บทสรุปเศรษฐศาสตร์อิสลาม
  จำนวนคนเข้าชม  16561

 

บทสรุปเศรษฐศาสตร์อิสลาม


เขียน : ดร.มุสฏอฟา อัลอับดุลลอฮฺ อัลกิฟรีย์


จากรายละเอียดที่ผ่านมาเราสามารถสรุปลักษณะที่โดดเด่น  และสำคัญของระบอบเศรษฐศาสตร์อิสลาม ดังนี้

     1. ทรัพย์ทุกประเภท ถือว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ แต่เพียงผู้เดียวส่วนมนุษย์เป็นผู้มีหน้าที่ดูแลความโปรดปรานชนิดนี้ โดยที่พระองค์อัลลอฮฺได้ทรงบันดาลให้มันมีความสะดวกง่ายดายกับมนุษย์ และเป็นการรับใช้มนุษย์

     2. ถือเป็นหน้าที่ที่จำเป็นสำหรับมนุษย์ ที่จะต้องใช้จ่ายทรัพย์ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของผู้มีกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง คือ อัลลอฮฺ  จึงจำเป็นจะต้องใช้จ่ายมันเพื่อสนองตอบคำบัญชาของพระองค์ เพื่อก่อให้เกิดระบอบที่เป็นรูปธรรม

     3. แท้จริงแล้วพระองค์อัลลอฮฺได้ทรงเรียกร้องปวงบ่าวของพระองค์ ให้ใช้จ่ายทรัพย์ในสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับสิ่งที่ถูกสร้างทั้งมวล และเกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของมวลมนุษย์

     4. ระบอบเศรษฐศาสตร์อิสลาม ได้ประสานด้านวัตถุกับจิตวิญญาณเข้าด้วยกัน ภายใต้การผูกมัดบริบททางเศรษฐศาสตร์กับบริบททางจริยธรรม บนบรรทัดฐานความไว้วางใจ ความเชื่อมั่น การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในการประกอบธุรกรรม และการแลกเปลี่ยน

     5. มีดุลยภาพในการดูแลผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของปัจเจกชนและสังคม

     6. มีความปานกลางในการใช้จ่ายและใช้สอยโดยห้ามพฤติกรรมที่สุรุ่ยสุร่าย

     7. อิสลามห้ามการสะสมทรัพย์  และเรียกร้องให้เอาทรัพย์สู่สนามการลงทุน โดยถือว่าการสะสมทรัพย์เป็นอาชญากรรมที่เลวร้าย ที่จะได้รับการลงโทษอย่างรุนแรง

     8. เงินตรามีหน้าที่สำคัญในด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากมีความง่ายดายในการประกอบการและเป็นตัวขับเคลื่อนพลังต่างๆ

 

แนวทางเศรษฐกิจของอิสลามมีลักษณะพื้นฐาน  2 ประการดังนี้

1. ความเป็นจริง                                  2. จริยธรรม


          1.ความเป็นจริง คือ ระบบเศรษฐศาสตร์ที่เป้าหมายต้องมีความเป็นจริง เนื่องจากเนื้อหาของระบบและกฎเกณฑ์ต่างๆ สามารถขับเคลื่อนเป็นเนื้อเดียวกับความเป็นจริงของมนุษย์ ทั้งในด้านธรรมชาติ และคุณสมบัติเฉพาะของมนุษย์ โดยที่ระบบเศรษฐศาสตร์อิสลามถูกวางบนพื้นฐานของการมีวิสัยทัศน์ในแง่ความเป็นจริงของมนุษย์ตลอดกาล


          2. จริยธรรม อิสลามมิได้ให้ความสำคัญด้านเนื้อหาของทฤษฎีด้านเดียว คือการทำให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ แต่อิสลามให้ความสำคัญด้านจิตวิญญาณ เพื่อเป็นเส้นทางที่ใช้เดินทางไปพร้อมๆกับความสำเร็จตามวัตถุประสงค์


