เฉลยคำถาม 20 ข้อ ที่ร่วมแข่งขันตอบปัญหา
  จำนวนคนเข้าชม  56576

 

เฉลยคำตอบ

 

คำถามข้อที่ 1  -

ศาสนาอัลอิสลาม บัญญติใช้ในเรื่องใดบ้าง ?

ตอบ – ศาสนาอัลอิสลาม บัญญัติใช้ในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม จรรยามารยาทที่ดีงาม และห้ามกระทำสิ่งที่ต่ำช้าเลวทราม อิสลามใช้ให้กระทำและส่งเสริมให้ปฏิบัตความดีงามทุกประการ ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า

“แท้จริงอัลลอฮ์ทรงสั่งใช้ให้รักษาความยุติธรรมและทำดี และการบริจาคแก่ญาติที่ใกล้ชิด และให้ละเว้นการทำลามก และการชั่วช้า และการอธรรม พระองค์ทรงตักเตือนพวกเจ้า เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รำลึก”  (อันนะห์ล / 90 )


คำถามข้อที่ 2 –

การที่ประชาชาติตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักการอัลอิสลาม จะส่งต่อภาคผลใดบ้าง ?

ตอบ – การตั้งอยู่บนพื้นฐานหลักการอิสลาม จะทำให้ประชาชาติอิสลามเป็นประชาชาติที่สมบูรณ์ สะอาดบริสุทธิ์ เคารพและศรัทธาศาสนาแห่งสัจธรรมเพื่ออัลลอฮ์  ปฏิบัติตนต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยความยุติธรรม และสัตย์จริง


คำถามข้อที่ 3 –

หลักฐานที่แสดงถึงการมีอยู่ของอัลลอฮ์ ด้านความรู้สึกมีอะไรบ้าง?

ตอบ – แบ่งออกเป็น 2 ประการ

1. เราได้ทราบ ได้ยิน ได้เห็นจากการสนองตอบของอัลลอฮ์  ต่อผู้ร้องขอความช่วยเหลือ
2. สัญญาณต่างๆจากบรรดาศาสนทูต (ผู้นำสาร) ที่เรียกว่า มัวะญิซาต (ปฏิหาริย์) เนื่องจากสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เกินความสามารถของมนุษย์ที่จะทำได้


คำถามข้อที่ 4  -

ท่านนะบีมุฮัมมัด  ได้คุตบะฮ์ในการทำฮัจญ์อำลาครั้งสุดท้ายที่ไหน เมื่อใด   ?

ตอบ – ที่ทุ่งอะรอฟะฮ์ วันศุกร์ที่  9 เดือนซุลฮิจญะฮ์ ฮิจเราะฮ์ศักราชที่ 10


คำถามข้อที่ 5 –

อายะฮ์ใดที่เป็นอายะฮ์สุดท้ายของการลงวะฮีย์ ซึ่งแสดงถึงการความพร้อมสรรพของศาสนา ?

ตอบ – “ ..วันนี้ข้า (อัลลอฮ์) ได้ให้สมบูรณ์แก่พวกเจ้าแล้วซึ่งศาสนาของพวกเจ้า และข้าได้ให้ครบถ้วนแก่พวกเจ้าแล้ว ซึ่งความกรุณา เมตตาของข้า และข้าได้เลือกอิสลามให้เป็นศาสนาแก่พวกเจ้าแล้ว. .” (อัลมาอิดะฮ์ /  3)


คำถามข้อที่ 6 –

หลักการอิห์ซาน หมายถึงอะไร ?

ตอบ –  อัลอิห์ซาน คือ การที่ท่านภักดี (อิบาดะฮ์) ต่ออัลลอฮ์   เสมือนกับว่าท่านมองเห็นพระองค์ แม้นว่าท่านจะมองไม่เห็นพระองค์ก็ตาม แต่ทว่าพระองค์ทรงมองเห็นท่านอยู่


คำถามข้อที่ 7

หลังจากที่บิดา  มารดาเสียชีวิตไปแล้ว เราควรทำความดีให้กับท่านทั้งสองอย่างไร ?

ตอบ   - เยี่ยมเยียนญาติพี่น้อง และเพื่อนของท่าน  บริจาคทาน ขอดุอาให้กับท่านทั้งสองมากๆ

คำถามข้อที่ 8  -

คำสอนที่ลุกมานให้ความสำคัญ ต่อลูกๆอย่างมากที่สุดคืออะไร ?

ตอบ –  คือ การตั้งภาคี(ชิริก) ต่ออัลลอฮ์  ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า

“โอ้ ลูกของพ่อ เจ้าอย่าได้ตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ แท้จริงการตั้งภาคีนั้น เป็นการอธรรมอันยิ่งใหญ่” (ลุกมาน / 13 )


คำถามข้อที่ 9 –

ฮะดิษ ที่จะทำให้เด็กสามารถเผชิญกับสิ่งต่างด้วยความกล้าหาญ และความหวัง คือ ?

