ลักษณะสรวงสวรรค์ (ชื่อของสวรรค์)
  จำนวนคนเข้าชม  76753

ลักษณะสรวงสวรรค์ 

(ชื่อของสวรรค์)

          สรวงสวรรค์ คือ ดินแดนแห่งสันติสุขที่อัลลอฮฺได้จัดเตรียมไว้แก่บรรดาศรัทธาชนชายหญิงในโลกอาคีเราะฮฺ

          เนื้อหาของสรวงสวรรค์ที่เรากำลังจะเจาะลึกต่อไปนี้ อินชาอัลลอฮฺ จะเป็นเรื่องของลักษณะสรวงสวรรค์ รูปแบบความสุขในสรวงสวรรค์ และลักษณะของชาวสวรรค์ ซึ่งถอดมาจากคัมภีร์อัลกุรอานของอัลลอฮฺผู้ทรงสร้างสวรรค์เองและจากคำบอกเล่าของผู้ที่เคยเข้าและเหยียบย่ำสวรรค์มาแล้ว นั้นคือท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม

ชื่อของสรวงสวรรค์

          สรวงสวรรค์นั้นมีเพียงแห่งเดียว แต่มีลักษณะหลากหลาย โดยมีชื่อต่าง ๆ ตามลักษณะที่หลากหลาย ดังต่อไปนี้

1. อัล-ญันนะฮฺ (สวน) : อัลลอฮฺตะอาลาได้มีดำรัสว่า :

ความว่า :สิ่งดังกล่าวนั้น คือ กฏบัญญัติของอัลลอฮฺ โดยผู้ใดที่ภักดีต่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์นั้น พระองค์จะให้เขาได้เข้าในญันนาตที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่เบื้องล่างของมัน โดยพวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นไปตลอดกาล และนั้นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง (อัล-นิสาอ์ : 13)

2. ญันนะฮฺ อัล-ฟิรเดาสฺ (สวนฟิรเดาสฺ) : อัลลอฮฺตะอาลาได้มีดำรัสว่า :

ความว่า : แท้จริง สำหรับบรรดาผู้ศรัทธาและปฏิบัติความดีนั้น พวกเขาจะได้รับญันนาตอัล-ฟิรเดาสฺ (สวนสวรรค์ชั้นอัลฟิรเดาสฺ) เป็นที่พำนัก (อัล-กะฮฺฟ์: 107)

3. ญันนะตุ อัดนฺ (สวนสถาพร) : อัลลอฮฺตะอาลาได้มีดำรัสว่า : 

ความว่า : นี่คือข้อตักเตือน และแท้จริงสำหรับบรรดาผู้ยำเกรงนั้น แน่นอนพวกเขาจะได้รับที่หวนกลับอันดียิ่ง  คือญันนาตุอัดนฺ ที่ประตูต่าง ๆ ของมันได้ถูกเปิดไว้แล้วสำหรับพวกเขา (ศอด : 49-50) 

4. ญันนะฮฺ อัลคุลดฺ (สวนนิรันดร) อัลลอฮฺตะอาลาได้มีดำรัสว่า :

ความว่า : จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่าสิ่งนั้น (บรรดากุฟฟาร เจว็ด และสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกบูชานอกเหนื่อจากอัลลอฮฺ เช่น ภูตผี มะลาอิกะฮฺ อีซา และอุไซร์ เป็นต้น) ดีกว่า หรือว่าญันนะตุลคุลดฺ (สวรรค์นิรันดร์) ที่ถูกสัญญาไว้ให้แก่บรรดาผู้ยำเกรง ซึ่งมันเป็นสิ่งตอบแทนและที่หวนกลับสำหรับพวกเขา  (อัล-ฟุรกอน : 15)

5. ญันนะฮฺ อัล-นะอีม (สวนแห่งความสุข) : อัลลอฮฺตะอาลาได้มีดำรัสว่า :

ความว่า : แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย พวกเขาจะได้รับญันนาตุนนะอีม (สวนสวรรค์แห่งความสุข)      (ลุกมาน : 8)

6. ญันนะฮฺ อัล-มะวา (สวนที่พำนัก) : อัลลอฮฺตะอาลาได้มีดำรัสว่า :

ความว่า : ส่วนสำหรับบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีนั้น พวกเขาจะได้รับญันนาตุลมะวา (สวนสวรรค์ถิ่นพำนัก) เป็นที่พำนักอันเนื่องมาจากสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติมา (อัล-สัจญะดะฮฺ : 19)

