คุณลักษณะที่ดีของมนุษย์ในอัลกรุอ่าน
  จำนวนคนเข้าชม  4758


คุณลักษณะที่ดีของมนุษย์ในอัลกรุอ่าน

 

เรียบเรียง อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

          คุณลักษณะต่างๆของมนุษย์ในอัลกรุอ่านที่อัลลอฮฺทรงสร้างขึ้นมาตั้งแต่ท่านนบีคนแรกนั้นคือ ท่านนบีอาดัม อะลัยฮิสลาม โดยที่พระองค์ทรงเป่าวิญญาณและให้ความรักทั้งสองโดยการสร้างคู่ครองให้กับท่าน คือท่านหญิงฮาวาและให้เขาทั้งสองพำนักอยู่ในสวนสวรรค์อันรื่นรมย์ และทรงให้เขาทั้งสองออกจากสวนสวรรค์เพราะการฝ่าฝืนต่อคำสั่งของพระองค์ และพระองค์ทรงให้เขาลงมาใช้ชีวิตบนโลกดุนยานี้ตามคำบัญชาของพระองค์ และพระองค์ได้กล่าวถึงคุณลักษณะต่างๆของมนุษย์มากมายที่ปรากฏอยู่ในพระมหาคำภีร์อัลกรุอ่าน

 

คุณลักษณะต่างๆที่ดีของมนุษย์

 

ความเป็นผู้นำ

 

          อัลลอฮฺทรงให้เกียรติกับมนุษย์โดยให้พวกเขานั้นเป็นผู้นำบนหน้าพื้นแผ่นดินและพวกเขาจะต้องรับผิดชอบในหน้าที่ของตัวเองในการใช้ชีวิตบนโลกใบนี้ อัลลอฮฺ ทรงกล่าวว่า

(وَإِذْ قَالَ رَبُّكَ لِلْمَلَائِكَةِ إِنِّي جَاعِلٌ فِي الْأَرْضِ خَلِيفَةً ۖ قَالُوا أَتَجْعَلُ فِيهَا مَن يُفْسِدُ فِيهَا وَيَسْفِكُ الدِّمَاءَ وَنَحْنُ نُسَبِّحُ بِحَمْدِكَ وَنُقَدِّسُ لَكَ ۖ قَالَ إِنِّي أَعْلَمُ مَا لَا تَعْلَمُونَ) [البقرة:30].

    “และจงรำลึกถึงขณะที่พระเจ้าของเจ้าได้ตรัสแก่มะลาอิกะฮฺว่า แท้จริงข้าจะให้มีผู้แทนคนหนึ่ง ในพิภพ 

     มะลาอิกะฮฺได้ทูลขึ้นว่า พระองค์จะทรงให้มีขึ้นในพิภพซึ่งผู้ที่บ่อนทำลาย และก่อการนองเลือด ในพิภพกระนั้นหรือ ? ทั้ง ที่พวกข้าพระองค์ให้ความบริสุทธิ์ พร้อมด้วยการสรรเสริญพระองค์ และเทิดทูนความบริสุทธิ์ในพระองค์ 

     พระองค์ตรัสว่า แท้จริง ข้ารู้ยิ่งในสิ่งที่พวกเจ้าไม่รู้

 

มีสติปัญญาที่ ฉลาด หลักแหลม

 

          อัลลอฮฺสร้างมนุษย์ให้มีสติปัญญา ความคิดที่ฉลาดมากกว่าสิ่งถูกสร้างอื่นบนโลกใบนี้ ความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่สำหรับมนุษย์ คือ สติปัญญา สามารถที่จะควบคุมและแยกแยะสิ่งที่ดีและไม่ดี เรื่องความศรัทธาและการปฏิเสธ 

          สติปัญญา คือความอิสระของการใช้ชีวิตตามความต้องการของมนุษย์นั้นเอง แน่นอนสติปัญญาสามารถที่จะยืนยันการมีพระเจ้าโดยการพิจารณาจากสิ่งที่ถูกสร้างต่างๆมากมายรอบตัว ไม่ต่างอะไรในการแยกแยะระหว่างความดีและความชั่ว

