มารยาทในการเยี่ยมคนไข้
  จำนวนคนเข้าชม  32725

มารยาทในการเยี่ยมคนไข้

คุณค่าของการเยี่ยมคนไข้

1.มีรายงานจากเษาบานซึ่งเป็นคนรับใช้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า :

« مَنْ عَادَ مَرِيضًا لَمْ يَزَلْ فِى خُرْفَةِ الْجَنَّةِ حَتَّى يَرْجِعَ ».

ความว่า : “ผู้ใดเดินทางไปเยี่ยมคนไข้เขาจะคงอยู่ในสภาพของผู้ที่เก็บเกี่ยวผลพวงแห่งสรวงสวรรค์จนกว่าเขาจะเดินทางกลับ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2568)

2.มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า:

« مَنْ عَادَ مَرِيضًا أَوْ زَارَ أَخًا لَهُ فِى اللَّهِ نَادَاهُ مُنَادٍ أَنْ طِبْتَ وَطَابَ مَمْشَاكَ وَتَبَوَّأْتَ مِنَ الْجَنَّةِ مَنْزِلاً ». 
  
ความว่า : “ผู้ใดไปเยี่ยมคนไข้หรือเยี่ยมเพื่อนคนหนึ่งในแนวทางของอัลลอฮฺ จะมีคนกู่เรียกเขาว่า “ท่านเป็นคนดีแล้ว การเดินทางของท่านดีแล้ว และท่านได้เตรียมบ้านในสวรรค์แล้ว" (หะสัน  บันทึกโดยอัตติรมิซีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 2008  เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมิซีย์ หมายเลข 1633 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 1443  เศาะฮีหฺสุนันอิบนิมาญะฮฺ หมายเลข 1184)

3.จากอะลี   เล่าว่า :

سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- يَقُولُ « مَنْ أَتَى أَخَاهُ الْمُسْلِمَ عَائِدًا مَشَى فِى خِرَافَةِ الْجَنَّةِ حَتَّى يَجْلِسَ فَإِذَا جَلَسَ غَمَرَتْهُ الرَّحْمَةُ فَإِنْ كَانَ غُدْوَةً صَلَّى عَلَيْهِ سَبْعُونَ أَلْفَ مَلَكٍ حَتَّى يُمْسِىَ وَإِنْ كَانَ مَسَاءً صَلَّى عَلَيْهِ سَبْعُونَ أَلْفَ مَلَكٍ حَتَّى يُصْبِحَ ».   

ความว่า : ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ  กล่าวว่า “ผู้ใดไปเยี่ยมเพื่อนมุสลิมของเขา เขาจะเดินท่ามกลางผลพวงที่พร้อมเก็บในสรวงสวรรค์จนกว่าเขาจะนั่งลง และเมื่อเขานั่งลงเราะฮฺมัต(ความเมตตาของอัลลอฮฺ)ก็จะปกคลุมเขา หากเขาไปในตอนเช้าเหล่ามะลาอิกะฮฺจำนวนเจ็ดหมื่นจะขออภัยโทษให้แก่เขาจนกระทั่งถึงเวลาเย็น และหากเขาไปในเวลาค่ำเหล่ามะลาอิกะฮฺจำนวนเจ็ดหมื่นจะขออภัยโทษให้แก่เขาจนกระทั่งถึงเวลาเช้า” (เศาะฮีหฺ  บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 3098  เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 2655 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺตามสำนวนนี้ หมายเลข 1442  เศาะฮีหฺสุนันอิบนิมาญะฮฺ หมายเลข 1183)


กฎของการเยี่ยมคนไข้

จากอัลบัรรออ์ บินอาซิบ เล่าว่า :

أَمَرَنَا النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - بِسَبْعٍ، وَنَهَانَا عَنْ سَبْعٍ أَمَرَنَا بِاتِّبَاعِ الْجَنَائِزِ، وَعِيَادَةِ الْمَرِيضِ، وَإِجَابَةِ الدَّاعِى، وَنَصْرِ الْمَظْلُومِ، وَإِبْرَارِ الْقَسَمِ، وَرَدِّ السَّلاَمِ، وَتَشْمِيتِ الْعَاطِسِ. وَنَهَانَا عَنْ آنِيَةِ الْفِضَّةِ، وَخَاتَمِ الذَّهَبِ، وَالْحَرِيرِ، وَالدِّيبَاجِ، وَالْقَسِّىِّ، وَالإِسْتَبْرَقِ   
 
ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ได้สั่งให้เราทำเจ็ดอย่าง และห้ามไม่ให้เราทำเจ็ดอย่าง สั่งให้เราตามส่งศพไปสู่กุโบร์ ให้เยี่ยมผู้ป่วย ให้ตอบรับผู้เชิญชวน ให้ช่วยเหลือผู้ถูกกลั่นแกล้ง(ถูกอธรรม) ให้ทำตามที่สาบาน ให้กล่าวตอบสลาม และให้ขอดุอาให้แก่ผู้จาม และท่านได้ห้ามเราไม่ให้ใช้ภาชนะเงิน แหวนทอง ผ้าไหมหยาบ ผ้าไหมบริสุทธิ์ ผ้าก็อซซี่ (คือผ้าชนิดหนึ่งที่ปนกับไหม) และผ้าอิสติบร็อก(ผ้าชนิดหนึ่งที่มีไหมปนอยู่). (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ  บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 1239  และมุสลิม หมายเลข 2066)


คำที่ควรกล่าวเมื่อเห็นผู้ตกทุกข์

มีรายงานจากอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า :

« من رأى مبتلى فقال : الحَمْدُ للهِ الَّذِي عَافَانِي مِمَّا ابْتَلاَكَ بِهِ، وَفَضَّلَنِي عَلَى كَثِيرٍ مِمَّنْ خَلَقَ نَفْضِيلاً؛ لَمْ يُصِبْهُ ذلِكَ البَلاءُ ». 
 
ความว่า : “ผู้ใดเห็นคนตกทุกข์(ประสบกับบททดสอบเช่นเป็นโรค พิการ หรืออื่นๆ) แล้วกล่าวว่า

الحَمْدُ للهِ الَّذِي عَافَانِي مِمَّا ابْتَلاَكَ بِهِ، وَفَضَّلَنِي عَلَى كَثِيرٍ مِمَّنْ خَلَقَ نَفْضِيلاً

(แปลว่า ขอขอบคุณอัลลอฮฺที่ทรงให้ฉันเป็นสุขจากสิ่งที่ท่านประสบและทรงให้ความเป็นพิเศษอย่างเหลือล้นแก่ฉันมากกว่าหลายสรรพสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง) ทุกข์นั้นก็จะไม่ตกถึงเขา” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัลเฏาะบาเราะนีย์ ในอัลเอาส็อฏ หมายเลข 5320  ดู อัลสิลสิละฮฺ อัลเศาะฮีหฺะฮฺ หมายเลข 2737)


ผู้เยี่ยมผู้ป่วยควรนั่งตรงไหน ?

จากอิบนุอับบาส เล่าว่า :

كان النبيُّ - صلى الله عليه وسلم - إذا عادَ المَرِيضَ جَلَسَ عِنْدَ رَأْسِهِ

ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  นั้น เมื่อท่านเยี่ยมผู้ป่วยท่านจะนั่งตรงศีรษะของเขา (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ในอัลอะดับอัลมุฟรัด หมายเลข 546 เศาะฮีหฺอัลอะดับอัลมุฟรัด หมายเลข 416)


ดุอาที่ควรขอให้แก่ผู้ป่วยในตอนไปเยี่ยมเขา

1.มีรายงานจากอิบนุอับบาส  ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ได้กล่าวว่า :

« مَنْ عَادَ مَرِيضًا لَمْ يَحْضُرْ أَجَلُهُ فَقَالَ عِنْدَهُ سَبْعَ مِرَارٍ: أَسْأَلُ اللَّهَ الْعَظِيمَ، رَبَّ الْعَرْشِ الْعَظِيمِ، أَنْ يَشْفِيَكَ؛ إِلاَّ عَافَاهُ اللَّهُ مِنْ ذَلِكَ الْمَرَضِ ».  
 
