ใช้ที่กั้นในขณะละหมาด
  จำนวนคนเข้าชม  3697


การละหมาดของท่านนบี ตอน ใช้ที่กั้นในขณะละหมาด

 

อับดุลวาเฮด สุคนธา

 

          ผู้ละหมาดจะต้องกั้นเขตหรือกำหนดบริเวณสำหรับละหมาดอย่างชัดเจน โดยวางวัสดุหรือสิ่งของที่สามารถสังเกตเห็นได้ด้านหน้าผู้ละหมาด (เรียกว่าซุตเราะฮ์) เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ใดเดินผ่านหน้าขณะละหมาดได้ และให้ยืนละหมาดใกล้บริเวณซุตเราะฮ์นั้นมากที่สุด สิ่งของที่กั้นของผู้ทำการละหมาดเป็นสุนนะฮ์ชอบให้กระทำ โดยส่วนมากของปราช์ผู้รู้

ท่านนบี  กล่าวว่า

 

(ليستتر أحدكم ولو بسهم) رواه حاكم

 

จงใช้ที่กั้นในหมู่ของพวกท่านขณะละหมาด ถึงแม้เป็นเพียงลูกศรของคันธนู

 

     ท่านอาบูสะอีดอัลคุดรีย์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

إِذَا صَلَّى أَحَدُكُمْ فَلْيُصَلِّ إِلَى سُتْرَةٍ وَلْيَدْنُ مِنْهَا

 

"เมื่อคนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านละหมาด เขาจงละหมาดไปยังซุตเราะฮ์และจงให้ใกล้มันมากที่สุด"

(บันทึกโดยอาบูดาวูดและอิบนุมาญะฮ์)

 

          และเมื่อกั้นเขตแล้ว ปรากฏว่ายังมีผู้เดินผ่านหน้าก็ไม่ถือว่ามีผลกระทบต่อการละหมาดของเขาแต่อย่างใด ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

مُؤَخَّرَةُ الرَّحْلِ تَكُوْنُ بَيْنَ يَدَيْ أَحَدِكُمْ ثُمَّ لاَ يَضُرُّهُ مَا مَرَّ عَلَيْهِ

 

     “เพียงไม้ขัดเชือกรัดอานท่อนหนึ่งที่วางไว้ด้านหน้าพวกท่าน (ขณะละหมาด) จากนั้นสิ่งที่ผ่านด้าน หน้าเขาจะไม่ กระทบต่อการละหมาดเขาแต่อย่างใด” 

(บันทึกโดยอะหมัด,มุสลิม,อาบูดาวูดและอิบนุมาญะฮ์)

 

         ใช้ที่กั้นในขณะละหมาดสำหรับอิหม่ามและผู้ที่ละหมาดคนเดียว ส่วนมะมูมหมายถึงผู้ตามไม่จำเป็นจะต้องใช้ที่กั้นในการละหมาดเพราะตามอิหม่าม เพราะว่าบรรดาศ่อฮาบะฮ์ละหมาดตามหลังท่านนบีโดยไม่มีที่กั้นละหมาด

        ข้อผิดพลาดที่ว่านี้ก็คือการไม่ให้ความสำคัญกับสิ่งกั้นขณะละหมาด (ซุตเราะฮฺ) ซึ่งมีหลักฐานสั่งใช้มากมายจากบทบัญญัติศาสนา จาก อาบี ยูหัยม์ บิน ฮาริส(รฎ) กล่าวว่า : ท่านรอซูล ศอลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า :

 

لَوْ يَعْلَمُ الْمَارُّ بَيْنَ يَدَيْ الْمُصَلِّي مَاذَا عَلَيْهِ مِنْ الإِثْمِ ، لَكَانَ أَنْ يَقِفَ أَرْبَعِينَ ، خَيْراً لَهُ مِنْ أَنْ يَمُرَّ بَيْنَ يَدَيْهِ .

 

     “หากผู้ที่เดินผ่านหน้าผู้ละหมาดรู้ว่า เขาจะโดนอะไรจากบาปของเขา แน่นอนว่าการหยุดสี่สิบ(วัน หรือ เดือน หรือ ปี หะดีษไม่ได้เจาะจงไว้) ย่อมดีกว่าแก่เขาที่จะผ่านหน้าผู้ละหมาด

(บันทึกโดย บูคอรีย์,มุสลิม)

 

     จากการบันทึกของท่าน บัซซาร จากสายรายงานอื่น กล่าวว่า : สี่สิบฤดูใบไม้ร่วง(หมายถึง สี่สิบปี) ซึ่งเป็นหะดีษฎออีฟ ที่ถูกต้อง คือ อาบี อันนัฎร(ตาบีอีย์ เป็นอาจารย์ของอีมามมาลิก) กล่าวว่า : ฉันไม่รู้ว่า สี่สิบวัน หรือ เดือน หรือ ปี 

(ถูกบันทึกอยู่ในบุคอรีย์,มุสลิม)

 

ท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา เล่าว่า ท่านนบี กล่าวว่า:

 

إذَا صَلَّى أَحَدُكُمْ إلَى شَيْءٍ يَسْتُرُهُ مِنْ النَّاسِ فَأَرَادَ أَحَدٌ أَنْ يَجْتَازَ بَيْنَ يَدَيْهِ فَلْيَدْفَعْهُ، فَإِنْ أَبَى فَلْيُقَاتِلْهُ، فَإِنَّمَا هُوَ شَيْطَانٌ

