จำนวนค่าชดเชยที่เกี่ยวกับการถือศีลอด
  จำนวนคนเข้าชม  22702

 

 

จำนวนของการเสียค่าชดเชยในอายะที่เกี่ยวกับการถือศีลอด

 

แปลโดย.... อิสมาอีล  กอเซ็ม

มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮ์

ประการแรก

         ใครก็ตามที่ได้เข้าสู่เดือนรอมาฏอน โดยที่เขาไม่มีความสามารถที่จะถือศีลอด  เนื่องจากความชราภาพ  หรือประสบกับโรคที่ไม่มีทางรักษาได้ และไม่มีโอกาสจะหายแล้ว ซึ่งในกรณีเช่นนี้เขาไม่จำเป็นต้องถือศีลอด  ถ้าเขาไม่มีความสามารถ ให้เขาไม่ต้องถือศีลอด แต่ต้องให้อาหารแก่คนยากจนทุกวัน

อัลลอฮ์  ได้ตรัสไว้ว่า

قال الله تعالى : ( يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذِينَ مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُونَ * أَيَّاماً مَعْدُودَاتٍ فَمَنْ كَانَ مِنْكُمْ مَرِيضاً أَوْ عَلَى سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِنْ أَيَّامٍ أُخَرَ وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ فَمَنْ تَطَوَّعَ خَيْراً فَهُوَ خَيْرٌ لَهُ وَأَنْ تَصُومُوا خَيْرٌ لَكُمْ إِنْ كُنْتُمْ تَعْلَمُونَ ) البقرة/183-184.

 

“ โอ้บรรดาผู้ที่ศรัทธา  การถือศีลอดได้ถูกกำหนดให้แก่พวกเจ้า  เหมือนที่ได้ถูกกำหนดให้แก่บรรดาผู้ที่มาก่อนหน้าพวกเจ้า 

เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้มีความยำเกรง  * ( คือถูกกำหนดให้ถือ ) ในวันต่างๆ ที่ถูกนับไว้

ดังนั้นผู้ใดจากพวกเจ้าเจ็บป่วย หรือว่าเดินทาง  ก็ให้ถือใช้ในวันอื่น และหน้าที่ของผู้ที่ถือศีลอดลำบาก (โดยที่เขาได้งดเว้นจากการถือ)

การชดเชย คือ การให้อาหารแก่คนยากจน (หนึ่งมื้อต่อการงดเว้นหนึ่งวัน)

ดังนั้นผู้ใดที่ทำความดีด้วยความสมัครใจ ก็เป็นการดีแก่เขา  และการที่พวกเจ้าถือศีลอดนั้นเป็นการดีแก่พวกเจ้า หากพวกเจ้ารู้ ”

 

          รายงานโดย อิหม่ามบุคอรีย์ หะดีษที่ 4505 จากท่านอิบนู  อับบาส โดยที่ท่านอิบนู  อับบาสได้กล่าวว่า

" ไม่ได้ถูกยกเลิก ผู้ชายที่สูงอายุ  และหญิงที่สูงอายุที่ทั้งสองไม่สามารถจะถือศีลอดได้ ให้ทั้งสองให้อาหารแก่คนยากจนทุกวัน"

           ท่านอิบนู  กูดามะห์ได้กล่าวไว้ในหนังสือ อัลมุฆนีย์ เล่มที่ 4 / 396  ชายสูงอายุ  และหญิงสูงอายุ  หากการถือศีลอดสร้างความลำบากแก่ทั้งสอง เป็นความลำบากอย่างยิ่ง อนุญาตให้ทั้งสองนั้นไม่ต้องถือศีลอด แต่ให้อาหารแก่คนยากจนทุกวัน  หากเขาไม่มีความสามารถที่จะให้อาหารได้ ก็ไม่ต้องชดใช้อะไร (เนื่องจากอัลลอฮ์ไม่ได้บังคับชีวิตหนึ่งเกินความสามารถที่จะทำได้ ) สำหรับคนป่วยที่ไม่มีโอกาสที่หายขาดได้   ไม่ต้องถือศีลอดเช่นกัน และให้อาหารแก่คนยากจนทุกวัน วันละหนึ่งคน เนื่องจากเขาอยู่ในสถานะเดียวกับ คนชราที่ไม่ความสามารถที่จะถือศีลอด

 

وفي الموسوعة الفقهية (5/117) :  ในหนังสือ อัลเมาซูอะ อัลฟิกอียะ (5/117)

