อิสลาม โรคระบาด วิธีการป้องกัน
  จำนวนคนเข้าชม  26633


อิสลาม โรคระบาด วิธีการป้องกัน

อับดุลวาเฮด สุคนธา เรียบเรียง

 

ความหมาย โรคระบาด

 

          โรคระบาด الوباء(Epidemic) คือ ปรากฎการณ์ของโรคติดต่อขึ้นในท้องที่ใดท้องที่ หนึ่งผิดปกติไปจากที่เคยเป็นอยู่ ทำให้มีผู้ป่วยจำนวนมาก และโรคนั้นมิใช่โรคที่เป็นอยู่ประจำถิ่น หรือเป็นตามฤดูกาลปกติ

 

          กาฬโรค الطاعون (Plague) เป็นโรคระบาดรุนแรงที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน มีสาเหตุมาจากแบคทีเรียที่ชื่อว่า เยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis) โดยแบคทีเรียชนิดนี้มักจะอาศัยอยู่ในสัตว์ฟันแทะที่มีขนาดเล็ก เช่น หนูและกระรอก ซึ่งจะพบการระบาดของโรคมากในเขตชนบทและกึ่งชนบททั้งในแอฟริกา เอเชีย และสหรัฐฯ

 

สาเหตุของกาฬโรค

 

          สาเหตุของกาฬโรคมาจากแบคทีเรียที่ชื่อ เยอร์ซีเนีย เพสติส (Yersinia Pestis) ซึ่งมักอยู่ในสัตว์จำพวกฟันแทะ เช่น หนู กระรอก ชิพมังค์ และกระต่าย โดยเชื้อสามารถแพร่มาสู่คนได้

     ท่าน อิบนุก็อยยิม กล่าวว่า กาฬโรคคือหนึ่งในชนิดของโรคระบาด แต่ไม่ใช่ทุกโรคระบาดจะเป็นกาฬโรค

     จากนางอาอิชะห์ ได้กล่าวไว้ว่า นางได้กล่าวกับท่านนบี  ว่า

عن عائشة – رضي الله عنها – أنها قالت للنبي صلى الله عليه وسلم: الطعن قد عرفناه فما الطاعون؟ قال: ” غدة كغدة البعير يخرج في المراق والإبط

     “เรารู้จักการนินทาว่าร้ายแล้ว แต่เรายังไม่รู้จักว่าอะไรคือ กาฬโรค?”

     ท่านนบี  จึงได้ตอบว่ามันเป็นก้อนชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับที่เกิดในอูฐ จะเกิดที่ ไข่ดัน และรักแร้

( อะห์หมัด,)

 

อิสลามกับการป้องกันโรค

 

รักษาความสะอาด

 

          อิสลามให้ความสำคัญกับการทำความสะอาดจากสิ่งสกปรกทั้งหลายอิสลามได้กำหนดบทบาทหน้าที่ประจำวันของมุสลิม ตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอนให้ครอบคลุมและผูกพันกับ การรักษา ความสะอาด ทั้งร่างกาย,เสื้อผ้า,อาหารและอื่น ทั้งส่วนตัวและสาธารณะ และอิสลามยังกำหนดให้ความสะอาดนั้นเป็นเงื่อนไขสำคัญที่มี ผลผูกพันกับการ ปฏิบัติศาสนกิจของผู้ศรัทธาหลายประการ เช่น การละหมาดและการฏอวาฟเป็นต้น ซึ่งมีตัวบทหลักฐานดังต่อไปนี้

 

     ท่านอาบูมาลิกกะอฺ บินอาศิมอัลอัช อะรีย์ ร่อฎิยัลลอ ฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

الطُّهُورُ شَطْرُالإِيْمَانِ

การทำความสะอาดตามศาสนบัญญัติเป็นครึ่งหนึ่งของการศรัทธา

(บันทึกโดยมุสลิม)

     อัลลอฮ์ ทรงกล่าวว่า

( إِنَّ اللهَ يُحِبُّ التَّوَّابِيْنَ وَ يُحِبُّ اْلمُتَطَهِّرِيْنَ )

แท้จริงอัลลอฮ์ทรงรักผู้เตาบะห์ (กลับเนื้อกลับตัว) และทรงรักผู้มีความสะอาด

( อัลบะก่อเราะห์ 222)

 

ความสะอาดด้านร่างกาย

 

