มารู้จัก เรื่อง บิดอะห์
  จำนวนคนเข้าชม  24963


มารู้จัก เรื่อง บิดอะห์ 


 

โดย ดร.มูฮัมหมัด บิน ฮุเซน อัลญีซานีย์
แปลเรียบเรียง อับดุลวาเฮด สุคนธา   

 

บิดอะห์ คือ สิ่งที่อุตริกรรมขึ้นมาใหม่ในศาสนา โดยที่ไม่มีแบบอย่างจากท่านรอซูลุลลอฮฺ 

บิดอะห์ ในด้านภาษาศาสตร์ หมายถึง สิ่งใหม่ๆที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น

อิมาม อัชชาฏิบีย์ (รอฮิมาฮุลลอฮฺ) กล่าวว่า “(บิดอะห์) คือ สิ่งต่างๆที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่มีแบบอย่างก่อนหน้านี้”

บิดอะห์ ในคำพูดดังกล่าว มีปรากฏอยู่ในพระดำรัสของอัลลอฮฺ  ที่ว่า

“จงกล่าวเถิด(มุฮัมมัด) ฉันมิได้เป็นสิ่งใหม่จากบรรดาศาสนทูต”

(อัลอะห์กอฟ : 9)

          บิดอะห์ ในด้านชารีอะห์ หมายถึง สิ่งที่ถูกอุตริกรรมขึ้นมาใหม่โดยมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของคำพูด การกระทำ ในศาสนาและบทบัญญัติ โดยที่ไม่มีความชัดเจนจากท่านรอซูลุลลอฮฺ  และบรรดาศอฮาบะห์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อแสวงหาความใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ 

องค์ประกอบ บิดอะห์ มีสามประการ 

♦ เกิดขึ้นใหม่ในศาสนา

♦ สิ่งเพิ่มเติมในศาสนา

♦ สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ไม่มีที่มาของหลักฐาน ทั้งแบบเฉพาะเจาะจง และโดยรวม


ตัวบทกล่าวถึงเรื่องบิดอะห์ 

 

หะดิษบทหนึ่งรายงานจาก ท่านหญิงอาอิชะห์ (รอดิยัลลอฮฺฮุอันฮา) เล่าว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ  กล่าวว่า

“ผู้ใดอุตริสิ่งใหม่ขึ้นในการงานของเรา โดยที่การงานนั้นไม่มีอยู่ในการงานของเรา ถือว่า(การงานนั้น)ถูกปฏิเสธ"

และในการบันทึกของมุสลิมมีสำนวนว่า:

 “ใครก็ตามที่ปฏิบัติกิจการใดกิจการหนึ่ง ซึ่งเราไม่ได้สั่งใช้ ดังนั้นกิจการนั้นจะถูกปฏิเสธ”

(หะดีษศอหี้ห บันทึกโดยบุคอรีย์และมุสลิม)

จากท่านอบู นะญีหฺ อัล-อิรบาฎฺ อิบนุ สาริยะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺอันฮุ เล่าว่า: ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า

"และพวกท่านจงพึงระวังต่ออุตริกรรมทั้งหลายในศาสนา

เพราะทุกๆ อุตริกรรม(บิดอะฮฺ) นั้นคือความหลงผิด และทุกๆ ของความหลงผิดนั้นอยู่ในไฟนรก” 

(หะดีษบันทึกโดยอบูดาวูด และอัต-ติรมิซีย์)

 

ท่าน อิบนุ ร่อยับ กล่าวว่า "ทุกสิ่งที่อุตริกรรมขึ้นมาใหม่อ้างไปถึงศาสนา โดยไม่มีที่มาที่ไป ทั้งหมดหลงทาง เพราะศาสนาบริสุทธิ์จากสิ่งเหล่านี้"

ท่านอิบนุ ฮะยัร  กล่าวว่า "ทุกๆ อุตริกรรม(บิดอะฮฺ) นั้นคือความหลงผิด หมายถึง ทุกสิ่งที่อุตริกรรมขึ้นมาใหม่โดยไม่มีหลักฐาน"

