ความประเสริฐของวันและเดือน เชาว้าล – ซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์ – ซุลฮิจญะฮ์
  จำนวนคนเข้าชม  5159


ความประเสริฐของวันและเดือน

เดือนเชาว้าลเดือนซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์เดือนซุลฮิจญะฮ์

 โดย อิบติฮาล

เดือนเชาว้าล

 

          เดือนเชาว้าลเป็นเดือนที่ 10 แห่งปีฮิจเราะฮ์ศักราช เป็นเดือนที่มาหลังจากเดือนรอมฏอน และเป็นเดือนแรกของเดือนฮัจญ์ ซึ่งเดือนฮัจญ์นั้นเริ่มต้นจากวันแรกของเดือนเชาว้าล และไปสิ้นสุดที่วันที่ 10 ของเดือนซุลฮิจญะฮ์

          เดือนนี้ถูกตั้งชื่อว่าเดือนเชาว้าล เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่อูฐนั้นมีปริมาณน้ำนมที่น้อย สาเหตุเนื่องมาจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด

          และมีการกล่าวกันว่า การที่เดือนนี้ถูกเรียกว่าเดือนเชาว้าล เนื่องจากว่าเป็นฤดูผสมพันธุ์ของอูฐ โดยที่อูฐเพศเมียจะยกหางของมันขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายบ่งบอกว่ามันต้องการที่จะผสมพันธุ์

 

ความประเสริฐของเดือนเชาว้าล

 

           เดือนนี้เป็นเดือนที่มีความประเสริฐเนื่องจากมีสิ่งที่ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ส่งเสริมให้ปฏิบัติ และไม่มีอิบาดะฮฺใดที่อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา และร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ส่งเสริมให้ปฏิบัติ เว้นแต่สิ่งนั้นจะมีฮิกมะฮ์ ซึ่งมันเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และเป็นความดีงามแก่ผู้เป็นบ่าว มีนักวิชาการหลายท่านกล่าวถึงฮิกมะฮ์ของการถือศีลอดในเดือนเชาว้าล ซึ่งเป็นการกลับมาถือศีลอดอีก ครั้งหนึ่งหลังจากที่เดือนรอมฎอนผ่านพ้นไปแล้ว ซึ่งมีประโยชน์หลายข้อด้วยกัน

 

          และจากฮิกมะฮ์หนึ่งของการถือศีลอด 6 วันในเดือนเชาว้าลต่อจากเดือนรอมฎอนคือ ผู้ที่ถือศีลอดนั้นจะได้รับผลบุญเท่ากับการถือศีลอด 1 ปี ดังในฮะดิษที่ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

 

     “ผู้ใดที่ถือศีลอดในเดือนรอมฎอน และตามติดด้วยการถือศีลอด 6 วันในเดือนเชาว้าล เขาจะได้รับผลบุญเท่ากับการถือศีลอดตลอดทั้งปี

(บันทึกโดยมุสลิม)

และอีกฮะดิษหนึ่ง

 

     “ผู้ใดที่ถือศีลอด 6 วันหลังจาก อีดิ้ลฟิตรฺเท่ากับว่าเขาได้ถือศีลอด 1 ปี และผู้ใดที่นำมาซึ่งหนึ่ง ความดี เขาจะได้รับ 10 เท่าของความดีนั้น

(บันทึกโดยอันนะซาอีย์และอิบนุมาญะฮ์)

 

          แท้จริงผลตอบแทนนี้คือผลตอบแทนที่ยิ่งใหญ่ สำหรับผู้ที่ถือศีลอด 6 วัน เนื่องจากการถือศีลอดนี้เป็นสิ่งที่ยากลำบาก โดยที่เขาได้ถือศีลอดต่อไปอีก 6 วัน หลังจากที่เขาได้เสร็จสิ้นการถือศีลอดไปหนึ่ง เดือนเต็ม

 