การโกนขนลับ การถอนขนรักแร้ การตัดเล็บ และการล้างตามซอกต่างๆ ของร่างกาย

     หะดีษรายงานจากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

الْفِطْرَةُ خَمْسٌ أَوْ خَمْسٌ مِنَ الْفِطْرَةِ الْخِتَانُ وَالِاسْتِحْدَادُ وَنَتْفُ الْإِبْطِ وَتَقْلِيمُ الْأَظْفَارِ وَقَصُّ الشَّارِبِ

     “ ฟิฏเราะฮฺ(ธรรมชาติ)ของคนนั้นมีอยู่ห้าอย่างหรือห้าอย่างที่ถือว่าเป็นฟิฏเราะฮฺ คือการคิตาน การโกนขนลับ การถอนขนรักแร้ การตัดเล็บ และการขลิบหนวด

(อัลบุคอรียฺและมุสลิม)

การอาบน้ำละหมาดช่วยป้องกันโรค

     อัลลอฮ์ ทรงกล่าวว่า

يَا أَيُّهَا الَّذِينَ آَمَنُوا إِذَا قُمْتُمْ إِلَى الصَّلَاةِ فَاغْسِلُوا وُجُوهَكُمْ وَأَيْدِيَكُمْ إِلَى الْمَرَافِقِ وَامْسَحُوا بِرُءُوسِكُمْ وَأَرْجُلَكُمْ إِلَى الْكَعْبَيْنِ

     “โอ้บรรดาผู้มีศรัทธา เมื่อใดที่พวกท่านประสงค์จะละหมาด พวกท่านจง ล้าง ใบหน้าของพวกท่าน และพวกท่านจงล้างมือของพวกท่านจนถึงข้อศอก และพวกท่านจงลูบเช็ด ศีรษะ ของพวกท่าน และ พวกท่านจงล้างเท้าของพวกท่านจนถึงตาตุ่มทั้งสอง

          อวัยวะทุกส่วนสัมผัสกับฝุ่นถูกล้างออก เช่น มือ แขน ศีรษะ ใบหู จมูก ใบหน้า เท้า

ล้างมือให้สะอาด

     รายงานระบุว่า

أَسْبِغْ الْوُضُوءَ وَخَلِّلْ بَيْنَ الأَصَابِعِ

ท่านจงอาบน้ำละหมาดอย่างสมบูรณ์ที่สุด และจงสางระหว่างนิ้วด้วย "

(ติรมิซีย์และอิบนุมาญะฮ์)

สูดน้ำเข้าจมูก

     ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

وَإِذَا تَوَضَّأَ أَحَدُكُمْ فَلِيَجْعَلْ فِي أَنْفِهِ مَاءًا ثُمَّ لِيَنْتَثِرْ

เมื่อคนหนึ่งคนใดอาบน้ำละหมาด เขาจงเอาน้ำใส่จมูกแล้วจึงสั่งออก

(บันทึกโดยมุสลิม)

แปรงฟันด้วยไม้ สิวาก

          สิวาก คือ ไม้ข่อย ถือว่าเป็นสิ่งที่สุนัต(ส่งเสริม)ให้กระทำในทุกเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อนทำการวุฎูอ์ ก่อนทำการละหมาด ก่อนการอ่านอัลกุรอาน หลังจากเข้าบ้าน หลังจากตื่นนอน และเมื่อมีกลิ่นปาก

     มีหะดีษรายงานจากท่านอะบูฮุร็อยเราะฮฺเราะฎิยัลลอฮุอันฮุว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

لَوْلَا أَنْ أَشُقَّ عَلَى أُمَّتِي أَوْلَوْلَا أَنْ أَشُقَّ عَلَى النَّاسِ لَأَمَرْتُهُمْ بِالسِّوَاكِ مَعَ كُلِّ صَلَاةٍ

     “หากฉันไม่เกรงว่าจะเกิดความลำบากแก่ประชาชาติของฉันแล้ว(-หรืออีกสายรายงานหนึ่งว่า )หากฉันไม่เกรงว่าจะเกิดความลำบากแก่มนุษย์แล้ว-ฉันจะใช้ให้พวกเขาแปรงฟันทุกครั้งก่อนละหมาด

(บุคอรียฺและมุสลิม)