ความว่า : “ผู้ใดไปเยี่ยมผู้ป่วยที่คาดว่าชะตาของเขายังไม่ถึงคาด แล้วกล่าวใกล้ตัวเขาเจ็ดครั้งว่า

أَسْأَلُ اللَّهَ الْعَظِيمَ، رَبَّ الْعَرْشِ الْعَظِيمِ، أَنْ يَشْفِيَكَ

(แปลว่า ฉันขอจากอัลลอฮฺผู้ยิ่งใหญ่ ผู้เป็นเจ้าบัลลังอันยิ่งใหญ่โปรดให้ท่านฟื้นจากไข้) อัลลอฮฺก็จะให้เขาหายจากโรคนั้น (เศาะฮีหฺ  บันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 3106  เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 2663  และบันทึกโดยอัตติรมิซีย์ หมายเลข 2083  เศาะฮีหฺสุนันอัตติรมิซีย์ หมายเลข 1698)

2.มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ บินอัมรฺ  ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ได้กล่าวว่า :

« إِذَا جَاءَ الرَّجُلُ يَعُودُ مَرِيضًا فَلْيَقُلِ: اللَّهُمَّ اشْفِ عَبْدَكَ يَنْكَأُ لَكَ عَدُوًّا، أَوْ يَمْشِى لَكَ إِلَى صَلاَةٍ ». 

ความว่า : “เมื่อชายคนหนึ่งไปเยี่ยมผู้ป่วย เขาจงกล่าวว่า

اللَّهُمَّ اشْفِ عَبْدَكَ يَنْكَأُ لَكَ عَدُوًّا، أَوْ يَمْشِى لَكَ إِلَى صَلاَةٍ

(แปลว่า โอ้พระองค์อัลลอฮฺ ขอโปรดทรงทำให้บ่าวของพระองค์ฟื้นจากไข้เพื่อเขาจะได้เอาชนะศัตรูเพื่อพระองค์ หรือเดินไปละหมาดเพื่อพระองค์) (หะสัน บันทึกโดยอะหมัด หมายเลข 6600  ดู อัลสิลสิละฮฺ อัลเศาะฮีหะฮฺ หมายเลข 1365 และบันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 3107  เศาะฮีหฺสุนันอบีดาวูด หมายเลข 2664 )

3.มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ  ว่า :

أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - كَانَ إِذَا أَتَى مَرِيضًا - أَوْ أُتِىَ بِهِ - قَالَ « أَذْهِبِ الْبَأسَ رَبَّ النَّاسِ ، اشْفِ وَأَنْتَ الشَّافِى لاَ شِفَاءَ إِلاَّ شِفَاؤُكَ ، شِفَاءً لاَ يُغَادِرُ سَقَمًا » 

ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  นั้น เมื่อท่านไปเยี่ยมคนไข้ หรือมีคนพาคนไข้ไปหาท่าน ท่านจะกล่าวว่า

أَذْهِبِ الْبَأسَ رَبَّ النَّاسِ ، اشْفِ وَأَنْتَ الشَّافِى لاَ شِفَاءَ إِلاَّ شِفَاؤُكَ ، شِفَاءً لاَ يُغَادِرُ سَقَمًا

(แปลว่า ขอโปรดทรงรักษาไข้ให้หายด้วยเถิดโอ้พระผู้อภิบาลของมนุษย์ ! ขอโปรดทรงรักษาไข้ด้วยเถิด เพราะพระองค์คือผู้รักษา ไม่มีการหายป่วยนอกจากด้วยการรักษาของพระองค์ เป็นการหายป่วยที่ไม่ปล่อยทิ้งโรคข้างเคียงใดๆ ตามมา(หรือเมื่อเป็นโรคอีกอัลลอฮฺก็จะทรงให้หายอีก) ) (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ  บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5675  และมุสลิม หมายเลข 2191)

4.จากอิบนุอับบาสเล่าว่า :

:... وَكَانَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - إِذَا دَخَلَ عَلَى مَرِيضٍ يَعُودُهُ قَالَ « لاَ بَأْسَ طَهُورٌ إِنْ شَاءَ اللَّهُ »
    
