สัญลักษณ์แห่งความรักของบรรดาผู้ศรัทธา
  จำนวนคนเข้าชม  11535

สัญลักษณ์แห่ง ความรักใคร่และการเป็นมิตรกับบรรดาผู้ศรัทธา

 

1. การอพยพจากดินแดนแห่งกุฟรไปยังดินแดนมุสลิม

          การอพยพ(ฮิจญ์เราะฮ์)คือการโยกย้ายถิ่นที่อยู่จากดินแดนของกุฟฟารไปยังดินแดนของมุสลิม เพื่อปกป้องหลักเชื่อมั่นของศาสนาอิสลามอันบริสุทธิ์อันเนื่องมาจากมีการกดขี่ข่มเหงในเรื่องศาสนา การอพยพในความหมายหรือเนื่องจากจุดมุ่งหมายเช่นนี้ ถือเป็นหน้าที่ที่จำเป็น (วาญิบ) สำหรับผู้ศรัทธา ตราบจนกระทั่งดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก คือวันกิยามะฮ์นั่นเอง

           ท่านนะบี    ปลีกตัวไม่ข้องเกี่ยวด้วยกับมุสลิมทุกคนที่ยังคงพำนักอยู่ในดินแดนของพวกมุชริก     ดังนั้น   ท่านจึงห้ามมิให้มุสลิมตั้งถิ่นฐานอยู่ในดินแดนของพวกกุฟฟาร  เว้นแต่ว่าเมื่อเขาไม่สามารถที่จะอพยพออกไปจากดินแดนนั้นได้เท่านั้น หรือไม่ก็การพำนักอยู่ของเขานั้นเพื่อผลประโยชน์ทางด้านศาสนา เช่น  การเรียกร้องเชิญชวนสู่อัลลอฮ์ และการเผยแพร่ศาสนาอิสลาม เป็นต้น  ดังดำรัสของอัลลอฮ์ ที่ว่า

قال الله تعالى إِنَّ الَّذِيْنَ تَوَفَّاهُمُ الْمَلاَئِكَةُ ظَالِمِيْ أَنْفُسِهُمْ قَالُوْا فِيْمَ كُنْتُمْ  قَالُوْا كُنَّا مُسْتَضْعَفِيْنَ فِي الأَرْضِ قَالُوْا أَلَمْ تَكُنْ أَرْضُ اللهِ وَاسِعَةً فَتُهَاجِرُوْا فِيْهَا فَأُولِئَكَ مَأْوَاهُمْ جَهَنَّمُ وَسَاءَتْ مَصِيْرًا  إِلاَّ الْمُسْتَضْعَفِيْنَ مِنَ الرِّجَالِ وَالنِّسَآءِ وَالْوِلْدَانِ لاَ يَسْتَطِيْعُوْنَ حِيْلَةً وَلاَ يَهْتَدُوْنَ سَبِيْلاً  فَأُولَئِكَ عَسَى اللهُ أَنْ يَعْفُوَا عَنْهُمْ وَكَانَ اللهُ عَفُوًّا غَفُوْرًا  {    سورة النساء 97-99
   
“ แท้จริง บรรดาผู้ที่มลาอิกะฮ์ ได้มาเอาชีวิตของพวกเขาไปในฐานะที่พวกเขาได้ก่ออธรรมต่อตัวของพวกเขาเอง มลาอิกะฮ์ได้กล่าวว่า  พวกเจ้าทำอะไรกันมา?  พวกเขากล่าวว่า “พวกเราเป็นพวกที่ถูกถือว่าเป็นผู้ที่อ่อนแอในแผ่นดิน” มลาอิกะฮ์กล่าวว่า “แผ่นดินของอัลลอฮ์มิได้กว้างใหญ่ไพศาล พอที่พวกเจ้าจะอพยพไปตั้งหลักแหล่งอยู่ดอกหรือ ?” ชนเหล่านี้แหละ ที่อยู่ของเขาพวกเขา คือ นรกญะฮันนัม และเป็นที่กลับไปที่ชั่วร้ายจริงๆ เว้นแต่ บรรดาผู้ที่ถูกถือว่า เป็นผู้ที่อ่อนแอ  ไม่ว่าจะเป็นชาย ผู้หญิง หรือเด็ก ก็ตาม ที่ไม่สามารถมีอุบายใดๆ อีกทั้งพวกเขาไม่ได้รับการแนะนำสู่ทางหนึ่งทางใดด้วย ชนเหล่านี้แหละที่อัลลอฮ์ จะทรงยกโทษให้กับพวกเขา และอัลลอฮ์ นั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ เป็นผู้ทรงยกโทษให้เสมอ”  (อันนิซาอ์ 4/97-99)