          โดยเหตุนี้ อิสลามจึงได้ผสมกลมกลืนระหว่างกลไกด้านจิตวิญญาณ เพื่อเป็นเส้นทางที่ใช้เดินไปพร้อมๆกับความสำเร็จตามวัตถุประสงค์  อิสลามจึงได้ผสมกลมกลืนระหว่างกลไกด้านจิตวิญญาณ กับกลไกด้านวัตถุ ด้วยเส้นทางที่จะนำไปสู่การทำให้จุดมุ่งหมายที่คาดหวังไว้มีความเป็นจริง

           ด้วยเหตุนี้ อิสลามจึงได้บัญญัติข้อบังคับเกี่ยวกับการครอบครองทรัพย์เมื่อครบเงื่อนไข จำเป็นจะต้องจ่ายซะกาตซึ่งถือเป็นอิบาดะฮ์ (การภักดีพระเจ้า) ทางศาสนา สิ่งดังกล่าวจะออกมาจากจิตที่เปี่ยมไปด้วยความศรัทธาที่จรัสจ้า เป็นพลังมหาศาลที่ผลักดันมนุษย์ให้เข้าร่วมในการขับเคลื่อน เป้าหมายของเศรษศาสตร์อิสลามให้เป็นรูปธรรม มีศักยภาพอยู่ในครรลองของเจตนารมณ์ของศาสนา และเป็นการแสวงหาความพอพระทัยจากอัลลอฮฺ และการเข้าใกล้ชิดพระองค์

          แท้จริงหลักจริยธรรมด้านเศรษฐศาสตร์อิสลาม ยังไม่เกิดในรูปแบบที่สมบูรณ์ และครอบคลุมในโลกอิสลาม ยกเว้นจะเกิดอยู่เฉพาะกลุ่มบางกลุ่ม  ที่ถือว่าเป็นตัวอย่างในเรื่องดังกล่าว ดังนั้นหากมีนักคิดหรือนักนิติศาสตร์อิสลามคนใดไม่กลับมาทำให้เกิดเป็นรูปธรรมในรูปของหลักบรรทัดฐานของแนวคิดเศรษฐศาสตร์แล้ว มิได้หมายความว่าในภาพรวมมันคือหลักจริยธรรมของเศรษฐศาสตร์ที่ถูกนำมาปฎิบัติตาม


 ดร. อับดุลมะญัด มัซยาน ได้กล่าวว่า

        “และเราอย่าลืมว่าแท้จริงหลักนิติศาสตร์อิสลาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคสนามของเศรษฐศาสตร์ คือ เส้นทางที่จะแยกภาพลักษณ์ของเนื้อหาแห่งบทบัญญัติอิสลามที่ยืนอยู่ระหว่างการเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ในด้านหลักการ กับสภาพความเป็นจริงปัจจุบัน ซึ่งได้ฉายภาพอยู่ในรูปของกิจกรรมอันมากมายของมนุษย์ ที่มีการวิวัฒนาการอยู่ตลอดเวลาท่ามกลางวิกฤตการณ์ต่าง ๆ นานา และท่ามกลางความแตกต่างของบริบททางสังคมมนุษย์ ดังนั้นนิติศาสตร์อิสลามจึงมิใช่เป็นแค่เพียงการครอบคลุมของตัวบทที่ตายตัว หรือเป็นแค่ภาพของการให้ความสงบสุขต่อชีวิตที่มนุษย์อาศัยอยู่ สำหรับในเชิงทฤษฎีของหลักเศรษฐศาสตร์ เริ่มนับจากจุดนี้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของหลักจริยธรรม และหลักการของเศรษฐศาสตร์จะมีความแตกต่างกันในบางส่วนที่มีความแตกต่างกันของบริบทที่เป็นสถานการณ์จริงและปัจจุบัน”

 


แปลโดย : มุหำหมัด บินต่วน