มารยาทและความประเสริฐของวันอะเราะฟะฮฺ
  จำนวนคนเข้าชม  12999


มารยาทและความประเสริฐของวันอะเราะฟะฮฺ

 

อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

          อะเราะฟะฮฺ คือ ภูเขาที่ตั้งอยู่ห่างจากนครมักกะห์ประมาณ 22 กิโลเมตร และห่างจากมีนาประมาน 10 กิโลเมตร และห่างจากมุซดะริฟะห์ประมาน 6 กิโลเมตร เป็นสถานที่ที่สำคัญที่สุด ในการใช้ประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งถูกเรียกว่า การวุกูฟ ซึ่งหมายถึง คนที่ทำฮัจญ์ทั้งหมดจะต้องไปขอดุอาอฺ สถานที่ตรงนี้

 

          การวุกูฟที่อะเราะฟะฮฺจะเกิดขึ้นในวันที่ 9 ซุ้ลฮิจยะห์ และการวุกุฟที่อะเราะฟะฮฺท่านนบีกล่าวว่า 

((«الحَجُّ عَرَفَةُ)) ฮัจย์ คือ การวุกูฟที่อะเราะฟะฮฺ

 

อารอฟะห์ แปลว่า การทำความรู้จัก

 

     มีสายรายงาน ว่า ท่านนบีอาดัม กับพระนางฮาวาได้มาพบกัน สถานที่ ตรงนี้จากหลังที่อัลลอฮฺให้ออกจากสวรรค์ เรียกว่า อารอฟะห์

     มีอีกรายงานหนึ่งว่า ญิบรีลได้พาท่านนบีอิบรอมฮีมไปยังสถานที่ต่างๆในการทำฮัจญ์ทั้งหมด 

     ญิบรีล กล่าวแก่ท่านนบีอิบรอมฮีม ว่า ท่านรู้หรือยัง ทราบแล้วหรือยัง 

     ท่านนบี อิบรอมฮีมตอบ ว่า ฉันรู้แล้ว ฉันรู้แล้ว 

(ที่มาของการเรียกว่า อารอฟะห์ ในหนังสือ อิมาม อธิบายกรุอ่านของอิม่าม กุรตุบีย์)

 

ความประเสริฐของ วันอะเราะฟะฮฺ

 

  •  วันอะเราะฟะฮฺเป็นวันหนึ่งในเดือนต้องห้าม

 

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

(إِنَّ عِدَّةَ الشُّهُورِ عِنْدَ اللَّهِ اثْنَا عَشَرَ شَهْرًا فِي كِتَابِ اللَّهِ يَوْمَ خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضَ مِنْهَا أَرْبَعَةٌ حُرُمٌ) [سورة التوبة : 36]

     “แท้จริงจำนวนเดือน อัลลอฮ์นั้นมีสิบสองเดือน ในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินจากเดือนเหล่านั้นมีสี่เดือน ซึ่งเป็นเดือนที่ต้องห้าม

 

  •  วันอะเราะฟะฮฺเป็นวันหนึ่งในวันต่างๆของเดือนฮัจญ์

อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

(الْحَجُّ أَشْهُرٌ مَعْلُومَاتٌ) [سورة البقرة : 197]

เวลาของ การทำฮัจญ์นั้นมีหลายเดือนอันเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว

     เดือนแห่งการทำฮัจญ์ เดือนเชาวาล ชุลเกาะดะฮฺ สิบวันของเดือนซุลฮิจยะห์

 

  •  วันอะเราะฟะฮฺเป็นวันหนึ่งถูกกล่าวเอาไว้ในกรุอาน

     ในคัมภีร์อัล-กุรอาน พระองค์อัลลอฮ์จะสาบานด้วยสิ่งที่ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ เช่นพระองค์ได้สาบานด้วยวันอะเราะฟะฮ์ โดยมีหลักฐานจากหะดีษที่ท่านเราะซูล ได้กล่าวว่า