ตอบ – “ เจ้าจงรู้ไว้เถิดว่า ชัยชนะนั้นอยู่กับความอดทน และแท้จริงทางออกนั้นอยู่กับความคับขัน และแท้จริงพร้อมกับความลำบาก มีความสบายอยู่”


คำถามข้อที่ 10 –

อัลลอฮ์ ทรงสถิตย์ อยู่ ณ ที่ใด พร้อมหลักฐาน ?

ตอบ – พระองค์ทรงสถิตย์ อยู่บนบัลลังก์  พระองค์ทรงอยู่บนฟากฟ้า

“ผู้ทรงเอ็นดูเมตา ทรงสถิตย์ อยู่บนบัลลังก์” (ฏอฮา / 5 )

“และพระองค์ คือ อัลลอฮ์ ทรงอยู่บนฟากฟ้า” (อัลอันอาม / 3 )

  
คำถามข้อที่11  -

อัลลอฮ์  ทรงสัญญาแก่ผู้ที่ศรัทธา ถึงการประกอบการงานที่ดีไว้ว่าอย่างไร ?

ตอบ - อัลลอฮ์  จะทรงให้ชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และผลตอบแทนที่ดีแก่ผู้ศรัทธาที่ทำการงานที่ดี ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ดังที่พระองค์ทรงตรัสว่า

“ผู้ที่กระทำการงานที่ดี ทั้งชายและหญิงในฐานะที่เขาเป็นผู้ศรัทธา เรา(อัลลอฮ์)จะให้เขามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี และเราจะให้ผลตอบแทนแก่พวกเขา ด้วยสิ่งที่ดีที่สุดที่พวกเขากระทำไว้” (อันนะห์ล / 97 )


คำถามข้อที่ 12 –

ผู้ศรัทธาเมื่อได้รับการทดสอบด้วยการเจ็บไข้ได้ป่วย เขาจะปฏิบัติตนอย่างไร ?

ตอบ –  ผู้ศรัทธาจะยอมรับ และมองผู้ที่มีความยากลำบากกว่า เขาจะมองผู้ที่มีฐานะที่ต่ำกว่า ไม่มองผู้ที่มีฐานะสูงกว่า เขาจะสบายใจ ปลาบปลื้มใจและยอมรับในสิ่งที่พระองค์ทรงกำหนดมา


คำถามข้อที่ 13 –

ผู้ศรัทธา และผู้ปฏิเสธศรัทธา เมื่อได้รับการทดสอบจากพระองค์อัลลอฮ์  เหมือนกัน พวกเขาจะมีความแตกต่างกันทางด้านไหน ?

ตอบ –  ผู้ศรัทธาที่เข้มแข็งจะมีลักษณะโดดเด่นกว่าผู้ปฏิเสธศรัทธา พวกเขาจะอดทน มอบหมายและหวังพึ่งพาต่ออัลลอฮ์ จะทำให้เขาลดความกลัว ความกังวลใจ และความทุกข์ยากจะเบาบางลง  ดังที่พระองค์ ทรงตรัสว่า

“หากพวกเจ้าเจ็บปวด แท้จริงพวกเขาก็มีความเจ็บปวดเหมือนกับที่พวกเจ้ามีความเจ็บปวด แต่พวกเจ้าหวังจากอัลลอฮ์ ในสิ่งที่พวกเขาไม่ได้หวัง” (อันนิซาอ์ / 104 )


คำถามข้อที่ 14  -

สมัยก่อนอิสลามนั้น คือสมัยใด และสตรีมีสถานะภาพอย่างไร ?

ตอบ – คือ สมัยญาฮิลิยะฮ์ เป็นสมัยที่มีแต่ความงมงาย พวกเขาจะเกลียดการเกิดของลูกผู้หญิง บางคนจะฝังลูกหญิงทั้งเป็น และบางคนจะปล่อยโดยให้มีชีวิตด้วยความต่ำต้อย ไร้ค่า ไม่มีสิทธิ์ได้รับมรดก ไม่มีการดูแลเอาใจใส่ และมีแต่ความอธรรม


คำถามข้อที่ 15

พระองค์ อัลลอฮ์  ทรงสั่งใช้ให้สตรี ทำหน้าที่ใด และท่านนะบี  ได้กล่าวไว้อย่างไร ?