 
 2  การช่วยเหลือสนับสนุนมุสลิมด้วยกัน

           การช่วยเหลือสนับสนุนด้วยกับชีวิต ทรัพย์สิน และคำพูด ในสิ่งที่พี่น้องมุสลิมมีความต้องการ ทั้งในด้านศาสนาและทางโลก  อัลลอฮ์   ตรัสว่า

قال الله تعالى   وَالْمُؤْمِنُوْنَ وَالْمُؤْمِنَاتُ بَعْضُهُمْ أَوْلِيَآءُ بَعْضٍ ... الآية  {  سورة التوبة  71
                                                                      
“ บรรดาชายผู้ศรัทธา และบรรดาหญิงผู้ศรัทธา ต่างก็เป็นมิตรสนิทเกื้อกูลซึ่งกันและกัน ” (อัตเตาว์บะฮ์ 9/71)
                                                                                       
          และอัลลอฮ์  ยังตรัสอีกว่า

قال الله تعالى وَإِنِ اسْتَنْصُرُوْكُمْ فِي الدِّيْنِ فَعَلَيْكُمُ النَّصْرُ إِلاَّ عَلَى قَوْمٍ بَّيْنَكُمْ وَبَيْنَهُمْ مِّيْثَاقٌ ... الآية  {  سورة الأنفال 72

 “และหากว่าพวกเขาขอให้พวกเจ้าช่วยเหลือในเรื่องศาสนา ดังนั้น ก็เป็นหน้าที่ของพวกเจ้าที่จะต้องให้การช่วยเหลือ

เว้นแต่กลุ่มชนที่พวกเจ้ากับพวกเขามีสนธิสัญญากันอยู่ก่อนแล้ว   ” ( อัลอันฟาล 8 /72)

 
3  ทุกข์ก็ทุกข์ด้วยกัน สุขก็สุขด้วยกัน

        ท่านนะบี กล่าวว่า
 
قال النبي ((مَثَلُ الْمُسْلِمِيْنَ فِيْ تَوَآدِّهِمْ وَتَعَاطُفِهِمْ وَتَرَاحُمِهِمْ كَالْجَسَدِ الْوَاحِدِ إِذَا اشْتَكَى مِنْهُ عَضْوٌ تَدَاعَى لَهُ سَائِرُ الْجَسَدِ بِالْحُمَى وَالسَّهَرِ ))

“ อุปมา มุสลิมในความรักใคร่กัน ในการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน และในการเอ็นดูเมตตาต่อกันนั้น อุปมัย ดังร่างกายเดียวกัน   

เมื่ออวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใด เจ็บป่วย ไม่สบาย ก็พลอยทำให้อวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกายพลอยเป็นไข้ อดหลับอดนอนไม่สบายไปด้วย ” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์)

          และท่านนะบี  ได้กล่าวว่า

قال النبي (( الْمُؤْمِنُ لِلْمُؤْمِنِ كَالْبُنْيَانِ يَشُدُّ بَعْضُهُ بَعْضًا وَشَبَّكَ بَيْنَ أَصَابِعِهِ ))  

“ มุมินกับมุมินนั้น เปรียบเสมือนอาคารหลังหนึ่งซึ่งจะยึดเหนี่ยวซึ่งกันและกันเอาไว้ และท่านนะบีก็ได้สอดประสานนิ้วมือของท่านเข้าไว้ด้วยกัน ”  ( บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ ) 


4 ให้คำแนะนำตักเตือนกัน รักที่จะมอบสิ่งที่ดีให้แก่กัน ไม่คดโกงกันไม่หักหลังกัน 

ท่านนะบี    กล่าวว่า

قال النبي    ((  لاَ يُؤْمِنُ أَحَدُكُمْ حَتىَّ يُحِبَّ لأَخِيْهِ مَا يُحِبُّ لِنَفْسِهِ ))  

