ผู้ประสบความสำเร็จ 2
  จำนวนคนเข้าชม  3906

3. อะมัลและการทำดีทั้งปวง

          อิสลามไม่ใช่ศาสนาแห่งความเชื่อเพียงประการเดียว การศรัทธาที่ไม่มีอะมัลหรือการปฏิบัติความดีเป็นองค์ประกอบจึงไม่ใช่การศรัทธาที่สมบูรณ์ ดังนั้น หนทางแห่งความสำเร็จที่อัลลอฮฺได้สัญญาไว้จึงต้องเพียบพร้อมด้วยอะมัลและความดีต่างๆ เคียงข้างความศรัทธาที่มั่นคงอยู่เสมอ ในอีกแง่หนึ่ง สามารถที่จะกล่าวได้ว่าการที่คนผู้หนึ่งหมั่นประกอบอะมัลและความดีนั้น คือเครื่องหมายว่าเขาเป็นผู้ที่มีศรัทธาอย่างบริสุทธิ์ใจ เพราะความกระตือรือร้นในการทำอะมัลที่ดีบังเกิดมาจากความบริสุทธิ์ใจในศรัทธาของเขา สองสิ่งนี้เป็นเหมือนเงาของซึ่งกันและกันที่แยกออกจากกันไม่ได้ ดังที่อัลลอฮฺได้รวมการเรียกขานชื่อแห่งศรัทธาพร้อมกับคำสั่งในปฏิบัติความดีไว้หลายที่ในอายะฮฺของพระองค์ ขณะเดียวกันพระองค์ก็ประกาศอย่างชัดเจนว่าอะมัลคือหนทางแห่งความสำเร็จ เช่นในอายะฮฺต่างๆ ต่อไปนี้

«وَالْوَزْنُ يَوْمَئِذٍ الْحَقُّ فَمَنْ ثَقُلَتْ مَوَازِينُهُ فَأُولَئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ»

ความว่า “และการชั่งในวันนั้น(วันกิยามะฮฺ)เป็นสิ่งที่เที่ยงแท้ ดังนั้น ผู้ใดตาชั่งของเขามีน้ำหนัก(ความดีหนักกว่าความชั่ว) พวกเขาเหล่านั้นแหล่ะคือผู้ประสบความสำเร็จ” (อัล-อะอฺรอฟ : 8)

«يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا ارْكَعُوا وَاسْجُدُوا وَاعْبُدُوا رَبَّكُمْ وَافْعَلُوا الْخَيْرَ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ»

ความว่า “โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงก้มรุกูอฺ และจงสุญูด และจงเคารพอิบาดะฮฺต่อพระผู้อภิบาลของพวกเจ้า และจงทำความดีเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะประสบความสำเร็จ” (อัล-หัจญ์ : 77)

«قَدْ أَفْلَحَ الْمُؤْمِنُونَ، الَّذِينَ هُمْ فِي صَلاتِهِمْ خَاشِعُونَ، وَالَّذِينَ هُمْ عَنِ اللَّغْوِ مُعْرِضُونَ، وَالَّذِينَ هُمْ لِلزَّكَاةِ فَاعِلُونَ، وَالَّذِينَ هُمْ لِفُرُوجِهِمْ حَافِظُونَ، إِلا عَلَى أَزْوَاجِهِمْ أوْ مَا مَلَكَتْ أَيْمَانُهُمْ فَإِنَّهُمْ غَيْرُ مَلُومِينَ، فَمَنِ ابْتَغَى وَرَاءَ ذَلِكَ فَأُولَئِكَ هُمُ الْعَادُونَ، وَالَّذِينَ هُمْ لأمَانَاتِهِمْ وَعَهْدِهِمْ رَاعُونَ، وَالَّذِينَ هُمْ عَلَى صَلَوَاتِهِمْ يُحَافِظُونَ، أُولَئِكَ هُمُ الْوَارِثُونَ، الَّذِينَ يَرِثُونَ الْفِرْدَوْسَ هُمْ فِيهَا خَالِدُونَ»

ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธานั้นย่อมประสบความสำเร็จ นั่นคือบรรดาผู้ที่คุชูอฺ(มีสมาธิ)ในการละหมาดของพวกเขา ผู้ที่ห่างไกลจากสิ่งไร้สาระ ผู้ที่จ่ายซะกาต ผู้ที่สงวนอวัยวะเพศจากการผิดประเวณี เว้นแต่กับบรรดาภรรยาหรือทาสีของพวกเขา เช่นนั้นพวกเขาก็จะไม่ใช่ผู้ที่ถูกตำหนิ ทว่าหากผู้ใดยังหาที่จะประพฤติตนนอกเหนือจากนั้นพวกเขาย่อมเป็นผู้ที่ละเมิด และ(ลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จประการต่อไปคือ)ผู้ที่รักษาหน้าที่และสัญญาของพวกเขา ผู้ที่รักษาการละหมาดของพวกเขา คนเหล่านั้นคือผู้ที่ได้รับมรดก คือรับมรดกในสวนสวรรค์อัล-ฟิรเดาส์โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นชั่วกาลนาน” (อัล-มุอ์มินูน : 1-11)

«فَمَنْ ثَقُلَتْ مَوَازِينُهُ فَأُولَئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ»

ความว่า “และแม้นผู้ใดที่ตาชั่งของเขามีน้ำหนัก(มีความดีมากกว่าความชั่ว) เขาเหล่านั้นแหล่ะคือผู้ที่ประสบความสำเร็จ” (อัล-มุอ์มินูน : 102)

«فَآتِ ذَا الْقُرْبَى حَقَّهُ وَالْمِسْكِينَ وَابْنَ السَّبِيلِ ذَلِكَ خَيْرٌ لِلَّذِينَ يُرِيدُونَ وَجْهَ اللَّهِ وَأُولَئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ»

ความว่า “และจงจ่ายส่วนที่พึงจ่ายแก่ญาติพี่น้อง คนยากจน และผู้เดินทาง(ที่ขาดเสบียง) นั่นย่อมจะเป็นการดีกว่าสำหรับผู้ที่ประสงค์พระพักตร์ของอัลลอฮฺ(หมายถึงทำด้วยความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ) และพวกเขาเหล่านั้นคือผู้ที่ประสบความสำเร็จ” (อัร-รูม : 38)

«الم، تِلْكَ آيَاتُ الْكِتَابِ الْحَكِيمِ، هُدًى وَرَحْمَةً لِلْمُحْسِنِينَ، الَّذِينَ يُقِيمُونَ الصَّلاةَ وَيُؤْتُونَ الزَّكَاةَ وَهُمْ بِالآخِرَةِ هُمْ يُوقِنُونَ، أُولَئِكَ عَلَى هُدًى مِنْ رَبِّهِمْ وَأُولَئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ»

ความว่า “อลิฟ ลาม มีม, นั่นคือโองการแห่งคัมภีร์ที่เปี่ยมยิ่งด้วยวิทยาอันหลักแหลม เป็นการชี้ทางและเมตตาแด่ผู้ทำดีทั้งหลาย บรรดาผู้ที่ดำรงการละหมาดและจ่ายซะกาต และพวกเขามีความเชื่อมั่นในวันอาคิเราะฮฺ คนเหล่านั้นคือผู้ที่ดำเนินบนเส้นทางแห่งทางนำจากพระผู้อภิบาลของพวกเขา และคนเหล่านั้นแหล่ะคือผู้ที่ประสบความสำเร็จ” (ลุกมาน : 1-5)

 
4. ซิกรุลลอฮฺ

          ซิกรุลลอฮฺ คือการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ เป็นอะมัลที่แทบไม่ต้องลงทุนลงแรงแต่อย่างใดเลย ทว่ากลับมีคุณค่าแก่ผู้ศรัทธาอย่างมหาศาล อัลกุรอานได้สนับสนุนให้มุอ์มินกล่าวระลึกถึงอัลลอฮฺทุกช่วงเวลา เพราะเป็นการแสดงว่าเขามีความผูกพันกับอัลลอฮฺอยู่ตลอดเวลา และจะเห็นได้ว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ทำตัวอย่างในการซิกรุลลอฮฺแก่ประชาชาติของท่านไว้อย่างสมบูรณ์ โดยที่ท่านได้สอนบทดุอาอ์ต่างๆ ในทุกอิริยาบท ไม่ว่าจะยืน จะนั่ง จะนอน จะลุก จะเดิน ฯลฯ ทั้งนี้เพราะการซิกรุลลอฮฺจะทำให้มนุษย์สำนึกตนว่าเขามีพระผู้อภิบาลที่คอยดูแลเอาใจใส่เขาทุกเวลา ทำให้เขาได้ขอบคุณพระองค์และหมั่นทำตามสิ่งที่พระองค์สั่งใช้ ซึ่งจะกลายเป็นกุญแจแห่งความดีงามที่จะไขสู่ความสำเร็จตามที่อัลลอฮฺได้สัญญาไว้นั่นเอง อัลลอฮฺได้ตรัสถึงผลแห่งการระลึกถึงพระองค์ว่า

