ผู้ก่อกบฏ
  จำนวนคนเข้าชม  10558

 

ผู้ก่อกบฏ (ผู้ละเมิด)

 

          ผู้ก่อกบฏ

       คือ  กลุ่มบุคคลที่เป็นภัยอันตรายและไม่ปฏิบัติตาม  ซึ่งพวกเขาต่อต้านผู้นำโดยการตีความที่ชอบด้วยกฎหมาย  พวกเขาต้องการที่จะถอดถอน  ขัดแย้ง  ทำลายการเชื่อฟังปฏิบัติตามผู้นำ


 

ลักษณะของผู้ก่อกบฏ

          บุคคลทุกกลุ่มที่ไม่ปฏิบัติตามหน้าที่หรือได้แยกตัวออกจากผู้นำของมวลมุสลิมหรือได้ถอนตัวออกจากการปฏิบัติตามผู้นำ  ดังนั้นพวกเขาถือว่าเป็นกลุ่มกบฏผู้อธรรมและบรรดากบฏก็ยังเป็นมุสลิมไม่ได้เป็นผู้ปฏิเสธแต่อย่างใด


 

วิธีการปฏิบัติต่อผู้ที่เป็นกบฏ

          1.  เมื่อผู้เป็นกบฏได้ออกมาต่อต้านผู้นำจำเป็นที่ผู้นำจะต้องส่งคนไปเจรจาแล้วถามพวกเขาในสิ่งที่ต้องการ  หากพวกเขาได้บอกถึงสิ่งที่พวกเขาไม่ได้รับความเป็นธรรมก็ให้ผู้นำปรับปรุงแก้ไข  และหากพวกเขาได้กล่าวอ้างถึงสิ่งที่คลุมเครือก็ให้นำมาแสดงเปิดเผย  ดังนั้นหากพวกเขายอมกลับมาเชื่อฟังปฏิบัติตามและหากพวกเขาไม่ยอมกลับให้กล่าวตักเตือนและขู่ให้พวกเขาหวาดกลัวถึงการปราบปราม  หากพวกเขายังยืนกรานให้ลงมือปราบปราม ประชาชนผู้อยู่ภายใต้การปกครองต้องให้การช่วยเหลือผู้นำ จนกระทั่งสามารถกำจัดความชั่วร้ายและสกัดความโกลาหลวุ่นวายให้หมดไป

          2.  เมื่อผู้นำต้องการจะปราบปรามกลุ่มกบฏให้ละเว้นการใช้อาวุธที่ร้ายแรง  เช่น  ลูกกระสุนที่มีประสิทธิภาพทำลายล้าง  และไม่เป็นที่อนุญาตให้ฆ่าลูกหลานของพวกเขา  หรือผู้ที่ยอมหันกลับมาปฏิบัติตาม  หรือผู้ที่บาดเจ็บ  และผู้ที่ไม่ได้ลุกขึ้นมาต่อสู้  สำหรับผู้ถูกจับเป็นเชลยให้กักขังไว้จนกระทั่งเหตุการณ์สงบ  ส่วนทรัพย์สินของพวกเขาก็ไม่นับว่าเป็นทรัพย์เชลยและลูกหลานของพวกเขาไม่ถือว่าเป็นเชลยศึกแต่อย่างใด

          3.  หลังจากการปราบปรามและความวุ่นวายได้ยุติลง  สิ่งที่เสียหายจากทรัพย์สินของพวกเขาขณะที่ปราบปรามก็ถือว่าสูญเปล่า  ผู้ที่ถูกฆ่าก็ไม่ได้รับการชดใช้แต่อย่างใด  และพวกเขาก็ไม่ต้องรับผิดชอบในทรัพย์สินและชีวิตที่เสียหายขณะที่ทำการปราบปราม


 

สิ่งที่จำเป็นต้องปฏิบัติขณะที่มีการเผชิญหน้ากันสองฝ่าย

          เมื่อสองกลุ่มได้เผชิญหน้าต่อสู้กันเนื่องจากการเข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือช่วงชิงการเป็นผู้นำทั้งสองกลุ่มต่างก็เป็นผู้อธรรม  ทั้งสองฝ่ายจะต้องรับผิดชอบในสิ่งที่ทำให้อีกฝ่ายเสียหาย  และจับเป็นที่จะต้องทำให้เกิดการปรองดองกันระหว่างทั้งสองฝ่าย

1.  อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

  “และหากมีสองฝ่ายจากบรรดาผู้ศรัทธาทะเลาะวิวาทกัน  ดังนั้นพวกเจ้าก็จงประนีประนอมระหว่างทั้งสองฝ่าย 

หากฝ่ายหนึ่งในสองฝ่ายนั้นละเมิดอีกฝ่ายหนึ่ง พวกเจ้าก็จงปรามฝ่ายที่ละเมิด จนกว่าฝ่ายนั้นจะกลับไปสู่บัญชาของอัลลอฮฺ 

ฉะนั้นหากฝ่ายนั้น (ฝ่ายกลับสู่บัญชาของอัลลอฮฺ) พวกเจ้าก็จงประนีประนอมระหว่างทั้งสองฝ่ายด้วยความยุติธรรม

