หะดิษฏออีฟ หะดีษเมาฎูอฺ ในเดือนรอญับ
  จำนวนคนเข้าชม  4745


หะดิษฏออีฟ หะดีษเมาฎูอฺ ในเดือนรอญับ



 

แปลเรียบเรียง อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

          ตัวบทหะดีษมากมายพูดถึงเดือนรอญับ ซึ่งไม่มีปรากฏจากท่านนบี  สายรายงานที่ถูกต้อง ไม่มีการยืนยันจากการกล่าวอ้าง ซึ่งตัวบทดังกล่าวไม่อนุญาตให้นำมาปฏิบัติ แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ดีตามที่บางคนกล่าวอ้าง เพราะตัวบทดังกล่าว ถือว่าอยู่ในระดับของ หะดีษเฏาะอีฟอย่างมาก ซึ่งไม่มีสายรายงานที่ถูกต้องเลย(ซอเฮียะฮ์)

 

         ความประเสริฐของการถือศีลอดในวันใดวันหนึ่งเป็นการเฉพาะในเดือนนี้ จะมีอยู่สองประเภท (ถ้าไม่ใช่) หะดีษเฎาะอีฟ (ก็จะเป็น) หะดีษเมาฎูอฺ และเราจะขอนำเสนอบรรดาหะดีษที่เฎาะอีฟนั้น พร้อมกับบ่งชี้ถึงหะดีษที่เมาฎูอฺพอเข้าใจ

 

         รอญับ คือ เดือนที่เจ็ดในปฏิทินจันทรคติของอิสลาม เป็นเดือนปกติทั่วไปไม่มีความประเสริฐอันใดเป็นกรณีพิเศษ ตามกล่าวอ้างของบางกลุ่ม

 

ตัวบทที่ 1


إن في الجنة نهرًا يُقال له رجب، ماؤُه أشد بياضًا من اللبن وأحلى من العسل، مَن صام يومًا مِن رجب سقاه الله من ذلك النهر

 

          "รอญับเป็นชื่อของแม่น้ำสายหนึ่งในสรวงสวรรค์ ซึ่งมีสายน้ำเป็นสีขาวยิ่งกว่าน้ำนมเสียอีก และมีรสหวานยิ่งกว่าน้ำผึ้ง ผู้ใดก็ตามที่ได้ถือศีลอดเพื่อพระองค์อัลลอฮ์ ในเดือนรอญับแม้เพียงวันเดียว เขาจะได้รับสิทธิ์ดื่มน้ำในแม่น้ำนั้น"

 

          ท่านอิบนุ ฮายัร กล่าวว่า ท่านอบูกอเซ็ม อัตตัยมีย์ กล่าวเอาไว้ในหนังสือ ตัรฆอบฺ วัตตัรฮิบบฺ และ ท่านฮาฟิส อัซบะฮานีย์ ในหนังสือ ความประเสริฐของการถือศิลอด รายงานจากท่าน บัยฮากีม ในเรื่อง ความประเสริฐของเวลาต่างๆ และ อิบนุ ซาฮีน ในหนังสือ ตัรฆอบฺ วัตตัรฮิบบฺ ท่านอิบนุ เญาซี่ย์ กล่าวในหนังสือ العلل المتناهية ไม่ทราบสายรายงานนี้เลย โดยในประโยคนี้บ่งบอก สายรายงานเฏาะฮีฟ เราไม่ได้บอกว่าตัวบทนี้ถูกกุขึ้นมา แต่ยังมีสายรายงานอื่นบ่งบอกว่าหะดีษต้นนี้ไม่ทราบถึงสายรายงาน ท่านอิบนุ ฮายัร กล่าวว่า ท่านอบูกอเซ็ม อัตตัยมีย์ กล่าวเอาไว้ในหนังสือ ตัรฆิอบฺ วัตตัรฮิบบฺ


 

ตัวบทที่ 2


اللهم بارك لنا في رجب وشعبان وبلغنا رمضان.

