การบอกหย่าที่เกิดจากการล่อลวงของชัยฏอน
  จำนวนคนเข้าชม  5251

 

การบอกหย่าที่เกิดจากการล่อลวงของชัยฏอนและการป้องกัน

 

คำถาม 

          ชัยฏอนได้ทำการล่อลวงผม  จนกระทั่งบางเวลาเมื่อภรรยาได้พูดคุยกับผม  ผมไม่ต้องการที่จะทำการโต้ตอบกับเธอ  ซึ่งสาเหตุนั้นอาจเกิดมาจากการล่อลวงของชัยฏอนหรืออาจเป็นเพราะเธอนั้นเป็นสาเหตุที่ทำให้ชัยฏอนมาล่อลวงผม  และเป็นความจริงหรือไม่  ในการที่ผมไม่ได้ทำการพูดคุยกับเธอนั้น  จะนับเป็นการบอกหย่ากับนาง  หรือถ้าผมได้พูดกับเธอด้วยอารมณ์โกรธ  การพูดจาด้วยอารมณ์โกรธกับเธอนี้  จะนับเป็นการบอกหย่าด้วยหรือไม่

 

คำตอบ 

บรรดาการสรรเสริญเป็นเอกสิทธิ์แด่พระองค์อัลลอฮฺ

          ในขณะที่คุณไม่ได้ทำการพูดจากับภรรยา หรือการพูดจากับภรรยาด้วยความโมโหนั้น  ไม่นับว่าเป็นการบอกหย่ากับภรรยาของคุณ

            ไม่ว่าพฤติกรรมใด ๆ ก็ตาม  ที่คุณคิดว่ามันเป็นการกระทำที่บ่งบอกของการบอกหย่ากับภรรยา หรือในสิ่งที่คุณตั้งใจจะกระทำหรือสิ่งที่คุณคิดจะแก้ไขปัญหาเหล่านั้น  สิ่งนั้นยังไม่ถือเป็นการบอกหย่ากับภรรยา  ตราบใดที่คุณไม่ได้กล่าวคำว่า หย่า ออกมา  เนื่องมาจาก 

ท่านนะบีมุฮัมมัด  ได้กล่าวเอาไว้ว่า

“     พระองค์อัลลอฮฺ ได้ทรงอภัยโทษให้แก่บรรดาปวงบ่าวของพระองค์  ในสิ่งที่พวกเขาได้ถูกล่อลวงหรือในสิ่งที่เขาตั้งใจจะกระทำ  ตราบใดที่พวกเขายังไม่ได้กระทำสิ่งนั้นหรือพูดสิ่งเหล่านั้นออกไป” 

(รายงานโดย อัล-บุคคอรีย์ 6664 และมุสลิม 127)

         จากหลักฐานดังกล่าว  บรรดาผู้รู้จึงได้มีความเห็นว่า  ความคิดในการหย่าร้างนั้นไม่ถือว่าเป็นการบอกหย่า  ตราบใดที่ไม่ได้กล่าวมันออกไป

         นอกจากนี้บรรดาผู้รู้  ได้มีความคิดเห็นว่า  การที่ฝ่ายชายได้ถูกล่อลวงจากชัยฏอนการบอกหย่าของเขาก็จะถือว่าใช้ไม่ได้  แม้ว่าเขาจะได้กล่าวคำว่า หย่า ออกมาแล้วก็ตาม  ตราบใดที่เขาไม่ได้ตั้งใจที่จะทำการหย่าร้างจริง ๆ

ซึ่ง ท่าน Shaykh Ibn Uthaymeen   (ขอพระองค์อัลลอฮฺ ทรงโปรดประทานความเมตตาแก่ท่านด้วยเทอญ)  ได้กล่าวเอาไว้ว่า

“         การบอกหย่าของบุคคลใดที่เกิดมาจากการล่อลวงจากชัยฏอนนั้น  จะยังไม่นับเป็นการบอกหย่า  ถึงแม้ว่าเขาจะได้กล่าวคำว่า หย่า ออกมาแล้วก็ตาม  เพราะการพูดคำว่า  หย่าในครั้งนี้  ขาดการไตร่ตรองอย่างรอบคอบ หรือไม่ตั้งใจ หรือไม่ได้คิดที่จะพูดมันออกไป  แต่เป็นการพูดอันเนื่องมาจากการถูกล่อลวงจากชัยฏอน  โดยที่เขาขาดสติในการควบคุมตนเองอยู่" 

 

ท่านนบีมุฮัมมัด ได้กล่าวเอาไว้ว่า

“ไม่ถือเป็นการบอกหย่า  หากการกล่าวออกนั้นเป็นไม่ได้เกิดจากความตั้งใจ” 

