8 เคล็ดลับขจัดความขี้เกียจ
  จำนวนคนเข้าชม  23119

8 เคล็ดลับขจัดความขี้เกียจ


โดย.....อิบนุลฮัค


8 เคล็ดลับที่ช่วยขจัดความขี้เกียจให้ออกไปจากตัวเราในขณะศึกษาวิชาความรู้ ?

         หากด้วยกับธรรมชาติแห่งความเป็นมนุษย์ช่างเป็นเรื่องยากที่จะขจัดความขี้เกียจให้หมดไปได้ แต่หากว่าเขามีวิธีที่ถูกต้องและเอาจริงเอาจังกับตัวเองปัญหาเหล่านี้คงหมดไปอย่างแน่นอนด้วยกับวิธีการต่างๆดังต่อไปนี้  อินชาอัลลอฮ์


1. ตั้งเจตนา

         พยายามตั้งคำถามให้ตัวเองและตั้งเจตนารมณ์ของตนอยู่เสมอว่า เรียนทำไม? เรียนเพื่ออะไร ? ตำแหน่งของเรา ณ ที่อัลลอฮฺคืออะไร ? เพราะถ้าหากเรารู้ถึงเป้าหมายและสิ่งที่ได้รับ เราจะมีกำลังใจที่จะก้าวต่อไปอย่างไม่หวาดหวั่นและย่อท้อหรือขี้เกียจ

 

2. หมั่นขอดุอาอ์

         หมั่นขอดุอาฮฺต่ออัลลฮฺ ให้มากๆขอให้พระองค์ประทานความรู้ให้แก่เรา ให้ความง่ายดายในการศึกษาเรียนรู้ เพราะการศึกษาวิชาความรู้นั้นไม่ใช่เป็นเรื่องที่ใครก็สามารถเรียนได้ทุกคน หากแต่ต้องเป็นบุคคลที่พระองค์ทรงเลือกและต้องเป็นบุคคลที่พระองค์ทรงรักด้วย ฉะนั้นผู้ใดที่อัลลอฮ์รัก ถ้าเขาปรารถนาสิ่งใดพระองค์จะประทานให้ตามที่เขาต้องการ แต่ถ้าวันนี้อัลลอฮฺไม่ประสงค์ให้เขาเป็นผู้รู้ วันหน้าอัลลอฮฺอาจจะให้คนหนึ่งคนใดที่อยู่เคียงข้างเขาหรือคนหนึ่งคนใดจากลูกหลานของเขา หรือคนที่ดีกว่าเขาและสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้ดีกว่าให้เป็นผู้รู้ที่เก่งและฉลาดก็เป็นได้

         ดังเช่น พ่อของอีหม่ามฆอซาลีย์ท่านเป็นชาวสวนชาวนาคนธรรมดาที่มีนิสัยรักการศึกษาเรียนรู้แต่ท่านเป็นคนที่เรียนไม่ค่อยเก่งเหมือนชาวบ้านเค้าสักเท่าไหร่ มีอยู่วันหนึ่งหลังจากที่เสร็จจากงานประจำของตน ท่านก็มาละหมาดในมัสยิดและต่อด้วยการนั่งฟังบรรยายในวิชาฟิกฮฺ และเมื่อฟังไปท่านก็ไม่เข้าใจทำอย่างไรก็ไม่รู้เรื่อง จึงรู้สึกท้อถอยและแอบน้อยใจตัวเอง และรู้สึกเจ็บใจตัวเองว่าไม่น่าปล่อยโอกาสตอนที่เรายังเป็นหนุ่มให้ผ่านพ้นไปเลย และคิดรำพึงรำพันต่างๆนานา ว่า หากเราร่ำเรียนและขยันตอนวัยหนุ่มเราคงไม่ต้องมานั่งเจ็บใจอยู่อย่างนี้ แต่ท่านก็ยังไม่ได้หมดหวังในความเมตตาต่ออัลลอฮฺท่านได้ขอดุอาด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์ต่อพระองค์อัลลอฮฺว่า