♣ ล้างปัสสาวะ

     นางอุมมุกุรซฺ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

بَوْلُ الْغُلاَمِ يُنْضَحُ وَبَوْلُ الْجَارِيَةِ يُغْسَلُ

ปัสสาวะเด็กทารกเพศชายให้พรมน้ำ ปัสสาวะของเด็กทารกเพศหญิงให้ล้างด้วยน้ำ

(บันทึกโดยอิบนุมาญะฮ)

♣ ความสะอาดเสื้อผ้า

     อัลลอฮ์ทรงกล่าวว่า

(وَثِيَابَكَ فَطَهِّرْ )

และอาภรณ์ของเจ้าก็จงทำความสะอาด

(อัลอุดดัษษิร อายะห์ 4)

 

ความสะอาดภาชนะ

 

♦ ทำความสะอาด ภาชนะที่โดนสุนัขเลีย

     รายงานของท่านอับดุลลอฮ์ บินอัลมุฆ็อฟฟัล ร่อฎิยัลลอฮุ อันฮุ ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

إِذَا وَلَغَ الْكَلْبُ فِي الإِنَاءِ فَاغْسِلُوْهُ سَبْعَ مَرَّاتٍ وَعَفِّرُوهُ الثَّامِنَةَ فِي التُّرَابِ

เมื่อสุนัขเลียภาชนะ พวกท่านจงล้าง 7 ครั้ง (ด้วยน้ำสะอาด) และพวกท่านจงเคล้ามันครั้งที่ 8 ในดิน

(บันทึกโดยอันนะซาอีย)

♦ อิสลามส่งเสริมให้มุสลิมมีสภาวะแวดล้อมที่ดี

     ได้จากตัวบทที่ว่า

إِنَّ اللهَ طَيِّبٌ يُحِبُّ الطِّيِّبَ نَظِيْفٌ يُحِبُّ النَّظَافَةَ كَرِيْمٌ يُحِبُّ اْلكَرَمَ جَوَّادٌ يُحِبُّ اْلجُوْدَ نَظِّفُوْا أَفْنِيَّتَكُمْ وَلاَ تُشَبِّهُوْا بِالْيَهُوْدِ

     “แท้จริงอัลลอฮ์ทรงดีงาม รักความดีงาม ทรงสะอาด รักความสะอาด ทรงมีเกียรติ รักการให้เกียรติ ทรงใจบุญ รักการใจบุญ จงทำสนาม(ที่ว่าง)ของพวกเจ้าให้สะอาด อย่าทำตัวเหมือนพวกยะฮูด

(อัตติรมีซี่ มีบุคคลบางคนในสายรายงานอยู่ในฐานะฎ่ออีฟ)

♦ สิ่งที่ควรทำเมื่อจะเข้านอน

     มีรายงานจากญาบิร เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ เล่าว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า :

أَطْفِئُوا المَصَابِيْـحَ بِاللَّيلِ إذَا رَقَدْتُـمْ، وَأَغْلِقُوا الأَبْوَابَ، وَأَوْكِئُوا الأَسْقِيَةَ، وَخَـمِّرُوا الطَّعَامَ وَالشَّرَابَ

     “พวกท่านจงดับตะเกียงในตอนกลางคืนเมื่อพวกท่านจะนอน จงปิดประตูลงกลอน จงปิดมัดปากภาชนะที่ใส่น้ำให้มิดชิด และจงครอบอาหารและเครื่องดื่ม” 

(บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ และมุสลิม)

♦ ล้างมือให้หมดคราบมันก่อนจะนอน

     มีรายงานจากอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ว่าท่านเราะสูลุลลอฮฺ เราะฎิยัลลอฮฺ อันฮุ ได้กล่าวว่า :

مَنْ نَامَ وَفِي يَدِهِ غَمَرٌ وَلَمْ يَغْسِلْهُ فَأَصَابَهُ شَيْءٌ، فَلَا يَلُومَنَّ إِلَّا نَفْسَهُ

     “ผู้ใดเข้านอนแล้วที่มือของเขามีกลิ่นไขมันและเขาไม่ได้ล้างมือ แล้วก็เกิดสิ่งหนึ่งกับตัวเขา เขาก็จงอย่ากล่าวโทษนอกจากต่อตัวเอง

(บันทึกโดย อบู ดาวูด, อัต-ติรมิซีย์)

