มารยาทการดื่มกิน
  จำนวนคนเข้าชม  63480


มารยาทการดื่มกิน


อาหารของมุสลิม : ต้องดีและเป็นที่อนุมัติ

1.อัลลอฮฺได้กล่าวว่า :

«يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُواْ كُلُواْ مِن طَيِّبَاتِ مَا رَزَقْنَاكُمْ وَاشْكُرُواْ لِلّهِ إِن كُنتُمْ إِيَّاهُ تَعْبُدُونَ» (البقرة : 172)

ความว่า : โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย สูเจ้าจงบริโภคสิ่งที่ดีจากสิ่งที่เราได้ประทานแก่สูเจ้า และจงขอบคุณต่ออัลลอฮฺ หากสูเจ้าเคารพสักการะแต่เพียงต่อพระองค์ (อัลบะเกาะเราะฮฺ : 172)

2.อัลลอฮฺได้กล่าวว่า :

«الَّذِينَ يَتَّبِعُونَ الرَّسُولَ النَّبِيَّ الأُمِّيَّ الَّذِي يَجِدُونَهُ مَكْتُوباً عِندَهُمْ فِي التَّوْرَاةِ وَالإِنْجِيلِ يَأْمُرُهُم بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَاهُمْ عَنِ الْمُنكَرِ وَيُحِلُّ لَهُمُ الطَّيِّبَاتِ وَيُحَرِّمُ عَلَيْهِمُ الْخَبَآئِثَ وَيَضَعُ عَنْهُمْ إِصْرَهُمْ وَالأَغْلاَلَ الَّتِي كَانَتْ عَلَيْهِمْ فَالَّذِينَ آمَنُواْ بِهِ وَعَزَّرُوهُ وَنَصَرُوهُ وَاتَّبَعُواْ النُّورَ الَّذِيَ أُنزِلَ مَعَهُ أُوْلَـئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ» (الأعراف : 157)

ความว่า : คือ บรรดาผู้ปฏิบัติตามเราะซูลผู้เป็นนบีที่เขียนอ่านไม่เป็นดังที่พวกเขาพบเขา (นบี) ถูกจารึกไว้ ณ.ที่พวกเขา ทั้งในอัล-เตารอต และในอัล-อินญีล โดยที่เขา (นบี) จะใช้พวกเขาให้กระทำในสิ่งที่ชอบและห้ามพวกเขามิให้กระทำในสิ่งที่ไม่ชอบและจะอนุมัติสิ่งที่ดี ๆให้แก่พวกเขา และจะให้เป็นที่ต้องห้ามแก่พวกเขาซึ่งสิ่งที่เลวทั้งหลาย และจะปลดเปลื้องออกจากพวกเขาซึ่งภาระหนักของพวกเขาและห่วงคอที่ปรากฏอยู่บนพวกเขา ดังนั้น บรรดาผู้ที่ศรัทธาต่อเขา ยกย่องเชิดชูและช่วยเหลือเขา อีกทั้งยังปฏิบัติตามแสงสว่างที่ถูกประทานลงมาแก่เขาแล้วไซร้ ชนเหล่านี้แหละคือบรรดาผู้ที่สำเร็จ (อัล-อะอฺรอฟ : 157)

การกล่าวบิสมิลลาฮฺก่อนทานอาหารและเริ่มรับประทานสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวก่อน

1.จากอุมัร บินอบีสะละมะฮฺกล่าวว่า :

كُنْتُ غُلاَمًا فِى حَجْرِ رَسُولِ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - وَكَانَتْ يَدِى تَطِيشُ فِى الصَّحْفَةِ فَقَالَ لِى رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم - « يَا غُلاَمُ سَمِّ اللَّهَ ، وَكُلْ بِيَمِينِكَ وَكُلْ مِمَّا يَلِيكَ » . فَمَا زَالَتْ تِلْكَ طِعْمَتِى بَعْدُ .

ความว่า : ฉันเคยเป็นเด็กอยู่ในบ้านของท่านเราะสูลุลลอฮฺ  และ (ในตอนกินอาหาร) มือของฉันคลำแตะทั่วถาด ท่านเราะสูลุลลอฮฺจึงบอกกับฉันว่า “โอ้ เด็กเอ๋ย จงกล่าวบิสมิลลาฮฺ และจงทานด้วยมือขวาของเจ้า และจงทานสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเจ้าก่อน” แล้วหลังจากนั้น มันก็กลายเป็นความเคยชินของฉันตลอดมา (อัลบุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5376 และมุสลิม หมายเลข 2022)

2.อิบนุมัสอูด กล่าวว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ได้กล่าวว่า:

« مَنْ نَسِيَ أَنْ يَذْكُرَ اللهَ في أَوَّلِ طَعَاِمهِ فَلْيَقُلْ بِسْمِ اللَّهِ فِى أَوَّلِهِ وَآخِرِهِ ، فإنَّهُ يَسْتَقْبِلُ طَعَامَهُ جَدِيدًا، ويَمْنَعُ الخَبِيثَ ما كانَ يُصِيبُ مِنْهُ ».

ความว่า : ผู้ใดที่ลืมกล่าวถึงอัลลอฮฺในตอนแรกของ (การรับประทาน) อาหารของเขา ขอให้เขาจงกล่าวว่า “บิสมิลลาฮฺ ฟี เอาวะลิฮิ วะอาคิริฮฺ” เพราะทำให้เขาเริ่มรับประทานใหม่และป้องกันไม่ให้ (ชัยฏอน)ตัวร้ายได้รับส่วนแบ่งจาก (อาหาร) นั้น (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอิบนุหิบบาน หมายเลข 5213 และบันทึกโดยอิบนุสุนนีย์ หมายเลข 461 ดู อัลสิลสิละฮฺ อัลเศาะฮีหฺะฮฺ หมายเลข 198)

การกินและดื่มด้วยมือขวา

มีรายงานจากอิบนุอุมัร ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ได้กล่าวว่า :

«إِذَا أَكَلَ أَحَدُكُمْ فَلْيَأْكُلْ بِيَمِينِهِ وَإِذَا شَرِبَ فَلْيَشْرَبْ بِيَمِينِهِ فَإِنَّ الشَّيْطَانَ يَأْكُلُ بِشِمَالِهِ وَيَشْرَبُ بِشِمَالِهِ».

