อิสลามส่งเสริมความรุนแรงหรือไม่?
  จำนวนคนเข้าชม  14047

  

ศาสนาอิสลามส่งเสริมความคิดและการกระทำที่รุนแรงหรือไม่ ?  

ศาสตราจารย์ ดร. มะห์มูด ฮัมดี ซักซูก

  

         อิสลามเป็นศาสนาที่สอนให้มีความกรุณาปรานี และส่งเสริมให้มีความยุติธรรม และสันติภาพ นอกจากนั้นอิสลามยังรักษาเสรีภาพ เกียรติยศและความมีศักดิ์ศรี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เป็นเพียงคำขวัญแต่เป็นหลักการที่อิสลามยึดเหนี่ยวอยู่ด้วย พะผู้เป็นเจ้าได้ส่งศาสนฑูตมุฮัมมัด  ดังปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ซูเราะฮ์อัลอันบียา โองการที่ 107 ความว่า

"และเราไม่ได้ส่งเจ้ามาเพื่ออื่นใด นอกจากเพื่อเป็นความเมตตาแก่ประชาชาติทั้งหลาย"

  

         และศาสดา  กล่าวเช่นเดียวกันว่า "ตัวฉันเองได้ถูกส่ง มาเพื่อทำให้จรรยาบันที่สูงส่งนั้นสมูรณ์ยิ่ง"

          อิสลามอนุญาตให้มนุษย์สามารถที่จะเลือกความเชื่อได้ รวมทั้งเรื่องของความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า หรือปฏิเสธความเชื่อก็ตาม ดังมีหลักฐานปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ซูเราะฮ์ กาห์ฟี โองการที่ 29 ความว่า

"และจงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) สัจธรรมนั้นมาจากพระผู้เป็นเจ้า

ดังนั้นผู้ใดประสงค์ก็จงศรัทธา และผู้ใดประสงค์ก็จงปฏิเสธ

แท้จริงเราได้เตรียมไฟนรกไว้สำหรับพวกอธรรม ซึ่งกำแพงของมันล้อมรอบพวกเขา

และถ้าพวกเขาร้องขอความช่วยเหลือ ก็จะถูกช่วยเหลือด้วยน้ำเสมือนน้ำทองแดงลวกใบหน้า

มันเป็นน้ำดื่มที่ชั่วช้าและเป็นที่พำนักที่เลวร้าย"

 

          การเชิญชวนให้นับถือศาสนาอิสลามนั้น เป็นเรื่องของการเชิญชวนจิตใจคน โดยการเรียกร้องอย่างนิ่มนวลและด้วยการสนทนาอย่างฉันท์มิตร ไม่ใช่วิธีการบังคับขู่เข็ญใดๆ ในหลักการของอิสลามได้เรียกร้องให้บรรดาชาวมุสลิมรักษาความยุติธรรม และเสรีภาพ โดยห้ามสิ่งอยุติธรรมใดๆ ตลอดจนการทารุณ การฉ้อราษฎร์บังหลวง การกระทำการใดๆที่ชั่วร้ายอันเป็นการส่งเสริมความชั่วให้อยู่ในระดับเดียวกับความดี ดังปรากฏในอัลกุรอาน ซูเราะฮ์ ฟุซซิลัต โองการที่ 34 ความว่า

 

"ความดีและความชั่วนั้นหาเท่าเทียมกันไม่ เจ้าจงขับไล่(ความชั่ว) ด้วยสิ่งที่มันดีกว่า

แล้วเมื่อนั้นผู้ที่อยู่ระหว่างเจ้ากับระหว่างเขาเคยเป็นอริกัน ก็จะกลับกลายเป็นเยี่ยงมิตรที่สนิทกัน"

 

         เมื่อครั้งที่ศาสดามุฮัมมัด  ได้รับชัยชนะเหนือประชาชนที่นครมักกะฮ์นั้น ท่านได้ให่อภัยกับบุคคลเหล่านั้น แม้ว่าพวกเขาเคยติดตามประหัตประหาร่านก็ตาม โดยได้กล่าวว่า "พวกท่านมีเสรีภาพที่สมบูรณ์แล้ว"

          มีการเปรียบเทีบกันระหว่างความศรัทธาในศาสนาอิสลามและสันติภาพ ในภาษาอาหรับคำว่า อิสลามและสลาม นั้นแปลว่าสันติภาพ มาจากรากศัพท์เดียวกัน พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงบอกถึงคุณลักษณะของพระองค์เองในคัมภีร์อัลกุรานว่า พระองค์เป็นผู้สันติ เมื่อบรรดามุสลิมทักทายกันก็จะทักทายกันด้วยการให้สลาม (อัสลามุอลัยกุม แปลว่า ขอความสันติจงประสบแด่ท่าน) เสมือนเป็นการเตือนอยู่เสมอว่า ความสันตินั้นเป็นหลักการหนึ่งที่สำคัญของอิสลามที่จะต้องรักษาไว้ในจิตใจของมุสลิมทุกคน มุสลิมทุกคนเมื่อละหมาดวันละ 5 เวลา ก็จะจบการละหมาดด้วยการให้สลาม โดยหันหน้าไปทางขวาและทางซ้าย พร้อมกับกล่าวสลาม (ความสันติ)