7. ดารุสสลาม (ดินแดนศานติสุข) : อัลลอฮฺตะอาลาได้มีดำรัสว่า :

ความว่า : พวกเขาได้รับดารุสสลาม (ดินแดนศานติสุข) ณ ที่พระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา ซึ่งพระองค์คือผู้คุ้มครองพวกเขาอันเนื่องมาจากสิ่งที่พวกเขาได้กระทำมา     (อัล-อันอาม : 127)


ที่ตั้งของสรวงสวรรค์

1. อัลลอฮฺตะอาลาได้มีดำรัสว่า :

ความว่า : และ ณ เบื้องฟ้านั้นมีปัจจัยยังชีพของสูเจ้าและสิ่งที่สูเจ้าถูกสัญญาไว้ (หมายถึงสรวงสวรรค์)    (อัซ-ซาริยาด : 22)

2. อัลลอฮฺตะอาลาได้มีดำรัสว่า :

ความว่า : (แล้วพวกเจ้า-ชาวมุชริกกีน-ยังจะโต้เถียงกับเขา (นบีมุหัมมัด) ในเรื่องการพบปะของเขากับมลาอิกกะฮฺญิบรีลในคืนอิสรออฺมิรอจญฺอีกหรือ?) ทั้ง ๆ ที่เขา (นบีมุหัมมัด) ได้เห็นเขา (มลาอิกะฮฺญิบรีล)  อีกครั้งหนึ่ง ณ ต้นสิดเราะตุลมุนตะฮา (ต้นพุทราที่เป็นจุดสิ้นสุด) ซึ่ง ณ ที่นั้นแหล่ะคือญันนะตุลมะวา  (อัน-นัจญ์: 13-15)

3. และอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ได้รายงานจากท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ว่า :

«مَنْ آمَنَ بِاللهِِ وَرَسُولِـهِ، وَأقَامَ الصَّلاةَ، وَصَامَ رَمَضَانَ، كَانَ حَقّاً عَلَى اللهِ أنْ يُدْخِلَـهُ الجَنَّةَ، هَاجَرَ فِي سَبِيلِ اللهِ، أوْ جَلَسَ فِي أرْضِهِ الَّتِي وُلِدَ فِيهَا». قَالُوا: يَا رَسُولَ اللهِ، أفَلا نُنَبِّئُ النَّاسَ بِذَلِكَ؟ قال: «إنَّ فِي الجَنَّةِ مِائَةَ دَرَجَةٍ، أَعَدَّهَا اللهُ لِلْـمُـجَاهِدِينَ فِي سَبِيلِـهِ، كُلُّ دَرَجَتَيْنِ مَا بَيْنَـهُـمَا كَمَا بَيْنَ السَّمَاءِ وَالأرْضِ، فَإذَا سَألْتُـمُ اللهَ فَسَلُوهُ الفِرْدَوْسَ، فَإنَّهُ أوْسَطُ الجَنَّةِ، وَأعْلَى الجَنَّةِ، وَفَوْقَهُ عَرْشُ الرَّحْـمَنِ، وَمِنْـهُ تَفَجَّرُ أنْـهَارُ الجَنَّةِ».  أخرجه البخاري رقم : 7433

ความว่า : “ผู้ใดที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์ ดำรงการนมาซและถือศีลอดในเดือนรอมฎอนแล้ว อัลลอฮฺก็จะให้เขาได้เข้าสรวงสวรรค์อย่างแน่นอน ไม่ว่าเขาจะอพยพไปในหนทางของอัลลอฮฺหรือว่าจะปักหลังอาศัยอยู่ในถิ่นฐานเดิมที่เขาเกิดมาก็ตาม” พวกเขาถามว่า โอ้ ท่านเราะสูลัลลอฮฺ แล้วพวกเราจะไม่บอกสิ่งนั้นให้ผู้อื่นทราบหรือ? ท่านกล่าวว่า “แท้จริงแล้ว ในสรวงสวรรค์นั้นมีหนึ่งร้อยชั้น ซึ่งอัลลอฮฺได้เตรียมไว้สำหรับผู้ที่ต่อสู้ในหนทางของพระองค์ โดยระยะระหว่างสองชั้นนั้นห่างกันเหมือนท้องฟ้ากับแผ่นดิน และเมื่อพวกท่านจะขอ (สวรรค์) จากอัลลอฮฺ พวกท่านจงขอสวรรค์อัล-ฟิรเดาสฺเถิด เพราะมันคือสวรรค์ที่อยู่ตรงกลางที่สุด เป็นสวรรค์ชั้นสูงสุด เบื้องบนของมันคือบรรลังค์ของพระเจ้าผู้ทรงกรุณา และจากที่นั้นเองที่แม่น้ำสายต่าง ๆ ของสวรรค์พุ่งกำเนิดออกมา”  (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 7433)

4. มีรายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า:

«إنَّ المُؤْمِنَ إذَا حَضَرَهُ المَوْتُ حَضَرَتْـهُ مَلائِكَةُ الرَّحْـمَةِ، فَإذَا قُبِضَتْ نَفْسُهُ جُعِلَتْ في حَرِيرةٍ بَيْضَاءَ فَيُنْطَلَقُ بِـهَا إلَى بَابِ السَّمَاءِ، فَيَـقُولُونَ مَا وَجَدْنَا رِيْـحاً أَطْيَبَ مِنْ هَذِهِ..».  (صحيح / أخرجه الحاكم برقم (1304)،  وأخرجه ابن حبان برقم (3013)، وقال الارنؤوط: إسناده صحيح.

ความว่า :  “คนมุมินนั้น เมื่อความตายย่างกรายมาถึง มะลาอิกะฮฺเราะมัตก็จะมาหาเขา โดยเมื่อวิญญาณของเขาถูกปลิดลง มันจะถูกเก็บไว้ในเส้นไหมสีขาว แล้ว (มะลาอิกะฮฺ) ก็จะนำมันไปยังประตุท้องฟ้า แล้วพวกเขา (เหล่ามะลาอิกะฮฺชาวฟ้า) ต่างก็พากันกล่าวว่า “เราไม่เคยได้กลิ่นหอมใด ๆ ที่หอมกว่านี้เลย”  (เศาะฮีหฺ บันทึกโดยอัลหากีม หมายเลข 1304 และบันทึกโดยอิบนุหิบบาน หมายเลข 3013 และอัลอัรนะอูฏกล่าวว่า “อิสนาดเศาะฮีหฺ”) 


ชื่อประตูต่าง ๆ ของสรวงสวรรค์

          มีรายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

«مَنْ أَنْفَقَ زَوْجَينِ فِي سَبِيْلِ الله نُودِيَ مِنْ أَبْوَابِ الجَنَّةِ. يَا عَبْدَ الله هَذَا خَيْرٌ، فَمَنْ كَانَ مِنْ أَهْلِ الصَّلاةِ دُعِيَ مِنْ بَابِ الصَّلاةِ، وَمَنْ كَانَ مِنْ أَهْلِ الجِهَادِ دُعِيَ مِنْ بَابَ الجِهَادِ، وَمَنْ كَانَ مِنْ أَهْلِ الصِّيَامِ دُعِيَ مِنْ بَابِ الرَّيَّانِ، وَمَنْ كَانَ مِنْ أَهْلِ الصَّدَقَةِ دُعِيَ مِنْ بَابِ الصَّدَقَةِ».
فقال أبو بكر رضي الله عنه: بأبي أنت وأمي يا رسول الله، ما على مَنْ دُعِيَ من تلك الأبواب من ضرورة، فهل يُدعى أحد من تلك الأبواب كلها؟ قال: «نَعَمْ؛ وَأَرْجُو أَنْ تَـكُونَ مِنْـهُـمْ». متفق عليه. أخرجه البخاري برقم (1897)، واللفظ له، ومسلم برقم (1027)..

ความว่า : “ผู้ใดที่บริจาคทรัพย์สินสองอย่างในหนทางของอัลลอฮฺ เขาจะถูกเรียกจากประตูต่าง ๆ ว่า “โอ้ท่านผู้เป็นบ่าวของอัลลอฮฺ  นี่แหละคือสิ่งที่ดี” โดยผู้ที่เป็นนักละหมาดก็จะถูกเรียกจากประตูละหมาด ผู้ที่เป็นนักญิฮาดก็จะถูกเรียกจากประตูญิฮาด ผู้ที่เป็นนักถือศีลอดก็จะถูกเรียกจากประตูอัล-ร็อยยาน และผู้ที่เป็นนักบริจาคก็จะถูกเรียกจากประตูบริจาค

แล้วอบูบักรฺ ก็ถามว่า โอ้ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ มีความจำเป็นแก่ผู้ที่ถูกเรียกจากประตูต่าง ๆ เหล่านั้นประการใดหรือ? และมีไหมที่คนหนึ่งคนจะถูกเรียกจากประตูต่าง ๆ เหล่านั้นทั้งหมด? ท่านตอบว่า “มี และฉันหวังว่า ท่านคงเป็นคนหนึ่งในจำนวนนั้น”  (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 1897 และมุสลิม หมายเลข 1027)