ความว่า : เมื่อผู้ใดในพวกท่านจะกินก็จงกินด้วยมือขวา และเมื่อจะดื่มก็จงดื่มด้วยมือขวา เพราะแท้จริงแล้วชัยฏอนนั้นจะกินด้วยมือซ้ายและจะดื่มด้วยมือซ้าย (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2020)

การหายใจนอกภาชนะในตอนดื่ม

จากอนัส กล่าวว่า :

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- يَتَنَفَّسُ فِى الشَّرَابِ ثَلاَثًا وَيَقُولُ «إِنَّهُ أَرْوَى وَأَبْرَأُ وَأَمْرَأُ». قَالَ أَنَسٌ فَأَنَا أَتَنَفَّسُ فِى الشَّرَابِ ثَلاَثًا.

ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  จะหยุดเพื่อหายใจสามครั้งเมื่อดื่มเครื่องดื่ม โดยท่านกล่าวว่า “มันทำให้อิ่มกว่า ปลอดภัยกว่า และน่าดูกว่า” อนัสกล่าวว่า ฉันเองจึงหยุดเพื่อหายใจสามครั้งเมื่อฉันดื่ม (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 5631 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 2028)

จะรินเครื่องดื่มให้คนอื่นอย่างไร ?

มีรายงานจากอนัส บินมาลิก ว่า :

أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- أُتِىَ بِلَبَنٍ قَدْ شِيبَ بِمَاءٍ وَعَنْ يَمِينِهِ أَعْرَابِىٌّ وَعَنْ يَسَارِهِ أَبُو بَكْرٍ فَشَرِبَ ثُمَّ أَعْطَى الأَعْرَابِىَّ وَقَالَ « الأَيْمَنَ فَالأَيْمَنَ ».

ความว่า : มีคนนำนมที่ผสมกับน้ำมาให้แก่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  โดยที่ด้านขวาของท่านมีชายเบดูอินอยู่ และที่ด้านขวามีอบูบักรฺอยู่ ท่านจึงดื่มแล้วยื่นให้ชายเบดูอินนั้น และกล่าวว่า “ด้านขวาแล้วก็ด้านขวา” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 2352 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 2029)

ไม่ดื่มพลางยืน

1. มีรายงานจากอบีสะอีด อัลคุดรียฺ ว่า :

أَنَّ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- زَجَرَ عَنِ الشُّرْبِ قَائِمًا.

ความว่า : ท่านนบี  ได้ห้ามการดื่มพลางยืน (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2025)

2.มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺ ว่า :

أنَّ النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- رَآى ِرَجُلاً يَشْرَبُ قَائِماً فقالَ لَهُ:«قِه». قَالَ: لِمَه؟ قَالَ :«أَيَسُرُّكَ أَنْ يَشْرَبَ مَعَك الْهِرُِّ؟». قَالَ : لا. قَالَ :« فَقَدْ شَرِبَ مَعَكَ مَنْ هُوَ شَرٌّ مِنْهُ الشَّيْطَانُ».

ความว่า : ท่านนบี  ได้เห็นชายคนหนึ่งกำลังยืนดื่ม ท่านเลยกล่าวกับเขาว่า “จงอาเจียนออกซะ” เขาถามว่า “ทำไม่หล่ะ ? ท่านตอบว่า “ท่านชอบหรือที่จะให้แมวดื่มพร้อมกับท่าน ? เขาตอบว่า “ไม่” ท่านกล่าวว่า “ เพราะแท้จริงแล้ว มีตัวที่เลวกว่ามันอีกที่ร่วมดื่มพร้อมกับท่าน มันคือชัยฏอนอย่างไรล่ะ” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอะห์มัด หมายเลข 7990 และบันทึกโดยอัลดาริมีย์ หมายเลข 2052 ดู อัลสิลสิละฮฺ อัลเศาะฮีหฺะฮฺ หมายเลข 175)

ไม่ทานและดื่มในภาชนะทองคำและเงิน

จากหุซัยฟะฮฺ กล่าวว่า :

سَمِعْتُ النَّبِىَّ - صلى الله عليه وسلم - يَقُولُ «لاَ تَلْبَسُوا الْحَرِيرَ وَلاَ الدِّيبَاجَ وَلاَ تَشْرَبُوا فِى آنِيَةِ الذَّهَبِ وَالْفِضَّةِ ، وَلاَ تَأْكُلُوا فِى صِحَافِهَا ، فَإِنَّهَا لَهُمْ فِى الدُّنْيَا وَلَنَا فِى الآخِرَةِ» .

ความว่า : ฉันได้ยินท่านนบี  กล่าวว่า “พวกท่านจงอย่าสวมใส่ผ้าไหมหรือ และจงอย่าดื่มในภาชนะทองคำหรือเงิน และจงอย่าทานในจานของมัน(ทองและเงิน) เพราะมันเป็นของพวกเขา(ผู้ปฏิเสธศรัทธา)ในโลกดุนยาและเป็นของพวกเราในวันอาคิเราะฮฺ” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5426 และมุสลิม หมายเลข 2067

จะทานอาหารอย่างไร ?

1.มีรายงานจากกะบฺ บินมาลิก ว่า :

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- يَأْكُلُ بِثَلاَثِ أَصَابِعَ وَيَلْعَقُ يَدَهُ قَبْلَ أَنْ يَمْسَحَهَا.

ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  นั้นจะกินด้วยสามนิ้ว และจะเลียมือของท่านก่อนที่จะเช็ดมัน (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2032)

2.มีรายงานจากอนัส ว่า :

أَنَّ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- كَانَ إِذَا أَكَلَ طَعَامًا لَعِقَ أَصَابِعَهُ الثَّلاَثَ. قَالَ وَقَالَ «إِذَا سَقَطَتْ لُقْمَةُ أَحَدِكُمْ فَلْيُمِطْ عَنْهَا الأَذَى وَلْيَأْكُلْهَا وَلاَ يَدَعْهَا لِلشَّيْطَانِ ». وَأَمَرَنَا أَنْ نَسْلُتَ الْقَصْعَةَ قَالَ «فَإِنَّكُمْ لاَ تَدْرُونَ فِى أَىِّ طَعَامِكُمُ الْبَرَكَةُ».

ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  นั้น เมื่อท่านกินอาหาร ท่านจะเลียนิ้วของท่านสามครั้ง และท่านได้กล่าวว่า “ เมื่ออาหารคำหนึ่งของพวกท่านคนใดตกหล่น ท่านจงหยิบมาเช็ดสิ่งแปลกปลอมออกและจงกินมัน และอย่าได้ทิ้งมันให้กับชัยฏอน” และท่านยังได้สั่งพวกเราให้กินจนเกลี้ยงชาม ท่านกล่าวว่า “เพราะแท้จริงแล้ว พวกท่านไม่รู้หรอกว่าอาหารชิ้นใดที่เป็นชิ้นที่บะเราะกะฮฺ” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2034)

3.มีรายงานจากอิบนุอุมัร ว่า :

نَهَى رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- أَنْ يَقْرِنَ الرَّجُلُ بَيْنَ التَّمْرَتَيْنِ حَتَّى يَسْتَأْذِنَ أَصْحَابَهُ.

ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ได้ห้ามไม่ให้คนกินอินทผาลัมควบสองเม็ดในคำเดียวจนกว่าเขาจะขออนุญาตเพื่อนๆ ของเขาก่อน (หมายถึง เวลากินอินทผาลัมร่วมกับคนอื่น ให้กินคำละเม็ด ห้ามไม่ให้กินคำเดียวสองเม็ด จนกว่าจะขออนุญาตจากเพื่อนๆ เพราะเป็นการเอาเปรียบคนอื่น และแสดงถึงความตะกละและการไม่มีมารยาท – ผู้แปล) (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 2455 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 2045)

4.มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺว่าท่านนบี  ได้กล่าวว่า :

«لِيَأْكُلْ أَحَدُكُمْ بِيَمِينِهِ وَلْيَشْرَبْ بِيَمِينِهِ وَلْيَأْخُذْ بِيَمِينِهِ وَلْيُعْطِ بِيَمِينِهِ فَإِنَّ الشَّيْطَانَ يَأْكُلُ بِشِمَالِهِ وَيَشْرَبُ بِشِمَالِهِ وَيُعْطِى بِشِمَالِهِ وَيَأْخُذُ بِشِمَالِهِ ».

ความว่า : “พวกท่านทุกคนจงทานด้วยมือขวา และจงดื่มด้วยมือขวา จงรับด้วยมือขวาและจงให้ด้วยมือขวา เพราะแท้จริงแล้วชัยฏอนนั้นจะทานด้วยมือซ้าย ดื่มด้วยมือซ้าย จะให้ด้วยมือซ้าย และจะรับด้วยมือซ้าย” (หะสัน บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 3266 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 2643 ดู อัลสิลสิละฮฺ อัลเศาะฮีหฺะฮฺ หมายเลข 1236)

ปริมาณอาหารที่รับประทาน

จากมิกดาม บิน มะดีกะริบ เล่าว่า :

سَمِعْتُ رَسُولَ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- يَقُولُ «مَا مَلأَ آدَمِىٌّ وِعَاءً شَرًّا مِنْ بَطْنٍ بِحَسْبِ ابْنِ آدَمَ أُكُلاَتٌ يُقِمْنَ صُلْبَهُ فَإِنْ كَانَ لاَ مَحَالَةَ فَثُلُثٌ لِطَعَامِهِ وَثُلُثٌ لِشَرَابِهِ وَثُلُثٌ لِنَفَسِهِ ».

ความว่า : ฉันได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ  กล่าวว่า : “มนุษย์ไม่เคยบรรจุลงในภาชนะอันใดที่เลวยิ่งกว่า(การบรรจุลงใน) ท้อง เพียงพอแล้วสำหรับลูกหลานอาดัมด้วยอาหารเพียงไม่กี่คำที่สามารถจะยกหลังของเขา (หมายถึงสามารถประทังชีวิตและสร้างความแข็งแรงแก่ร่างกาย - ผู้แปล) หรือหากจำเป็นจริง ๆ แล้ว ก็ (จงเตรียมท้องไว้สามส่วน) ส่วนหนึ่งสำหรับอาหาร ส่วนหนึ่งสำหรับเครื่องดื่ม และอีกส่วนหนึ่งสำหรับลมหายใจ” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัลติรมีซีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 2380 เศาะฮีหฺสุนันอัลติรมิซีย์ หมายเลข 1939 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 3349 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 2704)

ไม่ตำหนิอาหาร

จากอบีฮุร็อยเราะฮฺ กล่าวว่า :

مَا عَابَ النَّبِىُّ - صلى الله عليه وسلم - طَعَامًا قَطُّ ، إِنِ اشْتَهَاهُ أَكَلَهُ ، وَإِنْ كَرِهَهُ تَرَكَهُ .

ความว่า : ท่านนบี  ไม่เคยตำหนิอาหารเลย หากท่านชอบท่านก็จะทาน และหากท่านไม่ชอบ ท่านก็จะละจากมันเสีย (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5409 และมุสลิม หมายเลข 2064)

ไม่ทานมากจนเกินไป

มีรายงานจากอิบนุอุมัร ว่าท่านนบี  ได้กล่าวว่า :

«الْكَافِرُ يَأْكُلُ فِى سَبْعَةِ أَمْعَاءٍ وَالْمُؤْمِنُ يَأْكُلُ فِى مِعًى وَاحِدٍ».

ความว่า : “คนกาเฟรเขาจะทาน (อาหาร) ในปริมาณเจ็ดกระเพาะ ส่วนคนมุมินเขาจะทาน (อาหาร) ในปริมาณเพียงกระเพาะเดียว” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 5393 และมุสลิม ตามสำนวนนี้ หมายเลข 2060)

ความประเสริฐของการเลี้ยงอาหารและให้ความช่วยเหลือแก่คนอื่น

มีรายงานจากญาบิร บินอับดุลลอฮฺ ว่าท่านได้ยินท่านเราะสูลุลลอฮฺ  กล่าวว่า :

«طَعَامُ الْوَاحِدِ يَكْفِى الاِثْنَيْنِ وَطَعَامُ الاِثْنَيْنِ يَكْفِى الأَرْبَعَةَ وَطَعَامُ الأَرْبَعَةِ يَكْفِى الثَّمَانِيَةَ».