«فَاذْكُرُوا آلاءَ اللَّهِ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ»

ความว่า “ดังนั้น พวกเจ้าจงระลึกถึงนิอฺมัต/คุณความดีของอัลลอฮฺเถิด เพื่อว่าพวกเจ้าจะประสบความสำเร็จ” (อัล-อะอฺรอฟ : 69)

«يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا إِذَا لَقِيتُمْ فِئَةً فَاثْبُتُوا وَاذْكُرُوا اللَّهَ كَثِيرًا لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ»

ความว่า “โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อพวกท่านเจอข้าศึก ก็จงยืนหยัดให้มั่น(ในการต่อสู้) และจงกล่าวระลึกถึงอัลลอฮฺให้มาก เพื่อว่าพวกเจ้าจะประสบความสำเร็จ” (อัล-อันฟาล : 45)

«فَإِذَا قُضِيَتِ الصَّلاةُ فَانْتَشِرُوا فِي الأرْضِ وَابْتَغُوا مِنْ فَضْلِ اللَّهِ وَاذْكُرُوا اللَّهَ كَثِيرًا لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ»

ความว่า “และเมื่อการละหมาดได้เสร็จเรียบร้อยแล้ว พวกเจ้าก็จงแยกย้ายกันไปตามแผ่นดินของอัลลอฮฺเพื่อขวนขวายความประเสริฐของพระองค์ และจงกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺให้มาก เพื่อว่าพวกเจ้าจะประสบความสำเร็จ” (อัล-ญุมุอะฮฺ : 10)

«قَدْ أَفْلَحَ مَنْ تَزَكَّى، وَذَكَرَ اسْمَ رَبِّهِ فَصَلَّى»

ความว่า “แท้จริงผู้ที่ย่อมจะประสบความสำเร็จ คือผู้ที่ขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์ และกล่าวระลึกถึงพระนามของอัลลอฮฺ และได้ทำการละหมาด” (อัล-อะอฺลา : 14-15)

 
5. ขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์

อัลลอฮฺได้ตรัสถึงเรื่องนี้ว่า

«قَدْ أَفْلَحَ مَنْ تَزَكَّى، وَذَكَرَ اسْمَ رَبِّهِ فَصَلَّى»

ความว่า “แท้จริงผู้ที่ย่อมจะประสบความสำเร็จ คือผู้ที่ขัดเกลาจิตใจให้บริสุทธิ์ และกล่าวระลึกถึงพระนามของอัลลอฮฺ และได้ทำการละหมาด” (อัล-อะอฺลา : 14-15)

«قَدْ أَفْلَحَ مَنْ زَكَّاهَا، وَقَدْ خَابَ مَنْ دَسَّاهَا»

ความว่า “แท้จริงผู้ที่ขัดเกลามัน(จิตใจ)ให้บริสุทธิ์ย่อมประสบความสำเร็จ และแท้จริงผู้ที่ทำให้มันโสโครกย่อมประสบความเสียหาย” (อัช-ชัมส์ : 9-10)
 

6. การเตาบัต

          การเตาบัตคือการขอให้อัลลอฮฺลบล้างความผิดและบาป ที่อาจจะเป็นเหตุทำให้มนุษย์ต้องถูกลงโทษในนรก การเตาบัตจึงเป็นหนทางแห่งการหลุดพ้นจากความผิดและประสบความสำเร็จได้เข้าสวนสวรรค์ อัลลอฮฺได้ตรัสว่า

«وَتُوبُوا إِلَى اللَّهِ جَمِيعًا أَيُّهَا الْمُؤْمِنُونَ لَعَلَّكُمْ تُفْلِحُونَ»

ความว่า “และจงเตาบัตต่ออัลลอฮฺเสียทั้งหมดเถิด โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย เพื่อว่าพวกเจ้าจะประสบความสำเร็จ” (อัน-นูร : 31)