“โอ้ อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงประทานลูกที่ดีเป็นนักปราชญ์ที่เก่งและชำนาญเรื่องฟิก ให้แก่ฉันสักคนด้วยเถิด”

         ท่านไปเรียนอยู่ตลอดถึงแม้ว่าจะเข้าใจบ้างหรือไม่เข้าใจบ้าง แต่ทุกครั้งที่ท่านไปเรียนในวงฮาลาเกะฮฺท่านก็ไม่เคยลืมที่จะขอดุอาต่อพระผู้อภิบาลว่า “ขอพระองค์ทรงประทานลูกแก่ข้าพระองค์ที่เข้าใจศาสนาเก่งทางด้านวิชาฟิกฮฺ”  แล้วพระองค์ก็ทรงตอบรับดุอาอ์ดังคำขอของเขาจริงๆและลูกของท่านก็คือ อีหม่ามฆอซาลีที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนั้นเอง

رجا ل من التاريخ 249

 

3. มีความมุ่งมั่น และ อดทน

         ต้องมีความหวังและความมุ่งมั่นสูงบวกกับความอดทน เช่นดังการอดทนของบรรดาอุลามาอิสลามทั้งหลาย เพราะกี่มากน้อยมาแล้วที่คนหนึ่งมีความอดทนในวันนี้แล้วเขากลับกลายเป็นคนมีชื่อเสียงในวันหน้า เช่นดังที่อัลลอฮฺได้กล่าวไว้ในซูเราะฮฺซายาดะฮฺอายะหฺที่ 24 ว่า

“เมื่อพวกเขาได้อดทน เราก็ได้ทำให้คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกเขาเป็นผู้นำเพื่อจะได้ชี้แนะพวกเขาตามคำบัญชาของเรา

และพวกเขาต่างเชื่อมั่นต่อองค์การต่างๆของเรา”

كيف تستنبط مسائل فقهية 19

 

4. เรียนรู้ชีวะประวัติของบรรดาอุลามาอ์

       พยายามอ่านหนังสือความประเสริฐของการศึกษาวิชาความรู้และชีวประวัติของนักปราชญ์อิสลามหรือบรรดาอุลามาอ์ให้มาก

         เชคชังกีตีย์ได้กล่าวว่า ผมจำได้ว่าอาจารย์ของผมคือเชคมูอัมมัดอามีนอัชชังกีตีย์ผู้เป็นเจ้าของหนังสือตัฟซีรอัดวาอุนบายานเคยกล่าวไว้ว่า ฉันขอสั่งเสียแก่นักเรียนทุกคนว่า จำเป็นที่พวกคุณต้องอ่านชีวประวัติของบรรดาอุลามาอ์ทั้งหลายเพื่อจะได้ยึดเอาพวกเขาเป็นแบบอย่างในการเรียนรู้และการดำเนินชีวิต อีกทั้งยังเป็นกำลังใจที่ดีให้กับตัวท่านเองในยามที่กำลังศึกษาอยู่

 

5. หมั่นช่วยเหลือพี่น้องเพื่อนฝูง

          หมั่นช่วยเหลือพี่น้องเพื่อนฝูง พยายามแบ่งปันและคอยหยิบยื่นสิ่งดีๆให้แก่ญาติมิตรสหายให้มาก เพราะการที่เขาได้ช่วยเหลือพี่น้องของเขา คือหนึ่งจากสาเหตุหลักที่พระองค์อัลลอฮฺจะทรงช่วยเขายามที่เขายากลำบากและต้องการความช่วยเหลือ มีรายงานโดยอบูอุร็อยเราะฮฺในสุนันติรมีซีย์ 1930 ว่า

ท่านนบี  กล่าวว่า

“และพระองค์อัลลอฮ์นั้นยังคงอยู่ในความช่วยเหลือบ่าวเสมอตราบใดที่บ่าวคนนั้นยังช่วยเหลือพี่น้องของเขา”