ความว่า : “อาหารสำหรับหนึ่งคนจะพอสำหรับสองคน อาหารสำหรับสองคนจะพอสำหรับสี่คน และอาหารสำหรับสี่คนจะพอสำหรับแปดคน” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2059)

มีรายงานจากอับดุลลอฮฺ บินอัมร์ ว่า :

أَنَّ رَجُلاً سَأَلَ النَّبِىَّ - صلى الله عليه وسلم - أَىُّ الإِسْلاَمِ خَيْرٌ قَالَ « تُطْعِمُ الطَّعَامَ ، وَتَقْرَأُ السَّلاَمَ عَلَى مَنْ عَرَفْتَ ، وَعَلَى مَنْ لَمْ تَعْرِفْ »

ความว่า : มีชายคนหนึ่งได้ถามท่านนบี  ว่า : (คำสอนของ) อิสลามอันไหนดีที่สุด ? ท่านตอบว่า “ ท่านเลี้ยงอาหารและให้สลามแก่คนที่ท่านรู้จักและคนที่ท่านไม่รู้จัก” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 6236 และมุสลิม หมายเลข 39)

จากอบีอัยยูบ อัลอันศอรียฺ กล่าวว่า :

قَالَ كَانَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- إِذَا أُتِىَ بِطَعَامٍ أَكَلَ مِنْهُ وَبَعَثَ بِفَضْلِهِ إِلَىَّ.

ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  นั้น เมื่อมีคนนำอาหารมาให้ ท่านจะทานส่วนหนึ่ง และจะส่งส่วนที่เหลือมาให้ฉัน (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2053)

การกล่าวชื่นชมอาหารของผู้ทาน

มีรายงานจากญาบิร บินอับดุลลอฮฺ ว่า :

أَنَّ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- سَأَلَ أَهْلَهُ الأُدُمَ فَقَالُوا مَا عِنْدَنَا إِلاَّ خَلٌّ. فَدَعَا بِهِ فَجَعَلَ يَأْكُلُ بِهِ وَيَقُولُ «نِعْمَ الأُدُمُ الْخَلُّ نِعْمَ الأُدُمُ الْخَلُّ».

ความว่า : ท่านนบี ได้ถามคนในบ้านของท่านถึงเครื่องปรุงรสหรือกับอาหาร พวกเขาตอบว่า พวกเราไม่มีสิ่งอื่นใดนอกจากน้ำส้มสายชู ท่านจึงขอให้นำมาแล้วท่านก็รับประทาน และกล่าวว่า “ช่างเป็นเครื่องปรุงรสที่เลิศจริงๆ เจ้าน้ำสมสายชูนี้ ช่างเป็นเครื่องปรุงรสที่เลิศจริงๆ เจ้าน้ำสมสายชูนี้” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2052)

ไม่เป่าลมรดเครื่องดื่ม

จากอบีสะอีด อัลคุดรียฺ กล่าวว่า :

نَهَى رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- عَنِ الشُّرْبِ مِنْ ثُلْمَةِ الْقَدَحِ وَأَنْ يُنْفَخَ فِى الشَّرَابِ.

ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ได้ห้ามดื่มน้ำจากภาชนะ (แก้ว) ที่ปากแตกร้าว และห้ามเป่าลมรดเครื่องดื่ม (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 3722 เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 3165 และบันทึกโดยอัลติรมีซีย์ หมายเลข 1887 เศาะฮีหฺสุนันอัลติรมิซีย์ หมายเลข 1538)

ผู้ให้บริการน้ำแก่คนอื่นต้องดื่มหลังสุด

จากอบีเกาะตาดะฮฺ กล่าวว่า :

خَطَبَنَا رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- وفي آخره قَالَ: «إِنَّ سَاقِىَ الْقَوْمِ آخِرُهُمْ شُرْبًا».

ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ได้กล่าวคุฏบะฮฺแก่พวกเรา โดยในตอนท้ายท่านกล่าวว่า “แท้จริงแล้ว ผู้ที่ให้บริการน้ำแก่คนอื่นนั้น ต้องดื่มเป็นคนสุดท้าย” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 681)

การรับประทานอาหารร่วมกัน

วัหชียฺ บินหัรบฺ ได้เล่าจากบิดาของเขา และบิดาของเขาได้เล่าจากปู่ของเขาว่า :

أَنَّ أَصْحَابَ النَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- قَالُوا يَا رَسُولَ اللَّهِ إِنَّا نَأْكُلُ وَلاَ نَشْبَعُ. قَالَ « فَلَعَلَّكُمْ تَفْتَرِقُونَ ». قَالُوا نَعَمْ. قَالَ « فَاجْتَمِعُوا عَلَى طَعَامِكُمْ وَاذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ عَلَيْهِ يُبَارَكْ لَكُمْ فِيهِ ».

ความว่า : เหล่าสหายของท่านนบี ได้กล่าวว่า : “โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ พวกเราทานอาหาร แต่ไม่อิ่ม” ท่านตอบว่า “พวกท่านคงจะแยกย้ายกัน (ทาน)” พวกเขาตอบว่า “ใช่แล้ว” ท่านกล่าวว่า “ถ้าเช่นนั้น พวกท่านจงร่วมกันรับประทานอาหารเป็นกลุ่ม และจงเอ่ยพระนามของอัลลอฮฺ แล้วพวกท่านจะได้รับบะเราะกะฮฺจากการทานแบบเป็นกลุ่มอย่างแน่นอน” (หะสัน บันทึกโดยอบูดาวูด ตามสำนวนนี้ หมายเลข 3764 เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 3199 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 3268 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 2657)

การให้เกียรติแขกและให้บริการด้วยตัวเอง

1.อัลลอฮฺ ได้กล่าวว่า :

«هَلْ أَتَاكَ حَدِيثُ ضَيْفِ إِبْرَاهِيمَ الْمُكْرَمِينَ، إِذْ دَخَلُوا عَلَيْهِ فَقَالُوا سَلَاماً قَالَ سَلَامٌ قَوْمٌ مُّنكَرُونَ، فَرَاغَ إِلَى أَهْلِهِ فَجَاء بِعِجْلٍ سَمِينٍ، فَقَرَّبَهُ إِلَيْهِمْ قَالَ أَلَا تَأْكُلُونَ» (الذاريات: 24-27)

