การละหมาดของคนเดินทาง ทำอย่างไร?
  จำนวนคนเข้าชม  25444

 

การละหมาดของคนเดินทาง ทำอย่างไร?


เขียนโดย... ดร. สะอี๊ด เก๊าะห์ฏอนีย์


         การละหมาดของคนพื้นที่ตามผู้ที่เดินทางนั้นถือว่าใช้ได้ และคนพื้นที่ก็ยืนขึ้นมาละหมาดให้เต็มหลังจากที่อิหม่าม(ผู้เดินทาง)ให้สลาม โดยมีหลักฐานดังกล่าวจาก อิมรอน บุตรของ ฮุซอยน์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮู่ กล่าวถึงท่านนบี  ว่า

        แท้จริงท่านนบี อยู่มักกะห์ในช่วงพิชิตมักกะห์ สิบแปดวัน ได้ทำการนำละหมาดให้แก่ผู้คน ทีละสองร็อกอะห์(หมายถึง ย่อละหมาด)ยกเว้นเวลามักริบ จากนั้นท่านกล่าวว่า

"โอ้ชาวมักกะห์เอ๋ย ยืนขึ้นละหมาดอีกสองร็อกอะห์เถิด เพราะว่าพวกเราคือกลุ่มผู้เดินทาง(จึงละหมาดย่อกัน)"

 

         จากท่านอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮู่ เมื่อท่านเดินทางมาถึงมักกะห์ ท่านได้นำละหมาดให้แก่พวกเขา(ชาวมักกะห์)หลังจากนั้นท่านกล่าวว่า

"โอ้ชาวมักกะห์เอ๋ย พวกท่านจงละหมาดเต็ม เพราะแท้จริงเราคือกลุ่มผู้เดินทาง"

 

          ดังนั้นจึงเป็นที่ชัดเจนว่า คนพื้นที่เมื่อได้ละหมาดตามคนเดินทาง ในละหมาดฟัรฏู เช่น ซุฮ์ริ อัสริ และอิชาอ์ ก็ให้เขาละหมาดเต็ม คือ สี่ร็อกอะห์ ส่วนคนพื้นที่ละหมาดตามคนที่เดินทางเพื่อแสวงหาความประเสริฐร่วมกับญะมาอะห์ ¹ ก็ให้ละหมาดฟัรฏูของเขาเหมือนกับการละหมาดของผู้เดินทาง(คือสองร็อกอะห์) และในสิทธิของเขาคือละหมาดซุนนะห์

          แต่เมื่อคนเดินทางนำละหมาดให้แก่คนพื้นที่(นำละหมาดเต็ม)การละหมาดของของอิหม่ามผู้เดินทางก็ถือว่าใช้ได้ แต่ไม่ตรงกับสิ่งที่ประเสริฐที่สุด(คือละหมาดย่อ)² ปรากฏว่าท่านอุสมาน ร่อฏิยัลลอฮุอันฮู่ นำละหมาดเต็มช่วงฮัจญ์ในช่วงท้ายๆ ที่ท่านได้ครองตำแหน่งคอลีฟะห์ และมีการยืนยันจากท่านหญิงอาอิชะห์ว่า ท่านหญิงได้ละหมาดเต็มในช่วงเดินทาง และได้กล่าวว่า

"เพราะไม่มีความลำบากใดๆในมัน ดังนั้นจึงไม่ถือว่าเป็นไร หากคนเดินทางจะละหมาดเต็ม

แต่ทว่าประเสริฐที่สุดก็คือ สิ่งที่ท่านนบี ได้ทำเอาไว้(ละหมาดย่อ)เพราะท่านคือผู้นำบทบัญญัติและเป็นครูของมนุษยชาติ" ³

 

           การละหมาดของผู้เดินทางตามคนในพื้นที่นั้นถือว่าใช้ได้ และผู้เดินทางจะต้องละหมาดเต็มตามการละหมาดของอิหม่าม ไม่ว่าเขา(คนเดินทาง)จะมาทันทั้งหมด หรือแค่ร็อกอะห์เดียว หรือ แค่ช่วงเดียวของการละหมาด ถึงแม้ว่าเขา(คนเดินทาง)จะมาทันในช่วงตะชะฮุดสุดท้ายก่อนให้สลาม ก็ให้เขาขึ้นมาละหมาดให้เต็ม นี่คือทรรศนะที่แข็งแรงที่สุดในสองทรรศนะของบรรดานักวิชาการ