 

6. คบคนดีอยู่กับคนดี

          คบคนดีอยู่กับคนดีและพยายามอยู่ในสังคมแวดล้อมที่ดี ถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดโดยเฉพาะนักศึกษาหรือผู้ที่กำลังศึกษาเรียนรู้อยู่เพราะสิ่งเหล่านี้คือปัจจัยหลักสำคัญที่จะช่วยหล่อหลอมให้คนเป็นคนดี เป็นนักเรียนที่ดี และเป็นบ่าวที่พระองค์รัก

 

7. ใส่ใจกับทำอิบาดะฮ์

         หมั่นใส่ใจกับทำอิบาดะฮ์ การอุปโภค และบริโภคสิ่งของที่ฮาลาล และพยายามออกห่างจากการกระทำในสิ่งที่ฝ่าฝืนต่อคำสั่งของพระองค์อัลลอฮฺและท่านนบี

         มีเหตุกาลอยู่ครั้งหนึ่งซึ่งวันนั้น อีหม่ามชาฟีอีย์ได้เดินทางจากนครมะกะฮ์ เพื่อมาขอเป็นศิษย์กับท่านอีหม่ามมาลิกที่นครมะดีนะหฺ หลังจากที่อีหม่ามมาลิกได้รับเป็นลูกศิษย์แล้วจึงได้เห็นถึงความมุ่งมั่นและความเฉลียวฉลาดของอีหม่ามชาฟีอีย์  ท่านอีหม่ามมาลิกได้กล่าวนาซีอัตแก่ตัวอีหม่ามชาฟีอีย์ว่า จงยำเกรงต่ออัลลอฮฺและจงหลีกห่างจากข้อห้ามของพระองค์อัลลอฮฺเถิด แล้วทุกอย่างจะเป็นของเจ้า..

. منهج الامام الشافعي في إثبات العقيدة 17

         ครั้งหนึ่งในขณะที่อีหม่ามชาฟีอีย์กำลังเดินผ่านตลาดหลังจากกลับเรียนหนังสือ ทันใดนั้นสายตาท่านได้เหลือบไปเห็นส้นเท้าของหญิงนางหนึ่ง สาเหตุดังกล่าวได้ส่งผลต่อความจำของอีหม่ามชาฟีอีย์อย่างมาก และทำลายสมาธิในการอ่าน การจดจำ ภายหลังท่านเอาเรื่องดังกล่าวไปปรึกษากับอาจารย์ซึ่งมีนามว่า “วาเกียะฮฺ” อาจารย์ตอบกับอีหม่ามชาฟีอีย์ว่า “จงละทิ้งสิ่งต้องห้ามของอัลลอฮ์” เมื่อเป็นเช่นนั้นท่านก็รีบขออภัยโทษต่ออัลลอฮ์ทันที ในที่สุดอัลลอฮฺก็ให้ความจำของท่านกลับคืนสู่ปกติ จากนั้นท่านได้แต่งโครงกลอนเพื่อเป็นอุทาหรแก่ชนรุ่นหลังว่า


شكوت  إلي وكيع سوء حفظي   فأرشدني الي ترك المعاصي
 
وقال اعلم بأن العلم نور      ونور الله لا يؤتاه عاصي

“ฉันได้ไปฟ้องเล่าปัญหาการท่องจำของฉันให้วะเกียะฮฺฟัง  แล้วเขาแนะนำให้ฉันทิ้งสิ่งที่เป็นบาป

และกล่าวว่าพึงรู้เถิดความรู้นั้นคือดวงประทีบ   และดวงประทีบของอัลลอฮฺนั้นจะไม่คู่เคียงกับผู้ที่ฝ่าฝืน”

معالم طريق طلب العلم 31

 