ความว่า : เรื่องราวของแขกผู้มีเกียรติของอิบรอฮีมได้มาถึงเจ้าบ้างไหม เมื่อพวกเขาได้เข้ามาหาเขา (อิบรอฮีม) พวกเขากล่าวว่า “ศานติ” เขากล่าวตอบว่า “ศานติ” (พวกท่านเป็น) หมู่ชนผู้แปลกหน้า แล้วเขาก็รีบเข้าไปหาครอบครัวของเขา แล้วได้นำลูกวัวอ้วน (ที่ย่างเสร็จแล้ว) ออกมา และได้วางมันไว้ข้างหน้าพวกเขา เขากล่าวว่า พวกท่านไม่รับประทานหรือ (อัล-ซาริยาต : 24-27)

2.มีรายงานจากอบีชุร็อยหฺ อัลกะอ์บีย์ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ได้กล่าวว่า :

«مَنْ كَانَ يُؤْمِنُ بِاللَّهِ وَالْيَوْمِ الآخِرِ فَلْيُكْرِمْ ضَيْفَهُ، جَائِزَتُهُ يَوْمٌ وَلَيْلَةٌ، وَالضِّيَافَةُ ثَلاَثَةُ أَيَّامٍ، فَمَا بَعْدَ ذَلِكَ فَهْوَ صَدَقَةٌ، وَلاَ يَحِلُّ لَهُ أَنْ يَثْوِىَ عِنْدَهُ حَتَّى يُحْرِجَهُ» .

ความว่า : “ผู้ใดที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันสุดท้าย ขอต้องให้เกียรติต่อแขกของเขา รางวัลหรือการต้อนรับอย่างพิเศษที่สุดสำหรับเขาคือหนึ่งวันหนึ่งคืน และให้ที่พักพิงแก่เขาเป็นเวลาสามวัน ส่วนที่เหลือหลังจากสามวันให้หลังถือเป็นการให้ทาน และไม่อนุมัติให้แขกพำนักอยู่กับเจ้าบ้านเป็นเวลานาน จนทำให้เขาต้องอึดอัดและลำบากใจ” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 6135 และมุสลิม หมายเลข 48) (ไม่อนุมัติให้แขกพักค้างคืนที่บ้านคนอื่นเป็นเวลาหลายวันติดต่อกัน จนทำให้เจ้าบ้านเกิดความอึดอัด ทำให้เกิดปัญหาและผู้เป็นแขกต้องมีบาป-ผู้แปล)

วิธีนั่งรับประทานอาหาร

1. จากอบีญุหัยฟะฮฺ เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ได้กล่าวว่า :

«إِنِي لاَ آكُلُ مُتَّكِئًا»

ความว่า : “แท้จริง ฉันจะไม่รับประทานอาหารในสภาพเท้าแขน” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 5298)

บรรดาอุละมาอ์มีทัศนะที่ขัดแย้งเกี่ยวกับความหมายของการนั่ง “อิตติกาอ์” ขณะทานอาหาร ดังนี้ (ดู ซาดุลมะอาด 4/221-222, ฟัตหุลบารีย์ 9/670, นัยลุลเอาฏอร 8/183)

1.การนั่งลงอย่างมั่นคงไม่ว่าจะอยู่ในท่าใดก็ตาม

2.การนั่งแบบเอนตัวไปข้างใดข้างหนึ่ง (ทัศนะของอิบนุลเญาซีย์)

3.การนั่งแบบเท้าแขนข้างซ้ายลงบนพื้น

4.การนั่งแบบพิงหลังไปพนักกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

5- การนั่งแบบท่าขัดสมาธิ แต่มัซฮับหันบะลีย์ไม่ถือว่าการนั่งท่านี้เป็นการนั่งแบบอิตติกาอ์ (อัลอินศอฟ 8/243, กัชชาฟ อัลเกาะนาอฺ 4/156) เช่นเดียวกับเชคอัลบานีย์ที่ไม่เห็นด้วย (ฟะตาวาญิดดะฮฺ เทปม้วนที่ 13) - ผู้แปล

2.จากอนัส บินมาลิก เล่าว่า :

رَأَيْتُ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- مُقْعِيًا يَأْكُلُ تَمْرًا.

ความว่า : ฉันเห็นท่านนบี  นั่งคุกเข่าทานผลอินทผลัม (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2044)

3.จากอับดุลลอฮฺ บินบุสรฺ เล่าว่า :

أَهْدَيْتُ لِلنَّبِىِّ -صلى الله عليه وسلم- شَاةً فَجَثَى رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- عَلَى رُكْبَتَيْهِ يَأْكُلُ فَقَالَ أَعْرَابِىٌّ مَا هَذِهِ الْجِلْسَةُ فَقَالَ «إِنَّ اللَّهَ جَعَلَنِى عَبْدًا كَرِيمًا وَلَمْ يَجْعَلْنِى جَبَّارًا عَنِيدًا»

ความว่า : ฉันได้มอบแพะหนึ่งตัวเป็นของขวัญให้กับท่านนบี  ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  เลยนั่งคุกเข่ารับประทาน ชายอาหรับเบดูอินคนหนึ่งเลยถามขึ้นว่า นี่มันคือท่านั่งอะไรกัน ? ท่านจึงตอบว่า “แท้จริงอัลลอฮฺได้ทรงสร้างฉันให้เป็นบ่าวที่สุภาพ และพระองค์ไม่ได้สร้างฉันให้เป็นคนเผด็จการที่หยิ่งยะโส” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 3773 เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 3207 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 3263 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 2640)

ลักษณะการรับประทานของคนรีบร้อน

จากอนัส เล่าว่า :

أُتِىَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- بِتَمْرٍ فَجَعَلَ النَّبِىُّ -صلى الله عليه وسلم- يَقْسِمُهُ وَهُوَ مُحْتَفِزٌ يَأْكُلُ مِنْهُ أَكْلاً ذَرِيعًا. وَفِى رِوَايَةِ زُهَيْرٍ: أَكْلاً حَثِيثًا.

