จงปฏิบัติอิบาดะฮ์ด้วยความยำเกรง
  จำนวนคนเข้าชม  2323


จงปฏิบัติอิบาดะฮ์ด้วยความยำเกรง

 

 แปลเรียบเรียง .อาบีดีน พัสดุ

 

          พี่น้องมุสลิมทั้งหลาย เมื่อเราจะละหมาด สิ่งที่วายิบคือการทำความสะอาดด้วยน้ำ , และหากไม่มีน้ำหรือ มีอุปสรรคในการใช้น้ำ , ก็อนุญาตให้เปลี่ยนไปสู่การตะยำมุมดังเช่นที่รู้กัน

 

     ♥ การละหมาดฟัรฎู โดยหลักพื้นฐาน ผู้ที่ละหมาดจะต้องยืนละหมาด , และหากไม่สามารถที่จะยืนได้ก็ให้นั่งละหมาด ดังที่มีบันทึกใน หนังสือซอฮีฮฺบุคอรี จากท่านอิมรอน บิน หุเซน ร่อฏิฯ กล่าวว่า ฉันเป็นริดสีดวง ฉันจึงได้ถามท่านร่อซู้ลซ็อลฯ ถึงการละหมาด 

ท่านร่อซู้ล  ได้กล่าวว่า

 

« صَلِّ قَائِمًا ، فَإِنْ لَمْ تَسْتَطِعْ فَقَاعِدًا ، فَإِنْ لَمْ تَسْتَطِعْ فَعَلَى جَنْبٍ » .

 

เจ้าจงละหมาดในสภาพที่ยืน หากไม่สามารถยืนได้ก็ให้นั่ง หากไม่สามารถนั่งได้ก็ให้นอนตะแคง

 

         และในการย่อละหมาดของคนเดินทาง คนป่วย และผู้ออกสงคราม อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

(وَإِذَا ضَرَبْتُمْ فِي الْأَرْضِ فَلَيْسَ عَلَيْكُمْ جُنَاحٌ أَنْ تَقْصُرُوا مِنَ الصَّلَاةِ ) النساء 101،

 

และเมื่อพวกเจ้าเดินทางไปในผืนแผ่นดิน ก็ไม่มีบาปใดๆแก่พวกเจ้า ในการที่พวกเจ้าจะลดลงจากการละหมาด

 

หมายถึงลดจำนวนร็อกอัตของการละหมาด

 

     ♥ ในเรื่องการถือศีลอด มุสลิมจำเป็นจะต้องงดเว้นจากทุกสิ่งที่ทำให้เสียศีลอด ตั้งแต่แสงอรุณขึ้น จนกระทั้งดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า , แต่หากการถือศีลอดก่อให้เกิดความยากลำบากเป็นอย่างมากแก่เขา ก็ให้เปลี่ยนไปสู่การรับประทานอาหาร 

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

  البقرة 184،  (فَمَنْ كَانَ مِنْكُمْ مَرِيضًا أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِنْ أَيَّامٍ أُخَرَ وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ)

 

     “แล้วผู้ใดในพวกเจ้าป่วยหรืออยู่ในการเดินทาง ก็ให้ถือใช้ในวันอื่น และหน้าที่ของบรรดาผู้ที่ถือศีลอดด้วยความลำบากยิ่ง (โดยที่เขาได้งดเว้นการถือ) นั้น คือการชดเชยอันได้แก่การให้อาหาร (มื้อหนึ่ง) แก่คนมิสกีนคนหนึ่ง (ต่อการงดเว้นจากการถือหนึ่งวัน)“

 

وفي سنن البيهقي (عَنِ ابْنِ عَبَّاسٍ قَالَ : رُخِّصَ لِلشَّيْخِ الْكَبِيرِ أَنْ يُفْطِرَ وَيُطْعِمَ عَنْ كُلِّ يَوْمٍ مِسْكِينًا وَلاَ قَضَاءَ عَلَيْهِ)

 

     ในสุนั่น อัลบัยฮากีจากท่านอิบนุอับบาส กล่าวว่า ได้มีการผ่อนผันแก่ผู้ที่ชราภาพให้รับประทาน (ไม่ต้องถือศีลอด) และให้บริจาคเป็นอาหารแก่คนยากจนหนึ่งคนสำหรับแต่ละวัน และไม่ต้องถือศีลอดชดเชย

 

     ท่านอิบนุกุดดามะฮฺ ได้ระบุไว้ในอัลมุฆนีผู้สูงอายุและผู้ที่หมดความสามารถ หากการถือศีลอดเป็นภาระอันหนักอึ้งและทำให้เกิดความยากลำบากเป็นอย่างมาก ก็ให้คนสองประเภทนี้งดเว้นจากการถือศีลอด โดยให้อาหารแก่คนยากจนวันละหนึ่งคน  และหากว่าไม่มีความสามารถที่จะทำการเลี้ยงอาหารคนยากจนได้ ก็ไม่ต้องชดเชยการถือศีลอดด้วยสิ่งอื่นใด , และผู้ป่วยที่ไม่มีความหวังว่าจะหายจากการเจ็บป่วย , ให้งดการถือศีลอด , และให้อาหารแก่คนยากจนวันละหนึ่งคน , เพราะอยู่ในจำพวกเดียวกับผู้สูงอายุ