ท่านอิมามอัลมะนาวี่ย์ ได้กล่าวว่า 

     “การเจาะจงเดือนเชาว้าล เนื่องจากว่าเป็นเวลาที่ผู้คนต่างปรารถนาในการรับประทานอาหาร เพราะเป็นเดือนที่มาหลังจากเดือนแห่งการถือศีลอด และการถือศีลอดในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นยากลำบากยิ่งกว่า และผลตอบแทนก็มากกว่าด้วย

 

          และชอบให้มีการรีบเร่งในการถือศีลอดในเดือนเชาว้าลตั้งแต่ในช่วงต้นของเดือน คือตั้งแต่วันที่ 2 ของเดือนเชาว้าล (วันถัดมาหลังจากอีดิ้ลฟิตรฺ) ดังกล่าวนี้ตามทัศนะของอิมามชาฟิอีย์และอบูฮะนีฟะฮฺ และไม่เป็นโทษอันใด ถ้าเขาไม่รีบเร่งในการถือศีลอด โดยที่เขาถือในช่วงกลางหรือช่วงท้ายของเดือน ตามทัศนะของอิมามอะหมัด แต่สิ่งที่จะต้องพึงระวังคือการผัดวันประกันพรุ่ง โดยไม่มีธุระหรืออุปสรรคใด จนกระทั่งเขามิได้ถือศีลอดและพลาดจากผลบุญดังกล่าว

 

          ♦ และอีกฮิกมะฮ์หนึ่งของการถือศีลอดในเดือนเชาว้าล คือ การถือศีลอดในเดือนชะอฺบาน และเดือนเชาว้าลนั้น เปรียบเสมือนการละหมาดสุนัตร่อวาติบก่อนและหลังละหมาดฟัรฎู ซึ่งเป็นสิ่งที่มาเติมเต็มสิ่งที่ขาดตกบกพร่องของสิ่งที่เป็นฟัรฎู นั้นก็คือการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนนั้นเอง ซึ่งเราส่วนมากไม่อาจหลีกเลี่ยงจากข้อบกพร่องได้ ดังนั้นเราจึงต้องการสิ่งที่มาเติมเต็มการถือศีลอดของเราในเดือนรอมฎอนให้สมบูรณ์

 

          ♦ และอีกฮิกมะฮ์หนึ่งคือการที่ผู้เป็นบ่าวกลับมาถือศีลอดอีกครั้งหนึ่งหลังจากเดือนรอมฎอน ถือเป็นเครื่องหมายหนึ่งที่บอกว่าการถือศีลอดในเดือนรอมฎอนของเขานั้นถูกตอบรับ เพราะอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา นั้นเมื่อพระองค์ทรงตอบรับการงานหนึ่งการงานใดของผู้เป็นบ่าวแล้ว พระองค์จะทรงให้เขาได้ปฏิบัติการงานที่ดีอีกหลังจากนั้น

 

         ♦ และการถือศีลอดในดือนเชาว้าลนั้น ถือเป็นการขอบคุณต่อเนี๊ยะอฺมัตอันสมบูรณ์ที่พระองค์ได้ประทานให้ เพราะการถือศีลอดนั้นถือเป็นการขอบคุณเช่นกัน 

          ดังที่ชาวสลัฟบางท่าน เมื่อพวกเขาได้ตื่นขึ้นละหมาดในยามค่ำคืน พวกเขาจะมาในตอนเช้าในสภาพที่ถือศีลอด โดยที่ทำให้การถือบวชนี้เป็นการขอบคุณที่พระองค์ทรงให้พวกเขาได้ตื่นขึ้นละหมาดในยามค่ำคืน

 

เดือนซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์

 

          เดือนซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์เป็นอีกหนึ่งเดือนที่มีความสำคัญสำหรับมุสลิม เป็นเดือนที่ 11 ของปีฮิจเราะฮ์ศักราช และเป็นเดือนแรกของเดือนต้องห้ามในอิสลาม คำว่าเดือนต้องห้ามนี้หมายถึงเดือนที่ศาสนาห้ามทำการสู้รบ หรือทำสงครามในเดือนเหล่านั้นนอกจากมีเหตุจำเป็น หรือถูกรุกรานจากฝ่ายศัตรู และการทำบาปหรือการปฏิบัติสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนในเดือนเหล่านี้ โทษของมันจะรุนแรงกว่าการปฏิบัติในเดือนอื่น และการปฏิบัติอามั้ลซอและห์หรือความดีต่าง ในเดือนเหล่านี้จะได้รับผลตอบแทนเป็นเท่าทวีคูณด้วยเช่นกัน