ความว่า : ผลอินทผลัมได้ถูกนำมาให้แก่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ท่านนบีจึงแบ่งมันส่วนหนึ่งให้คนอื่น ซึ่งท่านอยู่ในท่าที่เตรียมพร้อม ท่านจึงรับประทานด้วยการทานที่รีบเร่ง (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2044)

การปิดภาชนะเครื่องดื่มให้มิดชิดก่อนจะเข้านอนพร้อมกับเอ่ยพระนามอัลลอฮฺ

จากญะบิร เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ได้กล่าวว่า :

«...وَأَغْلِقْ بَابَكَ، وَاذْكُرِ اسْمَ اللَّهِ، وَأَطْفِئْ مِصْبَاحَكَ، وَاذْكُرِ اسْمَ اللَّهِ، وَأَوْكِ سِقَاءَكَ، وَاذْكُرِ اسْمَ اللَّهِ، وَخَمِّرْ إِنَاءَكَ، وَاذْكُرِ اسْمَ اللَّهِ، وَلَوْ تَعْرُضُ عَلَيْهِ شَيْئًا»

ความว่า : “...ท่านจงปิดประตูบ้านท่านพร้อมเอ่ยพระนามอัลลอฮฺ จงดับตะเกียงของท่านพร้อมกับเอ่ยนามอัลลอฮฺ จงคว่ำภาชนะเครื่องดื่มของท่านพร้อมกับเอ่ยพระนามอัลลอฮฺ และจงครอบปิดภาชนะต่างๆของท่านพร้อมกับเอ่ยพระนามอัลลอฮฺ แม้ว่าท่านเพียงแต่จะเอาอะไรมาขวางกั้นบนมันก็ตาม” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ ตามสำนวนนี้ หมายเลข 3280 และมุสลิม หมายเลข 2012)

การรับประทานพร้อมกับคนใช้

มีรายงานจากอบีฮุร็อยเราะฮฺ ว่าท่านนบี  ได้กล่าวว่า :

«إِذَا أَتَى أَحَدَكُمْ خَادِمُهُ بِطَعَامِهِ، فَإِنْ لَمْ يُجْلِسْهُ مَعَهُ فَلْيُنَاوِلْهُ أُكْلَةً أَوْ أُكْلَتَيْنِ، أَوْ لُقْمَةً أَوْ لُقْمَتَيْنِ، فَإِنَّهُ وَلِىَ حَرَّهُ وَعِلاَجَهُ»

ความว่า : “เมื่อมีคนใช้ยกอาหารมาให้พวกท่านคนใด ถ้าหากเขาไม่เชิญเขาให้นั่ง (รับประทาน) พร้อม (กับเขา) ก็ขอให้เขาจงหยิบให้เขาหนึ่งชิ้นหรือสองชิ้น หรือหนึ่งคำหรือสองคำ เพราะแท้จริงเขา(ต้องเหน็ดเหนื่อยจากการเป็น)ผู้รับผิดชอบดูแลความร้อน (ปรุงอาหาร) และจัดเตรียมมัน (ก่อนจะตั้งไฟ)” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 5460 และมุสลิม หมายเลข 1663)

เมื่อถึงเวลาอาหารค่ำ ก็จงอย่ารีบร้อน

มีรายงานจากอนัส บินมาลิก ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ได้กล่าวว่า :

«إِذَا وُضِعَ الْعَشَاءُ وَأُقِيمَتِ الصَّلاَةُ فَابْدَءُوا بِالْعَشَاءِ»

ความว่า : “เมื่ออาหารค่ำได้ถูกยกมา พร้อมกับได้ยินเสียงอิกอมะฮฺละหมาด ดังนั้นพวกเจ้าก็จงเริ่มด้วยอาหารค่ำ (ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน แล้วจึงค่อยไปละหมาดทีหลัง)” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 4563 และมุสลิม หมายเลข 557)

มีวิธีรับประทานอาหารในถาดอย่างไร ?

มีรายงานจากอิบนุอับบาส ว่าท่านนบี  ได้กล่าวว่า :

«إِذَا أَكَلَ أَحَدُكُمْ طَعَامًا فَلاَ يَأْكُلْ مِنْ أَعْلَى الصَّحْفَةِ وَلَكِنْ لِيَأْكُلْ مِنْ أَسْفَلِهَا فَإِنَّ الْبَرَكَةَ تَنْزِلُ مِنْ أَعْلاَهَا».

ความว่า : “เมื่อพวกท่านคนใดรับประทานอาหาร เขาจงอย่าเริ่มทานจากด้านบน (หรือตรงกลาง) ของถาด แต่จงเริ่มทานจากด้านล่างของมันก่อน เพราะแท้จริงแล้ว ความบะเราะกัตจะลงมาจากด้านบนของมัน” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 3730 เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 3173 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 3277 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 2650)

สิ่งที่ต้องกล่าวและปฏิบัติเมื่อทานอาหารหรือดื่มนม

1.มีรายงานจากอิบนุอับบาส ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ได้กล่าวว่า :

«إِذَا أَكَلَ أَحَدُكُمْ طَعَامًا فَلْيَقُلِ اللَّهُمَّ بَارِكْ لَنَا فِيهِ وَأَطْعِمْنَا خَيْرًا مِنْهُ. وَإِذَا سُقِىَ لَبَنًا فَلْيَقُلِ اللَّهُمَّ بَارِكْ لَنَا فِيهِ وَزِدْنَا مِنْهُ. فَإِنَّهُ لَيْسَ شَىْءٌ يُجْزِئُ مِنَ الطَّعَامِ وَالشَّرَابِ إِلاَّ اللَّبَنُ».