 

          ในคำภีร์อัลกรุอ่านอัลลอฮฺทรงกล่าวเกี่ยวกับสติปัญญา ถึง 94 ครั้งด้วยกัน ในสำนวนนี้ อัลลอฮฺทรงกำชับมนุษย์จะต้องใช้สติปัญญาคิด พิจารณา ทำความเข้าใจ เรียนรู้ในคำสอนของศาสนา

อัลลอฮฺกล่าวว่า

﴿ وَمَثَلُ الَّذِينَ كَفَرُوا كَمَثَلِ الَّذِي يَنْعِقُ بِمَا لَا يَسْمَعُ إِلَّا دُعَاءً وَنِدَاءً صُمٌّ بُكْمٌ عُمْيٌ فَهُمْ لَا يَعْقِلُونَ البقرة: 171

     “และอุปมาบรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธานั้นดังผู้ที่ส่งเสียงตวาดสิ่ง ที่มันฟังไม่รู้เรื่อง นอกจากเสียงเรียกและเสียงตะโกนเท่านั้นพวกเขา คือคนหูหนวก เป็นใบ้ ตาบอด ดังนั้น พวกเขาจึงไม่เข้าใจ

 

﴿ كَذَلِكَ يُبَيِّنُ اللَّهُ لَكُمْ آيَاتِهِ لَعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ [البقرة: 242]

ในทำนองนั้นแหละ อัลลอฮ์จะทรงแจกแจงบรรดาโองการของพระองค์ให้พวกเจ้าทราบ เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้เข้าใจ

 

﴿ إِنَّا أَنْزَلْنَاهُ قُرْآنًا عَرَبِيًّا لَعَلَّكُمْ تَعْقِلُونَ [يوسف: 2].

แท้จริงพวกเราได้ให้อัลกุรอานแก่เขาเป็นภาษาอาหรับ เพื่อพวกเจ้าจะใช้ปัญญาคิด

 

มีหัวใจ

 

          ในอัลกรุอ่านเรามักจะพบคำว่า หัวใจ ในหลายโองการด้วยกัน ส่วนมากอัลลอฮทรงกล่าวเกี่ยวกับหัวใจทั้งเรื่องที่ดีและไม่ดี เช่นการสงบนิ่ง ด้วยการรำลึกถึงอัลลอฮฺ เกรงกลัว นอบน้อม อ่อนโยน มีจิตใจเมตตา หรือคนที่มีหัวใจแข็งกระด้าง หยาบคาย

 

ดังที่อัลลอฮ์ได้ทรงตรัสไว้ว่า

أَفَلَمْ يَسِيرُوا فِي الْأَرْضِ فَتَكُونَ لَهُمْ قُلُوبٌ يَعْقِلُونَ بِهَا أَوْ آَذَانٌ يَسْمَعُونَ بِهَا فَإِنَّهَا لَا تَعْمَى الْأَبْصَارُ وَلَكِنْ تَعْمَى الْقُلُوبُ الَّتِي فِي الصُّدُورِ

     “ไฉนพวกเขาจึงไม่ท่องไปในแผ่นดิน เพื่อพวกเขาจะได้คิดด้วยกับหัวใจ หรือเพื่อที่พวกเขาจะฟังด้วยกับหู แน่แท้บรรดาสายตาหาได้บอดไม่ แต่หัวใจที่อยู่ในอกต่างหากที่บอด

(อัลฮัจญ์ ๔๖)

 

พระองค์ตรัสว่า

     “ในหัวใจของพวกเขามีโรคกระนั้นหรือ หรือว่าพวกเขาสงสัย หรือว่าพวกเขากลัวว่า อัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์จะลำเอียงออกจากพวกเขา

(อัน-นูรฺ : 50)

 

หัวใจ มีบทบาทในด้านการสร้างความเข้าใจ รับรู้ และคิดพิจารณาต่อสิ่งต่างๆรอบตัวเรา เพราะแท้จริงอัลลอฮ์ได้ตรัสไว้ว่า