 

          เดือนต้องห้ามในอิสลามที่ถูกระบุอยู่ในอัลกุรอานและฮะดิษนั้นมีอยู่ 4 เดือนด้วยกัน คือเดือน ซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์ เดือนซุลฮิจญะฮ์ เดือนมุฮัรรอม และเดือนร่อญับ ซึ่ง 3 เดือนแรกนั้นเป็นเดือนที่มาต่อเนื่องกัน ส่วนเดือนร่อญับนั้นเป็นเดือนที่อยู่ตรงกลางของปีฮิจเราะฮฺศักราช ดังที่อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสไว้ในซูเราะฮฺอัตเตาบะฮฺ อายะฮ์ที่ 36 ว่า

 

     “แท้จริงจำนวนเดือน (คือจำนวนเดือนในปีหนึ่ง) อัลลอฮฺนั้นมีสิบสองเดือน ในคัมภีร์ของอัลลอฮฺ ตั้งแต่วันที่พระองค์ทรงสร้างบรรดาชั้นฟ้า และแผ่นดินจากเดือนเหล่านั้นมีสี่เดือน ซึ่งเป็นเดือนต้องห้าม (คือต้องห้ามในการต่อสู้กัน ทั้งนี้เพื่อให้เป็นเดือนที่ปลอดภัยแก่ผู้ประกอบพิธีอุมเราะฮ์ และพิธีฮัจญ์ อันเป็นบัญญัติที่อัลลอฮฺได้ทรงกำหนดไว้โดยผ่านท่านบีอิบรอฮีมและนบีอิสมาอีล) นั่นคือบัญญัติอันเที่ยงตรง

     ดังนั้นพวกเจ้าจงอย่าอธรรมแก่ตัวของพวกเจ้าเองในเดือนเหล่านั้น (คือจงอย่าละเมิดทำการต่อสู้ในเดือนเหล่านั้น อันถือเป็นการอธรรมแก่ตัวเอง) และจงต่อสู้บรรดามุชริกทั้งหมดเช่นเดียวกับที่พวกเขากำลังต่อสู้พวกเจ้าทั้งหมด และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮฺนั้นอยู่ร่วมกับบรรดาผู้ที่ยำเกรง

(อัตเตาบะฮ์ 9 : 36)

 

     และยังมีฮะดิษของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่มาอรรถาธิบายอายะฮ์ดังกล่าวไว้ว่า

 

     “แท้จริงกาลเวลานั้นได้หมุนเวียนไปตามรอบของมัน (ตามรอบปีของมัน) เสมือนกับวันที่พระองค์ทรงสร้างชั้นฟ้า และแผ่นดิน หนึ่งปีมีอยู่ 12 เดือน และมี 4 เดือนที่เป็นเดือนต้องห้าม มี 3 เดือนที่ต่อเนื่องกัน คือ เดือนซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์ เดือนซุลฮิจญะฮ์ และเดือน มุฮัรรอม และเดือนร่อญับนั้นเป็นเดือนที่อยู่ระหว่างเดือนญุมาดั้ลอูลา และญุมาดัซซานี) และเดือนชะอฺบาน

(บันทึกโดยอัลบุคอรีย์และมุสลิม)

 

     เหตุการณ์สำคัญในหน้าประวัติศาสตร์อิสลามที่เกิดขึ้นในเดือนนี้

     1. สงครามระหว่างบรรดามุสลิมและยิวเผ่าบนีกุร็อยเซาะฮ์ได้เกิดขึ้นในเดือนซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์ ในปี .. ที่ 5

     2. การทำสนธิสัญญาซุลฮุดัยบียะฮ์ระหว่างมุสลิมกับพวกกุฟ๊าร เกิดขึ้นในเดือนซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์ ปี .. ที่ 6