“คนหนึ่งคนใดในพวกท่านจะยังไม่เป็นผู้ศรัทธา จนกว่าเขาจะรัก-ชอบจะให้ได้แก่พี่น้องของเขา ในสิ่งที่เขารัก - ชอบจะให้ได้แก่ตัวของเขาเอง ”   ( บันทึกโดย อัลบุคอรีย์ )

ท่านนะบี   กล่าวอีกว่า

قال النبي   ((  الْمُسْلِمُ أَخُوالْمُسْلِمِ لاَ يَحْقِرُهُ وَلاَ يَخْذُلُهُ وَلاَ يُسْلِمُهُ  ، بِحَسْبٍ امِّرِئٍ مِنَ الشَّرِّ أَنْ يَحْقِرَ أَخَاهُ الْمُسْلِمَ ، كُلُّ مُسْلِمٍ عَلَى الْمُسْلِمِ حَرَامٌ دَمُهُ وَمَالُهُ وَعِرْضُهُ  ))

“มุสลิมกับมุสลิมนั้นเป็นพี่น้องกัน เขาจะไม่ดูถูกกัน จะไม่กดขี่ข่มเหงกัน  เขาจะไม่หักหลังกัน และเขาจะไม่ส่งตัวพี่น้องของเขาไปให้ศัตรู 

และการที่ถือว่าคนเรานั้นเลวที่สุดก็คือ การดูถูกกัน การกดขี่ข่มเหงกัน การเหยียดหยามพี่น้องมุสลิมของเขาด้วยกันนั่นเอง 

มุสลิมทุกคนนั้น เลือดเนื้อ ทรัพย์สิน เกียรติยศ และศักดิ์ศรี ของเขานั้นเป็นที่ต้องห้าม (ฮะรอม) ซึ่งกันและกัน” ( บันทึกโดย อัลบุคอรีย์)  
                                                                                  
         และท่านนะบี กล่าวอีกว่า

وقال عليه الصلاة والسلام (( لاَ تَبَاغَضُوْا وَلاَ تَدَابَرُوْا وَلاَ تَنَاجَشُوْا وَلاَ بَيْعَ بَعْضُكُمْ عَلَى بَعْضٍ  وَكُوْنُوْا عِبَادَ اللهِ إِخْوَانًا  )) رواه  مسلم  

“ ท่านทั้งหลาย  จงอย่าโกรธเกลียดกัน  จงอย่าหันหลังให้กัน  จงอย่าหลอกลวงกัน จงอย่ามีเล่ห์เหลี่ยมคิดวางแผนทำลายล้างกัน

และจงอย่าซื้อขาย ตัดหน้ากัน แต่จงเป็นบ่าวของอัลลอฮ์ที่เป็นพี่น้องกันเถิด” (บันทึกโดย อิมามมุสลิม)
 
      
5 ให้เกียรติ เคารพยกย่องผู้ใหญ่

         ดังดำรัสอัลลอฮ์  ที่ว่า
 
قال الله تعالى يَاأَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا لاَ يَسْخَرْ قَوْمٌ مِّنْ قَوْمٍ عَسَى أَنْ يَكُوْنُوْا خَيْرًا مِّنْهُمْ وَلاَ نِسَآءٌ مِّنْ نِسَآءٍ عَسَى أَنْ يَكُنَّ خَيْرًا مِنْهُنَّ  وَلاَ تَلْمِزُوْا أَنْفُسَكُمْ وَلاَ تَنَابَزُوْا بِالأَلْقَابِ بِئْسَ الاِسْمُ الْفُسُوْقُ بَعدَ الإْيْمَانِ وَمَنْ لَمْ يَتُبْ فَأُولَئِكَ هُمُ الظَّالِمُوْنَ  يَا أَيُّهَا الَّذِيْنَ آمَنُوْا اجْتَنِبُوْا كَثِيْراً مِّنَ الظَّنِّ  إِنَّ بَعْضَ الظَّنِّ إِثْمٌ  وَلاَ تَجَسَّسُوْا  وَلاَ يَغْتَبْ بَعْضُكُمْ بَعْضًا أَيُحِبُّ أَحَدُكُمْ أَنْ يَأْكُلَ لَحْمَ أَخِيْهِ مَيْتًا فَكَرِهْتُمُوْهُ  وَاتَّقُوا اللهَ إِنَّ اللهَ تَوَّابٌ رَّحِيْمٌ    {   سورة  الحجرات 11- 12

