อันตรายจากการละเลยหนี้สิน
  จำนวนคนเข้าชม  9225


อันตรายจากการละเลยหนี้สิน

อบู อัรวา แปลเรียบเรียง

 

          ศาตร์แห่งอิสลามได้ให้ความสำคัญต่อสิทธิของบ่าวที่มีต่อกัน ทั้งในด้านการดูแลรักษา  การปกป้อง และให้ความสำคัญต่อสิทธิของมนุษย์  โดยอิสลามได้วางหลักพื้นฐาน และการค้ำประกัน เพื่อดูแลรักษาสิทธิของพวกเขา ดังนั้น อิสลามจึงเตือนให้ระวังการปล่อยปะละเลยการชำระหนี้ หรือ การประวิงเวลาและล่าช้าในการชดใช้  การเบาความ และไม่ให้ความใส่ใจในการชดใช้คืนท่านนบี ได้ยกเว้น เรื่องหนี้สิน จากข้อกำหนดของการลบล้างความผิด  

ท่านร่อซู้ล กล่าวว่า

"يَغْفِرُ اللهُ للشهيد كلَّ شيء إلا الدَّين" رواه مسلم.

อัลลอฮฺทรงอภัยโทษทุกๆความผิดให้แก่ผู้ที่ตายชะฮีด นอกจากหนี้สิน

 

และในฮาดีษที่รายงานโดยท่านก่อตาดะฮฺ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ

 

وفي حديث أبي قتادة -رضي الله عنه- أن رسول الله -صلى الله عليه وسلم- قام فيهم فذكر لهم أن الجهاد في سبيل الله والإيمان بالله أفضلُ الأعمال، فقام رجل فقال: يا رسول الله، أرأيتَ إن قُتلتُ في سبيل الله، أتكفَّرُ عني خطاياي؟ فقال له رسول الله: "نعم، إن قُتلتَ في سبيل الله، وأنت صابر محتسب، مقبلٌ غيرُ مدبرٍ"، ثم قال رسول الله للصحابي: كيف قلت؟ فأعاد الصحابي السؤال: أرأيت إن قُتلت في سبيل الله، أتكفر عني خطاياي؟ فقال رسول الله للصحابي: "نعم، وأنت صابر محتسب، مقبل غير مدبر، إلا الدَّيْن! فإن جبريلَ سارَّني به آنفا" رواه مسلم.

 

     แท้จริงท่านร่อซู้ล  ได้ยืนขึ้นในระหว่างพวกเขา และท่านได้กล่าวแก่พวกเขาว่า แท้จริงการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺ และการศรัทธาต่ออัลลอฮฺเป็นการงานที่ประเสริฐที่สุด  

     ชายคนหนึ่งยืนขึ้นและกล่าวว่า โอ้ท่านร่อซู้ล  ท่านจะเห็นเป็นเช่นใด หากว่าฉันถูกสังหารในหนทางของอัลลอฮฺ บาปและความผิดของฉันจะได้รับการลบล้างหรือไม่ ?

     ท่านร่อซู้ล  ได้กล่าวแก่เขาว่า  ใช่แล้ว  หากว่าเจ้าถูกสังหารในหนทางของอัลลอฮฺ โดยที่เจ้าเป็นผู้ที่อดทนและมุ่งหวังการตอบแทนจากพระองค์ ยืนหยัดต่อสู้มิใช่ผู้ที่ถอยหนี”  

     หลังจากนั้น ท่านร่อซู้ล  ได้กล่าวแก่ซอฮาบะฮฺคนดังกล่าวว่า ท่านว่าอย่างไรนะ

     ซอฮาบะห์คนดังกล่าวจึงถามซ้ำอีกครั้งหนึ่งว่า  , ท่านจะเห็นเป็นเช่นใด หากว่าฉันถูกสังหารในหนทางของอัลลอฮฺ บาปและความผิดของฉันจะได้รับการลบล้างหรือไม่ ?  