 

ความสำคัญของเดือนซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์

 

     ♦- หนึ่งจากซุนนะฮ์ของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ท่านปฏิบัติในเดือนนี้ คือ ท่านได้ประกอบพิธีอุมเราะฮฺในเดือนนี้ในชีวิตของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้นท่าทำอุมเราะฮฺ 4 ครั้ง และในทุกครั้งท่านจะปฏิบัติมันในเดือนนี้

จากท่านหญิงอาอิชะฮ์ ร่อฎิยัลลลอฮุอันฮา กล่าวว่า

ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ไม่เคยทำอุมเราะฮฺเว้นแต่ในเดือนซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์

(บันทึกโดย อิบนุมาญะฮ์)

          บรรดานักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องของความประเสริฐว่า การทำอุมเราะฮฺในเดือนรอมฎอนหรือการปฏิบัติในเดือนซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์เดือนไหนประเสริฐกว่ากัน

 

          คณะกรรมการถาวรเพื่อการออกคำฟัตวาแห่งประเทศซาอุดิอาราเบีย รวมถึงเชคอับดุลอะซีซบินบาซ ได้ออกคำฟัตวาว่า การทำอุมเราะฮฺในเดือนซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์นั้น มีความประเสริฐรองจากการทำอุมเราะฮ์ในเดือนรอมฎอน

 

          และในเดือนนี้อีกเช่นกัน ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ครองเอี๊ยะหฺรอมเพื่อที่จะประกอบพิธีฮัจญ์ ซึ่งเป็นฮัจญ์ครั้งเดียวในชีวิตของท่านนั้นก็คือ ฮัจญะตุ้ลวะดาอฺ (ฮัจญ์อำลา) จากการปฏิบัติของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม นั้นเป็นสิ่งที่อธิบายถึงความสำคัญของเดือนซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์ ซึ่งเป็นเดือนที่ผู้ที่จะไปประกอบพิธีฮัจญ์จะต้องเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อไปแสวงบุญ บัยตุ้ลลอฮฺ โดยที่เขาจะต้องทำให้ตัวของเขาสะอาดจากการทำบาปและการปฏิบัติในสิ่งที่ฝ่าฝืนต่าง

 

     ♦- อีกหนึ่งความประเสริฐของเดือนซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์ คือถูกกล่าวว่า เป็น 30 วัน ที่พระองค์ได้ทรงสัญญาไว้กับท่านนบีมูซา (อลัยฮิสสลาม) ดังในซูเราะฮฺ อัลอะอฺรอฟ อายะฮ์ที่ 142 ว่า

และเราได้สัญญาแก่มูซาสามสิบคืน"

ท่านมุญาฮิด ได้อธิบายว่า มันคือเดือนซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์

"และเราได้ให้มันครบอีกสิบ (คือให้สามสิบคืนนั้นครบเป็นสี่สิบคืน โดยเพิ่มอีกสิบคืน)"

 

ท่านมุญาฮิดกล่าวอีกว่า คือ 10 วันของเดือนซุลฮิจญะฮ์ ดังนั้น 30 คืนที่อายะฮ์ได้บ่งถึงนั้นคือ 30 คืนของเดือนซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์

 

     ♦- เดือนที่ต้องห้ามนั้นถือเป็นเครื่องหมายแห่งบัญญัติของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ซึ่งพระองค์ได้กล่าวชมเชยผู้ที่ให้ความยิ่งใหญ่ในเครื่องหมายแห่งบัญญัติของอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ว่า

 

     “ฉะนั้น ผู้ใดที่ให้เกียรติแก่พระบัญญัติของอัลลอฮฺ (คือ ปฏิบัติตามบัญญัติศาสนาของอัลลอฮฺ เช่น การทำฮัจญ์ การเชือดกุรบาน การเชือดฮัจญ์) แท้จริงมันเป็นส่วนหนึ่งแห่งการยำเกรงของจิตใจ

(อัลฮัจญ์ 22 : 32)