     ดังนั้นการหย่าในครั้งนี้  จึงไม่ถูกนับว่าเป็นการบอกหย่า  เพราะเป็นการพูดที่ได้ไม่เกิดจากความตั้งใจจริง ๆ (ฟัตวาอิสลามมิยา รวบรวมโดย Shaykh Muhammad ibn ‘Abd al-‘Azeez al-Musnad, 3/277)

          เราขอแนะนำให้คุณอย่าใส่ใจกับการล่อลวงของชัยฏอน  และเพิกเฉยต่อสิ่งที่มันยั่วยุคุณ  และให้คุณกระทำในสิ่งตรงกันข้ามกับที่มันคอยล่อลวงคุณ  เพราะบุคคลใดก็ตามที่เชื่อและกระทำตามในสิ่งที่ชัยฏอนล่อลวงแล้ว  เขาก็จะพบกับความเศร้าเสียใจ  และทางแก้ไขที่ดีที่สุดคือ  ให้ระลึกถึงพระองค์อัลลอฮฺ ให้มาก  ให้พระองค์อัลลอฮฺ เป็นที่พึ่งจากการถูกล่อลวงโดยชัยฏอน  และให้หลีกห่างจากสิ่งผิดบาปและการทำความชั่วทั้งหลาย  ซึ่งอิบลีสได้รับอำนาจในการที่จะล่อลวงบรรดาลูกหลานของอาดัม  ซึ่งพระองค์อัลลอฮฺ ได้ตรัสเอาไว้ในอายะกุรอ่านว่า

 

“แท้จริง(ชัยฏอน) มันไม่มีอำนาจใด ๆ เหนือบรรดาผู้ศรัทธา  โดยที่พวกเขาได้มอบหมายการงานต่อพระเจ้าของพวกเขา”

(ซูเราะฮฺ al-Nahl 16:99)

 

          ท่าน Ibn Hajar al-Haythami ได้กล่าวถึงการล่อลวงของชัยฏอน เอาไว้หนังสือของท่าน ที่ชื่อว่า al-Fataawa al-Fiqhiyyah al-Kubra,1/149   ซึ่งเป็นเนื้อหาที่ดีมาก  ซึ่งท่านได้ถูกถามถึงการถูกล่อลวงจากชัยฏอนและแนวทางในการแก้ไขมัน  และท่านก็ได้ตอบว่า

         มีวิธีในการแก้ไขการล่อลวงจากชัยฏอนที่ได้ผลดี คือการไม่ใส่ใจต่อการล่อลวงจากชัยฏอนทั้งหมด  ไม่ว่าชัยฏอนจะมาล่อลวงบ่อยแค่ไหนก็ตาม  ซึ่งเมื่อเราไม่ใส่ใจต่อการการกระซิบกระซาบของชัยฏอนแล้ว  ชัยฏอนก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรเราได้และจะห่างหายไปจากเราเองในระยะหนึ่ง  ดังที่หลาย ๆ คนได้เคยมีประสบการณ์ดังกล่าวมาแล้ว  แต่ถ้าใครก็ตามที่ให้ความใส่ใจต่อสิ่งที่ชัยฏอนได้พยายามล่อลวง ชัยฏอนจะมีอิทธิพลมากขึ้นในการทำให้คนนั้นเชื่อมันหรือทำให้กระทำในสิ่งที่ผิด  ดังตัวอย่างของหลาย ๆ คนที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากการเชื่อฟังการล่อลวงจากชัยฏอน  ซึ่งท่านนบีมุฮัมมัด ซล. ได้กล่าวเตือนพวกเราให้ทำการป้องกันชัยฏอนว่า

“จงใช้น้ำในการป้องกันการล่อลวงจากชัยฏอน ที่ชื่อว่า al-Walhaan”

          ซึ่งการป้องกันที่จะทำให้ห่างไกลจากชัยฏอนได้มากที่สุดก็คือ การทำน้ำละหมาด  ดังที่ได้ถูกอธิบายรายละเอียดไว้ใน Sharh Mishkaat al-Anwaar

 

          ใน al-Saheehayn ได้มีการรายงานที่สนับสนุนเนื้อหาข้างต้นว่า  ใครก็ตามที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากการล่อลวงจากชัยฏอน  เขาควรแสวงหาความคุ้มครองจากพระองค์อัลลอฮฺ  และให้เขาหลีกให้ห่างจากการล่อลวงของชัยฏอน  ซึ่งการแก้ไขการล่อลวงจากชัยฏอนที่ได้ผลนั้นได้ถูกสั่งสอนมาจากบุคคลที่ไม่เคยพูดถึงเรื่องเพ้อฝัน  และได้บอกกล่าวมายังประชาชาติของเขา และได้เข้าใจว่าใครก็ตามที่จิตใจของเขาถูกครอบครองด้วยชัยฏอนแล้ว  ความดีงามต่าง ๆ ของเขาก็จะหายไปด้วย  ซึ่งเป็นผลมาจากการล่อลวงของชัยฏอน 

