การุณยฆาต
  จำนวนคนเข้าชม  5616


กา รุณ ย ฆาต

 

แปลเรียบเรียง .อาบีดีน พัสดุ

 

          การกระทำให้สิ้นสุดชีวิตในทางที่บรรเทาความเจ็บปวดและความทุกข์ทรมาน หรือเจตนาที่จะจบชีวิต เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากจากการเจ็บป่วยที่ไม่มีหนทางการรักษา

 

คำถาม

 

          ฉันได้อ่านในเว็ปไซด์หนึ่ง ซึ่งกล่าวถึงคู่สามีภรรยาที่เป็นโรคเอดส์ ทั้งสองเบื่อหน่ายการมีชีวิต จึงร้องขอการสิ้นชีวิตด้วยความง่ายดาย (ไม่ทรมาน) จากหน่วยงานรับผิดชอบท้องถิ่น , ในอิสลามมีข้อชี้ขาดเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไร ?

 

คำตอบ

 

          เป็นที่ต้องห้ามแก่บรรดาแพทย์ การทำให้ง่ายดายในการจบชีวิต โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยหลุดพ้นจากความทุกข์ทรมาน , และหากแพทย์กระทำเช่นนั้น หรือเป็นผู้สั่งการให้กระทำเช่นนั้น , ในมุมมองของบทบัญญัติศาสนา ถือว่าเขา(แพทย์) คือฆาตรกรที่มีเจตนา(ฆ่า)

 

     ท่านเชค ฮานียฺ บิน อับดิ้ลลาฮฺ อัลญุเบร ตุลาการศาลแห่งมหานครมักกะฮฺ กล่าวว่า

     การปลิดชีพด้วยความเมตตา หรือปลิดชีพเพราะความสงสาร คือการที่แพทย์จงใจที่จะทำให้ชีวิตของผู้ป่วยที่หมดหวังว่าจะหายจากการป่วยสิ้นสุดลง เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง , เมื่อความเจ็บปวดของผู้ป่วยทวีความรุนแรงมากขึ้น , และการกระทำดังกล่าวนั้นคือความปารถนาที่จะให้ความทุกข์ทรมานของผู้ป่วยสิ้นสุดลง จะด้วยการให้ยาผู้ป่วยเพื่อปลิดชีวิต , หรือการถอดเครื่องมืออุปกรณ์ ที่ผู้ป่วยจะไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้หากไม่มีเครื่องมือเหล่านั้น , เช่นเครื่องช่วยหายใจ , หรือหยุดการรักษาที่จะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้หากไม่มีการรักษาเหล่านั้น

 

          แพทย์บางส่วนเห็นว่า แรงจูงใจของการปลิดชีพนี้ คือ แรงจูงใจแห่งความเป็นมนุษย์ ด้วยจุดประสงค์ที่จะทำให้ความทุกข์ทรมานความเจ็บปวดของผู้ป่วยหมดไปจากเขา , และบางครั้งก็เป็นความยากลำบากของครอบครัวผู้ป่วยด้วยเช่นกัน การกระทำเช่นนี้ เป็นที่ต้องห้าม (ฮารอม) ในบทบัญญัติศาสนา ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม , และเมื่อใดก็ตามที่แพทย์หรือผู้อื่นนอกจากแพทย์ทำให้ชีวิตของผู้ป่วยสิ้นสุดลง แม้จะด้วยเหตุแห่ง (ความเป็นมนุษย์) แท้จริงแล้วเขาคือฆาตรกร , ไม่ว่าจะเป็นการขอให้หยุดจากการให้ยาแก่ผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้หากปราศจากยาเหล่านั้น , หรือให้สิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยสิ้นชีวิตลง , ในทุก การกระทำเหล่านี้ เขาคือผู้กระทำผิด ความผิดของผู้ที่เจตนาฆ่า และไม่ว่าเขาจะมีเหตุผลข้ออ้างใด ก็ตาม แท้จริงการกระทำของเขาก็ถือเป็นที่ต้องห้าม และไม่อนุญาติให้กระทำ

 

          ที่เป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่า บทบัญญัติแห่งอัลอิสลาม ได้อนุมัติให้แพทย์ทำการรักษาร่างกายของผู้ป่วย เพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์ของผู้ป่วย , และเป็นการป้องกันอันตรายและผลร้ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้น , และผลร้ายหรืออันตรายอันใหญ่หลวงที่สุด ก็คือการกระทำเรื่องที่ต้องห้ามในบทบัญญัติของศาสนา , และเช่นเดียวกัน มิใช่สิทธิของผู้ป่วย ในการที่จะอนุญาตให้ใครคนใดคนหนึ่งกระทำต่อร่างกายของเขาซึ่งการกระทำที่อัลลอฮฺทรงสั่งห้าม , เพราะว่าร่างกายของมนุษย์นั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นกรรมสิทธิของอัลลอฮฺ ตะอาลา , ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัสว่า