          บรรดาแนวมัสอับ ฮานีฟีย์ และมัสชาฟีอีย์ มัสฮับฮัมบาลีย์ ได้มีความเห็นตรงกันว่า  เป็นการเสียค่าชดเชยแก่ผู้ที่ไม่มีความสามารถที่จะถือศีลอดชดเชย ในวันที่เขาไม่ได้ถือศีลอด เนื่องจากความชราทำให้เขาถือศีลอดชดใช้ไม่ได้  หรือ คนที่ป่วยที่ ไม่มีโอกาสที่หายขาด  จุดประสงค์ คือคนที่การถือศีลอดสร้างความลำบากให้แก่เขา เนื่องจากคำดำรัสของอัลลอฮ์ ที่ว่า

قوله تعالى : ( وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مسكين))

“และหน้าที่ของผู้ที่ถือศีลอดลำบาก(โดยที่เขาได้งดเว้นจากการถือ)

การชดเชยก็คือ การให้อาหารแก่คนยากจน (หนึ่งมื้อต่อการงดเว้นหนึ่งวัน)


 

ท่านเชค อิบนู อัลอุซัยมีน รอฮิมาอุลลอฮฺได้กล่าวว่า ในหนังของท่านที่ชื่อว่า ฟาตาวา อัซซียาม หน้าที่ 111

จำเป็นที่เจาจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับคนที่ป่วยนั้น มีอยู่สองประเภท คือ

          ประเภทที่หนึ่ง คนป่วยที่สามารถรักษาให้หายได้ เช่นความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นแบบฉับพลัน หรืออุบัติเหตุ ที่สามารถจะรักษาให้หายได้  สำหรับผู้ป่วยประเภทนี้ใช้ฮุกุมเดียวกับ บุคคลที่อัลลอฮ์  ได้กล่าวไว้ในอายะต่อไปนี้

(فَمَن كَانَ مِنكُم مَّرِيضًا أَوْ عَلَىٰ سَفَرٍ فَعِدَّةٌ مِّنْ أَيَّامٍ أُخَرَ)

“ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเจ็บป่วย หรือว่าเดินทาง ก็ให้ไปถือใช้ในวันอื่น”

          สำหรับผู้ป่วยที่กล่าวไว้ หน้าที่ของเขาคือรอให้หายป่วยแล้วค่อยถือชดใช้  หากว่าการกำหนดนั้นยังคงให้เขาเจ็บป่วยต่อไปอีก และได้เสียชีวิตก่อนที่จะหายป่วย ก็ไม่มีภาระใดๆ เนื่องจากอัลลอฮ์ได้กำหนดให้ถือศีลอดชดใช้ในวันอื่น  (หมายถึงเมื่อหายจากการป่วย) แต่ว่าเขาได้เสียชีวิตก่อนที่จะถึงวันนั้น  สภาพของเขาจึงเปรียบเหมือนกับคนที่เสียชีวิตในเดือนชะบาน ก่อนรอมาฏอนจะมาถึง ไม่ต้องถือศีดอดชดใช้

          ประเภทที่สอง  คือคนป่วยที่ไม่โอกาสจะหายจากโรคประจำตัวที่เป็นอยู่  เช่น โรคมะเร็ง โรคไต โรคเบาหวาน และในทำนองดังกล่าว จากโรคร้ายต่างๆ  ที่ไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้   ในกรณีเช่นนี้ผู้ที่ประสบโรคในสภาพดังกล่าว อนุญาตให้ไม่ต้องถือศีลอดได้   แต่จำเป็นแก่เขาต้องให้อาหารแก่คนยากจนทุกวัน วันละหนึ่งคน  เช่นเดียวกับผู้สูงอายุทั้งหญิงและชายที่ไม่มีความสามารถในการถือศีลอด  อนุญาตให้ไม่ต้องถือศีลอด แต่ว่าทั้งสองนั้นต้อง เสียค่าชดใช้ด้วยการให้อาหารแก่คนยากจนทุกวัน  หลักฐานในเรื่องดังกล่าว จากอัลกุรอาน ดำรัสของอัลลอฮ์  ที่ว่า

(وَعَلَى ٱلَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ)"

“และหน้าที่ของผู้ที่ถือศีลอดลำบาก (โดยที่เขาได้งดเว้นจากการถือ) การชดเชยก็คือ การให้อาหารแก่คนยากจน”

 