لَهُمْ قُلُوبٌ لَا يَفْقَهُونَ بِهَا

สำหรับพวกเขานั้น มีหัวใจซึ่งพวกเขาจะไม่เข้าใจด้วยกับมัน

(อัลอะร๊อฟ : ๑๗๙)

 

พวกขาดแรงศรัทธา ขาดความรู้สึก และขาดความรัก นี้เป็นสิ่งที่อัลกุรอานได้บ่งบอกไว้ขณะที่โต้ตอบกับชาวยิวว่า

ثُمَّ قَسَتْ قُلُوبُكُمْ مِنْ بَعْدِ ذَلِكَ فَهِيَ كَالْحِجَارَةِ أَوْ أَشَدُّ قَسْوَةً

     “ครั้นแล้ว หัวใจของพวกเจ้าก็แข็งกระด้าง หลังจากนั้น (หลังจากที่อัลลอฮ์ได้ใช้ให้ยิวนำลิ้นวัวมาตีผู้ที่ถูกฆาตกรรมเพื่อให้ฟื้น) ซึ่งมันนั้นประดุจดั่งหินหรือแข็งยิ่งกว่า

(อัลบากอเราะห์ : ๗๔)

 

อบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี กล่าวว่า

إِنَّ اللَّهَ لا يَنْظُرُ إِلَى صُوَرِكُمْ وَأَمْوَالِكُمْ وَلَكِنْ يَنْظُرُ إِلَى قُلُوبِكُمْ وَأَعْمَالِكُمْ

     “อัลลอฮฺจะไม่ทรงพิจารณาจากรูปลักษณ์ภายนอกหรือทรัพย์สมบัติของพวกท่าน แต่พระองค์จะทรงพิจารณาหัวใจของพวกท่าน และการงานที่พวกท่านปฏิบัติเป็นสำคัญ

(บันทึกโดย มุสลิม)

 

อัน-นุอฺมาน บิน บะชีร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า ท่านนบี กล่าวว่า

أَلَا وَإِنَّ فِي الْجَسَدِ مُضْغَةً إِذَا صَلَحَتْ صَلَحَ الْجَسَدُ كُلُّهُ، وَإِذَا فَسَدَتْ فَسَدَ الْجَسَدُ كُلُّهُ، أَلَا وَهِيَ الْقَلْبُ

พึงทราบเถิดว่า ในร่างกายเรานั้นมีก้อนเนื้ออยู่ก้อนหนึ่ง

ถ้าส่วนดังกล่าวดี ร่างกายทุกส่วนก็จะดีตามไปด้วย

แต่ถ้าส่วนดังกล่าวไม่ดี ร่างกายส่วนอื่นๆก็จะไม่ดี ก้อนเนื้อที่ว่านั้นก็คือ หัวใจ ♥ นั่นเอง

(บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ และ มุสลิม)

 

ท่านนบี  ได้กล่าววิงวอนขอในดุอาอ์บทหนึ่งว่า

أَسْأَلُكَ قَلْبا سَلِيْمًا

โอ้อัลลอฮฺ ขอพระองค์ทรงให้ฉันมีหัวใจที่บริสุทธิ์ด้วยเถิด

(บันทึกโดย อะหมัด)

 

ประสาทสัมผัสทั้ง 5

 

     การได้ยิน การมองเห็น คือสิ่งสำคัญทำให้มนุษย์สามารถสัมผัสและเรียนรู้อย่างรวดเร็ว อัลลอฮฺทรงบอกการมองเห็นของมนุษย์นั้นมีขีดจำกัด ไม่สามารถมองเห็นได้ทุกๆสิ่ง

قُلْ هُوَ الَّذِي أَنْشَأَكُمْ وَجَعَلَ لَكُمُ السَّمْعَ وَالأَبْصَارَ وَالأَفْئِدَةَ قَلِيلا مَا تَشْكُرُونَ (الملك 23)

