อาชีพนายหน้าในอิสลาม
  จำนวนคนเข้าชม  6104


อาชีพนายหน้าในอิสลาม

 

เรียบเรียงโดย อับดุลวาเฮด สุคนธา 

นายหน้าคือใคร?

     หลายๆคนอาจจะคุ้นหูกับคำว่า "นายหน้า" เช่น นายหน้าขายที่ดิน นายหน้าขายรถยนต์ ฯลฯ อาชีพเหล่านี้บ่งบอกถึงความหมายของคำว่านายหน้าได้เป็นอย่างดีเลยหละครับ เพราะนายหน้าเหล่านี้จะช่วยให้บุคคลทั้งสองฝ่ายตกลงทำสัญญาต่างๆ เรามาดูความหมายของคำว่านายหน้าว่าคืออะไร ?

 

     นายหน้า คือ บุคคลที่ชี้ช่องทางหรือจัดการให้บุคคลสองฝ่ายได้เข้าทำสัญญากัน เช่น สัญญาขายทรัพย์สิน สัญญาจำนองที่ดิน เป็นต้น

 

     สัญญานายหน้าจะเป็นหนังสือ หรือตกลงด้วยปากเปล่าก็ได้ แต่สัญญานายหน้าจะต่างกับสัญญาตัวแทนที่ว่า นายหน้าเป็นผู้ชี้ช่องให้คู่กรณีทำสัญญากันเท่านั้นไม่มีสิทธิลงชื่อหรือเข้าทำสัญญาแทน ไม่มีสิทธิทำนิติกรรมสัญญาโดยตรง นายหน้ามีหน้าที่ ชี้แนะผู้ชื้อสินค้า และตกลงราคากับผู้ขาย

 من "الموسوعة الفقهية" (10/151

ฉะนั้น อาชีพนายหน้ามีความสำคัญอย่างมากต่อผู้ชื้อและผู้ขาย

 

อาชีพนายหน้า ต้องมีเงือนไข เช่น:- 

     • จะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถเเละเชี่ยวชาญที่จะยืนกลางระหว่างผู้ขายเเละผู้ซื้อ เพื่อไม่ให้มีผลกระทบหรือปัญาหาต่างๆในการซื้อขายต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึง

     • จะต้องซื่อสัตย์ ไม่มีการหลอกหลวงหรือเข้าหาผลประโยชน์กับฝ่ายใด สิ่งสำคัญจะต้องบอกข้อดีข้อเสียของสินค้านั้นด้วยถ้าอาจพบเจอ

     • รักษาสัญญาในการทำงานอย่างชื่อสัตย์

 

ฮุกุ่มการให้ค่าตอบเเทนหรือค่าจ้างให้กับนายหน้า

          มีคนถามท่านอิหม่าม มาลิก เรื่องค่าจ้างของอาชีพนายหน้า   ท่านอิม่ามมาลิก ตอบว่า   ใช้ได้   

 หนังสือ อัล-มุเดาวฺ วานะฮฺ ของ อีหม่าม มาลิก ( เล่ม 3 / หน้า 466)

 

         ท่านอิหม่ามบุคครี กล่าวเรื่องนี้เอาไว้ในหนังสือของท่านว่า  ในบทของค่าจ้างของนายหน้า  พวกเขามีความเห็นตรงกันในเรื่องค่าจ้างนายหน้า ท่าน อิบนุ ซีรีน ท่าน อะตอฏ ท่าน ฮะซัน ท่าน อิบรอฮีม 

          ท่านอิบนุ อับบาส กล่าวว่า  อนุญาต ให้ค่านายหน้า  เช่น ขายเสื้อตัวนี้ ราคาเท่านี้ หากขายได้ราคามากกว่า มันก็เป็นของท่าน 

 

          ท่าน อิบนุ ซีรีน กล่าวว่า ท่านเอาสินค้าไปขายให้ฉันหน่อยในราคาเท่านี้ และหากว่ามันมีกำไรมากกว่านี้ มันก็เป็นของท่าน  ระหว่างฉันกับท่านนั้น ไม่เป็นไร อนุญาต 

 

ตามเงื่อนไขที่ได้ตั้งไว้ ดังที่ท่านรอสูลุลลอฮฺ  กล่าวไว้ว่า 

  ( الْمُسْلِمُونَ عِنْدَ شُرُوطِهِمْ )

 "บรรดามุสลิมนั้นตั้งอยู่บนเงื่อนไขของพวกเขา (ที่ตกลงซึ่งกันและกัน)" 

(บันทึกโดยมุสลิม)

   ท่านอิบนุ กุดามะ อนุญาตจ้างนายหน้า ในระยะเวลาที่รู้กัน  งานที่ชัดเจน 

 

          ท่านอิหม่ามชาฟีฮี กล่าว่า  อาชีพนายหน้าเป็นงานที่ อนุญาต 

หนังสือ อัล-มุฆนีย์ ของ อิบนุ กูดามะฮฺ (เล่ม 8 /หน้า 42)

 

          คำถาม  มีองค์กรทำงานระบบ นายหน้า เป็นตัวกลาง ประสานงานระหว่าง ผู้ชื้อกับผู้ขาย เช่น ระหว่างบริษัทกับลูกค้าซึ่งมีนายหน้าเป็นคนแนะนำโดยตกลงกับ บริษัทว่า ค่าจ้างเท่านี้ เท่านั้น ได้หรือไม่

          คำตอบ อนุญาตเอาค่าจ้างได้กับอาชีพนายหน้า

 فتاوى اللجنة الدائمة" (13/125) .

ฮุกุ่มค่าจ้างของการทำงานแบบนายหน้า 

          คำตอบ  อนุญาต เพราะเป็นการตกลงระหว่าง คนรับจ้างและลูกค้าที่เขารับ แต่ทว่า จะต้องมีความชื่อสัตย์ บริสุทธิ์ใจ รักษาสัญญาไม่หลอกลวง ฉ้อโกง และไม่อธรรมทั้งสองฝ่าย 

 

(จากฟัตวา ชัยคฺ อิบนุ บิน บาซ เล่มที่ 19 / หน้า 358)