          ดังนั้นจำเป็นสำหรับมุสลิมที่จะต้องมีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺในทุก เดือนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนต้องห้ามเหล่านี้ให้มากกว่าเดือนอื่น ด้วยการเพียรพยายามในการเพิ่มพูนความยำเกรงและออกห่างจากการปฏิบัติในสิ่งที่ฝ่าฝืนต่าง และพยายามปฏิบัติในสิ่งต่าง ที่จะทำให้เขาใกล้ชิดกับอัลลอฮฺมากขึ้น

 

           ท่านอิมามอัลกุรฏุบีย์และอีกหลาย ท่านได้กล่าวว่า การปฏิบัติสิ่งที่ฝ่าฝืนในเดือนต้องห้ามนั้นบาปของมันจะหนักกว่าในเดือนอื่น และเช่นเดียวกันการปฏิบัติสิ่งที่ดีงามต่าง ในเดือนเหล่านี้ก็จะได้รับผลบุญมากกว่าในเดือนอื่น และเดือนซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์ก็จะเป็นหนึ่งในเดือนต้องห้าม

 

          กล่าวกันว่า เดือนซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์นั้นเป็นเดือนที่ต้องห้ามมาตั้งแต่ในสมัยญาฮิลียะฮ์ และการที่เดือนนี้เป็นเดือนต้องห้ามก็เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเดินทางไปแสวงบุญ และเดือนนี้ได้ชื่อว่าเดือนซุลเกี๊ยะอฺดะฮฺก็เนื่องจากเป็นเดือนที่ชาวอาหรับยุติหรือหันหลังให้กับการทำสงคราม

 

           และการที่เดือนมุฮัรรอมเป็นเดือนต้องห้ามก็เพื่อให้ผู้คนเดินทางกลับแผ่นดินของตน และการที่เดือนซุลฮิจญะฮ์เป็นเดือนต้องห้ามก็เพื่อให้ผู้คนได้ประกอบพิธีฮัจญ์ และการที่เดือนร่อญับเป็นเดือนต้องห้ามก็เพื่อให้ผู้คนจากแผ่นดินใกล้เคียงเข้ามาทำอุมเราะฮ์

 

          และเดือนซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์นั้น ก็ถือเป็นหนึ่งในเดือนฮัจญ์เช่นกัน ดังที่อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

 

     “(เวลา) การทำฮัจญ์นั้นมีหลายเดือนอันเป็นที่ทราบกันอยู่แล้ว (คือเดือนเชาว้าล ซุลเกี๊ยะอฺดะฮฺ และอีกสิบวันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮ์)”

 

     ท่านอิบนุอุมัร ได้กล่าวว่า เดือนฮัจญ์นั้นคือ เดือนเชาว้าล, ซุลเกี๊ยะอฺดะฮ์ และ 10 วันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮ์

 

เดือนซุลฮิจญะฮ์

 

ความประเสริฐของ 10 วันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮ์ มีดังนี้

 

     1. พระองค์อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงสาบานไว้ในอัลกุรอาน พระองค์ อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ผู้ทรงยิ่งใหญ่ไม่ทรงสาบนต่อสิ่งใดนอกจากด้วยสิ่งที่ยิ่งใหญ่เช่นเดียวกัน พระองค์ได้เริ่มต้น ซูเราะฮฺ อัล-ฟัจญรฺ ว่า

ขอสาบานด้วยยามรุ่งอรุณ และด้วยค่ำคืนทั้งสิบ

(อัลฟัจญรฺ 89 : 1-2)

     ท่านอิบนุกะษีรได้ให้ความหมายของคำว่าด้วยค่ำคืนทั้งสิบหมายถึง 10 วันแรกของเดือน ซุลฮิจญะฮ์

 

     2. ในบันทึกของท่านอิมามอัตติรมิซีย์ รายงานจากท่านอิบนุอับบาสว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

     “ไม่มีวันแห่งการทำงานที่ดี ซึ่งเป็นที่โปรดปราน ที่ อัลลอฮฺยิ่งไปกว่า 10 วันแรกของเดือน ซุลฮิจญะฮ์