♦ ล้างมือก่อนจุ่มในภาชนะ

ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

إِذَا اسْتَيْقَظَ أَحَدُكُمْ مِنْ نَوْمِهِ فَلاَ يُدْخِلْ يَدَهُ فِي الإِنَاءِ حَتَّى يَغْسِلَهَا ثَلاَثَ مَرَّاتٍ ، فَإِنَّ أَحَدَكُمْ لاَيَدْرِي أَيْنَ بَاتَتْ يَدُهُ أَوْ أَيْنَ كَانَتْ تَطُوْفُ يَدُهُ

      “ เมื่อคนใดในหมู่พวกท่านตื่นนอนเขาจงอย่าจุ่มมือของเขาลงในภาชนะ จนกว่าจะล้างมือสามครั้ง เสียก่อน เพราะว่าเขาไม่อาจรู้ได้ ว่ามือของเขานั้นซุกอยู่ตรงไหนหรือวนเวียนอยู่ตรงไหนบ้างขณะ ที่เขานอนหลับ

(บันทึกโดยอาบูดาวูด)

♦ สถานที่ที่ห้ามถ่ายทุกข์.

     ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานว่า

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ - صلى الله عليه وسلم: «اتَّقُوا اللَّاعِنِينَ: الَّذِي يَتَخَلَّى فِي طَرِيقِ النَّاسِ, أَوْ فِي ظِلِّهِمْ». رَوَاهُ مُسْلِمٌ.

     ท่านนบี  กล่าวว่า "จงกลัวการลงโทษจากสองอย่างเถิด คือ การถ่ายทุกข์ในเส้นทางทั่วไปใช้, หรือจากสถานที่ให้ร่มเงาใช้สัญจรไปมา(ที่คนใช้พักผ่อน)"

♦ อย่าปัสสาวะลงในแอ่งน้ำนิ่ง

     ท่านอาบูฮุรอยเราะฮ์ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮุ รายงานอีกว่า ท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า

لاَ يَبُولَنَّ أَحَدُكُمْ فِي الْمَاءِ الدَّائِمِ ثُمَّ يَغْتَسِلُ مِنْهُ

คนหนึ่งคนใดในหมู่พวกท่านจงอย่าปัสสาวะลงในแอ่งน้ำนิ่ง-ไม่ไหลเวียน-ภายหลังเขาต้องใช้น้ำนั้น อาบน้ำ

(บันทึกโดยมุสลิม,อาบูดาวูดและอันนะซาอีย์)

 

จุดยืนมุสลิมกับโรคระบาด

 

เชื่อมั่นในการกำหนดของอัลลอฮฺ

     อัลลอฮฺได้ตรัสอีกว่า

﴿وَكَانَ أَمۡرُ ٱللَّهِ قَدَرٗا مَّقۡدُورًا ﴾

และพระบัญชาของอัลลอฮฺนั้นได้กําหนดไว้แล้ว” 

(อัลอะหฺซาบ : 38)

     พระองค์ตรัสว่า :

قُلْ لَنْ يُصِيبَنَا إِلَّا مَا كَتَبَ اللَّهُ لَنَا هُوَ مَوْلَانَا ۚ وَعَلَى اللَّهِ فَلْيَتَوَكَّلِ الْمُؤْمِنُونَ التوبة : ٥١

     “จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่า จะไม่มี(ทุกข์ภัยใดๆ) มาประสบแก่เราเป็นอันขาด นอกจากสิ่งที่อัลลอฮ์ได้กำหนดไว้แก่เราเท่านั้น ซึ่งพระองค์เป็นผู้ทรงคุ้มครองเรา และแด่อัลลอฮฺนั้น มุอฺมินทั้งหลายจง(ให้การ) มอบหมายเถิด

     สาเหตุที่เกิดบททดสอบต่าง เหล่านี้ มุนษย์ได้ฝ่าฝืนบทบัญญัติของอัลลอฮ์ด้วยกันทั้งนั้น

 

     ดังที่อัลลอฮ์ ตะอาลา ทรงตรัสว่า :

{وَمَا أَصَابَكُمْ مِنْ مُصِيبَةٍ فَبِمَا كَسَبَتْ أَيْدِيكُمْ وَيَعْفُو عَنْ كَثِيرٍ}