 

"อัลลอฮุมมา บาริกละนา ฟี รอญะบะ วะ ชะอฺบานะ วะบัลลิฆนา รอมาฎอน"

 

"โอ้อัลลอฮ์ โปรดประทานความจำเริญแก่เราในเดือนรอญับ และชะอ์บาน และโปรดนำเราเข้าสู่เดือนรอมฎอน" 
 

(บันทึกโดย อิม่าม อะหมัด จากสายของท่าน ซะอิดะ อิบนุ อะบีย์ ริก็อด จากท่าน ซี่ยาดะ ดุมัยนีย์)

 

ท่านอบูฮาติม กล่าวว่า หะดีษนี้ อยู่ในระดับมุงกัร

อิหม่ามบุคครีย์ กล่าวว่า หะดีษนี้ มุงกัร

อิหม่าม อัลนะซาอิย์ กล่าวว่า เมื่อได้วินิจัยตัวบทนี้ ไม่ทราบว่าเขาคือใครในผู้รายงานที่ถูกต้อง ถือว่าเป็น เฏาะอีฟมุงกัร ซึ่งเชื่อถือไม่ได้

ท่านอิบนุ ฮิบบาน กล่าวว่า นำมาใช้เป็นหลักฐานไม่ได้


 

ตัวบทที่ 3


«أن رسول الله -صلى الله عليه وسلم- لم يَصُم بعد رمضان إلا رجبًا وشعبان».

 

"แท้จริง ท่านนบี ไม่เคยถือศิลอดหลังจากเดือนรอมฏอน เว้นแต่เดือนร่อญับ และชะอ์บาน"

 

         ท่านอิบนุ ฮายัร กล่าวว่า ตัวบทนี้ถือว่า หะดีษมุงกัร เพราะคนในสายรายงานทีชื่อ ยูซูฟ อิบนุ อฏียะฮฺ เฏาะอีฟมาก


 

ตัวบทที่ 4

 

رجب شهر الله وشعبان شهري ورمضان شهر أمتي

 

          "เดือนรอญับคือเดือนของอัลลอฮ์ และเดือนชะอฺบานคือเดือนของท่านศาสดา ส่วนเดือนรอมฎอนคือเดือนของประชาชาติมุสลิม"

          ท่านอิบนุ ฮายัร กล่าวว่า ผู้รายงานหะดีษนี้คือ ท่านอบูบัก นาก็อส นักอรรถาธิบายอัลกรุอ่าน พูดเอาไวในเรื่องความประเสริฐของการถือศิลอดในเดือนร่อญับ ผู้รายงานคนนี้ได้กุและโกหกหะดีษต้นนี้ขึ้นมาเอง

          ท่านอิบนุ ดะอิยะ อิบนุเญาซี่ย์ ซอฆอนีย์ อัสซูยูฏีย์ กล่าวว่า หะดีษนี้กุขึ้นมา โกหก


ตัวบทที่ 5

«فضل رجب على سائر الشهور كفضل القرآن على سائر الأذكار

"ความประเสริฐของเดือนร่อญับ มีมากกว่าบรรดาเดือนอื่นๆ เสมือนกับความประเสริฐของอัลกรุอ่านมีมากกว่า อัลอัสกาซ"

          ท่านอิบนุ ฮายัรกล่าวว่า ภายหลังจากการค้นคว้าวิจัยในด้านสายรายงานพบว่าตัวบทนี้ได้มีการกุขึ้นมา ซึ่งไม่มีสายรายงานที่ถูกต้อง


ตัวบทที่ 6

«رجب شهر الله الأصم، مَن صام مِن رجب يومًا إيمانًا واحتسابًا؛ استوجب رضوان الله الأكبر»

         "เดือนร่อญับเป็นเดือนของอัลลอฮฺ แห่งการถือศิลอด ใครก็ตามที่ถือศิลอดในเดือนร่อญับเพียงหนึ่งวันด้วยกับความศรัทธาและหวังในผลตอบแทน จากพระองค์ให้เขานั้น ได้รับความโปรดปรานที่ยิ่งใหญ่"


ตัวบทที่ 7

«مَن صام ثلاثة أيام من رجب كتب اللهُ له صيام شهر، ومن صام سبعة أيام أُغلق عنه سبعةُ أبوابٍ من النار...».