8. ทำดีต่อบิดา มารดา

         สำคัญที่สุดรองจากการภักดีต่อพระองค์อัลลอฮ์ คือการทำดีต่อบิดามารดา และตอบแทนต่อผู้มีพระคุณ และถ้าหากเราลองสังเกตภูมิหลังของบรรดาอุลามาฮ์ผู้มีชื่อเสียง หรือบุคคลที่มีบทบาทสูงที่อยู่แนวหน้าในสังคม พวกเขาต่างเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ทั้งนั้น ดังเช่น


         1. อบูฮุร็อยเราฮฺ อิบนุมัสอูด อิบนุอับบ้าส อิบนุอุมัร และพระนางอาอีชะฮฺ( ขอพระองค์ทรงประทานความเมตตาแก่พวกเขาด้วยเถิด)พวกเขาคือบุคคลที่รายงานฮาดีษจากท่านรอซูล  มากที่สุด


         2. อุวัยสฺอัลก็อรนีย์หรืออุวัยสฺบุตรของอามิร ชายชาวเยเมน ผู้เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่และเป็นบ่าวที่อัลลอฮฺรัก ท่านนบี  ได้บอกถึงเกียรติคุณของเขาแก่ศอฮาบะฮฺก่อนท่านเสียชีวิตว่า

يأتيكم أويس ابن عامر من اليمن كان به برص فدعى الله فأذهبه أذهب الله عنه هذا المرض كان له أم كان له أم هو بها بر . يا عمر إذا رأيته فليستغفر لك فمره يستغفر لك

“จะมีชายท่านหนึ่งมาจากประเทศเยเมนเขาจะมาหาพวกเจ้าซึ่งมีนามว่า อุวัยสฺบุตรของอามิร

สถานที่นั้นผู้คนประสบกับโรคเรื้อนคราใดที่เขาขอดุอาอ์ต่อพระองค์อัลลอฮ์ พระองค์จะตอบรับดุอาอ์ของเขาแล้วทำให้หายจากโรคดังกล่าว

 เขามีแม่แล้วก็ทำดีกับแม่  โอ้ อุมัรหากว่าเจ้าได้เห็นเขาก็จงให้เขาขออภัยต่ออัลลอฮฺให้กับเจ้าเถิด...”

(บันทึกโดยมุสลิม เรื่องความประเสิฐของอุวัยสฺ 2542)

         ในเวลาต่อมาหลังจากที่ท่านนบี เสียชีวิตได้ไม่นานท่านอุมัรได้ตามหาชายผู้นี้โดยหวังว่าจะให้เขาขอดุอาฮต่ออัลลอฮ์ให้  และอยู่มาวันหนึ่งท่านทราบข่าวว่า จะมีกลุ่มผู้ทำฮัจย์กำลังเดินทางมาจากประเทศเยเมน ท่านอุมัร ได้หาโอกาสเข้าไปในกลุ่มนั้นช่วงขณะทำฮัจย์ ไปถามหาถึงอุวัยสฺ แล้วขอให้เขาดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์ให้ท่านอุมัรได้รับสวนสวรรค์  เมื่ออุวัยสวิงวอนขอ อัลลฮ์จึงตอบรับดุอาอ์ของเขา แต่ต่อมาเขาได้หายสาบสูญและไม่ปรากฏตัวให้ผู้ใดเห็นและไม่ขอดุอาให้ใครอีกเลย

        อุลามาอ์จึงมาค้นหาคำตอบดังกล่าวว่า  เหตุใดที่แม้แต่ตัวนบี ยังบอกท่านอุมัรให้อุวัยสฺขอดุอาต่ออัลลอฮฺให้ ทั้งที่ท่านนบี เองก็รับรองแล้วว่าอุมัรคือชายคนที่สองที่จะได้เข้าสวรรค์  สุดท้ายอุลามาก็ได้เจอคำตอบว่า