     "และเคราะห์กรรม (มุศีบะฮ์) ใดก็ตามที่ประสบกับพวกเจ้า มันก็เป็นผลมาจากสิ่งที่พวกเจ้าได้ขวนขวายเอาไว้นั่นเอง และพระองค์ทรงอภัยให้มามากต่อมากแล้ว

[ ซูเราะฮ์อัชชูรอ : 30 ]

          การลงโทษของอัลลอฮฺที่กล่าวถึงนี้หมายถึงความหายนะและความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในโลก และสร้างผลเสียให้กับสังคมมนุษย์ทั้งมวล ซึ่งบังเกิดขึ้นให้เห็นทั่วทุกแห่งดังที่อัลลอฮฺได้มีดำรัสว่า

ظَهَرَ الْفَسَادُ فِي الْبَرِّ وَالْبَحْرِ بِمَا كَسَبَتْ أَيْدِي النَّاسِ لِيُذِيقَهُم بَعْضَ الَّذِي عَمِلُوا لَعَلَّهُمْ يَرْجِعُونَ

     "ความวิบัติ (ความผิดบาปและหายนะ) ได้เกิดขึ้นทั้งทางบกและทางน้ำ เนื่องจากสิ่งที่มือของมนุษย์ได้ทำขึ้น เพื่อที่พระองค์จะให้พวกเขาลิ้มรสผลบางส่วนจากที่พวกเขากระทำไว้ โดยหวังที่จะให้พวกเขากลับเนื้อกลับตัว

(อัลกุรอาน 41)

 

 บททดสอบคือตัวชี้วัดระดับอิม่าน

 

     อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า :

وَلَنَبْلُوَنَّكُمْ حَتَّىٰ نَعْلَمَ الْمُجَاهِدِينَ مِنْكُمْ وَالصَّابِرِينَ وَنَبْلُوَ أَخْبَارَكُمْ

     " และแน่นอนเราจะทดสอบพวกเจ้าจนกระทั่งเราจะได้รู้ถึงบรรดาผู้ต่อสู้ดิ้นรน และบรรดาผู้หนักแน่นอดทนในหมู่พวกเจ้า และเราจะทดสอบการงานของพวกเจ้า

(มุฮัมมัด : 31)

 

 รู้จักสำนึกต่ออัลลอฮฺ เจอบททดสอบ

 

     อัลลอฮฺ ทรงกล่าวถึงว่า

وَبَلَوْنَاهُمْ بِالْحَسَنَاتِ وَالسَّيِّئَاتِ لَعَلَّهُمْ يَرْجِعُونَ

     “และเราได้ทดสอบพวกเขาด้วยสิ่งที่ดี(ความสะดวกสบาย)และความเลวร้าย(ความยากลำบาก) เผื่อว่าพวกเขาจะกลับตน” 

(อัล-อะอฺรอฟ : 168)

          จากอายะฮฺข้างบน ทำให้เราทราบว่าการทดสอบไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูปของสิ่งที่เลวร้ายหรือความยากลำบากเสมอไป ความสะดวกสบายก็เป็นบททดสอบได้เช่นกัน เช่นที่เคยเกิดขึ้นกับชนเผ่าอิสรออีลแล้วในอดีต

 

♥ เสียชีวิตด้วยโรคระบาด เท่ากับตายชะฮีด

 

     ท่านหญิง ฮัฟเซาะ เล่าวว่า ท่านอะนัสถามฉัน สาเหตุการณ์เสียชีวิตของท่าน ยะหยา อิบนุ อะบี อัมเราะฮฺ ฉันบอกว่า เขาเสียชีวิตด้วยโรคระบาด ท่านอะนัสกล่าวว่า ท่านนบีกล่าวว่า

الطَّاعُونُ شَهَادَةٌ لِكُلِّ مُسْلِمٍ

กาฬโรคนั้นเป็นชะฮีด คือ(มุสลิมตายด้วยโรคระบาดนั้นถือว่า ตายชะฮีด) “

(บุคอรีย์)

     ท่านหญิงอาอิชะ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา ถามท่านรอซูลุลลอฮ์ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จากกาฬโรค

