตามความสำคัญของช่วงเวลา สถานที่ หรือโอกาสต่างๆ และในเรื่องนี้เอง ถือเป็นการบ่งถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในมัสยิดหรือนอกมัสยิด 

 

          กี่มากน้อยมาแล้วที่การก่อความเดือดร้อนการอธรรม การเห็นแก่ตัว การรังเกียจ การเป็นศัตรู ได้เกิดขึ้น ท่านจงกล่าวถึงมารยาทอันเลวทรามตามที่ท่านต้องการเถิด  ทั้งหลายเหล่านั้นได้รวมอยู่ในมนุษย์บางคน ทั้งภายในมัสยิดหรือนอกมัสยิด

     แท้จริงท่านร่อซู้ล ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้สอนพวกเราเกี่ยวกับมารยาท , ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

"إنما بعثت لأتمم مكارم الأخلاق"

 

แท้จริง ฉันได้ถูกบังเกิด(ประทาน)เพื่อทำให้จริยธรรมอันดีงามมีความสมบูรณ์

 

     และท่านนบี ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวไว้อีกว่า

 

: "لا يؤمن أحدكم حتى يحبَّ لأخيه ما يحب لنفسه"

 

     “คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านจะยังไม่ศรัทธา (อย่างสมบูรณ์) จนกว่าเขาจะชอบที่จะให้ได้แก่พี่น้องของเขาเสมือนกับที่เขาชอบที่จะให้ได้แก่ตัวเขาเอง

 

: "المسلم من سلم المسلمون من لسانه ويده

 

มุสลิม คือผู้ที่บรรดามุสลิมทั้งหลายปลอดภัยจากลิ้น (คำพูด) ของเขา และมือ (การกระทำ) ของเขา

 

:"مَنْ أَحَبَّ أَنْ يُزَحْزَحَ عَنِ النَّارِ وَيَدْخُلَ الْجَنَّةَ، فَلْتُدْرِكْهُ مَنِيَّتُهُ وَهُوَ مُؤْمِنٌ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الْآخِرِ، وَيَأْتِي إِلَى النَّاسِ الَّذِي يُحِبُّ أَنْ يُؤْتَى إِلَيْهِ".

 

     “ใครชอบที่จะหลีกเลี่ยง (หันห่าง) จากไฟนรก และถูกนำเข้าสวรรค์ไป ก็จงอยู่ในสภาพที่เมื่อความตายมายังเขาแล้ว เขาเป็นผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันปรโลก และปฏิบัติต่อมนุษย์ทั้งหลายในสิ่งที่ตนเองชอบที่จะให้ผู้คนปฏิบัติต่อเขา

 

          ดังนั้น สุดท้ายนี้ จำเป็นแก่พวกเราที่จะต้องทำให้มัสยิดกลับมามีบทบาทและฐานะของมัน เป็นดั่งเบ้าหลอมที่ทำให้หัวใจและจิตวิญญาณของบรรดามุอฺมินหลอมรวมกัน ทำให้ระยะห่างระหว่างพวกเขาหมดสิ้นไป เพื่อบรรลุสู่เจตนารมณ์แห่งความเอาใจใส่ ความเสมอภาค ความเป็นพี่น้อง และความรักที่มีให้กันและกัน 

 

https://www.alukah.net/sharia/0/94243/

 

 

คุตบะห์วันศุกร์