ท่านฮะฟิฮฮะกีมี กล่าวว่า "บิดอะห์คือ สิ่งที่ไม่ได้รับการอนุมัติจากอัลลอฮฺ  ไม่มีแบบอย่างของร่อซูลุลอฮฺ  และ บรรดาศ่อฮาบะฮ์"

ท่าน เชคฮุษัยมีน  กล่าวว่า "ทุกสิ่งที่อุตริกรรมขึ้นมาใหม่ในศาสนา ค้านกับแบบอย่างของท่านนบี  และ บรรดาศ่อฮาบะในเรื่องอากีดะ การปฏิบัติ"

ซัยคุลอิสลาม อิบนุ ตัยมียะห์ กล่าวว่า “บิดอะห์ คือ สิ่งที่ขัดแย้งกับอัลกุรอาน ซุนนะห์ และมิติเอกฉันท์ของอัสสลัฟฟุสศอลิหฺ"


ลักษณะของเรื่องบิดอะห์ 

     - จะไม่มีตัวบทกล่าวถึงการห้ามเรื่องบิดอะห์ในรูปแบบเฉพาะเจาะจง  เช่น เรื่องนี้บิดอะห์ เรื่องนั้นบิดอะห์ แต่มีตัวบทแบบห้ามโดยรวมๆ เช่นว่า สิ่งที่ทำนอกหนือจากท่านนบี ถือว่า บิดอะห์ เป็นตัน

     - เรื่องบิดอะห์ทำให้บกพร่องในเรื่องของกฏและหลักการของบัญญัติอิสลาม เรียกว่า ชารีอะห์ 

     - เรื่องบิดอะห์ส่วนใหญ่ไม่มีเป็นที่รู้จักในสมัยท่านนบี  และบรรดาศ่อฮาบะฮ์

ท่านอิบนุ เญาซี่ย์ กล่าวว่า "บิดอะห์คือ สิ่งที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในด้านหลักภาษา เพราะว่าที่เรียกว่าบิดอะห์คือ สิ่งที่เกิดขึ้นมาใหม่ทั้งดีและไม่ดี"

     - เรื่องบิดอะห์มาจากการ คลุมเครือต่อบทบัญญัติศาสนา ในด้านตัวบทหลักฐานที่ไม่ถูกต้อง และในด้านของลักษณะการทำอิบาดะห์ มีตัวบท แต่รูปแบบอิบาดะห์ไม่ตรงตามที่ท่านนบี  ปฏิบัติเอาไว้ เช่น เรื่อง เวลา สถานที่ ลักษณะ จำนวน ต่างๆนี้ 


หลักเกณฑ์ที่ทำให้เกิดเรื่องบิดอะห์ 


- การใกล้ชิดอัลลอฮ์  โดยไม่มีรูปแบบตามบทบัญญัติศาสนา
- การกระทำออกนอกหลักเกณฑ์ของศาสนาที่วางเอาไว้
- สื่อที่นำเป็นสู่การเลยเถิดในการทำอิบาดะจนทำให้เกิดบิดอะห์


กฏเกณฑ์ทำให้รู้เรื่องบิดอะห์ 

- การใกล้ชิดอัลลอฮฺ  โดยไม่มีรูปแบบตามบทบัญญัติ

♣ ทุกๆการกระทำอิบาดะที่อ้างมาจากตัวบทหลักฐาน ที่ถูกกุอุปโลก์ขึ้นมา เช่น ตัวบทบอกเกี่ยวกับความประเสริฐของซูเราะห์นั้น ซูเราะนี้

♣ ทุกๆการกระทำอิบาดะที่อ้างมาจากตัวบทหลักฐานที่มาจาก ความคิด อารมณ์ ผู้รู้คนนั้น คนนี้ ใช้อารมณ์ในการฟัตวาศาสนา เช่น การซิกรุลลอฮฺนั่งเป็นวงเปล่งเสียงพร้อมกันว่า (อัลลอฮุ ฮุ ฮุ)