فأخْبَرَنِي أنَّه عَذَابٌ يَبْعَثُهُ اللَّهُ علَى مَن يَشَاءُ، وأنَّ اللَّهَ جَعَلَهُ رَحْمَةً لِلْمُؤْمِنِينَ، ليسَ مِن أحَدٍ يَقَعُ الطَّاعُونُ، فَيَمْكُثُ في بَلَدِهِ صَابِرًا مُحْتَسِبًا، يَعْلَمُ أنَّه لا يُصِيبُهُ إلَّا ما كَتَبَ اللَّهُ له، إلَّا كانَ له مِثْلُ أجْرِ شَهِيدٍ

     “ท่านนร่อซูล บอกกับฉันว่า แท้จริงมันคือ บทลงโทษที่อัลลอฮฺส่งมากับผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และแท้จริงอัลลออฺ(ทำให้บทลงโทษด้วยกาฬโรค) เป็นความเมตตาแก่ผู้ศรัทธา และผู้ใดก็ตามได้ประสบกับ กาฬโรค ใช้ชีวิตในบ้านเมืองของเขาด้วยความอดทนและหวังในความโปรดปราน เพิ่งรู้เถิดว่า สิ่งที่เขาประสบนั้น อัลลอฮฺทรงบันทึกความดีให้แก่เขา เท่ากับผู้ที่ตายชะฮีด

( บุคอรีย์)

 

♥ คนในเมืองที่เกิดโรคห้ามออกและคนนอกห้ามเข้า

 

         จากท่านอามิร อิบนิซะอด์ อิบนิอบีวะกอส จากพ่อของเขา แท้จริงเขาได้ยินพ่อของเขาถามท่านอุซามะห์ อิบนิเซดว่า ท่านได้ยินสิ่งใดบ้าง จากท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ เกี่ยวกับ กาฬโรคท่านอุซามะห์ได้ตอบว่า ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ได้ทรงกล่าวไว้ว่า

قَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللَّهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ : الطَّاعُونُ آيَةُ الرِّجْزِ ، ابْتَلَى اللَّهُ عَزَّ وَجَلَّ بِهِ نَاسًا مِنْ عِبَادِهِ ، فَإِذَا سَمِعْتُمْ بِهِ ، فَلَا تَدْخُلُوا عَلَيْهِ ، وَإِذَا وَقَعَ بِأَرْضٍ وَأَنْتُمْ بِهَا ، فَلَا تَفِرُّوا مِنْهُ “

     “กาฬโรค นั้นเป็นสิ่งชั่วร้ายที่ถูกส่งมายังเผ่าพันธุ์ของ บนีอิสรออีล และผู้ที่อยู่ก่อนพวกเขา และเมื่อพวกท่านได้ยินเกี่ยวกับกาฬโรคในแผ่นดินใด จงอย่าเข้าไปในนั้น และเมื่อมันเกิดในแผ่นดินที่พวกท่านอาศัยอยู่ ก็จงอย่าอพยพหนีจากมันไป

( ซอเฮียะห์บุคอรีย์)

          ดังเรื่องกาฬโรค ที่เกิดขึ้นในสมัยท่านคอลีฟะฮ์ อุมัร ท่านได้ห้ามกองทัพเข้าไปยังดินแดนที่มีโรคระบาด ทั้งนี้เป็นการปฏิบัติตามวจนะของท่านเราะซูล ที่กล่าวว่า

     "หากเกิดกาฬโรค ดินแดนใด และท่านมิได้อยู่ในดินแดนนั้น ท่านก็จงอย่าเข้าไป แต่ถ้าหากมันเกิดขึ้นในดินแดนนั้นด้วย ท่านก็จงอย่าออกมา

(รายงานโดย บุคอรีย์ มุสลิม และอบูดาวูด)

          ดูเหมือนว่าประกาศดังกล่าว จะเป็นประกาศตั้งด่านกักกันโรคเป็นครั้งแรกในโลก

 

แยกผู้ป่วยออกจากผู้มีสุขภาพดี

     ท่านนะบี ท่านได้กล่าวว่า:

لا يُورِدَنّ ممرض على مصح

 " อย่านำผู้ป่วย(อูฐ)มารวมกับ(อูฐ)ผู้ที่มีสุขภาพดี "

(รายงานโดย บุคอรีย์)

          Quarantine คือการให้ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแยกตัวออกจากชุมชน ทั้งนี้เพื่อสังเกตอาการของตัวเองและป้องกันคนอื่นติดเชื้อจากผู้ที่มีความเสี่ยง

     และท่านนะบีได้กล่าวว่า :