ความกว้างของประตูสวรรค์

1.จากอุตบะฮฺ บินฆ็อซฺวาน เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :

عن عتبة بن غزوان رضي الله عنه قال: ذُكِرَ لَنَا أَنَّ مَا بَيْنَ مِصْرَاعَيْنِ مِنْ مَصَارِيعِ الجَنَّةِ مَسِيْرَةُ أَرْبَـعِينَ سَنَةً، وَلَيَأْتِيَنَّ عَلَيْـهَا يَوْمٌ وَهُوَ كَظِيْظٌ مِنَ الزِّحَامِ.  أخرجه مسلم برقم (2967).

ความว่า : “เราได้รับรายงานว่าระหว่างสองบานของประตูสวรรค์นั้นมีระยะห่างกันถึงสี่สิบปี และจะมีวันหนึ่งที่มันเต็มล้นด้วยความแออัด”  (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2967)

2. จากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า :

وعن أبي هريرة رضي الله عنه قال: أُتيَ رسول الله صلي الله عليه وسلم يوماً بلحم... وفي آخره قال: «وَالَّذِي نَفْسُ مُـحَـمَّدٍ بِيَدِهِ إَنَّ مَا بَيْنَ المصْرَاعَيْنِ مِنْ مَصَارِيعِ الجَنَّةِ لكَمَا بَيْنَ مَكَّةَ وَهَجَرٍ أَوْ كَمَا بَيْنَ مَكَّةَ وَبُصْرَى». متفق عليه، أخرجه البخاري برقم (4712)، ومسلم برقم (194)، واللفظ له.

ความว่า : “วันหนึ่ง ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัยลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้รับเนื้อ ... และในตอนท้าย ท่านได้กล่าวว่า “ขอสาบานต่อพระเจ้าผู้ซึ่งชีวิตของมุหัมมัดอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ว่า ช่วงระหว่างสองบานประตูสวรรค์นั้น เหมือนช่วงระหว่างเมืองมักกะฮฺกับเมืองฮะญัร หรือ เหมือนช่วงระหว่างเมืองมักกะฮฺกับเมืองบุศรอ    (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ  บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ หมายเลข 4712 และมุสลิมตามสำนวนนี้ หมายเลข 194)


จำนวนประตูทางเข้าของสรวงสวรรค์

1. อัลลอฮฺตะอาลาได้มีดำรัสว่า :

ความว่า : และบรรดาผู้ยำเกรงต่อพระเจ้าของพวกเขาจะถูกนำไปยังสวรรค์เป็นกลุ่ม ๆ จนกระทั่งเมื่อพวกได้มาถึงมัน (สวรรค์) ในสภาพที่ประตูทั้งหลายของมันจะถูกเปิดไว้แล้ว และเจ้าหน้าที่สวรรค์ก็จะกล่าวแก่พวกเขาว่า “ศานติสุขจงมีแด่ท่าน พวกท่านเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ขอเชิญเข้าไปพำนักอย่างนิรันดรเถิด”  (อัซซุมัร : 73)

2. จากสะฮฺล์ บินสะอฺด์ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัยลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

وعن سهل بن سعد رضي الله عنه عن النبي صلى الله عليه وسلم قال: «فِي الجَنَّةِ ثَمَانِيَةُ أَبْوَابٍ، فِيْـهَا بَابٌ يُسَمَّى الرَّيَّانَ لا يَدْخُلُـهُ إلَّا الصَّائِمُونَ».      متفق عليه، أخرجه البخاري برقم (3257)، واللفظ له، ومسلم برقم (1152)..

ความว่า : “ในสรวงสวรรค์นั้นมีแปดประตูด้วยกัน ในจำนวนนั้น มีประตูหนึ่งชื่อว่า “อัรร็อยยาน” ซึ่งผู้ที่ถือศีลอดเท่านั้นที่จะได้เข้าทางประตูนี้”       (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 3257 และมุสลิม หมายเลข 1152)


ประตูสรวงสวรรค์เปิดอ้าต้อนรับชาวสวรรค์

อัลลอฮฺตะอาลาได้มีดำรัสว่า :

ความว่า : นี่คือข้อตักเตือน และแท้จริงสำหรับบรรดาผู้ยำเกรงนั้น แน่นอน พวกเขาย่อมได้รับที่หวนกลับอันดียิ่ง คือ สรวงสวรรค์อันสถาพรซึ่งประตูของมันทุกบานจะถูกเปิดอ้าไว้เพื่อต้อนรับพวกเขา (ศ็อด : 49-50)