أنَّ النبِيَّ قالَ : اليومُ المَوعُودُ : يومُ القِيامة واليومُ المشْهودُ يومُ عرفة والشاهِد يومُ الجُمُعة) (رواه التِّرمدي)

“ (اليوم الموعود )

วันที่ได้นัดไว้ที่พระองค์ได้สาบานในอัล-กุรอาน หมายถึงวันโลกหน้า (اليوم المشهود )”

วันที่มนุษย์ได้เห็น คือวันอะเราะฟะฮฺ

ส่วนวัน (الشاهِد ) วันที่เป็นพยาน คือวันศุกร์

อัลลอฮ์ ทรงกล่าวว่า

(لِيَشْهَدُوا مَنَافِعَ لَهُمْ وَيَذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ فِي أَيَّامٍ مَعْلُومَاتٍ) [سورة الحج:28].

เพื่อพวกเขาจะได้มาร่วม เป็นพยานในผลประโยชน์ของพวกเขา และกล่าวพระนามอัลลอฮ์ในวันที่รู้กันอยู่แล้ว

ท่านอิบนุ อับบาส กล่าวว่า (أَيَّامٍ مَعْلُومَاتٍ) สิบวันแรกของเดือนซุลอิจญะฮ์

 

  •  วันอะเราะฟะฮฺ เป็นวันที่อัลลอฮฺได้สาบาน

อัลลอฮฺทรงกล่าวว่า

والفجْرِ ، وليالٍ عشْرٍ ، والشَّفْعِ ، والوَتْرِ ، واللَّيْلِ إدا يَسْرِ هل في دلك قسَمٌ لِدي حجْرٍ الفجْر/1-5

     “ขอสาบานด้วยยามรุ่งอรุณ และด้วยค่ำคืนทั้งสิบ และด้วยสิ่งที่เป็นคู่และที่เป็นคี่ และด้วยเวลากลางคืนเมื่อมันโคจรไป ดังกล่าวนั้นเป็นการสาบานสำหรับผู้ที่มีปัญญามิใช่หรือ

          อธิบายของอิบนุอับบาส อิบนุ ซุบัยรฺ มุญาฮิดและด้วยค่ำคืนทั้งสิบคือ 10 วันของเดือนซุลฮิจญะฮฺ และคำกล่าวอีกหลาย ท่าน

 

  •  วันอะเราะฟะฮฺ เป็นวันที่ประเสริฐที่สุดในรอบปี

     จากอิบนุอับบาส จากท่านศาสดา ขออัลลอฮฺทรงให้พรและความสันติแด่ท่าน ได้กล่าวว่า

"مَا مِنْ أَيَّامٍ العَمَلُ الصَّالِحُ فِيهِنَّ أَحَبُّ إِلَى اللَّهِ مِنْ هَذِهِ الأَيَّامِ العَشْرِ"، فَقَالُوا: يَا رَسُولَ اللَّهِ، وَلَا الجِهَادُ فِي سَبِيلِ اللَّهِ؟ فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: "وَلَا الجِهَادُ فِي سَبِيلِ اللَّهِ، إِلَّا رَجُلٌ خَرَجَ بِنَفْسِهِ وَمَالِهِ فَلَمْ يَرْجِعْ مِنْ ذَلِكَ بِشَيْءٍ"

     "ไม่มีวันใดที่การทำความดีในนั้นจะเป็นที่รักสำหรับอัลลอฮฺมากไปกว่าสิบวันนี้

     พวกเขาถามว่า "ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ไม่แม้แต่การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺหรือ?" 