فر من المجذوم فرارك من الأسد

" จงหนีโรคเหมือนกับหนีสิงโต "

(รายงานโดย มุสลิม)

 

อ่านอัซการเช้า - เย็น

أَعُوذُ بِكَلِمَاتِ اللهِ التَّامَّاتِ مِنْ شَرِّ مَا خَلَقَ

     '' ฉันขอความคุ้มครองด้วยพระดำรัสของอัลลอฮฺซึ่งมีความสมบูรณ์ยิ่ง ให้พ้นจากสิ่งชั่วร้ายที่พระองค์ทรงสร้างด้วยเถิด ''

( ผู้ใดอ่าน3 ครั้ง ในยามเช้า และเย็น ไม่มีอันตรายใดๆทำร้ายเขาได้ )

 

بِسْمِ اللهِ الَّذِيْ لا يَضُرُّ مَعَ اسْمِهِ شَيْءٌ في الأَرْضِ وَلا في السَّمَاءِ وَهُوَ السَّمِيْعُ العَلِيْم

"บิสมิลลาฮิลละซีย์ ลายะฎุรรุ มะอัสมิฮี ชัยอุน ฟิลอัรฎิ วะลาฟิสสะมาอฺ วะฮุวัสสะมีอุลอุลีม"

     “ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ซึ่งไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดในชั้นฟ้าและแผ่นดินจะทำอันตรายใดๆได้ ในขณะที่มีการกล่าวพระนามของพระองค์อยู่ และพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยินทรงรอบรู้

( อ่าน ดุอาอฺนี้ 3 ครั้งเช้า 3 ครั้งเย็น )

 

 อ่านซูเราะฮฺ อัลอิคลาส , อัลนาส , อัล-ฟะลัก อย่างละ 3 ครั้ง เช้า และเย็น

(รายงานโดย อัตติรมิซีย์)

 

 ดุอาอ์เห็นคนประสบภัย

 

اَلْحَمْدُ لِلَّهِ الَّذِي عَافَانِي مِمَّا ابْتَلاَكَ بِهِ، وَفَضَّلَنِي عَلَى كَثِيرٍ مِمَّنْ خَلَقَ تَفْضِيلاً

     อ่านว่า : อัลฮัมดุลิลลาฮิลละซีอฺาฟานี มิมมับตะลากะบิฮิ วะฟัฎเฎาะละนี อฺะลากะษีริมมิมมันเคาะละเกฺาะ ตัฟฎีลา

     ความว่า : การสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ผู้ซึ่งให้ฉันแคล้วคลาดปลอดภัยจากสิ่งที่ทรงใช้ทดสอบเขา และทรงให้ความโปรดปรานแก่ฉันมากกว่าอีกหลายชีวิตที่ทรงสร้างมา 

(บันทึกโดย: ติรมิซียฺ)

 

 อ่านดุอาอฺขอความคุ้มครองจากอัลลอฮฺ

 

     ดุอาอฺเมื่อมีโรคภัยรุมเร้า

إِنِّي مَسَّنِيَ الضُّرُّ وَأَنتَ أَرْحَمُ الرَّاحِمِينَ

     อ่านว่า : อินนีย์ มัซซะนิยัดฎุรฺรู่ วะอันตะ อัรฺฮะมุรฺรอฮิมีน

     ความว่า : แท้จริงฉันนั้น ได้มีทุกข์อันตรายมาประสบกับฉัน และพระองค์ทรงเมตตาที่สุดในหมู่ผู้มีเมตตา 

(ซูเราะฮฺอัมบิยาอฺ : 83)

 

اللَّهُـمَّ إنِّي أَعُوذُ بِكَ مِنَ البَرَصِ وَالجُنُونِ وَالجُذَامِ وَمِنْ سَيِّئِ الأَسْقَامِ

     คำอ่าน : อัลลอฮุมม่ะ อินนี อะอูซุบิกะ มินัลบะเราะศิ วัลญุนูนิ วัลญุซามิ ว่ะมินชัยยิอิล อัสกอม

     ความว่า : "โอ้อัลลอฮฺ ฉันขอความคุ้มครองต่อพระองค์ให้พ้นจากโรคเรื้อน โรคบ้า โรคจุดดำขนหลุดร่วง และโรคภัยที่เลวร้ายทั้งมวล"

(รายงานโดย อะบูดาวุด)