“โอ้ บรรดาผู้ที่ศรัทธาแล้วทั้งหลาย ชนกลุ่มหนึ่งอย่าได้เยาะเย้ยถากถางชนอีกกลุ่มหนึ่ง บางทีชนกลุ่มที่ถูกเยาะเย้ยนั้น อาจจะดีกว่าชนกลุ่มที่ทำการเยาะเย้ยเสียอีก

และสตรีกลุ่มหนึ่งอย่าได้เยาะเย้ยสตรีอีกกลุ่มหนึ่ง บางทีสตรีกลุ่มที่ถูกเยาะเย้ย อาจจะดีกว่าสตรีกลุ่มที่ทำการเยาะเย้ยเสียอีก

และพวกเจ้าอย่าได้ตำหนิตัวของพวกเจ้าเอง และอย่าได้เรียกกันด้วยฉายาที่เจ้าตัวมิชอบ

ช่างเลวทรามจริงๆ ที่บรรดาผู้ศรัทธาถูกเรียกว่าเป็นผู้ฝ่าฝืน ภายหลังจากที่ได้ศรัทธากันมาแล้ว และผู้ใดไม่สำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัว ชนเหล่านั้นแหละคือ บรรดาผู้ก่ออธรรม”

 “ โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาแล้วทั้งหลาย   พวกเจ้าจงปลีกตัวให้ห่างจากส่วนใหญ่ของการสงสัยเถิด

แท้จริง  การสงสัยบางอย่างนั้นเป็นบาป และพวกเจ้าจงอย่าสอดแนมกัน และจงอย่านินทาลับหลังกัน

คนหนึ่งคนใดในพวกเจ้าชอบกระนั้นหรือ ที่จะกินเนื้อซากศพพี่น้องของเจ้าที่ได้ตายไปแล้ว ?

พวกเจ้าย่อมเกลียด -ไม่ชอบมันเป็นแน่   และจงเกรงกลัวอัลลอฮฺเถิด แท้จริง อัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงอภัยโทษ เป็นผู้ทรงเอ็นดูเมตตาเสมอ ”

(อัลฮุญุร็อต 49 / 11-12)
 
       
6 ให้ประจำอยู่เคียงคู่กับบรรดาผู้ศรัทธาในทุกสภาพการณ์

           ประจำอยู่เคียงคู่บรรดาผู้ศรัทธาไม่ว่าจะในยามลำบากยากแค้น หรือ ในยามสุขสบาย  ในยามทุกข์ยาก  หรือยามสุขก็ตาม ซึ่งแตกต่างกับพวกมุนาฟิก ที่อยู่กับมุมินอย่างสุขสบาย ง่ายดาย ในยามปกติ  แต่พอยามหน้าสิ่วหน้าขวาน ทุกข์ยาก กลับหลบหลีกหนีหน้าหายไปจากพวกเขา ดังดำรัสของอัลลอฮ์  ที่ว่า

قال الله تعالى    الَّذِيْنَ يَتَرَبَّصُوْنَ بِكُمْ فَإِنْ كَانَ لَكُمْ فَتْحٌ مِّنَ اللهِ قَالُوْا أَلَمْ نَكُنْ مَّعَكُم  وَإِنْ كَانَ لِلْكَافِرِيْنَ نَصِيْبٌ قَالُوْا أًلَمْ نَسْتَحْوِذْ عَلَيْكُمْ وَنَمْنَعْكُمْ مِّنَ الْمُؤْمِنِيْنَ   {          سورة النساء  114 
  
   “ บรรดาผู้ที่คอยเฝ้าจับตามองดูพวกเจ้าอยู่นั้น ถ้าหากพวกเจ้าได้พบกับชัยชนะจากอัลลอฮ์ พวกเขาก็กล่าวว่า เรามิได้ร่วมอยู่กับพวกท่านดอกหรือ ?

และหากมีสิ่งดีใด ๆ ได้กับบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา พวกเขาก็กล่าวว่า เรามิได้มีบุญคุณเหนือพวกท่านดอกหรือ ? และเรามิได้ป้องกันพวกท่านให้พ้นจากบรรดาผู้ศรัทธา กระนั้นหรือ ?”