และพวกเจ้าจงให้ความเที่ยงธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายเถิด  แท้จริงอัลลอฮฺทรงรักใคร่แก่บรรดาผู้ให้ความเที่ยงธรรม” 

(อัลหุญุรอต / 9)

 

         2.    จากอิรฟะญะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า  ฉันได้ยินท่านรอสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม  กล่าวว่า 

عن عرفجة رضي الله عنه قال: سمعت رسول الله ﷺ يقول: «مَنْ أَتَاكُمْ وَأَمْرُكُمْ جَـمِيْـعٌ، عَلَى رَجُلٍ وَاحِدٍ، يُرِيدُ أَنْ يَشُقَّ عَصَاكُمْ، أَوْ يُفَرِّقَ جَـمَاعَتَـكُمْ فَاقْتُلُوْهُ». أخرجه مسلم

“ผู้ใดมาหาพวกท่านในขณะที่กิจการงานพวกท่านเป็นหนึ่งเดียว  อยู่ที่บุคคลเพียงคนเดียว

ผู้นั้นต้องการทำลายการเชื่อฟังปฏิบัติตาม หรือทำให้พวกท่านเกิดความแตกแยก  ดังนั้นจงฆ่าเขาเสีย 

(บันทึกโดยมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1852)


 

บทบัญญัติว่าด้วยการเป็นกบฏต่อผู้นำของมวลมุสลิม

          1.  การแต่งตั้งผู้นำนับเป็นความจำเป็นที่สำคัญอย่างยิ่งของศาสนา  ห้ามมิให้ฝ่าฝืนและตั้งตัวเป็นกบฏต่อผู้นำถึงแม้ว่าเขาจะเป็นผู้ที่อธรรมก็ตาม ตราบใดที่เขายังมิได้กระทำในสิ่งที่เป็นการปฏิเสธอย่างชัดเจนและก็ได้รับการชี้แจง  ไม่ว่าการเป็นผู้นำของเขามาจากมติของมวลมุสลิม  หรือจากการแต่งตั้งของผู้นำคนก่อน  หรือโดยการพิจารณาของผู้ทรงคุณวุฒิ  หรือโดยการใช้กำลังให้ผู้คนยอมจำนนต่อการเป็นผู้นำของเขาก็ตาม  และผู้นำจะไม่ถูกถอดถอนเพราะการกระทำความผิดที่เป็นบาปใหญ่ตราบใดที่เขายังมิได้กระทำในสิ่งที่เป็นการปฏิเสธอย่างชัดเจน

          2.  ผู้ที่ตั้งตนออกจากการเชื่อฟังปฏิบัติตามผู้นำไม่ว่าจะโดยการปล้นชิงทรัพย์  หรือตั้งตนเป็นกบฏ  หรือเป็นพวกนอกรีต (เคาะวาริจญฺ) โดยที่พวกเขาปฏิบัติตนที่เป็นบาปใหญ่ถึงขั้นปฏิเสธ  และสำหรับพวกเขาแล้วชีวิตและทรัพย์สินเป็นสิ่งที่อนุมัติ  พวกเขาเป็นผู้ที่ฝ่าฝืนอนุญาตให้ต่อสู้เป็นการปราบปรามได้

          พวกเขาทั้งสามกลุ่มนั้นคือ  กบฏที่ออกจากการเชื่อฟังปฏิบัติตามผู้นำ  ผู้ใดที่ตายจากพวกเขาดังนั้นข้อบัญญัติก็คือข้อบัญญัติเดียวกับบรรดามุสลิมที่ฝ่าฝืน (อุศอตุลมุวะฮิดีน)


 

สิ่งที่จำเป็นเหนือผู้นำมวลมุสลิม

           1.  ผู้นำของมวลมุสลิมจำเป็นต้องเป็นผู้ชายไม่ใช่ผู้หญิง  เพราะกลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใดจะไม่ได้รับความสำเร็จหากพวกเขามอบกิจการงานให้กับผู้หญิงเป็นผู้นำ

          และภารกิจที่จำเป็นของผู้นำคือ  ปกปักษ์ประเทศอิสลาม  รักษาศาสนา  ดำเนินตามบทบัญญัติของอัลลอฮฺ  ดำรงไว้ซึ่งบทลงโทษ  รักษาดินแดน  จัดเก็บซะกาต  ตัดสินปัญหาด้วยความยุติธรรม  ต่อสู้กับเหล่าศัตรู  เชิญชวนผู้คนสู่อัลลอฮฺ  และเผยแผ่อิสลาม

          2.  จำเป็นต่อผู้นำจะต้องให้คำตักเตือนชี้แจงต่อผู้ที่อยู่ภายใต้การปกครองและไม่ทำให้พวกเขาพบกับความทุกข์ยาก  และอยู่ร่วมกับพวกเขาด้วยกับความอ่อนโยนนุ่มนวลในทุกสภาวการณ์  แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม  กล่าวว่า