     บรรดาศอฮาบะฮ์กล่าวว่าแม้กระทั่งการญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ

     ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ตอบว่าแม้การญิฮาดในหนทางของอัลลอฮฺก็เทียบเท่าไม่ได้นอกจากผู้ที่ออกจากบ้านของเขาและต่อสู้ด้วยตัวของเขาและทรัพย์สินของเขา โดยไม่ได้กลับมาด้วยกับสิ่งใด (เสียชีวิต)”

(บันทึกโดย อัตติรมิซีย์)

 

     3. อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า

และกล่าวพระนามของอัลลอฮฺในวันที่รู้กัน (คือวันเชือด)”

(อัลฮัจญ์ 22 : 28)

     ท่านอิบนุอับบาสและท่านอิบนุกะษีร กล่าวว่าหมายถึง สิบวันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮ์

 

     4. ท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุอุมัร กล่าวว่า ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

     “ไม่มีวันใด ที่ทรงเกียรติ ที่อัลลอฮฺ และการทำความดีเป็นที่โปรดปราน อัลลอฮฺในวันนั้น ดียิ่งกว่าสิบวันแรก (ของซุลฮิจญะฮ์) ดังนั้นพวกท่านจงขะมักเขม้นในการตักบีร ตะฮฺลี้ล และตะฮฺมี๊ด (หมายถึงกล่าวถึงความเกรียงไกรและสรรเสริญสดุดีต่อพระองค์ด้วยคำว่า อัลลอฮุอักบัร ลาอิลาฮะอิ้ลลัลลอฮฺ และอัลฮัมดุลิลลาฮฺ)”

(บันทึกโดย อะหฺมัด)

 

     5. ในสุนันของอัดดาริมีย์ ได้รายงานไว้ว่า

     “ท่านสะอี๊ด อิบนุญุบัยรฺ เมื่อถึงสิบวันแรกของซุลฮิจญะฮ์ ท่านจะขยันทำอิบาดะฮ์อย่างมากมาย โดยไม่มีใครสามารถแข่งขันความดีกับเขาได้

(บันทึกโดย อิมามอัดดาริมีย์)

 

     6. มีบันทึกจากท่านอัลฮาฟิซ อิบนุฮะญัร ในหนังสือ อัลฟัตฮุลบารีย์ ว่า

     “สาเหตุที่ช่วงเวลาของสิบวันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮ์เป็นช่วงเวลาที่ประเสริฐ เพราะมันเป็นช่วงเวลาที่รวมอิบาดะฮ์ไว้หลากหลายชนิด เช่น การละหมาด การถือศีลอด การทำศอดาเกาะฮ์ การทำฮัจญ์ ซึ่งไม่มีช่วงเวลาใดที่เหมือนช่วงเวลานี้

 

สิ่งที่ชอบให้ปฏิบัติในช่วงสิบวันแรกของเดือนซุลฮิจญะฮ์

 

     1. รักษาละหมาดฟัรฎูให้ตรงเวลา ไปมัสยิดแต่เนิ่น ขะมักเขม้นในการรักษาการละหมาด ซุนนะฮ์ เพราะการละหมาดเป็นอิบาดะฮ์ที่ทำให้บ่าวใกล้ชิดอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา มากที่สุด

     มีรายงานจากท่านเษาบาน คนรับใช้ของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

     “ท่านทั้งหลายจงสุญูดให้มาก เถิด แท้จริงการที่สุญูดเพื่ออัลลอฮฺหนึ่งครั้ง พระองค์จะทรงยกระดับให้กับท่าน และจะทรงลดความผิดบาปให้แก่ท่าน

(บันทึกโดย อิมามมุสลิม)

 

     2. ออกห่างจากการกระทำสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืน เมื่อการเชื่อฟังเป็นสาเหตุที่ทำให้บ่าวใกล้ชิดกับอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา เช่นเดียวกัน การฝ่าฝืนก็เป็นสาเหตุที่ทำให้บ่าวออกห่างจากอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา และจะถูกขับไล่จากความเมตตาของพระองค์ เพราะเมื่อบ่าวยับยั้งจากการกระทำสิ่ง ที่ต้องห้าม เขาก็จะมีความปรารถนาที่จะได้รับการอภัยโทษจากพระองค์ เพราะเมื่อเขาระวังตนในช่วงเวลาดังกล่าวเขาก็จะระวังในช่วงเวลาอื่น