ตอบ – พระองค์ ทรงกำหนดให้สตรีเป็นผู้ดูแล ผู้ใช้ และผู้ห้ามภายในบ้านของสามี และเป็นผู้นำลูกๆ ของนาง ซึ่งท่านนะบี  ได้กล่าวว่า

“สตรีนั้นเป็นผู้ดูแลภายในบ้านของสามีของนาง และเป็นผู้ที่รับผิดชอบในผู้ที่อยู่ในความดูแลของนาง”


คำถามข้อที่ 16 

เงื่อนไขที่สตรีสามารถออกมาทำงานนอกบ้านได้ มีอะไรบ้าง ?

ตอบ –

• งานที่ทำจะต้องเป็นงานที่มีความสำคัญในสังคม และไม่มีผู้ชายที่สามารถทำงานนั้นได้
• สามารถที่จะทำงานได้ แต่ต้องหลังจากที่ปฏิบัติหน้าที่ในบ้านเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเป็นหน้าที่หลัก
• งานที่ทำจะต้องอยู่ในแวดวงของสตรี อยู่ในหมู่สตรีด้วยกัน และอยู่ห่างไกลจากผู้ชาย
• ไม่มีข้อห้าม และจำเป็นแก่สตรีที่จะเรียนรู้เรื่องศาสนา และสามารถสอนเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาในแวดวงของสตรีด้วยกัน


คำถามข้อที่ 17 

เพราะเหตุใดอัลลอฮ์ จึงต้องส่งเราะซูล ลงมายังมวลมนุษยชาติ ?

ตอบ – สาเหตุที่อัลลอฮ์ส่งบรรดานะบี และเราะซูลมายังมวลมนุษยชาติ

1.  เพื่อให้มนุษย์ชาติ ได้รู้จักผู้ทรงสร้างพวกเขา และเหตุผลของการสร้างมนุษย์
2.  การแจ้งให้ทราบเกี่ยวกับสิ่งเร้นลับ และเหตุการณ์ต่างๆ ในโลกอาคิเราะห์
3.  แก้ไขการออกนอกลู่นอกทางต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับมนุษย์
4.  ความต้องการของมนุษย์ชาติต่อบทบัญญัติ เพื่อควบคุมการดำเนินชีวิตของพวกเขา  บนโลกนี้


คำถามข้อที่ 18 

ทำไมชีวประวัติท่านนะบีมุฮัมมัด จึงครอบคลุมทุกด้านของมนุษย์ ?

ตอบ – สาเหตุที่ชีวประวัติของท่านนะบีมุฮัมมัด    เป็นชีวประวัติที่ครอบคลุมทุกด้านของมนุษย์ ไม่ว่าจะระดับไหนก็ตาม    เพราะว่าท่านนะบี นั้นเป็นแบบอย่างที่สมบูรณ์ สำหรับมนุษย์ในทุกด้าน ทุกยุคสมัย

          ท่านนะบี  เป็นแบบอย่างที่ดีงามในการปกครองประเทศ   เป็นพ่อที่ดีในการอบรมสั่งสอนลูกๆ  เป็นสามีที่ที่ยอดเยี่ยมที่ปฏิบัติกับคู่ครองของเขา   ท่านเราะซูล  เป็นครูที่ดีเยี่ยม ซึ่งครูทุกคนสามารถนำเอาวิธีการสอนของท่านมาเป็นแบบอย่าง  ท่านเป็นนักเรียนที่ดีในขณะที่ท่านรับวะฮีย์ (โองการต่างๆ)   จากญิบรีล ท่านเป็นผู้มักน้อย ซื่อสัตย์ เป็นพ่อค้าที่มีสัจจะเป็นลูกจ้างที่ดีในการเลี้ยงดูแพะ แกะของนายจ้าง ท่านเป็นผู้มั่งคั่งที่กตัญญูต่อพระเจ้า    เป็นผู้ขัดสนที่อดทน เป็นเด็กกำพร้าที่ต้องการ การอุปการะเลี้ยงดู และท่านก็เป็นผู้ที่อุปการะเด็กกำพร้า ให้การเลี้ยงดูด้วยความเมตตาสงสาร  ท่านเป็นผู้เรียกร้อง เชิญชวนไปสู่ศาสนาของอัลลอฮ์   ด้วยความสุขุม และด้วยการชี้แนะที่ดีงาม ท่านเป็นนักต่อสู้ในสิ่งที่ถูกต้อง ท่านไม่เกรงกลัวการตำหนิใดๆ  ท่านเป็นผู้ทำอิบาดะห์ที่ไม่เบื่อหน่ายในการทำความใกล้ชิดกับพระองค์อัลลอฮ์ ท่านเป็นแม่ทัพที่เก่งกาจ และมีวิธีการเฉพาะในการต่อสู้ และปฏิบัติกับศัตรู  เมื่อท่านได้รับชัยชนะท่านก็ถ่อมตนไม่หลงระเริง เมื่อพบกับความพ่ายแพ้ ก็พ่ายแพ้อย่างมีเกียรติ  นอกเหนือจากนี้ ท่านยังมีคุณสมบัติที่ดีงามอีกมากมาย ที่เกี่ยวข้องกับสภาพต่างๆ ของสังคม  ที่อัลลอฮ์  ทรงรวมไว้ในชีวประวัติ ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีงามของมวลมนุษยชาติ ตามสภาวการณ์และยุคสมัย