     ท่านศาสนทูตของอัลลอฮฺ ตอบว่า "ไม่ แม้แต่การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ นอกจากผู้ที่ออกไปทั้งตัวและทรัพย์สิน และไม่ได้กลับมาอีกเลย"

(บันทึกโดยบุคอรีย์)

รายงานโดยท่านอิบนุอับบาสจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَا مِنْ عَمَلٍ أَزْكَى عِنْدَ اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ ، وَلَا أَعْظَمَ أَجْرًا ، مِنْ خَيْرٍ يَعْمَلُهُ فِي عَشْرِ الْأَضْحَى " . قِيلَ : وَلَا الْجِهَادُ فِي سَبِيلِ اللَّهِ ؟ قَالَ : " وَلَا الْجِهَادُ فِي سَبِيلِ اللَّهِ عَزَّ وَجَلَّ ، إِلَّا رَجُلٌ خَرَجَ بِنَفْسِهِ وَمَالِهِ فَلَمْ يَرْجِعْ مِنْ ذَلِكَ بِشَيْءٍ

     “ไม่มีวันใดๆ การกระทำอันดีงามที่อัลลอฮฺทรงโปรดจะถูกกระทำในวันนั้นดีกว่าการกระทำสิ่งดีๆในบรรดาวันนี้(คือสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ)” 

     เศาะฮาบะฮฺได้กล่าวว่าแม้กระทั่ง(ดีกว่า)การทำญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ” 

     ท่านนบีตอบว่าแม้ กระทั่งการทำญิฮาด(หมายถึงจะไม่ดีกว่าการทำความดีในสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮฺ) เว้นแต่ชายคนหนึ่งออก(จากบ้าน)ด้วยชีวิตและทรัพย์สิน(เพื่อทำญิฮาดในหนทาง ของอัลลอฮฺ

     และไม่มีสิ่งใดจากนั้น(ชีวิตและทรัพย์สิน)ได้กลับมาเลย(คือ เสียทรัพย์สมบัติและชีวิตของเขาไปในการญิฮาดเพื่ออัลลอฮฺตะอาลา แต่การญิฮาดอื่นๆจากนี้ก็ไม่ประเสริฐกว่าการปฏิบัติอิบาดะฮฺในสิบวันแรกของ ซุลฮิจญะฮฺ )

(บันทึกบุคอรีย์และอบูดาวูด)

 

  •  วันอะเราะฟะฮฺ เป็นวันที่ศาสนาสมบูรณ์

จากท่านอุมัร บิน ค็อตต็อบ รอฎิยัลลอฮุอันฮุ

     “มีชายคนหนึ่งจากเผ่ายิวได้กล่าวต่อหน้าท่านอุมัร บิน อัล-ค๊อฏฏ็อบว่า โอ้ อะมีรของบรรดามุอมิน มีอายะฮ์ที่พวกท่านได้อ่าน หากว่าอายะฮ์นี้ได้ประทานมาให้แก่พวกเราบรรดาชาวยิว พวกเราจะถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญของพวกเรา

     อุมัรถามว่า อายะฮ์อะไรที่คุณหมายถึง ชาวยิวท่านนั้นกล่าวว่า อายะฮ์ที่มีความหมายว่า

( الْيَوْمَ أَكْمَلْتُ لَكُمْ دِينَكُمْ وَأَتْمَمْتُ عَلَيْكُمْ نِعْمَتِي وَرَضِيتُ لَكُمْ الْإِسْلَامَ دِينًا) [ سورة المائدة:5].

     “วันนี้ข้าได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้วซึ่งศาสนาของพวกเจ้า และข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้วซึ่งความกรุณาเมตตาของข้า และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว

     ท่านอุมัรได้ตอบว่าพวกเรารู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นและสถานที่ที่ประทานอายะฮ์นั้น คือประทานลงมาในขณะที่ท่านเราะซูล ยืนอยู่ ที่ทุ่งอะเราะฟะฮ์ในวันศุกร์

(บันทึกโดยบุคคอรี,และมุสลิม )

 