          ดังมีการยืนยันจากอิบนุอับบาส ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา จากฮะดิษ มูซา บุตรของ สะละมะห์ ขอพระองค์ทรงเมตตาท่าน กล่าวว่า เราอยู่กับท่าน อิบนิอับบาสที่มักกะห์  ฉันได้กล่าวว่า เมื่อเราละหมาดกับท่านเราละหมาดเต็ม เมื่อเรากลับสู่การเดินทางเราก็ละหมาดแค่สองร็อกอะห์

ท่านจึงกล่าวแก่เราว่า "นั่นแหละคือซุนนะห์ของอะบีกอซิม(ท่านนบี)"


         และฮะดิษบันทึกโดยอิหม่ามมุสลิมที่มีรายงานคล้ายกันอีกว่า ฉันจะละหมาดอย่างไรเมื่อฉันไม่ได้ละหมาดตามอิหม่าม?

ท่านอิบนิอับบาสกล่าวว่า " ก็ให้ละหมาดสองร็อกอะห์ และมันคือซุนนะห์ของอะบีกอซิม (ท่านนบี )"


ปรากฏว่าท่านอิบนุอุมัร ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุมา เมื่อท่านละหมาดพร้อมอิหม่ามท่านละหมาดสี่ร็อกอะห์ แต่เมื่อท่านละหมาดลำพังท่านก็ละหมาดสองร็อกอะห์

 

          และท่านอิหม่ามอิบนุอับดิลบัร ขอพระองค์อัลลอฮ์เมตาตาท่าน แท้จริง บรรดานักวิชาการทางด้านฟิกฮ์(ฟุกอฮาห์)เห็นเป็นมติเอกฉันท์ว่า ผู้ที่เดินทางเมื่อเข้าละหมาดตามคนพื้นที่ เข้ามาทันเพียงแค่ร็อกอะห์เดียว ดังนั้นก็ให้เขานั้นละหมาดให้เต็ม สี่ร็อกอะห์ 4


         ท่านกล่าวอีกว่า นักวิชาการฟุกอฮาห์ส่วนใหญ่กล่าวไว้ว่า เมื่อคนเดินทางตักบีรเข้าละหมาด(ตักบีร่อตุลเอียะห์รอม) ตามคนพื้นที่ ก่อนที่(อิหม่ามพื้นที่)จะให้สลาม (คือมาทันก่อนสลาม)ดังนั้นก็ให้เขา(คนเดินทาง)ละหมาดเต็มตามคนพื้นที่ (ขึ้นมาชดใช้ให้เต็มเหมือนอิหม่ามพื้นที่)

จากสิ่งนี้จึงเป็นสิ่งชี้ชัดว่าแท้จริงผู้เดินทางเมื่อละหมาดตามคนพื้นที่ก็จำเป็นที่เขาจะต้องละหมาดเต็มจากหลักฐานกว้างๆจากท่านนบี  ที่ว่า

 "إنما جُعل الإمام ليؤتم به فلا تختلفوا عليه، فإذا كبَّر فكبِّروا

"แท้จริงอิหม่ามถูกแต่งตั้งมาเพื่อให้ปฏิบัติตาม ดังนั้นพวกท่านอย่าได้ขัดแย้งกับเขา(อิหม่าม) เมื่ออิหม่ามตักบีร พวกท่านก็ตักบีรตาม"

 

 

 

ส่วนหนึ่งจากหนังสือ การละหมาดของผู้ศรัทธา

แปลโดย  อบูชีส

 

 

 

 



1. กล่าวคือ ละหมาดร่วมญะมาอะห์อีกครั้งหนึ่ง หลังจากเสร็จสิ้นจากอีกญะมาอะห์มาแล้ว ญะมาอะห์ที่สองของเขา คือ ซุนนะห์สำหรับคนพื้นที่

2. ให้ดูใน المغني لابن قدامة 3/146، ومجموع فتاوى ابن باز 12/260،

3. ดูที่ مجموع فتاوى ابن باز 12/260، وحديث عثمان في مسلم برقم 694، 695.

4. ดูที่ 312-311/16التمهيد .