เวลาเปิดประตูสวรรค์ในปัจจุบัน

1. มีรายงานจากอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ-ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

عن أبي هريرة رضي الله عنه أن رسول الله صلى الله عليه وسلم قال: «تُفْتَـحُ أَبْوَابُ الجَنَّةِ يَومَ الإثْنَيْنِ، ويَومَ الخَـمِيْسِ فَيُـغْفَرُ لِكُلِّ عَبْدٍ لا يُشْرِكُ بِالله شَيْئاً إلا رَجُلاً كَانَتْ بَيْنَـهُ وَبَيْنَ أَخِيهِ شَحْنَاءُ، فَيُـقَالُ أَنْظِرُوا هَذَيْنِ حَتَّى يَصْطَلِـحَا -ثَلاثاً-». أخرجه مسلم برقم (2565).

ความว่า : “ประตูต่าง ๆ ของสรวงสวรรค์จะถูกเปิดออกในวันจันทร์และวันพฤหัสบดี แล้วบ่าวทุกคนที่ไม่ตั้งภาคีเทียบเคียงกับอัลลอฮฺก็จะได้รับการประทานอภัยโทษ ยกเว้นชายที่มีความเคืองแค้นต่อพี่น้องของเขา ซึ่งเขาจะถูกกล่าวว่า “ประวิงสองคนนี้ไว้ก่อนจนกว่าทั้งสองจะคืนดี” สามครั้ง (หมายถึง อย่าเพิ่งยกโทษให้จนกว่าเขาจะคืนดี)  (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 2565)

2. อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

وعن أبي هريرة رضي الله عنه قال: قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : «إذَا دَخَـلَ رَمَضَانُ فُتِّحَتْ أَبْوَابُ الجَنَّةِ، وَغُلِّقَتْ أَبْوَابُ جَهَنَّمَ، وَسُلْسِلَتِ الشَّيَاطِينُ». متفق عليه، أخرجه البخاري برقم (3277)، واللفظ له، ومسلم برقم (1079).

ความว่า : “เมื่อเดือนรอมฎอนมาถึง ประตูสวรรค์ก็จะถูกเปิด ประตูนรกจะถูกปิด และบรรดามารร้ายชัยฏอนจะถูกล่ามโซ่”       (มุตตะฟัก อะลัยฮฺ บันทึกโดยอัลบุคอรีย์ตามสำนวนนี้ หมายเลข 3277 และมุสลิม หมายเลข 1079)

3. อุมัร บินอัลค็อฏฏ็อบ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า

وعن عمر بن الخطاب رضي الله عنه قال: قال رسول الله صلى الله عليه وسلم : «مَا مِنْكُمْ مِنْ أَحَدٍ يَتَوَضَّأُ فَيُبْلِغُ (أَوْ فيُسْبِـغُ) الوُضُوءَ، ثُمَّ يَـقُولُ أَشْهَدُ أَنْ لا إلَـهَ إلَّا اللهُ وَأَنَّ مُـحَـمَّداً عَبْدُ الله وَرَسُولُـهُ إلا فُتِـحَتْ لَـهُ أَبْوَابُ الجَنَّةِ الثَّمَانِيَةُ يَدْخُلُ مِنْ أَيِّهَا شَاءَ». أخرجه مسلم برقم (234).

ความว่า : “ทุก ๆ คนในหมู่พวกท่านที่อาบน้ำละหมาดอย่างดี แล้วกล่าวว่า “อัชฮะดุ อัลลาอิลาฮะ อิลลัลลอฮฺ วะอันนะ มุหัมมะดัน อับดุลลอฮิ วะเราะสูลุฮฺ” (แปลว่า ฉันขอปฏิญาณว่าอัลลอฮฺเท่านั้นคือพระเจ้าผู้สมควรแก่การกราบไหว้อย่างแท้จริง และมุหัมมัดนั้นเป็นบ่าวและศาสนทูตของพระองค์) เขาจะได้รับการเปิดประตูสวรรค์ทั้งแปดให้ ซึ่งเขาสามารถจะเข้าทางประตูใด ๆ แล้วแต่เขาประสงค์  (บันทึกโดยมุสลิม หมายเลข 234)

 

มุหัมมัด อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

แปลโดย : สุกรี นูร จงรักสัตย์

Islam House


Next  2 >>>> Click