ความว่า : “เมื่อพวกท่านคนใดรับประทานอาหาร เขาก็จงกล่าวว่า “อัลลอฮุมมะ บาริกละนาฟีฮิ วะอัฏอิมนาค็อยร็อนมินฮุ” (แปลว่า โอ้อัลลอฮฺผู้เป็นเจ้าของฉัน ขอทรงโปรดประทานความบะเราะกัตให้แก่เราในสิ่งนี้ และขอให้เราได้รับประทานสิ่งที่ดีกว่านี้อีก) และเมื่อได้ถูกรินนมให้ ก็จงกล่าวว่า “อัลลอฮุมมะ บาริกละนาฟีฮิ วะซิดนามินฮุ (แปลว่า โอ้อัลลอฮฺผู้เป็นเจ้าของฉัน ขอทรงโปรดประทานความบะเราะกัตให้แก่เราในสิ่งนี้ และขอให้เพิ่มแก่เราอีก) เพราะแท้จริงแล้ว ไม่มีสิ่งใดที่สามารถจะทดแทนอาหารและเครื่องดื่มได้นอกจากนม” (หะสันตามสายรายงานนี้ บันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 3773 เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 3207 และบันทึกโดยอัลติรมิซีย์ หมายเลข 3455 เศาะฮีหฺสุนันอัลติรมิซีย์ หมายเลข 2749)

2.อิบนุอับบาส เล่าว่า :

أَنَّ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- شَرِبَ لَبَنًا ثُمَّ دَعَا بِمَاءٍ فَتَمَضْمَضَ وَقَالَ «إِنَّ لَهُ دَسَمًا».

ความว่า : ท่านนบี  ได้ดื่มนม หลังจากนั้น ท่านก็ได้ขอน้ำแล้วบ้วนปากและกล่าวว่า “แท้จริงแล้ว นมจะมีไขมันอยู่” (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 211 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 358)

คำกล่าวเมื่อเสร็จจากรับประทานอาหาร

1.มีรายงานจากมุอาซ บินอนัส ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ได้กล่าวว่า :

«مَنْ أَكَلَ طَعَامًا ثُمَّ قَالَ: "الْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِى أَطْعَمَنِى هَذَا الطَّعَامَ وَرَزَقَنِيهِ مِنْ غَيْرِ حَوْلٍ مِنِّى وَلاَ قُوَّةٍ"، غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ وَمَا تَأَخَّرَ».

ความว่า : “ผู้ใดที่รับประทานอาหารแล้วเขากล่าวว่า “ อัลฮัมดุลิลลาฮิลละซี อัฏอะมะนี ฮาซัฏเฏาะอาม วะเราะซะเกาะนีฟีฮิ มิน ฆ็อยริเหาลิน มินนี วะลากุ้ววะติน (แปลว่า ขอขอบคุณอัลลอฮฺ ผู้ทรงให้ฉันได้รับประทานอาหารนี้ และได้ประทานอย่างเสน่หาให้แก่ฉันโดยปราศจากพลังและความสามารถใดๆ ของฉัน)” เขาก็จะได้รับการอภัยโทษในความผิดที่ผ่านมาแล้วและความผิดที่ยังไม่เกิดขึ้น” (หะสัน บันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 4323 เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 3394 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 3285 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 2656)

2.จากอบีอุมามะฮฺ เล่าว่า :

أَنَّ النَّبِىَّ - صلى الله عليه وسلم - كَانَ إِذَا رَفَعَ مَائِدَتَهُ قَالَ «الْحَمْدُ لِلَّهِ كَثِيرًا طَيِّبًا مُبَارَكًا فِيهِ، غَيْرَ مَكْفِىٍّ، وَلاَ مُوَدَّعٍ وَلاَ مُسْتَغْنًى عَنْهُ، رَبَّنَا» .

ความว่า : ท่านนบี  นั้น เมื่อท่านยกสำรับอาหารออก ท่านจะกล่าวว่า “อัลฮัมดุลิลลาฮิกะซีร็อน ฏ็อยยิบัน มุบาเราะกัน ฟีฮิ ฆ็อยเราะมักฟิยยิน วะลา มุวัดดะอิน วะลา มุสตัฆนัน อันฮุ ร็อบบะนา” (แปลว่า ขอขอบคุณต่ออัลลอฮฺอย่างเหลือล้นอย่างดีอย่างจำเริญ โดยพระองค์ไม่ทรงปรารถนาต่อสิ่งใด ไม่เคยถูกเพิกเฉยจากผู้ใดและไม่เป็นผู้ที่ไม่พึงประสงค์ของผู้ใด (ทุกคนต้องพึงประสงค์ในพระองค์ ) โอ้พระเจ้าของเรา” (บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 5458)

3.จากอบีอัยยูบ อัลอันศอรียฺ เล่าว่า :

كَانَ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- إِذَا أَكَلَ أَوْ شَرِبَ قَالَ «الْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِى أَطْعَمَ وَسَقَى وَسَوَّغَهُ وَجَعَلَ لَهُ مَخْرَجًا».

ความว่า : ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  นั้นเมื่อท่านรับประทานหรือดื่ม ท่านจะกล่าวว่า “อัลฮัมดุลิลลาฮิลละซี อัฏอะมะ วะสะกอ วะเสาวะเฆาะฮุ วะญะอะละ ละฮู มัคเราะญัน” (แปลว่า ขอขอบคุณต่ออัลลอฮฺผู้ทรงให้อาหาร ให้น้ำดื่มและทำให้มันเป็นของดี และทำให้มันเป็นทางออก (สำหรับฉัน)” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบูดาวูด หมายเลข 3851 เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 3261)

4.จากอนัส บินมาลิก เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ได้กล่าวว่า :

«إِنَّ اللَّهَ لَيَرْضَى عَنِ الْعَبْدِ أَنْ يَأْكُلَ الأَكْلَةَ فَيَحْمَدَهُ عَلَيْهَا أَوْ يَشْرَبَ الشَّرْبَةَ فَيَحْمَدَهُ عَلَيْهَا».

ความว่า : แท้จริงอัลลอฮฺนั้นย่อมพึงพอใจในตัวบ่าวด้วยการที่เขากินอาหารคำหนึ่งแล้วกล่าวขอบคุณต่อพระองค์ หรือดื่มน้ำอึกหนึ่งแล้วกล่าวขอบคุณต่อพระองค์ในสิ่งนั้น” (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2734)

5.ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ได้กล่าวว่า :

«اللَّهُمَّ أَطْعَمْتَ وَأَسْقَيْتَ وَأَغْنَيْتَ وَأَقْنَيْتَ وَهَدَيْتَ وَاجْتَبَيْتَ، فَلَكَ الْحَمْدُ عَلَى مَا أَعْطَيْتَ».

