มัจญลิซ
  จำนวนคนเข้าชม  10151


มัจญลิซ

 

อับดุลวาเฮด สุคนธา ...เรียบเรียง

 

ความหมายและความสำคัญ

 

        มัจญลิซ หมายถึง การนั่งตั้งวง สอนกรุอ่าน นั่งศึกษาหาความรู้ หรือ การนั่งประชุม ปรึกษาหารือ ถือว่าเป็นการปฏิบัติตามซุนนะฮฺท่านนบี เพราะนบีอ่านอัลกุรอานคนเดียว ทุกวัน แต่บางครั้งญิบรีลลงมาทำฮาลาเกาะห์กุรอานกับนบี 

         ความประเสริฐการทำฮาลาเกาะห์ท่านสะอีดอัลคุฏรีย์ เป็นพยานยืนยันว่า แท้จริง ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์  กล่าวว่า

 

لا يَقْعُدُ قَوْمٌ يَذْكُرُونَ اللَّهَ إِلا حَفَّتْهُمُ الْمَلائِكَةُ ، وَغَشِيَتْهُمُ الرَّحْمَةُ ، وَنَزَلَتْ عَلَيْهِمُ السَّكِينَةُ ، وَذَكَرَهُمُ اللَّهُ فِيمَنْ عِنْدَهُ "

 

     " ไม่มีคนกลุ่มหนึ่งกลุ่มได้ ได้นั่งทำการซิกรุลเลาะฮ์ นอกจากว่า บรรดามะลาอิกะฮ์จะห้อมล้อมพวกเขา และความเมตตาก็แผ่ปกคลุมพวกเขา และความสงบสุขก็ได้ลงมาบนพวกเขา และอัลเลาะฮ์ก็ทรงเอ่ยถึงพวกเขา แก่ผู้ที่อยู่ พระองค์

(บันทึกโดยมุสลิม)

         การนั่งตั้งวงเพื่อสอนกรุอ่านหรือนั่งเพื่อศึกษาหาความรู้จะนำมาซึ่งความโปรดปรานจาก บรรดามะลาอิกะฮ์จะห้อมล้อมพวกเขา

 

 

หลักการ

 

อัลลอฮฺ ตรัสว่า

 

وَشَاوِرْهُمْ فِي الْأَمْرِ ۖ فَإِذَا عَزَمْتَ فَتَوَكَّلْ عَلَى اللَّهِ ۚ إِنَّ اللَّهَ يُحِبُّ الْمُتَوَكِّلِينَ

 

     "และสู่เจ้าจงปรึกษาหารือ กับพวกเขาในกิจการงานต่างๆ ครั้นเมื่อเจ้าได้ตัดสินใจแล้ว ก็จงมอบหมายต่ออัลลอฮฺเถิดแท้จริงอัลลอฮฺทรงรักบรรดาผู้ที่มอบหมาย

(อาละอิมรอน : 159)

 

         มารยาทในที่ชุมนุมประการหนึ่งที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม มีสุนนะฮฺไว้ เพื่อยับยั้งสิ่งต่างๆที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจกันในระหว่างมุสลิมด้วยกัน คือ ไม่ให้คนสองคนคุยกระซิบความลับกันโดยไม่บอกคนที่สามเมื่อในที่ชุมนุมมีเพียงสามคนเท่านั้น และเช่นกันท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะสัลลัม ได้ห้ามการที่คนๆหนึ่งจะเข้าไปนั่งแทรกคนสองคน นอกจากจะต้องขออนุญาตทั้งสองนั้นเสียก่อน เพราะบางทีทั้งสองอาจกำลังมีเรื่องที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ก็ได้

         และมารยาทอีกประการหนึ่งคือให้จบการอ่านดุอาอ์กัฟฟาเราะฮฺ(สิ่งลบล้าง)การชุมนุม เพื่อที่จะลบล้างความผิดเล็กๆน้อยๆที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการชุมนุมได้

 

         ท่านอบูดาวูดได้รายงานจาก อบี บัรซะฮ์ ว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวในช่วงท้ายกิจการงานหนึ่ง เมื่อท่านต้องการจะลุกขึ้นจากที่ประชุมหนึ่งว่า

 

سُبْحانَكَ اللَّهُمَّ وبِحَمْدِكَ، أشْهَدُ أنْ لا إِلهَ إِلاَّ أنْتَ، أسْتَغْفِرُكَ وأتُوبُ إِلَيْكَ، فقال رجل: يا رسول اللّه! إنك لتقول قولاً ما كنتَ تقولُه فيما مضى، قال: ذلكَ كَفَّارَةٌ لِمَا يَكُونُ في المَجْلِسِ