 

     ♥ ในเรื่องการทำฮัจญ์ , หลักการข้อนี้ทั้งหมดตั้งอยู่บนพื้นฐานที่สำคัญ , นั่นคือความสามารถ

ดังที่อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

{وَلِلَّهِ عَلَى النَّاسِ حِجُّ الْبَيْتِ مَنِ اسْتَطَاعَ إِلَيْهِ سَبِيلًا وَمَنْ كَفَرَ فَإِنَّ اللَّهَ غَنِيٌّ عَنِ الْعَالَمِينَ} [آل عمران: 97]

 

     “และสิทธิของอัลลอฮฺที่มีแก่มนุษย์นั้น คือการมุ่งสู่บ้านหลังนั้น อันได้แก่ผู้ที่สามารถหาทางไปยังบ้านหลังนั้นได้ และผู้ใดปฏิเสธ แท้จริงอัลลอฮฺนั้น ไม่ทรงพึ่งประชาชาติทั้งหลาย

 

และเช่นเดียวกับฮาดีษที่ได้ระบุไว้แล้วข้างต้น

 

          ในการประกอบพิธีฮัจญ์นั้น , ใครก็ตามไม่มีที่พัก ทุ่มมีนา หรือที่มุซดาลีฟะฮฺ โดยเป็นที่พักที่ให้ความสะดวกตามสมควรแก่เขา 

         และสำหรับการทำฮัจญ์นั้น น่าจะเป็นหลักการอิสลามที่นำเอาโองการนี้มาใช้ในรายละเอียดมากที่สุด ในเรื่องการสั่งใช้ให้ทำความดีและห้ามปรามจากการกระทำผิด , ผู้ที่บรรลุศาสนภาวะจะต้องระงับการกระทำผิดด้วยมือของเขา หากสามารถกระทำได้ , หากไม่สามารถ ก็ให้ยังยั้งความผิดด้วยลิ้น (หมายถึงคำพูดตักเตือน) , หากไม่สามารถก็ให้ทำใจออกห่าง 

ในซอฮีฮฺมุสลิม ท่านร่อซู้ลซ็อลฯ กล่าวว่า

 

« مَنْ رَأَى مِنْكُمْ مُنْكَرًا فَلْيُغَيِّرْهُ بِيَدِهِ فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِلِسَانِهِ فَإِنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَبِقَلْبِهِ وَذَلِكَ أَضْعَفُ الإِيمَانِ ».

 

     “ใครก็ตามในหมู่ของพวกท่านที่เห็นความชั่วร้ายเขาจงเปลี่ยนแปลงมันด้วยมือของเขา หากเขาไม่สามารถก็ด้วยลิ้นของเขา และหากไม่สามารถก็ด้วยหัวใจของเขา ดังกล่าวนี้นั้น แสดงถึงระดับขั้นอีมานที่อ่อนแอที่สุดแล้ว

 

     ♥ ผู้ใดมีหน้าที่จะต้องจ่ายค่าเลี้ยงดู แต่เขาไม่มีความสามารถที่จะจ่ายให้ครบถ้วนได้ ก็ให้เริ่มจากภรรยาของเขา , ทาสของเขา , ลูกๆ , พ่อแม่ , ตามลำดับความใกล้ชิดและเช่นเดียวกันในกรณีของซากาตุ้ลฟิตรฺ

 

     ♥ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการปกครองและตำแหน่งทางด้านศาสนาและทางโลก เหล่านั้นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งหน้าที่เล็กๆ หรือตำแหน่งใหญ่โตก็ตาม ทุกๆตำแหน่งหน้าที่ จะต้องแต่งตั้งผู้ที่มีความเพรียบพร้อมที่สุด ที่จะสามารถทำหน้าที่ที่ได้รับอย่างสมบูรณ์  หากไม่มีผู้ใดมีความเพียบพร้อมในตำแหน่งหน้าที่นั้นๆ ก็จะต้องแต่งตั้งผู้ที่เหมาะสมมากที่สุดตามลำดับ

          และเหล่านี้ได้แจกแจงแก่พวกเราถึงความเข้าใจอันถูกต้องต่อคำดำรัสของอัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่ง

 

(فَاتَّقُوا اللَّهَ مَا اسْتَطَعْتُمْ ) التغابن 16،

 

ดังนั้น จงยำเกรงอัลลอฮฺเถิด เท่าที่พวกเจ้ามีความสามารถ

 

 

 

คุตบะห์วันศุกร์