 

         จากข้อมูลที่ได้กล่าวมาข้างต้นเห็นได้ว่า อิสลามเป็นศาสนาที่รักความสันติ โดยไม่เปิดช่องว่างให้ใช้ความรุนแรง ความบ้าระห่ำ การก่อการร้าย หรือการโจมตี บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม คำสั่งสอนและหลักการของอิสลามมุ่งที่จะพิทักษ์รักษาสิทธิมนุษยชน ซึ่งหมายรวมถึงสิทธิในชีวิต ครอบครัว ความเชื่อ ความคิด และทรัพย์สิน     หลักการศรัทธาในอิสลามห้ามไม่ให้มีการทร้ายผู้อื่น ซึ่งการทำร้ายผู้อืนนั้นเปรียบเสมือนการทำร้ายมนุษย์ชาติ ซึ่งมีหลักฐานปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอาน ซูเราะฮ์ อัลมาอีดะฮ์ โองการที่  34 ความว่า

"แท้จริงผู้ใดฆ่าชีวิตหนึ่งโดยมิใช่ทดแทนอีกชีวิตหนึ่ง หรือมิใช่เนื่องจากบ่อนทำลายในแผ่นดินแล้ว

ก็ประหนึ่งว่าเขาได้ฆ่ามวลมนุษย์ทั้งมวล"

 

         ดังนั้นปัจเจกชนจึงเป็นเรื่องของมนุษยธรรมและความห่วงใยของศาสนาอิสลามในเรื่องการพิทักษ์รักษามนุษยธรรม จึงปรากฏอยู่ในการที่มนุษย์คนหนึ่งให้ความเคารพต่อมนุษย์อีกคนหนึ่ง โดยการเคารพถึงเสรีภาพ ความมีศักดิ์ศรี และสิทธิมนุษย์ชนของเขา ท่านศาสดาได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า

"มุสลิมนั้นห้ามที่จะมีการนองเลือด ลักทรัพย์ หรือทำลายเกียรติภูมิของมุสลิมด้วยกัน"

นอกจากนั้นยังได้กล่าวอีกว่า

"ผู้ใดที่ทำลายล้างผู้ซึ่งนับถือพระผู้เป็นเจ้า จะไม่่ได้รับการอภัยในเรื่องของการทำลายล้างในวันพิพากษา(กิยามะฮ์)"

 

        ศาสนาอิสลามได้เรียกร้องให้ทุกๆประชาชาติอยู่ร่วมกันด้วยสันติวิธี อีกทั้งให้มุสลิมปฏิบัติต่อผู้ที่ไม่ได้เป็นมุสลิมด้วยความยุธรรม ดังมีหลักฐานปรากฏในอัลกุรอาน ซูเราะฮ์ที่ 60 โองการที่ 8 ความว่า

"พระองค์ อัลลอฮ์ มิได้ทรงห้ามพวกเจ้าเกี่ยวกับบรรดาผู้ที่มิได้ต่อต้านพวกเจ้าในเรื่องศาสนา

และพวกเขามิได้ขับไล่พวกเจ้าออกจากบ้านเรือนของพวกเจ้า ในการที่พวกเจ้าจะทำความดีแก่พวกเขา

และให้ความยุติธรรมแก่พวกเขา แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักผู้ที่มีความยุติธรรม"  

  

         ความรับผิดชอบที่จะรักษาสมาชิกของประชาคมใดๆ เป็นความรับผิดชอบของทุกคนในประชาคมนั้นๆ การรับผิดชอบร่วมกันจึงเป็นหนทางเดียวที่จะให้เกิดความมั่นคง และเสถียรภาพเพื่อที่จะไม่ให้มีการโกงกิน มีอันตรายมาคุกคาม และเพื่อมิให้เกิดความเสื่อมทรามลง

  

         ในอีกตอนหนึ่งท่านศาสดาได้เปรียบเทียบพวกเราทุกคนเสมือนกับบุคคลที่นั่งอยู่ในเรือลำเดียวกัน โดยมีคนจำนวนหนึ่งอยู่บนดาดฟ้าเรือ ในขณะที่คนอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ภายในลำเรือนั้น เมื่อคนที่อยู่ในเรือต้องการน้ำที่จะดื่ม จึงขึ้นไปหาคนที่อยู่บนดาดฟ้าแล้วบอกว่า เขาสามารถที่จะหาน้ำดื่มด้วยการเจาะรูที่ท้องเรือ ซึ่งในการกระทำเช่นนั้น เขาไม่ต้องการที่จะทำลายบุคคลที่อยู่ข้างบน ดังนั้นหากบุคคลที่อยู่บนดาดฟ้าไม่ห้ามพวกเขาทุกคนก็จะจมน้ำตาย แต่หากพวกเขาห้ามไม่ให้เจาะรูที่ท้องเรือ ทุกคนก็จะปลอดภัย