         "ใครก็ตาม ถือศิลอด 3 วันในเดือนร่อญับ อัลลอฮฺทรงบันทึกให้แก่เขาเท่ากับการถือศิลอดตลอดทั้งเดือน และใครก็ตามถือศิลอด 7 วัน อัลลอฮฺจะทรงปกป้องเขา โดยการปิดประตูนรก 7 ประตู"


ตัวบทที่ 8


«مَن صَلَّى المغرب في أول ليلة مِن رجب، ثم صلى بعدها عشرين ركعة، يقرأ في كل ركعة بفاتحة الكتاب، وقل هو الله أحد مرة، ويسلم فيهنَّ عشر تسليمات؛ أتدرون ما ثوابه؟.... قال: حفظه الله في نفسه وأهله وماله وولده، وأُجِير مِن عذاب القبر، وجاز على الصراط كالبرق بغير حساب ولا عذاب

         "ใครที่ละหมาดมักริบในค่ำคืนแรกของเดือนร่อญับ หลังจากนั้นได้ละหมาดอีก 20 ร็อกอะ ทุกๆร็อกอะ ซูเราะห์ อัลฟาติอะ และ ซูเราะห์ กุลฮุวัลลอฮฺ ฮาอัด ให้สลาม 10 ครั้ง ท่านรู้หรือไม่ว่าจะได้รับภาคผลเท่าไร

         ท่านตอบว่า อัลลอฮฺทรงปกป้องเขาจากชีวิต ทรัพย์สิน ครอบครัว ลูกหลาน ให้เขานั้นรอดพ้นจากการลงโทษในหลุมฝังศพ และเดินผ่านสะพานซี่รอร์ ดังกับสายฟ้าโดยไม่มีการสอบสวนและการลงโทษแต่อย่างใด"

          "ใครก็ตามถือศิลอดและละหมาด 4 ร็อกอะในเดือนร่อญับ เขาจะยังไม่ตายจนกว่าจะได้เห็นสถานที่พำนักในสวนสวรรค์ หรือ ถูกให้มองเห็นแก่เขา"

 

รูปแบบของละหมาดนี้มีระบุในหะดีษเมาฎูอฺที่รายงานจากอะนัส ที่ได้เล่าจากท่านนบี พอสรุปได้ว่า

          ถ้าใครถือศีลอดในวันพฤหัสแรกของเดือนเราะญับแล้วละหมาดจำนวน 12 ร็อกอัต ในช่วงระหว่างมัฆริบและอีชาอ์ของคืนนั้น (คืนวันศุกร์)และให้สลามทุกๆ 2 ร็อกอัตในทุกร็อกอัตให้อ่าน

-ซูเราะฮฺอัลฟาติหะฮฺ 1 เที่ยวจบ
- ซูเราะฮฺอัลก็อดรฺ (อินนาอันซัลนาฮุฟีลัยละติลก็อดรฺ) 3 เที่ยวจบ
- ซูเราะฮฺอัลอิคลาศ (กุลฮุวัลลอฮุอะหัด) 12 เที่ยวจบพอละหมาดเสร็จแล้วให้ปฏิบัติดังนี้
- กล่าวเศาะละวาตนบี 70 ครั้ง
- ลงสุญูดแล้วกล่าวคำว่า “สุบบูหน กุดดูสน ร็อบบุลมะลาอิกะติวัรรูหฺ” 70 ครั้ง
- พอเงยหน้าขึ้นจากสุญุดให้อ่าน “ร็อบบิฆฟิร วัรหัม มะตะญาวัซ อัมมา ตะอฺลัม อินนะกะ อันตัลอะซีซุลอะอฺซ็อม” 70 ครั้ง
- เสร็จแล้วให้ลงสูญุดอีกครั้งและกล่าวดุออาอ์เช่นเดียวกัน “สุบบูหน กุดดูสน ร็อบบุลมะลาอิกะติวัรรูหฺ” 70 ครั้ง เสร็จแล้วให้ขอสิ่งที่ต่างๆตามต้องการแล้วจะได้ตามประสงค์”