 

: “لله ملك السموات والأرض وما فيهن”. (المائدة: 120)

 

อำนาจแห่งบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดิน และสิ่งที่อยู่ในบรรดาชั้นฟ้าและแผ่นดินนั้น

เป็นสิทธิของอัลลอฮฺ ทั้งสิ้น

 

     จึงไม่มีใครที่จะมีสิทธิ์กระทำต่อสิ่งที่มีเจ้าของ ในสิ่งที่ผู้เป็นเจ้าของได้สั่งห้าม

 

ท่านอิบนุ ฮัซมฺ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า

          “ดังนั้นจึงเป็นที่ต้องห้ามแก่ทุกคนที่สั่งใช้ให้กระทำสิ่งฝ่าฝืน (อัลลอฮฺ) ที่เขาจะกระทำมัน และหากเขากระทำ เขาคือผู้ประพฤติชั่ว ผู้ฝ่าฝืนอัลลอฮฺ ตะอาลา และจะไม่มีข้ออ้างใด สำหรับเขา , ผู้สั่งให้กระทำต่อตัวเขาซึ่งเป็นการกระทำที่อัลลอฮฺมิทรงอนุญาตแก่เขาก็เช่นเดียวกัน , เขาคือผู้ที่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺ ตะอาลา เป็นผู้ประพฤติชั่ว

 المحلى (10/471).

 

ท่านอิบนุ้ลก็อยยิม (ร่อฮิมะฮุลลอฮ์) กล่าวว่า

          “ไม่เป็นที่อนุมัติให้ทำการตัดอวัยวะหนึ่ง ที่อัลลอฮฺและร่อซู้ลของพระองค์มิได้สั่งใช้ให้ตัดมัน อีกทั้งมิได้ทำให้การตัดมันเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องกระทำ , ดังเช่นการที่คนหนึ่งอนุญาตให้ตัดหูของเขา , หรือนิ้วมือของเขา , แท้จริงแล้วมันเป็นเรื่องที่มิได้อนุมัติแก่เขาในเรื่องเหล่านั้น และความผิดบาปก็จะไม่พ้นไปจากเขา ด้วยการที่เขาได้อนุญาติ (ให้กระทำ)”

 تحفة المودود (ص136)

 

          และแท้จริงบรรดามุสลิมได้มีมติอย่างเป็นเอกฉันท์ว่าไม่อนุมัติให้คนหนึ่งคนใดทำการคร่าชีวิตของเขาเอง , และไม่คร่าชีวิตผู้อื่นโดยไม่มีเหตุแห่งบทบัญญัติของศาสนา , และเช่นเดียวกัน ไม่อนุมัติให้ผู้ใดตัดอวัยวะส่วนหนึ่งส่วนใด (ของร่างกาย) ของเขา

 

ท่านอิบนุ ฮัซมฺ ร่อฮิมะฮุลลอฮ์ กล่าวว่า 

          “พวกเขาต่างเห็นพ้องกันว่า ไม่อนุมัติให้ผู้ใดทำการคร่าชีวิตของเขา , ไม่ตัดอวัยวะหนึ่งอวัยใดของร่างกาย และไม่ทำให้ร่างกายได้รับความทุกข์ทรมาน...”

مراتب الإجماع (ص157)

 

     การฆ่า (ชีวิต) เป็นสิ่งที่ต้องห้าม อัลลอฮฺ ตรัสว่า 

 

والذين لا يدعون مع الله إلها آخر ولا يقتلون النفس التي حرم الله إلا بالحق ولا يزنون ومن يفعل ذلك يلق أثاماً يضاعف له العذاب يوم القيامة ويخلد فيه مهاناً

(الفرقان: 68-69)

 

     “และบรรดาผู้ที่ไม่วิงวอนขอพระเจ้าอื่นใดคู่เคียงกับอัลลอฮฺ และพวกเขาไม่ฆ่าชีวิตซึ่งอัลลอฮฺทรงห้ามไว้ เว้นแต่เพื่อความยุติธรรม

     และพวกเขาไม่ผิดประเวณี และผู้ใดกระทำเช่นนั้น เขาจะได้พบกับความผิดอันมหันต์ การลงโทษในวันกิยามะฮฺจะถูกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าสำหรับเขา และเขาจะอยู่ในนั้นอย่างอัปยศ

 