 

"เมื่อคนใดในหมู่ท่านทำการละหมาด ก็จงอย่าได้ปล่อยให้ผู้ใดเดินตัดหน้าเขาในระยะใกล้

และให้กั้นขวางเขาเท่าที่จะทำได้ ถ้าหากเขาผู้นั้นยังคงดื้อดึง ก็ให้ผลักเขาออกไปได้

เพราะแท้จริงแล้วเขาผู้นั้น คือชัยฏอน"

 

(บันทึกโดยมุสลิม)

 

     ท่านสะฮฺล์ บิน อบี หัษมะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ เล่าว่า ท่านนบี กล่าวว่า:

     "เมื่อคนใดในหมู่ท่านยืนละหมาดโดยหันเข้าหาสิ่งกั้น เขาก็จงขยับเข้าไปใกล้สิ่งนั้นให้มากที่สุดเพื่อที่ชัยฏอนจะได้ไม่สามารถทำลายสมาธิของเขาในการละหมาด"

(บันทึกโดยอะหฺมัด)

 

     มีรายงานบันทึกในเศาะฮีหฺอัล-บุคอรียฺว่า ครั้งหนึ่งท่านอุมัรฺเห็นชายคนหนึ่งยืนละหมาดระหว่างเสาสองต้น 

ท่านจึงดึงเขาไปอยู่หลังเสา แล้วกล่าวว่า "ท่านจงละหมาดหันเข้าหาเสานี้เถิด"

ท่านอิบนุหะญัรฺ กล่าวว่า "ท่านอุมัรฺหมายถึงว่าให้เขาละหมาดโดยที่มีสิ่งกั้น

(ฟัตหุลบารีย์)

         ซึ่งการกระทำของท่านอุมัรฺนี้แสดงให้เห็นว่า การวางสิ่งกั้นขณะละหมาดนั้นเป็นเรื่องที่เน้นย้ำให้กระทำเป็นอย่างยิ่ง

 

     ท่านอิบนุมัสอูด กล่าวว่า "มีสี่ประการที่บ่งบอกถึงความหยาบกระด้าง... (หนึ่งในนั้นคือ) การที่คนคนหนึ่งละหมาดโดยไม่มีสิ่งใดกั้นเป็นสุตเราะฮฺ"

 

     ท่านอนัส เราะฎิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า "ฉันเห็นบรรดาเศาะหาบะฮ์อาวุโส ต่างพากันละหมาดหันเข้าหาเสามัสยิดในเวลาละหมาดมัฆริบ

(บันทึกโดยอัล-บุคอรียฺ และมุสลิม)

 

         การละหมาดเป็นรุก่น (หลักการ) ที่สองของรุก่นอิสลาม และเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งรองลงมาจากการปฏิญาณตนเป็นมุสลิม เพราะการละหมาดคือเสาหลักของศาสนาที่มุสลิมทุกคนจะต้องช่วยกันรักษาและคงไว้ตราบใดที่ชีวิตยังมีอยู่

 

        อัลลอฮฺได้กำชับและฝากฝังบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลายให้ช่วยกันรักษาและดำรงการละหมาดห้าเวลาไว้ ดังดำรัสของพระองค์ที่มีว่า

 

حَافِظُواْ عَلَى الصَّلَوَاتِ والصَّلاَةِ الْوُسْطَى وَقُومُواْ لِلّهِ قَانِتِينَ

 

     “พวกเจ้าจงรักษาการละหมาดทั้งหลายไว้ และละหมาดที่อยู่กึ่งกลาง (คือ ละหมาดอัศริ) และจงยืนละหมาดเพื่ออัลลอฮฺโดยนอบน้อม” 

(อัลกุรอาน สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 238)

 

          การละหมาดคือการเข้าเฝ้าอัลลอฮฺ เวลาที่ผู้ละหมาดอ่านสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺ ในทุกๆ ร๊อกอัตของการละหมาด ทุกๆ อายัตที่เขาได้อ่านในสูเราะฮฺ อัล-ฟาติหะฮฺนั้น อัลลอฮฺจะทรงตอบรับ ดังที่มีรายงานในหะดีษของท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะสัลลัม 

(รายงานโดย มุสลิม)

 

     ท่านรอซูล ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวไว้ความว่าการละหมาดห้าเวลาและการละหมาดญุมอะฮฺ (ละหมาดวันศุกร์) หนึ่งไปยังอีกญุมอะฮฺหนึ่ง มีผลตอบแทนคืออัลลอฮฺจะทรงไถ่โทษ (ชำระบาป) ในสิ่งที่ไม่ไช่บาปใหญ่” 

(รายงานโดย มุสลิม)

 

ท่านอิบนุ กุดามะฮฺกล่าวว่า การละหมาดเป็นวายิบสำหรับมุสลิมทุกคน

 

       ท่านเชคอิสลาม อิบนุตัยมียะกล่าวว่า คนรุ่นก่อนหน้านี้พวกเขาละหมาดแต่ไม่เหมือนกับการละหมาดของพวกเราสมัยนี้