     ท่านร่อซู้ล  กล่าวว่า  ใช่แล้ว โดยที่เจ้าเป็นผู้อดทน มุ่งหวังการตอบแทน , ยืนหยัดต่อสู้ ไม่ถอยหนี , นอกจากหนี้สิน แท้จริงท่านญิบรีลได้มาบอกฉันเมื่อครู่นี้" 

 

          ขอให้พวกท่านทั้งหลายพิจารณาเถิด บ่าวของอัลลอฮฺ  ญิบรีลลงมาจากฟากฟ้า , ทั้งนี้เพื่อให้ท่านร่อซู้ล  ยกเว้นในเรื่องหนี้สิน และจากแนวทางแห่งพระผู้เป็นเจ้านี้เอง  ท่านร่อซู้ล จะไม่ละหมาดให้แก่ผู้เสียชีวิตที่มีภาระหนี้สินติดค้างอยู่  

 

      จากท่านญาบิร ร่อฏิฯ เล่าว่า ชายคนหนึ่งในหมู่พวกเราได้เสียชีวิต พวกเราจึงอาบน้ำศพ ใส่เครื่องหอม และห่อหุ้มเขา (ด้วยผ้าห่อศพ) , หลังจากนั้นพวกเราได้ไปหาท่านร่อซู้ล  โดยที่พวกเรากล่าวกับท่านนบีว่า  ท่านจะละหมาดให้แก่เขาใหม

     ท่านนบี  เดินมากับพวกเราเล็กน้อย แล้วท่านได้กล่าวแก่พวกเราว่า  ชายคนนั้นมีหนี้สินหรือไม่ ?  

     พวกเรากล่าวว่า สองดีนาร 

     ท่านร่อซูล  จึงได้เดินแยกออกไป และไม่ละหมาดให้แก่เขา 

          ทั้งๆที่ผู้เสียชีวิต เป็นซอฮาบะฮฺท่านหนึ่งในหมู่ซอฮาบะฮฺของท่านนบี และท่านนบีก็เป็นผู้ที่ห่วงใยและมีเมตตาอย่างเปี่ยมล้น   และหนี้ของเขาเพียงแค่ ดีนารเท่านั้น โดยที่สองดีนารเมื่อเทียบกับปัจจุบันที่ทองคำจะเท่ากับ ๑๕๐๐ ริยาล เท่านั้น  , ทั้งๆที่เป็นจำนวนหนี้เพียงเท่านี้ท่านนบีก็ไม่ละหมาดให้แก่เขา

 

     ท่านญาบิร กล่าวว่า ท่านอบูกอตาดะฮฺ ได้รับเป็นผู้ชดใช้หนี้ให้แก่ผู้เสียชีวิต  พวกเราจึงไปหาท่านร่อซู้ล  

     อบูกอตาดะฮฺกล่าวว่า เหรีญทองทั้งสอง ฉันจะเป็นผู้รับใช้ให้ 

     ท่านร่อซู้ล ซ็อลฯ จึงได้กล่าวแก่อบูกอตาดะฮฺว่า  “เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ และเป็นการหลุดพ้นของผู้ตายจากเหรียญทองทั้งสอง”  

     อบูกอตาดะฮฺ กล่าวว่า ครับ (ท่านร่อซู้ลท่านร่อซู้ล จึงละหมาดให้แก่ผู้เสียชีวิต 

 

ثم إن النبي -صلى الله عليه وسلم- لقي أبا قتادة بعد ذلك بيوم فقال له: "ما فعل الديناران؟" فقال أبو قتادة: إنما مات أمس! فعاد إليه أبو قتادة من الغد, فقال: قد قضيتهما, فقال رسول الله -صلى الله عليه وسلم-: "الآن برَّدت على جلدته".

وفي حديث أبي هريرة أنه كان يؤتى بالرجل المتوفى ولكن عليه الدين، فيسأل رسول الله: "هل ترك لدينه قضاء؟" فإن قيل له إنه ترك مالا يوفي به صلى عليه، وإلا قال: "صَلُّوا على صاحبكم".

 

     หลังจากนั้นเพียงหนึ่งวัน ท่านนบี  ได้พบเจอ อบูกอตาดะฮฺ ท่านนบีกล่าวแก่อบากอตาดะฮฺว่าท่านชดใช้เหรียญทองทั้งสองไปหรือยัง” ?  