     “จงกล่าวเถิดมุฮัมมัด พระองค์คือผู้ทรงบังเกิดพวกเจ้า และทรงทำให้เจ้านั้นได้ยิน และมองเห็น คิดพิจารณา พวกเจ้าส่วนน้อยเท่านนั้นที่ จะขอบคุณ


﴿ وَجَعَلْنَا لَهُمْ سَمْعًا وَأَبْصَارًا وَأَفْئِدَةً فَمَا أَغْنَى عَنْهُمْ سَمْعُهُمْ وَلَا أَبْصَارُهُمْ وَلَا أَفْئِدَتُهُمْ [الأحقاف: 26

     “และเราได้ทำให้พวกเขามีหู มีตา และมีหัวใจ แต่ว่าหูของพวกเขา ตาของพวกเขา และหัวใจของพวกเขา มิได้อำนวยประโยชน์อันใดแก่พวกเขา


"(فَلا أُقْسِمُ بِمَا تُبْصِرُونَ ومَا لا تُبْصِرُونَ)"' [الحاقة:38-39]

เปล่าเลย ข้าขอสาบานต่อสิ่งที่พวกเจ้ามองเห็น และสิ่งที่พวกเจ้ามองไม่เห็น

     อัลลอฮฺทรงสร้างการมองเห็นและการได้ยิน เป็นเครื่องมือในการรับรู้สิ่งที่มีอยู่ โดยเฉพาะการมีอยู่ของพระองค์นั้นเอง

 

มีความรู้ความสามารถในการเรียนรู้

 

(عَلَّمَ الْإِنْسَانَ مَا لَمْ يَعْلَمْ) [العلق:5]

ผู้ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้


(الرَّحْمَنُ، عَلَّمَ الْقُرْآنَ، خَلَقَ الْإِنْسَانَ، عَلَّمَهُ الْبَيَانَ )"' [الرحمن:1-4].

พระผู้ทรงกรุณาปรานี พระองค์ทรงสอนอัลกุรอาน

พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ พระองค์ทรงสอนเขาให้เปล่งเสียงพูด

 

พิจารณา ไตร่ตรอง

 

          หนึ่งในคุณลักษณะของมนุษย์ที่อัลลอฮฺทรงสร้างขึ้นมา เพื่อจะให้พวกเขานั้นใช้สติปัญญา คิดพิจารณาไตร่ตรองในสิ่งต่างๆ

(وَيَضْرِبُ اللَّهُ الْأَمْثَالَ لِلنَّاسِ لَعَلَّهُمْ يَتَذَكَّرُونَ)"' [إبراهيم:25].

และอัลลอฮ์ ทรงยกอุทาหรณ์แก่ปวงมนุษย์เพื่อพวกเขาจะได้รำลึก

 

ดลใจ ได้รับทางนำ

 

          คุณลักษณะที่อัลลอฮฺทรงสร้างการดลใจให้มนุษย์ ได้รับทางนำแสงสว่าง สามารถแยกแยะความดีความชั่ว ขัดเกลาจิตใจตัวเองด้วยการศรัทธาและยำเกรง

"(وَنَفْسٍ وَمَا سَوَّاهَا، فَأَلْهَمَهَا فُجُورَهَا وَتَقْوَاهَا، قَدْ أَفْلَحَ مَنْ زَكَّاهَا، وَقَدْ خَابَ مَنْ دَسَّاهَا)"' [الشمس:7-10].

 

และด้วยชีวิต และที่พระองค์ทรงทำให้มันสมบูรณ์

แล้วพระองค์ทรงดลใจมันให้รู้ทางชั่วของมันและทางสำรวมของมัน

แน่นอนผู้ขัดเกลาชีวิตย่อมได้รับความสำเร็จ

และแน่นอนผู้หมกมุ่นมัน (ด้วยการทำชั่ว) ย่อมล้มเหลว

 


♣ ♦ ♣ ♦ ♣ ♦ ♣ ♦ ♣ ♦ ♣ ♦ ♣ ♦ ♣ ♦ ♣ ♦ ♣ ♦ ♣ ♦ ♣ ♦