 «مَا مِنْ عَبْدٍ يَسْتَرْعِيهِ الله رَعِيَّةً، يَـمُوتُ يَومَ يَـمُوتُ وَهُوَ غَاشٌّ لِرَعِيَّتِـهِ إلَّا حَرَّمَ الله عَلَيْـهِ الجَنَّةَ». متفق عليه

 “ไม่มีบ่าวคนใดที่อัลลอฮฺได้ให้เขาทำหน้าที่ปกครอง  เขาได้เสียชีวิตในสภาพที่เป็นผู้คดโกงต่อหน้าที่ที่รับผิดชอบ

นอกจากอัลลอฮฺจะห้ามเขาไม่ให้เข้าสวนสวรรค์” 

(บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 7151  และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 142  สำนวนหะดีษเป็นของท่าน)


 

จำเป็นต้องเชื่อฟังปฏิบัติตามผู้นำในสิ่งที่ไม่ฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ     

1.  อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

 “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย  จงเชื่อฟังอัลลอฮฺและเชื่อฟังรอสูลของพระองค์และผู้ปกครองในกลุ่มของพวกเจ้า 

แต่ถ้าหากพวกเจ้าขัดแย้งกันในเรื่องใดก็จงนำเรื่องนั้นกลับไปหาอัลลอฮฺและรอสูล  หากพวกเจ้าเป็นผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺและวันอาคิเราะฮฺ 

ดังกล่าวเป็นสิ่งที่ดียิ่งและเป็นการกลับไปที่สวยงามยิ่ง” 

(อัลนิสาอ์ : 59)

         2.    จากอิบนุอุมัร เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุมา จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม  กล่าวว่า

«عَلَى المَرْءِ المُسْلِـمِ السَّمْعُ وَالطَّاعَةُ فِيْـمَا أَحَبَّ وَكَرِهَ إلَّا أَنْ يُؤْمَـرَ بِمَعْصِيَةٍ، فَإنْ أُمِرَ بِمَعْصِيَةٍ، فَلا سَمْعَ وَلا طَاعَةَ»

“จำเป็นต่อมุสลิมต้องเชื่อฟังและปฏิบัติตาม (ผู้นำ) ในสิ่งที่เขารักและรังเกียจ  นอกจากเขาถูกสั่งใช้ในสิ่งที่ฝ่าฝืน (อัลลออฮฺ) 

ดังนั้นหากเขาได้รับคำสั่งใช้ในสิ่งที่ฝ่าฝืนก็ไม่มีการเชื่อฟังและปฏิบัติตาม”

(บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ หมายเลขหะดีษ 2955  และมุสลิม หมายเลขหะดีษ 1839  สำนวนหะดีษเป็นของท่าน)


 

การกลับตัว (เตาบะฮฺ) ของผู้กระทำความผิดที่มีบทลงโทษ

           หากการสารภาพผิดของเขาหลังจากถูกจับดำเนินคดี  การสารภาพผิดนั้นจะไม่ทำให้บทลงโทษเป็นโมฆะไป  และหากการสารภาพผิดก่อนที่ถูกจับดำเนินคดี การสารภาพผิดนั้นจะถูกตอบรับและเขาจะไม่ถูกลงโทษ  ทั้งนี้เป็นเพราะความเมตตาจากอัลลอฮฺโดยการยกโทษให้ผู้ที่กระทำความผิดที่กลับตัวกลับตัว

1.  อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

 “แท้จริงการตอบแทนแก่บรรดาผู้ที่ทำสงครามต่ออัลลอฮฺและรอสูลของพระองค์และพยายามสร้างความเสื่อมเสียบนผืนแผ่นดิน  นั้นคือ

การที่พวกเขาจะถูกฆ่า  ถูกตรึงบนไม้กางเขน  หรือมือและเท้าของพวกเขาจะถูกตัดสลับข้าง  หรือถูกเนรเทศออกไปจากแผ่นดิน 

ดังกล่าวนี้พวกเขาจะได้รับความอัปยศในโลกดุนยานี้และจะได้รับการลงโทษอย่างใหญ่หลวงในโลกอาคิเราะฮฺ  

นอกจากบรรดาผู้ที่สารภาพผิดก่อนที่พวกเจ้าจะสามารถลงโทษพวกเขา  พึงรู้เถิดว่าแท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ผู้ทรงเอ็นดูเมตตา” 

(อัลมาอิดะฮฺ : 33-34)

2. อัลลอฮฺตะอะลาตรัสว่า

 “และบรรดาผู้ที่ประกอบความชั่วแล้วหลังจากนั้นสารภาพผิด  และศรัทธาแล้วไซร้ 

แท้จริงพระผู้อภิบาลของเจ้านั้นหลังจากนั้นแล้วแน่นอนย่อมเป็นผู้ทรงอภัยโทษ ทรงเอ็นดูเมตตา”

(อัลอะอฺรอฟ : 153)

 

 

มุหัมมัด บิน อิบรอฮีม อัตตุวัยญิรีย์

แปลโดย : ยูซุฟ อบูบักรฺ / Islam House