     อบูกอตาดะฮฺกล่าวตอบว่า เขาเพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อวานนี้

     และในวันต่อมา อบูกอตาดะฮฺได้ไปหาท่านนบี  และกล่าวว่า ฉันได้ชดใช้เรียบร้อยแล้ว 

     ท่านร่อซู้ล  กล่าวว่าขณะนี้ ผิวหนังของเขาถูกทำให้เย็นลงแล้ว

 

     ในฮาดีษของท่านอบูฮูร็อยเราะฮฺ ชายที่เสียชีวิตได้ถูกนำมาหาท่านร่อซู้ล  ทว่าเขามีหนี้สิน (ที่ยังค้างอยู่)  

     ท่านร่อซู้ล  จึงถามว่าเขาได้ทิ้งสิ่งที่จะนำมาชำระหนี้เอาไว้หรือไม่ ?”  

     หากถูกกล่าวแก่ท่านนบี  ว่า เขาได้ทิ้งทรัพย์สินที่จะนำไปชำระหนี้เอาไว้ ท่านนบี  ก็จะละหมาดให้แก่เขา , หากมิได้ทิ้งทรัพย์สินใดๆเอาไว้เพื่อชำระหนี้

     ท่านก็จะกล่าวว่า  “พวกท่านจงละหมาดให้แก่พี่น้องของพวกท่านเถิด” 

 

          บ่าวของอัลลอฮฺทั้งหลาย เป็นเรื่องที่จำเป็นเหนือมุสลิมเมื่อเขากู้ยืมเขาจะต้องมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะปฏิบัติตามสัญญา และเจตนาที่ดีในการชดใช้  อย่าได้ซ่อนเร้นเจตนาและเป้าหมายอันเลวร้าย  ท่านร่อซู้ล  กล่าวว่า

 

مَن أخذ أموال الناس يريد أداءها أدَّى الله عنه، ومن أخذها يريد إتلافها أتلفه الله" رواه البخاري.

 

ใครที่หยิบยืมทรัพย์ของผู้คนโดยมีความต้องการที่จะชดใช้ให้ อัลลอฮฺก็จะทรงชดใช้ให้แก่เขา 

และใครที่หยิบยืมมันโดยต้องการทำให้มันเสียหาย (ไม่ชดใช้) อัลลอฮฺก็จะทรงให้เขาพินาศ

 

          บรรดาผู้รู้กล่าวว่า  การชดใช้ของอัลลอฮฺให้แก่ผู้เป็นหนี้นั้น ครอบคลุม  การที่พระองค์ทรงทำให้ง่ายดายแก่เขาในการที่เขาจะชดใช้ ในโลกนี้   โดยที่อัลลอฮฺทรงให้ริสกีที่เพียงพอที่เขาสามารถจะชดใช้หนี้สินได้  และการที่พระองค์ทรงชดใช้ให้แทนเขาในวันอาคีเราะฮฺ  หากว่าบ่าวไม่สามารถชดใช้ในโลกนี้

 

          จงระวัง และระวัง การซ่อนเร้นเจตนาหรือเป้าหมายอันเลวร้ายในการไม่ให้สิทธิที่มีต่อกัน  และใครที่กระทำเช่นนั้นก็เท่ากับเขาได้นำตัวเองสู่ความพินาศ ดังที่มีรายงานในฮาดีษ  , คือคำกล่าวของท่านร่อซู้ล 

 

และใครที่หยิบยืมมันโดยต้องการทำให้มันเสียหาย (ไม่ชดใช้) อัลลอฮฺก็จะทรงทำให้เขาพินาศ

 

          บรรดาผู้รู้กล่าวว่า  ความพินาศในที่นี้ ครอบคลุม ความพินาศของชีวิตในโลกนี้ ด้วยการทำลายชีวิต  และเช่นเดียวกัน รวมถึงการทำลายปัจจัยยังชีพที่ดีของเขา ทำให้การดำเนินชีวิตของเขาคับแคบ  ยากลำบากในการแสวงหา  ความจำเริญในชีวิตและทรัพย์สินถูกทำให้หมดไป  รวมถึงสิ่งที่เขาจะต้องได้รับจากการลงโทษในโลกอาคีเราะฮฺอีกด้วย