         บรรดานักวิชาการโดยส่วนใหญ่ต่างมีความคิดเห็นว่า  ชัยฏอนนั้นมันจะทำให้บรรดาผู้ศรัทธาหลงทาง  ทำให้ผู้ศรัทธาเกิดความสับสนขึ้น  ทำให้ชีวิตของผู้ศรัทธานั้นพบกับความทุกข์ยาก กังวลใจ จนกระทั่งผู้ศรัทธานั้นได้ละทิ้งอิสลามไปอย่างไม่ทันยั้งคิด

 

“แท้จริง มารชัยฏอนนั้นเป็นศัตรูกับพวกเจ้า  ดังนั้นพวกเจ้าจงถือมันเป็นศัตรู”

(ซูเราะฮฺ ฟาฏิร 35 : 6)

 

          จากอีกฮะดีษหนึ่งที่ได้ถูกบันทึกเอาไว้ว่า  ใครก็ตามที่รับความทุกข์ทรมานจากการล่อลวงจากชัยฏอน  ก็ให้กล่าว่า “อามันตุ บิ้ลลาฮิ วะ บิ รูซูลิฮี” แปลว่า ฉันศรัทธาในอัลลอฮฺ และศาสนฑูตของพระองค์ 

          และไม่ต้องเป็นที่สงสัยเลยว่าผู้ใดก็ตามที่ปฏิบัติตามแนวทางของบรรดาศาสดาของอัลลอฮ์ ท่านนะบีมุฮัมมัด เขาจะได้พบว่า  แนวทางและข้อปฏิบัติตามแบบอย่างของท่านศาสดานั้นเป็นสิ่งที่ง่ายและถูกต้อง  ซึ่งเขาจะไม่พบกับความทุกข์ยากในนั้น  ดังอายะในอัลกุรอ่านที่ว่า

“และพระองค์มิได้ทรงทำให้เป็นการลำบากแก่พวกเจ้าในเรื่องของศาสนา”

(ซูเราะฮฺ อัล-ฮัจญ์ 22 : 78)

          และใครก็ตามที่ตระหนักและเชื่อมั่นในสิ่งที่พระองค์อัลลอฮฺ ได้ตรัสเอาไว้อย่างบริสุทธิ์ใจแล้ว  ปัญหาที่จะเกิดมาจากการล่อลวงหรือการกระซิบกระซาบของชัยฏอนก็จะห่างไกลจากเขา  ในหนังสือของ Ibn al-Sunni ได้มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮ์  ว่า

“ใครก็ตามที่ได้รับความทุกข์ทรมานจากการล่อลวงของชัยฏอนก็ให้เขากล่าวว่า “อามันตุ บิ้ลลาฮิ วะ บิ รูซูลิฮี” แปลว่า ฉันศรัทธาในอัลลอฮฺ และศาสนฑูตของพระองค์  จำนวน 3 ครั้ง  แล้วชัยฏอนก็จะหนีห่างจากเขาไป”

 

         นอกจากนี้ท่าน Al-‘Izz ibn ‘Abd al-Salaam และบุคคลอื่น ๆ ได้มีรายงานที่คล้ายคลึงกับรายงานข้างต้น  ซึ่งได้กล่าวเอาไว้ว่า การป้องกันการล่อลวงจากชัยฏอนนั้น  คือการที่ต้องเชื่อว่าความคิดดังกล่าวมาจากชัยฏอนและอิบลีสนั้นเป็นผู้ที่นำสิ่งที่ไม่ดีเข้ามาในความคิดของมนุษย์ ดังนั้นเขาต้องพยายามอย่างหนักที่จะต่อสู้กับอิบลีส  ซึ่งรางวัลในการต่อสู้นี้  คือรางวัลของผู้ที่ทำการญิฮาด  เนื่องมาจากเขาได้ทำการต่อสู้กับศัตรูของอัลลอฮ์  ถ้าเขาได้ต่อสู้แล้ว  ชัยฏอนก็จะหนีห่างจากเขาไป  ซึ่งการล่อลวงของชัยฏอนนั้น  เป็นสิ่งที่มนุษยชาติได้ถูกทดสอบจากพระองค์อัลลอฮ์  มาตั้งแต่อดีต  และพระองค์อัลลอฮฺ  นั้น  ได้มอบอำนาจให้กับอิบลีสในการที่มันจะมีอำนาจเหนือมนุษย์เพื่อที่จะทำการล่อลวงเขา  เพื่อเป็นบทบทสอบสำหรับอิบลีสเช่นกัน  และพระองค์อัลลอฮฺนั้นจะทรงชี้นำแนวทางให้กับสิ่งถูกสร้างของพระองค์  ว่าสิ่งใดที่เป็นความสัจจริง  สิ่งนั้นก็คือความถูกต้อง  และสิ่งใดที่เป็นความเท็จ  สิ่งนั้นก็คือสิ่งที่ผิด  แม้ว่าบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาจะเกลียดชังก็ตาม