อ่านว่า : อัลลอฮุมมะ อัฏอัมตะ วะอัสก็อยตะ วะอัฆนัยตะ วะอักนัยตะ วะฮะดัยตะ วัจตะบัยตะ ฟะละกัลหัมดุ อะลา มา อะฏ็อยตะ (ความว่า “ โอ้ อัลลอฮฺ พระองค์ทรงให้อาหาร ให้เครื่องดื่ม ให้ร่ำรวย ให้เพียงพอ ทรงนำทาง และทรงคัดเลือก ดังนั้น มวลการสรรเสริญในสิ่งที่พระองค์ทรงประทานจึงเป็นของพระองค์เท่านั้น” (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอะห์มัด หมายเลข 16712)

6.จากอนัส เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«مَا أَنْعَمَ اللَّهُ عَلَى عَبْدٍ نِعْمَةً فَقَالَ الْحَمْدُ لِلَّهِ. إِلاَّ كَانَ الَّذِى أَعْطَاهُ أَفْضَلَ مِمَّا أَخَذَ».

ความว่า : “เมื่อพระองค์อัลลอฮฺทรงประทานสิ่งหนึ่งแก่บ่าวคนหนึ่ง แล้วเขากล่าวว่า “อัลหัมดุลิลลาฮฺ” แน่นอนว่าสิ่งที่พระองค์ทรงประทานนั้นจะเป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุดในบรรดาสิ่งที่เขาเคยรับ” (หะสัน บันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 3850 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 3067)

เวลาเข้า-ออกบ้านของแขก

อัลลอฮฺ ได้กล่าวว่า :

«يَاأَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا لاَ تَدْخُلُوا بُيُوتَ النَّبِيِّ إِلاَّ أَن يُؤْذَنَ لَكُمْ إِلَى طَعَامٍ غَيْرَ نَاظِرِينَ إِنَاهُ وَلَكِنْ إِذَا دُعِيتُمْ فَادْخُلُوا فَإِذَا طَعِمْتُمْ فَانتَشِرُوا وَلاَ مُسْتَأْنِسِينَ لِحَدِيثٍ» (الأحزاب: 53)

ความว่า : โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย ! สูเจ้าจงอย่าเข้าไปในบ้านใด ๆ ของท่านนบี เว้นแต่ว่าพวกท่านจะได้อนุญาตเพื่อรับประทานอาหารโดยต้องไม่ต้องรอเวลาอาหารสุก ดังนั้น เมื่อสูเจ้าได้รับเชิญก็จงเข้าไป ครั้นเมื่อสูเจ้ารับประทานเสร็จก็จงแยกย้ายกลับ และจงอย่าเป็นผู้ชอบวิสาสะในการสนทนา”(อัล-อัหซาบ : 53)

ดุอาอ์ของแขกให้แก่เจ้าของอาหาร

1.ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ได้กล่าวว่า :

«اللَّهُمَّ بَارِكْ لَهُمْ فِى مَا رَزَقْتَهُمْ وَاغْفِرْ لَهُمْ وَارْحَمْهُمْ».

อ่านว่า : อัลลอฮุมมะ บาริก ละฮุม ฟี มา เราะซักตะฮุม วัฆฟิรละฮุม วัรหัมฮุม (ความว่า : โอ้ อัลลอฮฺ! ขอทรงโปรดให้ความจำเริญแก่พวกเขาในสิ่งที่พระองค์ทรงประทานให้แก่เขา และขอทรงประทานอภัยโทษและปรานีต่อพวกเขา) (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2042)

2.มีรายงานจากอนัส ว่า :

أَنَّ النَّبِىَّ -صلى الله عليه وسلم- جَاءَ إِلَى سَعْدِ بْنِ عُبَادَةَ فَجَاءَ بِخُبْزٍ وَزَيْتٍ فَأَكَلَ ثُمَّ قَالَ النَّبِىُّ -صلى الله عليه وسلم- «أَفْطَرَ عِنْدَكُمُ الصَّائِمُونَ وَأَكَلَ طَعَامَكُمُ الأَبْرَارُ وَصَلَّتْ عَلَيْكُمُ الْمَلاَئِكَةُ».

ความว่า : ท่านนบี ได้มาหาสะอัด บินอุบาดะฮฺ แล้วเขาก็ได้ยกขนมปังกับน้ำมันพืช ท่านจึงรับประทาน หลังจากนั้นท่านนบี ก็ได้กล่าวว่า “อัฟเฏาะเราะ อินดะกุมุสสออิมูน วะอะกะละ เฏาะอามะกุมุลอับรอรฺ วะศ็อลลัต อะลัยกุมุลมะลาอิกะฮฺ” ความว่า : เหล่าผู้ถือศีลอดได้ละศีลอดกับพวกท่านแล้ว เหล่าคนดี ได้รับประทานอาหารของพวกท่านแล้ว และเหล่ามะลาอิกะฮฺต่างได้ขอลหุโทษแก่พวกท่านแล้ว (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอบูดาวูดตามสำนวนนี้ หมายเลข 384 เศาะฮีหฺสุนันอบูดาวูด หมายเลข 3263 และบันทึกโดยอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 1747 เศาะฮีหฺสุนันอิบนุมาญะฮฺ หมายเลข 1418)

ดุอาอ์ให้แก่ผู้ที่ให้น้ำดื่มหรือเมื่อเขาต้องการ

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ  ได้กล่าวว่า :

«اللَّهُمَّ أَطْعِمْ مَنْ أَطْعَمَنِى وَأَسْقِ مَنْ سْقَانِى».

อ่านว่า : อัลลอฮุมมะ อัฏอิม มัน อัฏอะมะนียฺ วะอัสกิ มัน อัสกอนียฺ (ความว่า : โอ้ อัลลอฮฺ ! ขอทรงโปรดให้อาหารแก่ผู้ที่ให้อาหารแก่ฉัน และให้น้ำดื่มแก่ผู้ที่ให้น้ำดื่มแก่ฉัน) (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2055)


ผู้เขียน : มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัต-ตุวัยญิรีย์

ผู้แปล : สุกรี นูร จงรักสัตย์

Islam house