♣ การละทิ้งแบฉบับของท่านนบี  โดยสิ้นเชิง เช่น การละหมาดสุนนะ หลังเดินสะแอระหว่าง ซอฟะ มัรวะเสร็จ

♣ ทุกๆการกระทำอิบาดะที่ชาวสลัฟไม่ได้ปฏิบัตเอาไว้จากบรรดาศ่ออาบะ ตาบีอีน เช่น จัดงานวันเกิด งานรื่นเริง งานวันเกิดท่านนบี 

♣ ทุกๆการกระทำอิบาดะที่ค้านกับบทหลักฐานทางซารีอะฮ์ เช่น การละหมาด อัรร่อฆออิบ มี สิบสองร็อกอะ

♣ ทุกๆการใกล้ชิดอัลลอฮ์  ในเรื่องทั่วไป เช่น การคบค้าสมาคมไม่ถือว่าเป็นบทบัญญัติ เช่น การนั่งแบบทำสมาธิ

♣ ทุกๆการใกล้ชิดอัลลอฮ์  ในเรื่องต้องห้าม เช่น การใช้สื่อ ดนตรีในการทำอิบาดะ

♣ ทุกๆการทำอิบาอะที่ศาสนากำหนดมาในรูปแบบตายตัว แต่ไปเปลี่ยนรูปแบบโดยคิดขึ้นมาเอง เช่น การเดินทางไปมัสยิดอัลอักซอเฉพาะว่าต้องไปวันอะรอฟะเท่านั้น

♣ ทุกๆการทำอิบาอะที่ศาสนาบอกโดนทั่วไปไม่ได้เฉพาะเจาะจง แต่ไปกำหนดรูปแบบขึ้นมาเอง เช่น ทำการซิกรุลลอฮฺในค่ำคืนที่ ยี่สิบเจ็ดของเดือนร่อยับ


- การกระทำออกนอกหลักเกณฑ์ของศาสนาที่วางเอาไว้

♣ ทุกๆความเชื่อมาจากความคิดที่ค้านกับกรุอ่านและซุนนะ มติเอกฉันท์ของชาวสลัฟ เช่น ละทิ้งตัวบทในสายรานงาน คนเดียว

♣ หลักความเชื่อที่ไม่ปรากฏในกรุอ่าน ซุนนะบรรดาศออาบะ และ ตาบีอีน เช่น การปฏิเสธผู้สร้าง

♣ การเลยเถิดในบทบัญญัติที่ศาสนากำหนดเอาไว้ เช่น โทษการทำผิดประเวณี ชดใช้ด้วนเงินทอง

♣ การเลียนแบบคนกาเฟร เช่นการแต่งตัว 

♣ การนำฟฤติกรรมยุคป่าเถื่อน(ญาฮีลียะ)มาปฏิบัติเช่น การตีโพยตีพายกับศพ


- สื่อที่นำเป็นสู่การเลยเถิดในการทำอิบาดะห์

♣ สิ่งที่บทบัญญัติให้ปฏิบัติแต่ไม่มีความเข้าใจในสิ่งที่ศาสนาอนุมัติอย่างท่องแท้ คล้ายไปสู่การทำบิดอะห์ เช่น  การอ่านซูเราะห์ ซะญาดะในละหมาดศุบฮีเป็นประจำ

♣ สิ่งที่บทบัญญัติอนุญาติให้ปฏิบัติแต่ไม่มีความเข้าใจในสิ่งที่ศาสนาอนุมัติอย่างท่องแท้ โดยคิดว่ามันคือสิ่งต้องทำโดยเด็ดขาด คล้ายไปสู่การทำบิดอะห์ เช่น การประดับประดามัสยิดให้หรูหราเกินไป

♣ เมื่อคนทั่วไปกระทำความผิด แต่ผู้รู้ไม่ได้ห้าม ทำให้คนทั่วไปคิดว่า สิ่งนี้ไม่มีความผิดเพราะผู้รู้มิได้ห้ามแต่ประการใด เช่น การยุ่งเกี่ยวดอกเบี้ย