  •  ส่งเสริมให้ถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ

     มีรายงานจากบรรดาภรรยาของท่านนบีกล่าวว่า

(كان النبي صلى الله عليه وسلم يصوم تسع ذي الحجة ويوم عاشوراء وثلاثة أيام من كل شهر)

ปรากฎว่าท่านนบนีนั้น ถือศิลอดในวันที่ 9 เดือนซุ้ลฮิจยะห์ และวัน อาชูรอ และทุกๆสามวันกลางเดือน

( บันทึก อบูดาวูด)

 

  •  ถือศีลอดในวันอะเราะฟะฮฺ จะถูกลบล้างความผิด

     ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

صِيَامُ يَوْمِ عَرَفَةَ أَحْتَسِبُ عَلَى اللَّهِ أَنْ يُكَفِّرَ السَّنَةَ الَّتِي قَبْلَهُ وَالسَّنَةَ الَّتِي بَعْدَهُ

     "การถือศีลอดในวันอะร่อฟะฮ์นั้น ข้าพเจ้าหวังว่า อัลเลาะฮ์ จะทรงลบล้างความผิดในปีที่ก่อนวันอะรอฟะฮ์และในปีหลังจากวันอะเราะฟะฮฺ

(บันทึกโดยมุสลิม)

 

  •  วันอะเราะฟะฮฺ คือ อีดของคนฮัจญ์

     รายงานจากท่านอุกบะ บิน อามีร ท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัมกล่าวว่า

يَوْمُ عَرَفَةَ وَيَوْمُ النَّحْرِ وَأَيَّامُ التَّشْرِيْقِ عِيْدُنَا أَهْلَ الإِسْلاَمِ وَهِيَ أَيَّامُ أَكْلٍ وَشُرْبٍ

     " วันอะรอฟะฮฺ วันนะหฺรุและวันตัชรีก เป็นวันรื่นเริงของเรา โอ้ชาวอิสลามมันคือวันแห่งการกิน และดื่ม

( บันทึกโดย อบูดาวูด ติรมีซีย์)

 

  •  ดุอาอฺที่ประเสริฐที่สุดคือดุอาอ์ในวันอะเราะฟะฮฺ

     ท่านอับดุลลอฮฺ บิน อุมัร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุมา เล่าว่า ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

خَيْرُ الدُّعَاءِ دُعَاءُ يَوْمِ عَرَفَةَ

ดุอาอ์ที่ประเสริฐที่สุดคือดุอาอ์ในวันอะเราะฟะฮฺ

     และบทดุอาอ์ที่ประเสริฐที่สุดที่ฉันและบรรดานบีก่อนหน้าฉันกล่าว (ในวันนั้น) คือ

«لاَ إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَحْدَهُ لاَ شَرِيْكَ لَهُ، لَهُ الْمُلْكُ، وَلَهُ الْحَمْدُ، وَهُوَ عَلَى كُلِّ شَيْءٍ قَدِيْرٌ»

     “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺเพียงพระองค์เดียว โดยปราศจากการตั้งภาคีใดๆ พร้อมพระองค์ การปกครองดูแลเป็นของพระองค์ และมวลการสรรเสริญก็เป็นของพระองค์ และพระองค์ทรงปรีชาสามารถเหนือทุกๆ สิ่ง

(บันทึกโดย อิมาม มาลิก ใน อัล-มุวัฏเฏาะอ์ อัต-ติรมิซีย์)

     อิบนุ อับดิลบัร กล่าวว่า การขอดุอาอ์ในวันอะเราะฟะฮฺเป็นสิ่งที่ประเสริฐกว่าการขอดุอาอ์ในวันอื่นๆ

 

  •  วันอะเราะฟะฮฺ คือ วันที่ อัลลอฮฺทรงปลดปล่อยบ่าวของพระองค์จากไฟนรกมากที่สุด

     ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَا مِنْ يَوْمٍ أَكْثَرَ مِنْ أَنْ يُعْتِقَ اللَّهُ فِيهِ عَبْدًا مِنْ النَّارِ مِنْ يَوْمِ عَرَفَةَ