(อันนิซาอ์ 4/141)


7 ไปเยี่ยมเยือนบรรดาผู้ศรัทธา 

          ชอบที่จะไปพบปะกับบรรดาผู้ศรัทธา และไปร่วมประชุมกับพวกเขา ดังในฮะดีส กุดซีย์ ระบุว่า

وفي الحديث القدسي  : (( وَجَبَتْ مَحَبَّتِيْ لِلْمُتَزَاوِرِيْنَ  فِيَّ ))

“เป็นหน้าที่ของข้า(อัลลอฮ์)ที่จะมอบความรักของข้าให้แก่ผู้ที่ไปเยี่ยมเยือนกันเพื่อข้า” (บันทึก โดย อิมาม มาลิก)
                                                                  
และในฮะดีษอื่นๆ ยังระบุอีกว่า

وفي حديث آخر " أَنَّ رَجُلاً زَارَ أَخًا لَهُ فِي اللهِ فَأَرْصَدَ اللهُ عَلَى مدَرَجَتِهِ مَلِكًا  فَسَأَلَهُ أَيْنَ تُرِيْدُ؟   قَالَ :  أَزُوْرُ أَخًا لِيْ فِي اللهِ ، قُلْ : هَلْ لَكَ عَلَيْهِ مِنْ نِعْمَةٍ ترابـها  عَلَيْهِ ، قَالَ : لاَ   غَيْرَ أَنِّيْ أَحْبَبْتُهُ فِي اللهِ ، قَالَ : (( فَإِنيِّ رَسُوْلُ اللهِ  إِلَيْكِ بِأَنَّ اللهَ قَدْ أَحَبَّكَ كَمَا أَحْبَبْتَهُ فِيْهِ  )) "

“มีชายคนหนึ่งไปเยี่ยมพี่น้องของเขาที่ร่วมอยู่ในหนทางของอัลลอฮ์ ดังนั้น อัลลอฮ์จึงส่งมลาอิกะฮฺท่านหนึ่งไปเฝ้าดักรอตามหนทางที่เขาจะเดินผ่านมาแล้วถามชายคนนั้นว่า  “เจ้าต้องการจะไปไหน ?” ชายคนนั้นก็ตอบว่า  “จะไปเยี่ยมพี่น้องคนหนึ่งที่ร่วมอยู่ในศาสนา” มลาอิกะฮ์จึงถามอีกว่า  “เจ้ามีหนี้บุญคุณอะไรที่จะต้องไปชดใช้เขาหรือไม่?” ชายคนนั้นตอบว่า “ไม่มีอะไร นอกจาก ฉันรักเขาในหนทางของอัลลอฮ์เท่านั้น”      มลาอิกะฮ์จึงกล่าวว่า “แท้จริง ฉันคือฑูต คนหนึ่ง ของอัลลอฮ์ ที่มายังท่านก็เพราะ อัลลอฮ์ทรงรักท่าน เหมือนกับที่ท่านรักเพื่อนของท่านในหนทางของอัลลอฮ์นั่นเอง ”


8 ให้ความเคารพยกย่อง ให้เกียรติต่อสิทธิ์ของบรรดาผู้ศรัทธา 


         จงอย่าซื้อขายตัดหน้าตัดราคากัน จงอย่าบังคับขู่เข็ญให้เขากระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด จงอย่าชิงตัดหน้าซื้อขายสินค้ากัน   หรือตัดหน้าขอแต่งงานกับสตรีที่มีผู้ทาบทามอยู่ก่อนแล้ว และจงอย่าหักห้าม ขัดขวาง ผู้ที่มาก่อนหน้าเขา ในสิ่งที่ศาสนาอนุญาต  ท่านเราะซูล กล่าวว่า

قال النبي ((  أَلاَ لاَ بَيْعَ الرَّجُلِ عَلَى أَخِيْهِ وَلاَ يَخْطُبُ عَلَى خِطْبَتِهِ  ))

 “ชายคนใดก็ตาม อย่าได้ซื้อขายตัดหน้าพี่น้องของเขา และอย่าได้สู่ขอตัดหน้าหญิงที่มีพี่น้องของเขาได้ขอไว้ก่อนแล้ว และเธอก็ยอมรับข้อเสนอของฝ่ายชายแล้วด้วยความพึงพอใจ”