          การอดทนอดกลั้นต่อความเจ็บปวดที่มาประสบ ถือเป็นเรื่องจำเป็น (วายิบ) , เพราะฉะนั้น เมื่อใดก็ตามที่ผู้ป่วยร้องขอให้ทำการปลิดชีวิตของเขา เขาคือผู้ที่ฆ่าตัวตาย มีส่วนร่วมกับแพทย์ในบาปและความผิด , แม้แต่ในกฎหมายที่ถูกเขียนขึ้น (โดยมนุษย์) ในประเทศที่ได้ชี้ขาดในลักษณะเช่นนี้ , ดังนั้น การปลิดชีพอันเนื่องจากความสงสาร ก็ถือเป็นการกระทำที่ต้องห้าม ไม่อนุญาตให้แพทย์ดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการร้องขอของผู้ป่วยเอง หรือเครือญาติของผู้ป่วยก็ตาม

 

          และไม่ต้องสงสัยเลยว่า การกระทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่ต้องห้าม และผมไม่คิดว่าเรื่องราวลักษณะเช่นนี้จะมีความเห็นที่แตกต่างกันในหมู่นักวิชาการที่ทำหน้าที่ชี้ขาดปัญหาศาสนา , เพราะมันคือการปลิดชีวิตที่ต้องห้ามในบทบัญญัติศาสนา , การเจ็บปวดนั้นมิใช่เหตุผล (ที่จะอนุมัติ) ให้ทำการคร่าชีวิตได้

 

     มีรายงานในฮาดีษ จากท่านญุนดุบ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ แท้จริงท่านร่อซูลุ้ลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

كان برجل جراح ،فقتل نفسه، فقال الله عز وجل: “بدرني عبدي بنفسه حرمت عليه الجنةالبخاري (1364)؛ مسلم (113)

สมัยก่อนพวกท่าน มีชายคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ แล้วเขาได้คร่าชีวิตของเขา 

อัลลอฮฺทรงตรัสว่าบ่าวของฉันเร่งรัดฉันด้วยชีวิตของเขา ฉันได้ปิดโอกาสเข้าสวรรค์สำหรับเขา

 

     อัลลอฮฺ ตรัสว่า

ولا تقتلوا أنفسكم إن الله كان بكم رحيما” (النساء:29)

และจงอย่าฆ่าตัวของพวกเจ้าเอง แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงเมตตาต่อพวกเจ้าเสมอ

 

          และโองการนี้แทบจะเป็นหลักฐานที่ชีขาดอย่างชัดเจนในเรื่องนี้ เนื่องจากในโองการได้ให้เหตุผลของการห้ามคร่าชีวิต อันเนื่องจากความเมตตาของอัลลอฮฺที่มีต่อปวงบ่าวของพระองค์ , และพระองค์ตรัสว่า

 

ولا تقتلوا النفس التي حرم الله إلا بالحق” (الأنعام: 151).

และอย่าฆ่าชีวิต ที่อัลลอฮฺทรงห้ามไว้ นอกจากด้วยสิทธิอันชอบธรรมเท่านั้น

 

     และในบางรายงานของฮาดีษข้างต้น ในซอเหียหฺมุสลิม

 

أن رجلاً ممن كان قبلكم فخرجت به قرحة فلما آذته انتزع سهماً من كنانته فنكأها فلم يرقأ الدم حتى مات. قال ربكم: “قد حرمت عليه الجنة”.

 

     “สมัยก่อนพวกท่าน มีชายคนหนึ่งเป็นฝี เขาทนความเจ็บปวดจากฝีไม่ได้ เขาจึงทิ่มแทงฝีด้วยธนู ทำให้เลือดไหลออกมามากเป็นเหตุให้เขาตาย

     อัลลอฮฺได้ดำรัสว่า ฉันได้ปิดโอกาสเข้าสวรรค์สำหรับเขา

 

     ได้มีรายงานในฮาดีษเช่นเดียวกัน

 

أن رجلاً قاتل مع النبيصلى الله عليه وسلم- فجرح جرحاً شديداً، فاستعجل الموت فوضع نصل سيفه بالأرض وذبابه بين ثدييه فتحامل عليه فقتل نفسه، فقال النبيصلى الله عليه وسلم

هو في النار، صحيح البخاري (6606)؛ مسلم (112).

 

     ชายคนหนึ่ง ได้ทำการต่อสู้พร้อมร่วมกับท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จนประสบกับบาดแผลฉกรรจ์ , เขาจึงเร่งรีบที่จะจบชีวิต จึงวางสัน (ด้าม) ดาบไว้ที่พื้น และให้ปลายดาบอยู่ที่ยอดอก แล้วก็โถมตัวใส่ แล้วก็ได้ปลิดชีวิตของเขาเอง

     ท่านนบี ซ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่าเขาอยู่ในนรก” 

(บันทึกโดยอิหม่าม บุคอรี และมุสลิม)

 

https://fatwa.islamonline.net/21088

 

คุตบะห์วันศุกร์