"ไม่มีวันใดที่อัลเลาะฮ์จะปลดปล่อยบ่าวของพระองค์จากไฟนรก ที่จะมากไปกว่า วันอะเราะฟะฮฺ

(บันทึกโดยมุสลิม)

 

  •  วันอะเราะฟะฮฺ คือ วันที่ อัลลอฮฺทรงเอาบ่าวไปอวดต่อบรรดามะลาอิกะฮ์

     ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮารายงานว่า ท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

ما مِن يومٍ أكْثَرَ مِن أن يعْتِقَ اللهُ فيهِ عبْداً منِن النَّارِ مِن يومِ عرفةَ وإنَّه لَيدنُو ثمَّ يباهِي بِهم الملائكةُ فيقولُ : ما أرادَ هؤلاء ؟

     “ไม่มีวันใดที่พระองค์อัลลฮฺจะปล่อยปวงบ่าวของพระองค์ให้พ้นจากขุมนรกมาก นอกจากในวันอะเราะฟะฮ์ มะลาอิกะฮ์จะเข้าใกล้พวกเขาและจะอวดพวกเขาโดยกล่าวว่า พวกเขาอยากได้อะไร” 

(บันทึกโดยมุสลิม)

 

  •  วันนะหัร (วันอีด)

     อับดุลลอฮฺ บิน กุรฏ์ อัษษะมาลีย์ เล่าวว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

«إِنَّ أَعْظَمَ الْأَيَّامِ عِنْدَ اللهِ تَبَارَكَ وَتَعَالَى يَوْمُ النَّحْرِ، ثُمَّ يَوْمُ الْقَرِّ»

     “บรรดาวันต่างๆที่ประเสริฐที่สุด อัลลอฮฺ คือวันนะหัร หลังจากนั้นวันก็อร (วันที่พักอยู่กับที่ หมายถึงวันที่บรรดาหุจญาจญ์ พักอยู่ที่ทุ่งมีนาในวันที่ 11-13 หลังจากวันนะหัร)” 

(อะหมัด อบูดาวูด)

     อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

وَيَذْكُرُوا اسْمَ اللَّهِ فِي أَيَّامٍ مَعْلُومَاتٍ عَلَى مَا رَزَقَهُمْ مِنْ بَهِيمَةِ الْأَنْعَامِ

     “และกล่าวพระนามอัลลอฮฺในบรรดาวันที่รู้กันอยู่แล้ว ตามที่พระองค์ประทานปัจจัยยังชีพแก่พวกเขาจากสัตว์สี่เท้า

(อัลหัจญฺ : 28)

 

  •  ส่งเสริมให้มีการกล่าวตักบีรให้มากๆ

     การตักบีรมุฏลักและมุก็อยยัดนั้น จะรวมกันอยู่ทั้งหมดห้าวัน ตามทัศนะที่ถูกต้องที่สุดของอุละมาอ์ นั่นคือ เริ่มตั้งแต่วันอะเราะฟะฮฺ วันนะห์รฺ(วันอีด) และวันตัชรีกทั้งสาม ส่วนแปดวันก่อนหน้านั้นจะมีแต่ตักบีรมุฏลักเท่านั้น ไม่มีตักบีรมุก็อยยัด

     จากอิบนุ อุมัร และอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุม ว่า

يخرجون إلى السوق يكبرون ويكبر الناس بتكبيرهما

     “ทั้งสองคนได้ออกไปกล่าวตักบีรที่ตลาดในสิบวันแรกของเดือนซุลหิจญะฮฺ แล้วผู้คนก็กล่าวตักบีรเนื่องด้วยการตักบีรของท่านทั้งสอง

     มีรายงานจากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม และเศาะหาบะฮฺกลุ่มหนึ่งว่า พวกเขาจะกล่าวตักบีรหลังละหมาดห้าเวลา นับตั้งแต่เวลาศุบฮี่ ของเช้าวันอะเราะฟะฮฺจนกระทั่งเวลาอัศรฺของวันที่สิบสามของซุลหิจญะฮฺ นี่เป็นในกรณีของผู้ที่ไม่ได้ทำหัจญ์

     ท่านอับดุลลอฮฺอิบนุอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุเล่าว่า ท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

مَا مِنْ أَيَّامٍ أَعْظَمُ عِنْدَ اللَّهِ وَلَا أَحَبُّ إِلَيْهِ مِنْ الْعَمَلِ فِيهِنَّ مِنْ هَذِهِ الْأَيَّامِ الْعَشْرِ فَأَكْثِرُوا فِيهِنَّ مِنْ التَّهْلِيلِ وَالتَّكْبِيرِ وَالتَّحْمِيدِ

     "ไม่มีวันใดอีกแล้วที่การทำความดีจะมีคุณค่าความยิ่งใหญ่และเป็นที่โปรดปรานมากที่สุด ที่อัลลอฮฺ มากไปกว่าการทำความดีในช่วงสิบวันแรก ของเดือนซุลฮิจญะฮฺ ดังนั้นพวกท่านจงพยายามกล่าว ตะฮลีล ตักบีร และตะหฺมีด ให้มากๆ เถิด

(บันทึกโดยอะหมัด)

 

  •  วันอะเราะฟะฮฺ คือ(รุกุ่น)สำคัญในการทำฮัจญ์

     ท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

  {الحَجُّ عَرَفَةُฮัจย์ คือ การวุกูฟที่อะเราะฟะฮฺ 

(บันทึกโดย บุคครีย์และมุสลิม)

     ท่านอิบนุ กุดามะ กล่าวว่า ใครที่ไม่ทำการวุกูฟที่อะเราะฟะฮฺ ถือว่าฮัจญ์นั้นไม่ถูกต้อง

 

  •  วันต่างๆของ 10 วันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮฺ

     ท่านร่อซูลศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

((إن العشر: عشر الأضحى، والوتر: يوم عرفة، والشفع: يوم النحر)).

ในสิบวันหมายถึง วันอีด, ส่วนคำว่า วิตร วันคี่ หมายถึง วันอารอฟะ, วันคู่ คือ วันเชือด

(อิบนุกะซีร ในตัฟซีรอัลกุร อ่านนุลอะซีม ซูเราะฮฺอัลหัจญฺ อายะฮฺที่ 28)

 

ข้อปฏิบัติมุสลิม(มาทำฮัจญ์)ในวันอะเราะฟะฮฺ

♦ จะต้องมีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ

จะต้องปฏิบัติตามแบบฉบับของท่านนบีในการทำฮัจญ์ (ที่ทุ่งอะเราะฟะฮฺ)

จะต้องขอดุอาอฺต่อพระองค์ ขออภัยโทษและขอพระองค์ทรงปลดปล่อยจากไฟนรก

จะต้องกลับเนื้อกลับตัวต่อพระองค์ด้วยการสารภาพบาป

ยกมือขอดุอาอฺและหันหน้าไปทางบัยตุลลอฮฺ

ทำการวุกูฟในเขตอะเราะฟะฮฺตั้งแต่ตะวันคล้อย(เข้าเวลาดุฮรี)จนตะวันลับขอบฟ้า (เข้าเวลามักริบ)

ทำการละหมาดย่อและรวมดุฮรีสองร็อกอะ และ ฮัศรี สองร็อกอะ ในเวลาดุฮรี่ เรียกว่า (ตัมตักดีม) การรวมในเวลาแรก

สมควรจะมีน้ำละหมาดในขณะขอดุอาอฺ

จะต้องทำความดีให้มากในวันนั้น เช่น การช่วยเหลือผู้อื่น บริจาคทาน การรำลึกถึงอัลลอฮฺ