         ท่านนบียังกล่าวอีกว่า “ฉันขอสาบานด้วยพระนามของผู้ที่ตัวฉันอยู่ในกำมือของเขา ไม่มีบ่าวชายหรือหญิงคนใดที่ได้ทำละหมาดนี้ นอกจากอัลลอฮ์ ต้องให้อภัยในบาปทั้งหลายแก่เขา ถึงแม้ว่าบาปนั้นจะมากมายเท่าฟองน้ำในทะเล และมีจำนวนเท่าเม็ดทราย และหนักเท่าภูเขาและใบไม้ก็ตาม และในวันกิยามะฮฺเขาจะได้รับอนุญาตให้ช่วยเหลือ (ชะฟาอะฮฺ) แก่ครอบครัวและเครือญาติของเขาที่ต้องตกนรกอย่างแน่นอนแล้วจำนวน 700 คน”

         อิหม่ามอันนะวะวีย์กล่าวว่า “มันเป็นอุตริกรรมที่น่ารังเกียจและรับไม่ได้อย่างยิ่ง ซึ่งประกอบด้วยสิ่งที่ไม่ดีต่างๆมากมาย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องละทิ้งและผินหลังให้ พร้อมทั้งห้ามปรามผู้ที่ปฏิบัตินี้”

(ฟะตาวาอิหม่ามอันนะวะวีย์ หน้า 57)

          อิบนุอันนะหาสกล่าวว่า “มันคือสิ่งอุติรกรรม หะดีษที่มีรายงานล้วนเป็นหะดีษที่เมาฎูอฺ โดยมติเอกฉันท์ของอุละมาอ์หะดีษ”

(ตันบีฮุลฆอฟิลีน หน้า 496)


          อิบนุตัยมิยะฮฺกล่าวว่า “ส่วนละหมาดเราะฆออิบ ไม่มีต้นตอ (และที่มา) ของมันเลย มันเป็นสิ่งอุตริ ดังนั้นท่านจงอย่าชื่นชอบและส่งเสริมมัน ไม่ว่าจะ (เป็นการละหมาด) ด้วยญะมาอะฮฺ หรือคนเดียว แท้จริงได้มีรายงานที่ถูกต้องจากเศาะหีหฺมุสลิม ระบุว่า ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม “ห้ามเจาะจงละหมาด (กิยาม) ในคืนวันศุกร์และถือศีลอดในเวลากลางวันของมัน และหะดีษที่ระบุเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าว (การส่งเสริมให้เจาะจงละหมาดกิยามในคืนวันศุกร์และถือศีลอดในตอนกลางวัน) เป็นการโกหกและถูกอุปโลกน์ขึ้นมาโดยมติเอกฉันท์ของอุละมาอ์ ไม่เคยมีชนสะลัฟและบรรดาอิหม่ามแม้แต่คนเดียวที่กล่าวถึงสิ่งนี้เลยแม้แต่น้อย”

      "ใครก็ตามทำการละหมาดในครึ่งหนึ่งของคืนในเดือนร่อญับ ด้วยจำนวน 14 ร็อกอะ และ ทุกๆ ร็อกอะ กล่าว อัลฮัมดุล และ อ่าน ซูเราะห์ กุลฮุวัลลอฮฺ อาฮัด 20 ครั้ง "

     "แท้จริง เดือน ร่อญับ เป็นเดือนที่ยิ่งใหญ่ ใครก็ตาม ถือศิลอดวันหนึ่ง อัลลอฮฺทรงบันทึกให้แก่เขาเท่ากับ ถือศิลอด หนึ่งพันปี"

          ตามที่ได้นำเสนอบางส่วนของตัวบทหะดีษเดียวกับการประกอบอะม้าลในเดือนร่อญับ ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นหลักฐาน ด่ออีฟ และกุขึ้นมา ซึ่งไม่มีสายรายงานที่ถูกต้องเลย แต่คนส่วนมากมักจะนำมาปฏิบัติต่างๆนานา ฉะนั้น จงระมัดระวังการปฏิบัติโดยที่ไม่มีหลักฐานอ้างอิงที่ถูกต้อง และการเฉพาะเจาะจงอิบาดะในเดือนร่อญับ



 




والله الهادي إلى سواء السبيل... والله أعلم.