วิธีการของชาวสลัฟ ในการส่งเสริมความดีและห้ามปรามความชั่ว
  จำนวนคนเข้าชม  2657


วิธีการของชาวสลัฟ ในการส่งเสริมความดีและห้ามปรามความชั่ว


 

แปลและเรียบเรียงโดย อับดุลวาเอด สุคนธา

          แท้จริง ชาวสลัฟส่งเสริมทำความดี และ ห้ามปรามความชั่ว ตามหลักชารีอะของอิสลามที่ถูกต้อง ดังคำกล่าวของ เชค อิสลามอิบนุตัยมียะฮ์ กล่าวในหนังสือ อาดีดะ อัล วะสีตี้ยะ บทบัญญัติอิสลามนั้น จำเป็นต้องมีการสั่งใช้ทำความดี เมื่อพบเห็นบุคคลนั้นละเลยต่อการเชื่อฟังต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา เพราะว่าการเสริมทำความดีนั้น ต้องมีการสั่งใช้ เมื่อเห็นใครก็ตามที่เขาเร่งรีบในการประกอบอิบาดะ เช่น รีบละหมาด เราจะต้องใช้ไห้เขานั้นละหมาดใหม่หรือตักเตือนเขาให้ปฏิบัติอิบาดะให้ดี เมื่อเห็นการกระทำไม่ดีต่อบิดามารดา จงตักเตือนเขา ให้ปฏิบัติทำดีต่อบิดา มารดา ละทิ้งการจ่ายซะกาต ก็บอกให้เขานั้น จ่ายซะกาต
 

          แน่นอน หากพบเห็นการกระทำไม่ดี เช่น ทรยศต่อ บิดามารดา จงกล่าวตักเตือนโดยดี มีความสุภาพ เมื่อเห็นบุคคลดื่มเหล้า จงห้ามเขา เห็นคนตัดญาติขาดมิตร จงบอกให้สัมพันธ์ต่อญาติของเขา

 


         1. สิ่งแรกที่จะต้องส่งเสริมเป็นเรื่องการทำความดีและ ห้ามปรามความชั่ว อย่างจริงจัง บางครั้งมนุษย์เรานั้น คิดว่าเรื่องที่ไม่ดี กลับเป็นเรื่องที่ดี จึงต้องมีความแน่วแน่ในการห้ามปรามความชั่วอย่างจริงจัง เพราะบางครั้ง มนุษย์คิดว่า เรื่องที่ไม่ดีเป็นเรื่องเล็กน้อย หากทำไปก็ไม่มีความผิดใด


 


        2. ต้องรู้อย่างชัดเจน ว่าบุคคลนี้กระทำความผิด และความผิดที่เขาทำนั้น จะต้องผิดจริงตามหลักศาสนา เช่นเดียวกันจะต้องรู้ว่าบุคคลนี้ละทิ้งความดี ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ ไม่ตามกรุอ่านและ ซุนนะของท่านนบี และแน่นอนการกล่าวเตือนที่ดี ต้องดูแบบฉบับของท่านนบี  

         ดังเช่นมีชายเข้ามาละหมาดในมัสยิด และเขานั่งในมัสยิด ท่านนบีมิได้กล่าวว่า จงลุกขึ้นละหมาดในขณะที่ชายคนนั้นนั่งลงกับพื้น โดยที่เขานั้นไม่ได้ละหมาด เพราะเขาละทิ้งการกระทำความดี 
 

แต่ท่านนบี  กลับถามว่า ท่านละหมาดหรือยัง 
ชายคนนั้นตอบ ว่า ยังไม่ได้ละหมาด 
ท่านนบี  กล่าวว่า ดังนั้น ท่านจงละหมาด 
 

         เช่นเดียวกันหากเรา พบเจอคนที่ไม่จ่ายซะกาตในรอบปีเมื่อครบจำนวนพิกัด ท่านอย่าได้กล่าวแก่เขาว่า จงจ่ายซะกาต เพราะบางครั้งเราไม่รู้สภาพความเป็นอยู่ของเขา เขามีหนี้สิน หรือ เขาจ่ายซะกาตไปแล้ว ดังนั้น จงถามว่า ท่านออกซะกาตไปแล้วหรือยัง ท่านมีหนี้สินหรือไม่ หากเราใช้การตักเตือนที่ไม่มีรูปแบบถูกต้องย่อมนำไปสู่การไม่ตอบรับจากผู้ที่เรียกร้อง ไม่ยอมรับฟังการตักเตือน

          สิ่งที่เรานั้นจำเป็นจะต้องรู้ อะไรคือ ความดี และ ความชั่ว รู้จริงว่าบุคคลนี้ ทำความชั่วละทิ้งความดีหากเราเห็นคนนั่งละหมาด เหมาะสมหรือไม่จะไปห้ามปรามเขา หรือ สักถามเขาก่อน สิ่งสำคัญเราจะต้องสอบถามถึงสาเหตุดังกล่าวก่อนที่จะมีการห้ามปรามหรือ กล่าวตักเตือนผู้อื่น บางทีเขาอาจละหมาดซุนนะ หรือ ละหมาดฟัรฏูแต่เขาไม่สามารถจะยืนละหมาด โดยมีเหตุจำเป็น 
 

ท่านนบี  กล่าวว่า "ท่านทั้งหลายจงยืนละหมาด หากยืนไม่ได้ จงนั่งละหมาด หากนั่งไม่ได้จงนอน ตะแคงขวาละหมาด"
 

        หากว่าเราเห็นบุคคลสวมใส่ผ้าใหม หรือ ทอง คำตอบคือ ก่อนจะกล่าวคำตักเตือนควรจะสอบถามกับเขาก่อนมีเหตุอันใดสวมใส่สิ่งที่ต้องห้าม เพราะ อิสลาม อนุญาตใส่ได้หากมีเหตุจำเป็น เช่น คนเป็นโรคผิวหนัง โรคคัน ต้องรักษาด้วยการใส่ผ้าใหม


          3. ใช้การตักเตือน อย่างสุภาพ อ่อนโยน นิ่มนวล เช่น ฉันขอตักเตือนท่านว่า ฉันจะกล่าวกับท่านว่า สิ่งสำคัญในการตักเตือน ต้องพูดจาสุภาพ อ่อนโยน ไม่ด่าท่อ หรือ พูดจาไม่รุนแรง เพราะว่าการพูดจานิ่มนวลนั้นจะสามารถสะกดจิตใจของผู้ที่กำลังโกรธเคืองได้อย่างดีที่สุด หากใช้คำพูดที่ ด่าท่อ รุนแรงจะทำให้คนที่เราตักเตือนไม่ยอมรับฟังอย่างแน่นอน 



          เหล่านี้คือ แบบฉบับของชาวสลัฟ ขออัลลอฮฺทรงพึงพอพระทัยพวกเขาด้วยเถิด จำเป็นแก่เรานั้นจะต้องยึดแบบอย่าง เพื่อเป็นแนวทางในการตักเตือนผู้อื่น