 

ขอให้พวกท่านทั้งหลายจงฟัง  -บ่าวของอัลลอฮฺทั้งหลายฮาดีษบทนี้  

 

عن محمد بن جحش -رضي الله عنه- قال: كنا جلوسا عند رسول الله -صلى الله عليه وسلم-، فرفع رأسه إلى السماء، ثم وضع راحته على جبهته، ثم قال: "سبحان الله! ماذا نزل من التشديد؟"، فسكت الصحابة، وفزعوا، فلما كان من الغد، سألته: "يا رسول الله! ما هذا التشديد الذي نزل؟ فقال: "والذي نفسي بيده! لو أن رجلا قُتِلَ في سَبِيلِ اللَّهِ ثمَّ أُحْيِيَ، ثمَّ قُتِلَ ثمَّ أُحْيِيَ، ثم قتل، وعليه دَين، ما دخل الجنة حتى يُقضَى عنه دينه" رواه النسائي وحسنه الألباني.

 

     จากมุฮัมมัด บิน ญะหฺชิน  ร่อฏิฯ เล่าว่า  พวกเรานั่งอยู่กับท่านร่อซู้ล   ท่านได้แหงนมองฟากฟ้า  

     หลังจากนั้นท่านได้วางมือของท่านบนหน้าผาก และกล่าวว่า ซุบฮานั้ลลอฮฺ  ความหนักหน่วงอะไรกันถูกประทานลงมา ?  

     บรรดาซอฮาบะฮฺต่างนิ่งเงียบ ด้วยความหวาดกลัว  

     ในวันต่อมา พวกเขาได้ถามท่านนบีว่า  โอ้ท่านร่อซู้ลของอัลลอฮฺ  อะไรคือความหนักหน่วงที่ถูกประทานลงมา  

     ท่านนบี  กล่าวว่า  ขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์  หากชายคนหนึ่งถูกสังหารในหนทางของอัลลอฮฺ แล้วเขาถูกทำให้มีชีวิตขึ้นมาอีก , หลังจากนั้นเขาก็ถูกสังหาร (ในหนทางของอัลลอฮฺ) อีก แล้วเขาถูกทำให้มีชีวิตขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง , แล้วหลังจากนั้นเขาก็ถูกสังหาร (ในหนทางของอัลลอฮฺ เป็นครั้งที่ สามแต่ว่าเขามีหนี้สิน เขาจะยังไม่ได้เขาสวรรค์ จนกว่าหนี้ของเขาจะได้รับการชดใช้”  

(บันทึกโดย อิหม่ามนะซาอี เชคอัลบานีกล่าวว่าเป็นฮาดีษฮาซัน)

 

          บ่าวของอัลลอฮฺทั้งหลาย   พระองค์อัลลอฮฺทรงส่งเสริมให้มีการบันทึกเกี่ยวกับหนี้สิน ถึงแม้ว่าจะเป็นหนี้สินเพียงเล็กน้อยก็ตาม  ดังที่พระองค์ตรัสว่า

(وَلا تَسْأَمُوا أَنْ تَكْتُبُوهُ صَغِيرًا أَوْ كَبِيرًا إِلَى أَجَلِهِ) [البقرة:282].

 

และพวกเจ้าจงอย่าเบื่อหน่ายที่จะบันทึกหนี้สินนั้นไม่ว่าน้อยหรือมากก็ตาม จนกว่าจะถึงกำหนดเวลาของมัน

 

          หากว่าคนใดในหมู่พวกเรานี้ มีภาระหนี้สินหรือสิทธิอันใด โดยมิได้มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร  เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันในสิทธิเหล่านั้นให้แก่ผู้เป็นเจ้าของสิทธิ  ก็จำเป็นที่เขา (ลูกหนี้ หรือผู้ที่จะต้องให้สิทธิแก่เจ้าของสิทธิ) จะต้องมีคำสั่งเสียไว้ เพื่อไม่ให้สิทธิของผู้คนตกหล่นไป  ท่านนบี กล่าวว่า

 

"ما حق امرئ مسلم له شيء يريد أن يوصي فيه يبيت ليلتين إلا ووصيته مكتوبة عنده".