 

     3. มีความมุ่งมั่นและตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะขะมักเขม้นในการแสวงหาผลบุญในช่วงเวลาดังกล่าว ด้วยการปฏิบัติความดีงามในรูปแบบต่าง ไม่ว่าจะด้วยการกระทำหรือคำพูด และมีการเตรียมความพร้อมในการที่กระทำความงามอยู่เสมอ อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

และบรรดาผู้ต่อสู้ดิ้นในหนทางของเรา แน่นอนเราจะชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องแก่พวกเขาสู่ทางของเรา

(อัลอังกะบูต 29 : 69)

 

     4. การสำนึกผิดและกลับเนื้อกลับตัวอย่างจริงใจ และมุ่งมั่นตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่าจะไม่กลับไปทำความผิดนั้นอีก เพราะการเตาบะฮ์นั้นจะนำมาซึ่งความสำเร็จและทำให้ได้รับชัยชนะทั้งในดุนยาและ อาคิเราะฮ์

และพวกเจ้าทั้งมวลจงขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮฺเถิด โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เพื่อว่าพวกเจ้าจะได้รับ ชัยชนะ

(อันนูร 24 : 31)

 

     5. การทำฮัจญ์และอุมเราะฮ์ เป็นการกระทำที่ประเสริฐที่สุดในช่วงของสิบวันแรกของเดือน ซุลฮิจญะฮ์ ซึ่งผลตอบแทนนั้นคือ สวรรค์ของพระองค์ ดังฮะดิษของท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า

     “จากการทำอุมเราะฮ์จนกระทั่งการทำอุมเราะฮ์อีกครั้ง หนึ่งจะได้รับการลบล้างความผิดพลาดที่อยู่ระหว่างมันทั้งสอง และฮัจญ์มับรูรนั้น (ฮัจญ์ที่ได้รับการตอบรับ) จะไม่มีสิ่งตอบแทนนอกจากสวนสวรรค์

(บันทึกโดย อัลบุคอรีย์และมุสลิม)

 

     6. การถือศีลอด อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ตรัสถึงภาคผลของการถือศีลอดไว้ในฮะดิษ กุดซีย์ ว่า

พระองค์อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ได้ตรัสไว้ว่า

การงานของทุกชนิดนั้นเป็นของลูกหลานอาดัม (บ่าว) ยกเว้นการถือศีลอด แท้จริงมันเป็นของฉัน และฉันจะตอบแทนเอง

(บันทึกโดย อัลบุคอรีย์และมุสลิม)

 

     ท่านร่อซูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการถือศีลอดใน วันอารอฟะฮ์ และท่านได้กล่าวถึงภาคผลของการถือศีลอดในวันอารอฟะฮ์ไว้ว่า

 

การถือศีลอดในวันอารอฟะฮ์ ฉันหวังต่ออัลลอฮฺในการที่พระองค์จะลบล้างความผิดบาปในปีก่อนหน้านี้และปีถัดไป

(บันทึกโดย มุสลิม)

 

      7. ให้ทำการรำลึกถึงอัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ให้มาก ด้วยกับการตักบี๊ร (กล่าวอัลลอฮุอักบัร) การตะฮฺลี๊ล (กล่าวลาอิลาฮะอิ้ลลัลลอฮฺ) การตะฮฺมี๊ด (กล่าวอัลฮัมดุลิลลาฮฺ)

ดังมีรายงานจากท่านอิบนุอุมัร ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ กล่าวว่า

 

     “ไม่มีวันไหนที่มีความยิ่งใหญ่และเป็นที่รัก ที่อัลลอฮฺ เท่ากับสิบวันแรกของเดือนฮัจญ์ (ซุลฮิจยะฮ์)