«فَأَمَّا مَنْ تَابَ وَآمَنَ وَعَمِلَ صَالِحًا فَعَسَى أَنْ يَكُونَ مِنَ الْمُفْلِحِينَ»

ความว่า “ดังนั้น แม้นผู้ใดได้เตาบัต ได้ศรัทธาและปฏิบัติความดีงาม(ทดแทนความผิด) ย่อมที่เขาจะเป็นหนึ่งในบรรดาผู้ที่ประสบความสำเร็จ” (อัล-เกาะศ็อศ : 67)
 

7. รักษาตนจากความตระหนี่

          คุณลักษณะแห่งความตระหนี่คือสันดานที่ส่อถึงจิตใจอันคับแคบ และอาจจะบ่งบอกถึงความละโมบโลภมากด้วยซ้ำ ถึงแม้จะมองโดยผิวเผินแล้วความตระหนี่จะไม่ให้โทษใดๆ แต่โดยความเป็นจริงคุณลักษณะเช่นนี้ถือเป็นสิ่งที่น่าละอายเป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการไม่สำนึกในบุญคุณของพระผู้อภิบาลที่ทรงประทานนิอฺมัตมากมายให้กับบ่าว แต่เขากลับหยิ่งยโสและไม่ยอมใช้จ่ายตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่พระองค์ได้กำหนดเหนือตัวเขา ทั้งๆ ที่ความมั่งมีที่เขาเป็นเจ้าของนั้นล้วนมาจากพระองค์ทั้งสิ้น เพื่อสนับสนุนให้มนุษย์เอาชนะนิสัยเสียในด้านนี้พระองค์อัลลอฮฺจึงกำหนดว่าความสำเร็จนั้นจะประสบแก่ผู้ที่สามารถรักษาตนจากความตระหนี่ถี่เหนียว พระองค์ได้ตรัสในอัลกุรอานถึงสองที่ด้วยกันว่า

«وَمَنْ يُوقَ شُحَّ نَفْسِهِ فَأُولَئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ»

ความว่า “และแม้นผู้ใดได้รับการปกป้องความตระหนี่ในใจเขา ดังนั้น พวกเขาเหล่านั้นแหล่ะคือผู้ที่ประสบความสำเร็จ” (อัล-หัชร์ : 9, อัต-ตะฆอบุน : 16)
 

8. สั่งเสียในความดี ยับยั้งความชั่ว

         คุณลักษณะนี้เป็นประการที่อยู่ในขอบเขตของการทำเพื่อส่วนรวม เป็นแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะทำให้สังคมมนุษย์ปลอดภัยจากสิ่งไม่พึงปรารถนา หากเราทั้งหลายปฏิบัติตามคำสั่งนี้กันอย่างจริงจัง แน่แท้ความดีงามทั้งหลายก็จะปรากฏ ทว่าความเป็นจริงที่น่าเศร้าสลดก็คือ เรายัง้ขาดคุณสมบัติแห่งความสำเร็จในข้อนี้อีกมาก สังคมของเราในปัจจุบันจึงเต็มไปด้วยความเน่าเฟะของศีลธรรมและจริยธรรม ซึ่งส่งผลคุกคามสันติสุขในการดำเนินชีวิตของเราทุกคนอย่างยากที่จะหนีพ้น

อัลลอฮฺได้ตรัสถึงความสำคัญของการสั่งเสียในความดีและยับยั้งความชั่วว่า

«وَلْتَكُنْ مِنْكُمْ أُمَّةٌ يَدْعُونَ إِلَى الْخَيْرِ وَيَأْمُرُونَ بِالْمَعْرُوفِ وَيَنْهَوْنَ عَنِ الْمُنْكَرِ وَأُولَئِكَ هُمُ الْمُفْلِحُونَ»

ความว่า

“และจงให้มีกลุ่มพวกหนึ่งในระหว่างพวกเจ้าที่คอยเรียกร้องเชิญชวนสู่ความดีงาม

สั่งเสียให้กระทำความดี และยับยั้งไม่ให้ประพฤติความชั่ว

และพวกเขาเหล่านั้นแหล่ะคือผู้ที่ประสบความสำเร็จ”

(อาล อิมรอน 104)
 

 
อ.ซุฟอัม  อุษมาน

Islam House


Part 1 >>>> Click

Next 3 >>>> Click