 

    “ไม่มีสิทธิใดที่มุสลิมต้องการที่จะสั่งเสียในเรื่องนั้น แล้วเขาอยู่ได้ถึง คืน เว้นแต่ต้องให้คำสั่งเสียของเขาถูกบันทึก ที่เขาไว้แล้ว

 

          บ่าวของอัลลอฮฺทั้งหลาย  หนี้สินคือความวิตกกังวลในยามค่ำคืน และเป็นความต่ำต้อยในเวลากลางวัน  ผู้เป็นลูกหนี้นั้นเต็มไปด้วยความหนักอกหนักใจ  ถึงแม้ว่าผู้คนจะเห็นว่าเขามีความปิติยินดี !! เขาจะผ่อนคลายในบ้านของเขาได้อย่างไร ในเมื่อเจ้าหนี้หรือเจ้าของสิทธิมาเคาะประตูถึงที่บ้านของเขาตาของเขาจะหลับได้อย่างไร  ในเมื่อความวิตกกังวลในเรื่องสิทธิและหนี้สินยังคงวนเวียนอยู่ ?  

          ดังนั้น ท่านร่อซู้ล  จึงได้วิงวอนขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺให้พ้นจากหนี้สินท่วมตัวและจากการบังคับของผู้อื่น

 

          บรรดาผู้เป็นลูกหนี้ทั้งหลาย  จงมอบความต้องการของพวกท่านทั้งหมดแด่พระผู้ทรงกรุณาปราณี  และจงอยู่ ที่ประตูแห่งผู้ทรงใจบุญอย่างที่สุด  และพวกท่านจงนำความยากจนทั้งหมดของพวกท่านไปสู่อัลลอฮฺเถิด  และความร่ำรวยของพวกท่านด้วยกับพระองค์  และขอให้พวกท่านจงมอบหมายต่อพระผู้ที่พระหัตถ์ของพระองค์ครอบครองคลังแห่งชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน จงมอบหมายกิจการทั้งหลายแด่พระองค์ และพวกท่านจงคิดต่อพระองค์ในแง่ดีเสมอ แม้ว่าหัวใจของพวกท่านรู้สึกคับแคบ พวกท่านก็จงขยับขยายมันด้วยการเชื่อมั่นในอัลลอฮฺ  กี่มากน้อยมาแล้วกับความวิตกกังวลที่เข้าปกคลุมผู้คน แล้วอัลลอฮฺทรงขจัดสิ่งเหล่านั้นให้หมดไป ด้วยหนทางที่พวกเขาไม่ได้คาดคิดมาก่อน !

 

الخطبة الثانية:

عنْ عَلِيٍّ بن أبي طالب -رضي الله عنه-، أَنَّ مُكَاتَبًا جَاءَهُ فَقَالَ: إِنِّي قَدْ عَجَزْتُ عَنْ مُكَاتَبَتي فَأَعِني، فقَالَ له علي: أَلا أُعَلِّمُكَ كَلِمَاتٍ عَلَّمَنِيهِنَّ رَسُولُ اللَّهِ -صلى الله عليه وسلم- لَوْ كَانَ عَلَيْكَ مِثْلُ جَبَلِ صِيرٍ دَيْنًا أَدَّاهُ اللَّهُ عَنْكَ؟ قَالَ: "قُلْ: اللَّهُمَّ اكْفِني بِحَلالِكَ عَنْ حَرَامِكَ، وَأَغْنِني بِفَضْلِكَ عَمَّنْ سِوَاكَ".