 

ในฮะดีมุสลิม หมายเลข 2203 ได้มีรายงานว่าท่าน Uthmann ibn Abi’l-Aas ได้กล่าวว่า

“     ชัยฏอนนั้น  ได้มารบกวนฉันในการละหมาดและในการอ่านกุรอ่านของฉัน   

     และท่านนบี มุฮัมมัด ได้กล่าวว่า นั้นมาจากมารที่ชื่อว่า Khanzab ดังนั้น  ท่านจงแสวงหาความคุ้มครองจากพระองค์อัลลอฮฺ และให้ถ่มน้ำลายไปด้านซ้าย 3 ครั้ง และเมื่อฉันไปปฏิบัตติดังกล่าวแล้ว พระองค์อัลลอฮฺ  ก็ได้นำมารตัวนั้นหนีห่างจากฉันไป"

          ซึ่งฮะดีษนี้  ชี้ให้เราเห็นว่า  สิ่งที่เรากำลังทำอยู่นั้นจะถูกชัยฏอนเข้ามาทำการล่อลวงได้ก็เฉพาะผู้ที่ขาดความเอาใจใส่ในเรื่องที่กำลังกระทำอยู่หรือเป็นผู้ที่กำลังได้รับความสับสน และไม่รู้ว่าอะไรคืออะไร  แต่สำหรับผู้ที่มีความรู้และมีความเข้าใจนั้น  เขาจะปฏิบัติตามซุนนะฮฺ  และหลีกห่างจากบิดดะอะฮฺ  ซึ่งผู้ที่กระทำในสิ่งที่เป็นอุตริกรรมนั้น  เป็นผู้ที่กระทำตามชัยฏอน  ดังนั้น ท่านมาลิก (ของพระองค์ทรงโปรดประทานความเมตตาแก่ท่านด้วยเทอญ)  ได้รายงานว่า ท่าน shaykh al-Rabee ซึ่งเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งอีหม่ามในสมัยนั้น  เป็นผู้ที่เร่งรีบที่สุดในการชำระล้างร่างกายและทำน้ำละหมาด 

     ส่วนท่าน Ibn Hurmuz ได้เคยล่าช้าในการชำระล้างร่างกายและล่าช้าในการทำน้ำละหมาด  และท่านได้เคยกล่าวว่า  “ฉันนั้นมีปัญหาและอย่าได้ถือเอาฉันเป็นแบบอย่างเลย”

 

     ท่าน Al-Nawawi (ของพระองค์ทรงโปรดประทานความเมตตาแก่ท่านด้วยเทอญ) ได้กล่าวว่า  มีนักวิชาการท่านหนึ่งมีความคิดว่า สำหรับคนที่ถูกล่อลวงจากชัยฏอนนั้น  จำเป็นอย่างยิ่งที่เขาจะต้องปกป้องตัวของเขาเองด้วยกับการทำน้ำละหมาดหรือเมื่อผู้ทำละหมาดได้กล่าวว่า “ลา อิลาฮะ อิลลั้ลลอฮฺ”  จะทำให้ชัยฏอนค่อย ๆ หนีห่างจากเขาไป   เมื่อมันได้ยินผู้ทำการกล่าวรำลึกถึงพระองค์อัลลอฮฺ  และคำว่า

     “ลา อิลาฮะ อิลลั้ลลอฮฺ”  นี้  เป็นการรำลึกถึงพระองค์อัลลอฮฺที่ดีที่สุดและเป็นการป้องกันชัยฏอนที่ได้ผลอย่างมากที่สุด  ดังนั้นในการป้องกันการล่อลวงจากชัยฏอนก็ให้ผู้ศรัทธาทำการรำลึกถึงพระองค์อัลลอฮฺ ให้มาก

     พวกเราวิงวอนขอความช่วยเหลือจากพระองค์อัลลอฮฺ  ในการปลดเปลื้องความทุกข์ทรมานที่เกิดมาจากล่อลวงของชัยฏอน  และให้พระองค์ทรงเพิ่มพูนความศรัทธา หนทางที่ถูกต้องและการยืนหยัดในการปฏิบัติตามคำสั่งใช้ของพระองค์  ให้แก่พวกเราด้วยเทอญ

 

และพระองค์อัลลอฮฺ  นั้นเป็นผู้ทรงรอบรู้ยิ่ง

 

ที่มา http://www.islamqa.com/en/ref/62839

แปลโดย นูรุ้ลนิซาอ์