ประการที่สอง

          สำหรับรูปแบบการให้อาหาร ให้เลือกระหว่างการให้อาหารแก่คนยากจนหนึ่งคน ครึ่งซอฮ์ ที่เป็นอาหาร เช่นข้าวสาร หรือ อาหารอื่นๆ  (ประมาณ หนึ่งกิโลครึ่ง )  หรือ  ทำอาหารแล้วเรียกบรรดาคนยากจนมารับประทาน

          ท่านอิหม่ามบุคอรีย์ได้กล่าวว่า  “สำหรับคนชราที่ไม่สามารถจะถือศีลอดได้”   โดยที่ท่านอะนัส ในขณะที่อยู่ในวัยชรา ประมาณปี  หรือ สองปี ท่านให้อาหารด้วยกับขนมปัง และเนื้อ ทุกวันแก่คนยากจนหนึ่งคน โดยที่ท่านนั้นไม่ถือศีลอด


 

มีผู้ถามท่านเชค  บิน บาส ถึงผู้หญิงที่สูงอายุที่ไม่สามารถจะถือศีลอดได้  นางจะต้องทำอย่างไร ?

          ท่านเชค บินบาส รอฮิมาอุลลอฮฺ ตอบว่า   จำเป็นแก่นาง ต้องให้อาหารแก่คนยากจนหนึ่งคนทุกวัน ครึ่งซอฮ์ ของอาหารหลักแต่ละประเทศ  ไม่ว่า จะเป็นอินทผาลัม ข้าว หรืออื่นจากทั้งสอง  จำนวน 1.50 กิโลกรัมโดยประมาณ  มีการตอบปัญหาประเด็นดังกล่าวเหล่าศอหาบะห์ของท่านนบี ได้ตอบในแนวทางเดียวกัน

           เช่นท่าน อิบนู อับบาส รอฏิยัลลอฮูอันอุม   หากว่านางเป็นคนยากจนที่ไม่สามาถจะให้อาหารได้  นางก็ไม่ต้องทำและไม่มีความผิดใด  สำหรับการเสียการชดใช้นี้สามารถกระทำได้ในช่วงต้นๆ ของเดือน  หรือกลางเดือน  หรือปลายๆ เดือน

ขอให้อัลลอฮ์ ทรงประทานความสำเร็จ

จากหนังสือ ฟาตาวา เชค บิน บาส เล่มที่ 15/ 203


ท่านเชค อิบนู อุซัยมีนได้กล่าวไว้ในหนังสือ ฟาตาวา อัศศิยามหน้าที่ 111

          ใครที่ไม่มีความสามารถที่จะถือศีลอดในเดือนรอมาฏอน เนื่องจากอายุมาก  เช่นชายชรา  และหญิงชรา  ที่เมือถือศีลอดแล้วมันเป็นสิ่งที่สร้างความลำบากอย่างมาก  ในกรณีนี้มีข้อผ่อนผันให้แก่พวกเขา   แต่ว่าจำเป็นแก่เขาต้องให้อาหารแก่คนยากจนหนึ่งคนทุกวัน(ทุกวันที่เขาขาดศีลอด) ประมาณหนึ่งซอฮฺ จากข้าวสาลี อินทผาลัม หรือของในประเภทดังกล่าว ที่ชาวเมืองนั้นๆ เขารับประทานกัน   เช่นเดียวกันกรณีของคนป่วยที่ไม่สามารถจะถือศีลอดได้ และถ้าเขาถือศลอดแล้วมันสร้างความยากลำบากให้แก่เป็นอย่างมาก  โดยที่อาการป่วยของเขาไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เนื่องด้วยดำรัสของอัลลอฮ์ ที่ว่า

(لا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْساً إِلا وُسْعَهَا ) البقرة/286

“อัลลอฮ์จะไม่บังคับชีวิตหนึ่ง นอกเหนือจากความสามารถของมัน”

الإسلام سؤال وجواب
وقوله : ( وَمَا جَعَلَ عَلَيْكُمْ فِي الدِّينِ مِنْ حَرَجٍ ) الحج/78

“และพระองค์ไม่ทรงทำให้ลำบากแก่พวกเจ้าในเรื่องศาสนา”

: ( وَعَلَى الَّذِينَ يُطِيقُونَهُ فِدْيَةٌ طَعَامُ مِسْكِينٍ ) البقرة/184" اهـ

"และหน้าที่ของผู้ที่ถือศีลอดลำบาก (โดยที่เขาได้งดเว้นจากการถือ) การชดเชยก็คือ การให้อาหารแก่คนยากจน"

 

 


www.islamqa.com เลขที่  049944