 

     จากท่านอลี บิน อบีตอลิบ   ได้มีลูกหนี้ได้มาหาท่าน โดยกล่าวแก่ท่านว่า ฉันไม่มีความสามารถที่จะชดใช้หนี้โดยการเป็นผู้อยู่ภายใต้สัญญา ขอท่านช่วยเหลือฉันด้วยเถิด 

     ท่านอาลีกล่าวแก่เขาว่า  เอาไหมฉันจะสอนเจ้าด้วยคำกล่าวที่ท่านร่อซู้ล ได้สอนฉัน  ถึงแม้ว่าเจ้าจะมีหนี้สินมากมายดั่งภูเขา ซีร อัลลอฮฺก็จะทรงชดใช้ให้แก่เจ้า

ท่านอาลีกล่าวว่า  เจ้าจงกล่าว

"قُلْ: اللَّهُمَّ اكْفِني بِحَلالِكَ عَنْ حَرَامِكَ، وَأَغْنِني بِفَضْلِكَ عَمَّنْ سِوَاكَ".

 

โอ้อัลลอฮฺ โปรดให้ฮาลาลของพระองค์เพียงพอแก่ฉัน(ให้พ้น)จากหะรอมของพระองค์ 

และโปรดให้ฉันร่ำรวยเพราะความโปรดปรานของพระองค์ ให้พ้นจาก(การพึ่งพา)ผู้อื่นจากพระองค์

 

          บ่าวของอัลลอฮฺทั้งหลาย  น่าแปลกใจอย่างมากในบรรดาลูกหนี้  - เป็นที่น่าเสียใจ- พวกเขาหยิบยืมโดยที่ไม่มีความจำเป็น โดยแบกรับภาระหนี้สินอันมากมาย อันเนื่องจากการจมปลักอยู่กับสิ่งที่เสริมเติมเต็มความสวยงาม การสิ้นเปลืองในงานเฉลิมฉลอง งานแต่งงาน เสื้อผ้า โทรศัพท์มือถือ เฟอร์นิเจอร์ และอื่นๆจากเหล่านี้ ! บางคนหยิบยืมเพื่อรถยนต์หรูรุ่นใหม่ล่าสุด บ้างก็หยิบยืมเพื่อเดินทางท่องเที่ยว ยิ่งไปกว่านั้น บางครั้งท่านได้พบเห็นผู้ที่หยิบยืมเพื่อสิ่งที่ฮารอม ไร้ประโยชน์ และเป็นการสุรุ่ยสุร่าย !  

 

          พี่น้องทั้งหลาย  พึงรู้เถิดว่า ส่วนหนึ่งจากสิทธิที่จำเป็นซึ่งอิสลามเน้นย้ำให้เอาใจใส่ คือการไม่ล่าช้าเมื่อกำหนดเวลาแห่งสิทธิดังกล่าวได้มาถึง ค่าจ้างของผู้ใช้แรงงานผู้อ่อนแอ เช่นพนักงานขับรถ คนรับใช้ และคนรับจ้างทั้งหลาย 

 

فعن أبي هريرة -رضي الله عنه- عن النبي -صلى الله عليه وسلم- قال: "قال الله عز وجل- ثلاثة أنا خصمهم يوم القيامة"، وذكر منهم: "رجل استأجر أجيراً فاستوفى منه ولم يعطه أجره" رواه البخاري.

 

จากท่านอบี ฮุร็อยเราะฮฺ   จากท่านนบี  กล่าวว่า  

 

อัลลอฮฺ ทรงตรัสว่า บุคคลสามจำพวกที่ข้าจะเป็นคู่กรณีกับพวกเขาในวันกิยามะฮฺ” 

       และท่านนบีได้กล่าวว่าหนึ่งจากพวกเขาคือคนที่จ้างคนงาน แล้วได้ทำงานตามสัญญา แต่เขาไม่ยอมจ่ายค่าแรงให้คนงาน” 

 

ในฮาดีษของท่านอิบนุ อุมัร  จากท่านนบี  กล่าวว่า

 

"أعطوا الأجير أجره قبل أن يجف عرقه" حسنه الألباني.

 

พวกเจ้าจงให้ค่าจ้างของผู้รับจ้าง ก่อนที่เหงื่อของเขาจะแห้ง”