     ฉะนั้น พวกท่านทั้งหลายจงกล่าวลาอิลาฮะอิลลัลลอฮฺ” “อัลลอฮุอักบัรและอัลฮัมดุลิ้ลลาฮฺให้มาก ในวันเหล่านั้น

(บันทึกโดย อะหฺมัด)

 

     8. การบริจาคทาน อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ทรงส่งเสริมให้บ่าวทำการบริจาคให้มาก ดังที่พระองค์ตรัสว่า

 

     “บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงบริจาคส่วนหนึ่งจากสิ่งที่เราได้ให้เป็นปัจจัยยังชีพแก่พวกเจ้า ก่อนจากที่วันหนึ่งจะมา ซึ่งในวันนั้นไม่มีการซื้อขาย และไม่มีการเป็นมิตรและไม่มีชะฟาอะฮ์ และบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธานั้นคือ พวกที่อธรรม (แก่ตัวเอง)”

(อัลบะเกาะเราะฮฺ 2 : 254)

 

การงานอื่น ที่สนับสนุนให้กระทำให้ช่วงเวลาดังกล่าว

 

          การอ่านและศึกษาคัมภีร์อัลกุรอาน - การอิสติฆฟาร (การขออภัยโทษ) - การทำดีต่อบิดามารดา - การติดต่อเครือญาติ - การให้สลามการเลี้ยงอาหารการประนีประนอมระหว่างคู่กรณีการสั่งใช้กันให้ทำความดีและห้ามปรามกันมิให้กระทำความชั่วการรักษาลิ้นและอวัยวะเพศจากการพูดและการกระทำในสิ่งที่น่ารังเกียจ 

          - การทำความดีต่อเพื่อนบ้านการให้เกียรติแก่แขกผู้มาเยือนการบริจาคในหนทางของอัลลอฮฺการขจัดสิ่งกีดขวางและสิ่งที่เป็นอันตรายตามถนนหนทางการจ่ายค่าเลี้ยงดูให้แก่ภรรยา และลูกหลาน - การอุปการะเด็กกำพร้าการเยี่ยมผู้ป่วยการปัดเป่าความทุกข์ยากจากพี่น้องมุสลิม 

          – การซอลาวาตต่อท่านนบี - การไม่ทำอันตรายต่อพี่น้องมุสลิมการมีความอ่อนโยนต่อผู้ที่อยู่ภายใต้ การดูแลการติดต่อมิตรสหายของบิดามารดาการขอดุอาอฺให้แก่พี่น้องมุสลิมในขณะที่อยู่ลับหลังเขาการรักษาอมานะฮฺและการรักษาสัญญา - การทำความดีต่อญาติพี่น้อง - การช่วยเหลือผู้ที่มีความต้องการการลดสายตาจากการมองสิ่งที่อัลลอฮฺทรงห้าม 

          - การอาบน้ำละหมาดด้วยความประณีตเรียบร้อย - การขอดุอาอฺระหว่างการอะซานและการอิกอมะฮ์การอ่านซูเราะฮฺกะฮฺฟิในวันศุกร์การไปมัสยิดและการรักษาการละหมาดญะมาอะฮ์การรักษาซุนนะฮ์ที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เน้นย้ำให้กระทำ - การพยายามที่จะไปร่วมการละหมาดอีดที่มุศ็อลลา 

           - การรำลึกถึงอัลลอฮฺหลังจากการละหมาดฟัรฎู - การแสวงหาริสกีที่ฮะล้าลการสร้างความปิติยินดีให้แก่พี่น้องมุสลิมการมีความเมตตาสงสารผู้ที่อ่อนแอการทำความดีและชี้แนะให้ผู้อื่นปฏิบัติในสิ่งที่เป็นความดี - การคิดในแง่ดีต่อผู้อื่นการละทิ้งความตระหนี่ถี่เหนียว - การอบรมสั่งสอนลูกหลานการให้ความร่วมมือกับพี่น้องมุสลิมในสิ่งที่เป็น ความดีงาม

 

 

 

ที่มา : วารสารอัล-อิศลาหฺ อันดับที่ 478-480 ปีที่ 88 (ตุลาคม-ธันวาคม 2562)