         และอีกรายงานหนึ่งระบุว่า

 وفي رواية ((   وَلاَ يَسَمَّ عَلَى سَوْمِهِ  ))   “และอย่าได้บังคับข่มขู่ตัดหน้ากัน ”            

  

9  ความละมุนละม่อม อ่อนโยนต่อผู้ศรัทธาที่อ่อนแอ

         ดังที่ท่านนะบี   กล่าวว่า

قال النبي    ((  لَيْسَ مِنَّا مَنْ لَمْ يُوَقِّرْ كَبِيْرَنَا وَيَرْحَمْ صَغِيْرَنَا ))

“ไม่ใช่พวกของเรา ผู้ที่ไม่เคารพยกย่องให้เกียรติผู้ใหญ่ของเรา ไม่เอ็นดูเมตตาต่อเด็ก (ผู้น้อย) ของเรา  ” ( บันทึกโดย อิมามอะฮฺมัด อัฏฏ็อบรอนีย์ และอัลฮากิม)

          ท่านนะบี กล่าวว่า

قال النبي  (( هَلْ تَنْصُرُوْنَ وَتَرْزُقُوْنَ إِلاَّ بِضُعَفَائِكُمْ ) 

“พวกท่านจะได้รับชัยชนะ และจะได้รับปัจจัยยังชีพ (ริสกีย์) หรือไม่ หากไม่มีคนที่อ่อนแอในพวกท่าน ” ( บันทึกโดย อัลบุคอรีย์)

           และอัลลอฮ์ ตรัสว่า

قال  الله تعالى   وَاصْبِرْ نَفْسَكَ مَعَ الَّذِيْنَ يَدْعُوْنَ رَبَّهُمْ بِالْغَدَاةِ وَالْعَشِيِّ يُرِيْدُوْنَ وَجْهَهُ وَلاَ تَعْدُ عَيْنَاكَ عَنْهُمْ تُرِيْدُ زِيْنَةَ الْحَيَاةِ الدُّنْيَا   {    سورة الكهف  28
                                                                       
“และจงอดทนต่อตัวของเจ้า พร้อมกับบรรดาผู้ที่วอนขอต่อพระเจ้าของพวกเขาทั้งยามเช้าและยามเย็น  

โดยที่พวกเขาหวังในพระพักตร์ของพระองค์ และอย่าให้สายตาของเจ้าหันเหออกไปจากพวกเขา

ขณะที่เจ้าต้องการสิ่งประดับประดา(ความสวยงาม) ของชีวิตความเป็นอยู่แห่งโลกดุนยานี้ ” (อัลกะฮ์ฟิ 18/28)
     
                                                                                        
10.  การขอดุอาอ์ให้กับบรรดาผู้ศรัทธา และขออภัยโทษให้กับพวกเขา 

ดังที่อัลลอฮ์ ตรัสว่า

قال الله تعالى   وَاسْتَغْفِرْ لِذَنْبِكَ وَلِلْمُؤْمِنِيْنَ وَالْمُؤْمِنَاتِ  {    سورة محمد 19
                                                                                    
 “และจงขออภัยโทษในความผิดของเจ้า และจงขออภัยโทษให้แก่บรรดาชายผู้ศรัทธา  และบรรดาหญิงผู้ศรัทธา ”   (มุฮัมมัด 47/19 )
                                                                                        
           และอัลลอฮ์ ยังตรัสอีกว่า

قال الله تعالى  رَبَّنَا  اغْفِرْ لَنَا وَإِخْوَانِنَا الَّذِيْنَ سَبَقُوْنَا بِالإِيْمَانِ {   سورةالحشر 40
                                                      
“โอ้พระเจ้าของเรา ขอพระองค์ทรงยกโทษให้กับเรา และแก่บรรดาพี่น้องของเรา ที่ได้ศรัทธากันมาก่อนหน้าเราด้วยเถิด ”        ( อัลฮัชร์ 59/40)

 

 

เชค ดร. ซอลิฮฺ บินเฟาว์ซาน อัลเฟาว์ซาน


แปลและเรียบเรียงโดย  อ.มาลิก   โยธาสมุทร