          ชีวประวัติของบรรดานะบีก่อนหน้าท่าน ได้ขาดจุดนี้ไป เช่น ท่านนะบีอีซา  ไม่ได้แต่งงาน ไม่มีลูกหลาน และไม่ได้เป็นผู้นำหรือผู้ปกครอง ส่วนชีวประวัติของท่านนะบีมูซา ขาดส่วนสำคัญที่มนุษย์ต้องการนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตด้านสังคม เช่น ความสัมพันธ์กับคู่ครองและครอบครัว ในด้านการปกครองที่เกี่ยวกับแนวทางในการบริหารจัดการทรัพย์สินต่าง ๆเป็นต้น


คำถามข้อที่ 19 

ความประพฤติที่ดีและไม่ดีของชาวอาหรับก่อนอิสลาม มีอะไรบ้าง ?

ตอบ – ความประพฤติที่ดีและไม่ดีของชาวอาหรับก่อนอิสลามมีดังนี้

ความประพฤที่ไม่ดี   
 
          ความประพฤติและประเพณีที่ไม่ดีได้แก่ การดื่มสุรา การเล่นการพนัน การฝังลูกผู้หญิงทั้งเป็นในบางตระกูล  การเชื่อในเรื่องโชคลางต่างๆ

ความประพฤติที่ดีคือ

          จริยธรรมอันดีงามของชาวอาหรับที่มีเหนือกว่าชนชาติอื่น คือ ความกล้าหาญ ความใจบุญ การรักษาสัญญา การรักษาชื่อเสียงเกียรติยศ มีสติปัญญาที่ปราดเปรื่อง และมีความเป็นอยู่แบบเรียบง่าย 


คำถามข้อที่ 20 

เหตุการณ์ใดทีแสดงถึงความชาญฉลาดในการตัดสินปัญหาของนะบีมุฮัมมัด ก่อนที่ท่านจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนะบี ?

ตอบ – เหตุการณ์ที่แสดงถึงความชาญฉลาดในการตัดสินปัญหาของท่านนะบีมุฮัมมัด     ก่อนที่ท่านจะได้รับการแต่งตั้งก็คือ

          เมื่ออายุได้ 35  ปี พวกกุเรชได้บูรณะกะอ์บะฮ์  ท่านนะบี  ได้เข้าร่วมด้วยการขนหินเพื่อการบูรณะ แต่สิ่งที่บ่งบอกถึงฐานะอันทรงเกียรติและสติปัญญาอันเฉียบแหลม  คือ  เหตุการณ์ยกหินดำไปประดิษฐาน  ณ  มุมกะอ์บะฮ์ ซึ่งได้เกิดการโต้แย้งขึ้นระหว่างเผ่าต่างๆ แต่ละเผ่าต้องการที่จะนำหินดำไปประดิษฐานไว้ ณ บัยตุลลอฮ์ การโต้แย้งจบลงด้วยการให้ผู้ใดก็ตามที่เดินเข้ามาทางประตูบนีซัยบะฮ์ เป็นคนแรกจะเป็นผู้ตัดสิน  ปรากฏว่าเป็นท่านนะบีมุฮัมมัด   พวกเขาต่างแสดงออกด้วยความยินดี  พร้อมกับพูดขึ้นว่า  ผู้ที่ซื่อสัตย์มาหาพวกท่านแล้ว เมื่อท่านนะบี  ได้ทราบถึงปัญหา ท่านจึงใช้ให้เอาผ้าชิ้นหนึ่งมาปูลงกับพื้น แล้วท่านก็ยกหินดำด้วยมือของท่านวางลงบนกลางผ้าผืนนั้น   แล้วให้ทุกตระกูลยกที่ชายผ้า  แล้วท่านก็ยกหินดำขึ้นวาง ณ ที่บัยตุลลอฮ์  การตัดสินได้สร้างความพอใจให้กับทุกฝ่าย

          จากมารยาทอันดีงามและการแก้ไขปัญหาอย่างชาญฉลาด จึงทำให้ท่านเป็นผู้ที่มีเกียรติในสังคม  ใครๆต่างก็ให้การยกย่องนับถือ

 

 


 

การประกาศผลจะทำการประกาศให้เร็วๆนี้ ค่ะ  อินชาอัลลอฮ์