“ชายผู้นี้เป็นบ่าวที่ดีมีอีหม่าน ถ่อมตนและทีทำดีต่อพ่อแม่ตลอดและไม่เคยทำให้พ่อแม่ของเขาเสียใจ”


         3. อีหม่ามชาฟีอีย์ เด็กน้อยกำพร้าพ่อแต่เยาว์วัย ผู้ซื่อสัตย์ต่อมารดาและยึดหมั่นในคำสอนของผู้เป็นแม่

         หลังจากที่ท่านท่องจำอัลกรุอ่านจบที่เมืองมักกะฮฺแล้วจึงอยากจะไปศึกษาต่อกับอีหม่ามมาลิกที่เมืองมะดีนะหฺแต่ก่อนที่ท่านจะออกเดินทาง แม่ก็ได้สั่งกับท่านว่า " จงพูดจริง อย่าโกหกนะลูก " แล้วท่านก็เชื่อฟังปฎิบัติตามแม่ของท่านและไม่เคยจะพูดโกหก ต่อมาท่านได้กลายเป็นอุลามาอ์ผู้มีชื่อเสียงเจ้าของมัสฮับชาฟีอีย์ และถึงแม้ว่าวันนี้ท่านได้กลับไปหาอัลลอฮ์แล้ว แต่ความรู้ยังคงอยู่ให้พี่น้องมุสลิมได้รับประโยชน์ประหนึ่งว่าท่านยังมีชีวิตอยู่ และสอนเราอยู่ในทุกครั้งที่ได้อ่านเรื่องราวของศาสนา

منهج الامام الشافعي في إثبات العقيدة 17


         4. อีหม่ามซะฮฺบีย์ ลูกศิษย์ท่านอิบนุตัยมียะหฺ เจ้าของหนังสือ ประวัติอุลามาอ์ผู้โด่งดัง มีจำนวนทั้งหมด 27 เล่ม และเกือบพูดได้ว่าท่านเป็นคนที่รวมเรื่องราวของอุลามาอ์ทั้งหมดของทศวรรษนี้ก็ว่าได้ ครั้งหนึ่งหลังจากที่ท่านได้เริ่มเดินทางท่องไปเพื่อศึกษาวิชาความรู้  ทุกครั้งที่ไปท่านจะต้องมาขออนุญาตพ่อแม่กับสิ่งที่ท่านจะลงมือทำในทุกครั้งไป และมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านต้องการจะเดินทางอีกแต่พ่อของท่านไม่สบายและเริ่มชราภาพแล้ว  พ่อก็ได้หันไปพูดกับท่านว่า “ไม่ต้องไปไหนหรอกอยู่กับฉัน อยู่ช่วยบริการฉันแล้วพระองค์อัลลอฮ์จะให้ความบารอกะฮฺกับความรู้ของเจ้าเองอินชาอัลลอฮฺ”  จากนั้นเป็นต้นมาท่านได้อยู่ช่วยดูแลพ่อของท่านจนกระทั่งพ่อท่านกลับไปหาอัลลอฮฺ หลังจากที่พ่อเสียชีวิตพระองค์อัลลอฮ์ ทรงให้ท่านกลายเป็นนักปราชญ์ใหญ่ ตอบรับผลงานและทรงทำให้ใครก็จำชื่อท่านได้ดังเช่นทุกวันนี้

سير أعلام النبلاء1/12 . معالم في طريق طلب العلم234-235)


         5. อีหม่ามอาบูอะซันอันนัดวีย์ นักเคลื่อนไหวอิสลามและนักฟื้นฟูในยุคเรา ท่านเป็นคนหนึ่งที่กำพร้าพ่อและยากจนแต่ด้วยเหตุผลที่ท่านเป็นลูกที่ดีของแม่ อัลลอฮฺทรงตอบแทนให้เขาเป็นอุลามาอ์ในมีเกียรติในวันวันนี้ และท่านคือผู้ก่อตั้งมหาลัยอันนัดวะฮฺแห่งประเทศอินเดีย และที่สำคัญท่านพูดภาอาหรับไม่ค่อยเก่งแต่สามารถแต่งหนังสือภาษาอาหรับได้มากมาย