 

"ซุบฮานะกัลลอฮุมม่า วะบิฮัมดิก้า อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะอิลลาอันต้า อัสตัฆฟิรุก้า วะอะตูบุอิลัยฮ์

     ดังนั้น มีชายคนหนึ่งกล่าวว่า โอ้ ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ! ท่านได้กล่าวถ้อยคำหนึ่งซึ่งท่านไม่ได้กล่าวมันมาก่อนเลย

     ท่านนบีกล่าวว่า ดังกล่าวนั้นเป็นการลบล้าง(ความผิดพลาด)ในสิ่งที่เกิดขึ้นในที่ประชุม

(รายงานโดยอบูดาวูด)

 

 

มารยาทในที่ชุมนุม และการนั่งรวมกัน

 

         ห้ามคนสองคนคุยกระซิบกันโดยไม่บอกคนที่สาม ท่านอิบนุ อุมัร เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

 

إِذَا كَانَ ثَلَاثَةٌ، فَلَا يَتَنَاجَى اثْنَانِ دُونَ وَاحِدٍ

 

เมื่ออยู่กันสามคน คนสองคนก็จงอย่ากระซิบกัน โดยไม่บอกคนที่สาม” 

(บันทึกโดย มุสลิม)

          นั่งแทรกคนสองคนจะต้องขออนุญาตทั้งสองนั้นเสียก่อน ท่านอับดุลลอฮฺ บินอัมรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า

 

لَا يَحِلُّ لِلرَّجُلِ أَنْ يُفَرِّقَ بَيْنَ اثْنَيْنِ إِلَّا بِإِذْنِهِمَا

 

ไม่อนุญาตให้คนใดแทรกคนสองคน นอกจากได้รับอนุญาตจากคนทั้งสองเสียก่อน

( บันทึกโดย อัตติรมิซียฺ)

 



การปฏิบัติ

 

- จะต้องมีหัวหน้าหนึ่งคนทำหน้าที่ในการประชุม (คนที่เป็นหัวหน้าจะต้องมีประสบการณ์ เข้าใจงาน)

- อย่าเสนอความคิดเห็นด้วยการทับถมความคิดเห็นของคนอื่น

- ควรขอนุญาตจากหัวหน้าก่อนในการนำเสนอแต่ละครั้ง

- การประชุมจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความบริสุทธิ์ใจและอามานะห์

- จะต้องอ่านดุอาหลังมีการประชุมเสร็จ

- จะต้องมอบหมายต่ออัลลอฮฺหลังมีการวางแผนงานนั้นๆ

 

 

ประโยชน์และคุณค่า

 

     - สถานที่ใดที่มีการตั้งวง ประชุม หรือการเรียนรู้ตามซุนนะห์พวกเขานั้นจะได้รับความเมตตาของอัลลอฮฺ

     - การประชุมปรึกษาหารือนั้นถือปฏิบัติตามซุนนะห์

     - การปรึกษาหารือจะรักษาทุกคนให้ห่างไกลจากการขัดแย้งกัน ห่างไกลจากการตามนัฟซู และไชฏอน

 

 

ดุอาอฺ

 

        ดุอาก่อนเสร็จการประชุม รายงานจากท่านอบูฮุร๊อยเราะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ความว่า ท่านร่อซูลุลลอฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า

     "ผู้ใดได้นั่งในที่ประชุมหนึ่ง แล้วเขามีเสียงเอะอะโวย แล้วเขาได้กล่าวก่อนจะยืนจากที่ประชุมดังกล่าวว่า

 

سُبْحانَكَ اللَّهُمَّ وبِحَمْدِكَ، أشْهَدُ أنْ لا إِلهَ إِلاَّ أنْتَ أسْتَغْفِرُكَ وأتُوبُ إِلَيْكَ

 

     คำอ่าน "ซุบฮานะกัลลอฮุมม่า วะบิฮัมดิก้า อัชฮะดุอัลลาอิลาฮะอิลลาอันต้า อัสตัฆฟิรุก้า วะอะตูบุอิลัยฮ์"

     ความหมาย มหาบริสุทธิ์แด่อัลลอฮฺ โอ้อัลลอฮฺ และกับการสรรเสริญของพระองค์ ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ ฉันขอการอภัยโทษจากพระองค์ และฉันขอกลับตัวสู่พระองค์” เขาก็จะได้รับการอภัยโทษจากสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานที่ประชุมดังกล่าวนั้น

 

(รายงานโดยติรมีซีย์ ท่านกล่าวว่า เป็นฮะดิษหะซันซอฮิห์)