ความว่า : ท่านนะบี  นั้น เมื่อท่านเข้าเยี่ยมผู้ป่วย ท่านจะกล่าวว่า

لاَ بَأْسَ طَهُورٌ إِنْ شَاءَ اللَّهُ

(แปลว่า ไม่เป็นไรแล้ว (ไม่มีบาปแล้ว) หายแล้ว (มันได้ชำระล้างบาปแล้ว) อินชาอัลลอฮฺ) (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 3616)


ผู้หญิงเยี่ยมผู้ป่วยชายได้เมื่อปลอดจากฟิตนะฮฺ 

จากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เล่าว่า :

لَمَّا قَدِمَ رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - وُعِكَ أَبُو بَكْرٍ وَبِلاَلٌ قَالَتْ فَدَخَلْتُ عَلَيْهِمَا فَقُلْتُ يَا أَبَتِ كَيْفَ تَجِدُكَ ؟ وَيَا بِلاَلُ كَيْفَ تَجِدُكَ ؟...قَالَتْ عَائِشَةُ فَجِئْتُ رَسُولَ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - فَأَخْبَرْتُهُ فَقَالَ «اللَّهُمَّ حَبِّبْ إِلَيْنَا الْمَدِينَةَ كَحُبِّنَا مَكَّةَ أَوْ أَشَدَّ وَصَحِّحْهَا وَبَارِكْ لَنَا فِى صَاعِهَا وَمُدِّهَا وَانْقُلْ حُمَّاهَا فَاجْعَلْهَا بِالْجُحْفَةِ » .

ความว่า : เมื่อท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ไปถึงยังมะดีนะฮฺใหม่ ๆ นั้น อบูบักรฺและบิลาลได้ป่วย นางเล่าต่อว่า ฉันจึงเข้าหาทั้งสองและถามว่า โอ้ท่านพ่อ ท่านรู้สึกอย่างไรบ้าง ? โอ้ท่านบิลาล ท่านรู้สึกอย่างไรบ้าง ? ท่านหญิงอาอิชะฮฺเล่าต่อว่า แล้วฉันเลยไปหาท่านเราะสูลุลลอฮฺและเล่าเรื่องความป่วยของทั้งสองแก่ท่าน ท่านจึงกล่าวว่า “โอ้พระองค์อัลลอฮฺ ! ขอโปรดทรงให้เรารักเมืองมะดีนะฮฺเหมือนความรักของเราที่มีต่อเมืองมักกะฮฺหรือมากกว่านั้น โอ้พระองค์อัลลอฮฺ ! ขอโปรดทรงประทานพลานามัยที่ดี โปรดทรงประทานความจำเริญให้แก่เราในกอบกำและทะนาน (การค้าขาย) ของมัน (เมืองมะดีนะฮฺ) และขอโปรดทรงย้ายโรคภัยของมันออกไปอยู่ที่ญุหฺฟะฮฺ” (ญุหฺฟะฮฺ คือ สถานที่แห่งหนึ่งตั้งอยู่ห่างจากเมืองมักกะฮฺราวหกไมล์ เป็นมีก้อตหรือสถานที่เริ่มต้นประกอบอุมเราะฮฺสำหรับชาวชาม (ซีเรีย จอร์แดน เลบานอน ปาเลสไตน์) และเป็นสถานที่ที่มีกิตติศัพท์ในด้านโรคภัยไข้เจ็บซึ่งทุกคนที่ผ่านที่นั่นส่วนใหญ่จะป่วยเป็นไข้ - ดู ฟัตหุลบารีย์ ในการอธิบายหะดีษที่ 1524 – ผู้แปล) (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ  บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5654  และมุสลิม หมายเลข 1376)

มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม บิน อับดุลลอฮฺ อัต-ตุวัยญิรีย์


محمد بن إبراهيم بن عبدالله التويجري

المصدر: كتاب مختصر الفقه الإسلامي

المكتب التعاوني للدعوة وتوعية الجاليات بالربوة بمدينة الرياض

ติดตามต่อตอน 2 >>>>Click