أبو الحسن الندري وحياته


         6. และอีกท่านหนึ่งคือ ดร อิสมาแอลลุตฟี จะปะกียา ลูกศิษย์ของท่านได้เล่าว่าไม่ว่าจะไปไหนหรือกลับมาจากที่ใดท่านจะมุ่งเข้าไปหาพ่อแล้วจูบที่หน้าผากพ่อท่านและจะขออนุญาตพ่อทุกๆครั้งที่จะลงมือทำไม่ว่างานใดก็ตาม นี่คือหลักสำคัญที่ทำให้ท่านมีความโดนเด่นและเป็นที่ยอมรับของผู้คน ก็เพราะผลจากการที่ท่านเป็นบ่าวที่ดีของพระองค์อัลลอฮฺและเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่นั่นเอง


ท่านนบี ได้กล่าวว่า

“ความพึงพอใจของอัลลอฮฺขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของพ่อแม่ และความโกรธกริ้วของอัลลอฮฺนั้นขึ้นอยู่กับความโกรธกริ้วของพ่อแม่เช่นกัน”

(บันทึกโดย ติรมีซีย์ 1962)


         ท่านอินยาสบุตรชายของท่านมุอาวียะฮฺได้ร้องให้เสียใจกับการจากไปของมารดาของเขาอย่างมากแล้วก็มีคนได้ถามท่านว่า ท่านจะร้องให้ทำไม อะไรคือเหตุที่ทำให้ท่านร้องให้ละ?ท่านก็ได้พูดออกมาว่า  “วันก่อนฉันเคยมีประตูอยู่สองบานที่เปิดรอให้ฉันเข้าสวรรค์แต่วันนี้ประตูบานหนึ่งมันได้ถูกปิดไปแล้ว แล้วจะไม่ให้ฉันเสียใจได้อย่างไร”

معالم طريق طلب العلم 233


          โอ้ ผู้เรียนรู้เอ๋ย พวกท่านคือผู้สืบทอดมรดกของบรรดานบีและรอซูลทั้งหลาย มุสลิมจะยิ่งใหญ่หรือไม่อยู่ที่มือของพวกเรา ดังนั้นจงตั้งใจภาคเพียรศึกษา อย่าเกียจคร้าน และจงภักดีเชื่อฟังปฏิบัติตามอัลลอฮฺและนบีเถิด แล้วชีวิตจะมีริสกีที่บารอกะฮฺ และการทำดีต่อบิดามารดาในวันนี้คือสาเหตุหลักที่ลูกของท่านจะทำดีกับท่านในวันข้างหน้า อีกทั้งมันยังเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้อัลลอฮฺตอบรับดุอาอ์ ตลอดจนการเป็นผู้ที่ได้รับเกียรติในวันหน้าอีกด้วย
        

 



หนังสืออ้างอิง

1معالم طريق طلب العلم لعبد العزير بن محمد السدحان.دار العاصمة
2.سير أعلام النبلاء للامام الذهبي.  دار المؤسسة الرسالة           
3.أبو الحسن الندوي وحياته .دار القلم                                  
4.رجال من التاريخ :علي الطنطاوي .دار المنارة                     
5.منهج الامام الشافعي في إثبات العقيدة  :د محمد بن عبد وهاب العقيل .رسالة دكتورة .
6.كيف تستنبط مسائل فقههة للوصول الي الراجح :أبو عبد الرحمن عبد الكريم ربيع بن ابراهيم.دار الصميعى للنشر والتوزيع.
7.المنهاح  في شرح صحيح مسلم للنووي .دار المعرفة          
8.العنوان : ياطالب العلم أترك الخمول والكسل .الوصايا لطالب العلم : youtobe محاضرة الشيخ محمد مختار الشنقيطي