แนวทางการตัดสินบุคคลให้ออกจากอิสลามตามหลักความเชื่อของชาวอะลุซซุนนะห์
  จำนวนคนเข้าชม  1508


แนวทางการตัดสินบุคคลให้ออกจากอิสลามตามหลักความเชื่อของชาวอะลุซซุนนะห์

 

แปลโดย... อิสมาอีล กอเซ็ม

 

          แท้จริงการตัดสินบุคคลอื่นว่าเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา ตามแนวทางของชาวอะลุซซุนนะห์วัลญามาฮะห์ มีเงื่อนไขต่างๆ ดังต่อไปนี้ 

 

          จำเป็นที่จะต้องพิสูจน์ และจะต้องไม่มีปัจจัยต่างๆที่มาห้าม และไม่อนุญาตให้ฮุกุมคนอื่นว่าเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา เป็นการตัดสินแบบเจาะจงตัวบุคคล บางครั้งการที่จะตัดสินใครว่าเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา แต่ว่ามีสิ่งที่มาห้ามไม่ให้ตัดสินคนนั้นว่าเป็นผู้ปฏิเสธ และสิ่งที่ว่านั้น ก็คือ การขาดความรู้ และการเข้าใจผิดพลาดในสิ่งนั้น หรือถูกบังคับ หรือเพราะเกิดจากความเข้าใจผิดโดยไม่เจตนาที่จะกระทำสิ่งนั้นๆ และไม่ใช้ว่าทุกการกระทำที่ทำให้ตกศาสนานั้นเราจะต้องไปฮุกุมตัดสินผู้ที่กระทำว่าเขาต้องออกจากศาสนาเสมอไป 

 

          สำหรับการตัดสินตัวบุคคลว่าเป็นผู้ปฏิเสธนั้น โดยเฉพาะการฮุกุมที่เป็นการเจาะจงนั้น มันถือว่าเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อน และจะต้องทำการพิสูจน์และทำการสอบถามพูดคุยแก่ผู้ที่ได้กระทำสิ่งที่ให้ตกศาสนา จนกระทั่งผู้ที่จะทำการตัดสินว่าเขาเป็นผู้ปฏิเสธนั้นมีครบทุกเงื่อนไขที่สามารถตัดสินได้ว่าเขาคือผู้ปฏิเสธที่ออกจากศาสนา และปราศจากสิ่งที่จะมาห้ามมิให้ตัดสินเขาว่าเป็นผู้ปฏิเสธ และมีหลักฐานที่ชัดเจน หากเป็นเช่นนั้นก็สามารถที่จะตัดสินได้ว่า เขาคือผู้ปฏิเสธ (อยู่ในสถานะที่ไม่ใช่มุสลิม

 

          สำหรับการลงโทษบุคคลใดตามกฏที่ว่าด้วยกับการลงโทษจะไม่สามารตัดสินได้ด้วยกับหลักฐานที่มีความคลุมเครือ จำเป็นต้องมีหลักฐานที่ชัดเจน ปราศจากความสงสัยและเคลือบแคลง หากผู้พิพากษาหรือผู้รู้ท่านใด เกิดความสงสัยลังเลใจ หรือผู้วินิจฉัยท่านใด เกิดความสงสัย ก็ไม่สามารถที่จะไปตัดสินใครว่าเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาได้ และก็ไม่สามารถที่จะไปตัดสินลงโทษผู้ใดได้ 

 

          ดังนั้นการที่คนคนหนึ่งไม่สามารถที่จะไปกล่าวถึงพี่น้องของเขาว่าผิดประเวณี หรือ กล่าวหาว่าเป็นขโมย อันเนื่องจาการคาดเดาไม่แน่ใจ แล้วเราจะไปกล่าวหาพี่น้องเขาเราว่าเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาได้อย่างไรกัน เพราะการกล่าวเช่นนั้น ก็คือ การตัดสินให้พี่น้องของเขาออกไปจากศาสนาอิสลามด้วยแค่เพียงสงสัยกระนั้นหรือ 

 

          ดังนั้นใครที่ได้เข้ามาสู่อิสลามด้วยกับความหลักฐานที่ชัดเจน และการที่อิสลามได้หมดไปจากตัวเขาก็ต้องอาศัยด้วยกับหลักฐานที่มั่นใจได้ด้วยเช่นกัน หรือด้วยกับหลักฐานที่มีน้ำหนักกว่า

 

          ท่านเชคอับดุลลอฮฺ อิบนู ญิบรีลได้กล่าวว่า ท่านได้พูดไว้ในการอธิบาย คำพูดของท่านชัยคุลอิสลาม อิบนูตัยมียะห์ ในเรื่องหลักความเชื่ออัลวาซีตียะห์ 

 

          คนที่เป็นผู้ฝ่าฝืนต่ออัลลอฮฺ นั้น การฝ่าฝืนนั้นไม่ได้ทำให้พวกเขาออกจากอิสลาม และไม่ได้ทำให้พวกเขาอยู่ในรกตลอดกาล เช่นเดียวกัน และผู้ที่ทำบาปใหญ่นั้นไม่ถือว่าเขาหมดสภาพจากการเป็นมุสลิม และไม่ถึงขั้นทำให้เขาต้องกลายเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา และการปฏิบัติต่อเขานั้น ก็ถือว่ายังเป็นการปฏิบัติในฐานะที่เขาเป็นมุสลิมอยู่ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกความรักระหว่างกัน และเช่นเดียวกันทรัพย์สินเลือดเนื้อของเขานั้นก็เป็นที่ต้องห้าม 

         และการที่พวกเขาไปทำสิ่งที่เป็นการฝ่าฝืนนั้น เราไม่สามารถที่จะไปตัดสินเขาว่าเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธาได้ นี่คือข้อตัดสินเกี่ยวกับเขาในโลกนี้ สำหรับการตัดสินพิพากษาเขาในโลกหน้านั้นเขาอยู่กับความประสงค์ของอัลลอฮฺ หากพระองค์มีความประสงค์ที่จะอภัยโทษให้แก่เขา พระองค์ก็จะอภัย และให้เขาเข้าสวรรค์ไป และหากพระองค์ทรงประสงค์ที่จะลงโทษแก่เขา พระองค์ก็จะลงโทษเขาโดยให้เขาเข้านรกตามความผิดที่เขาได้กระทำไว้ หลักฐานในเรื่องนี้ มีหะดีษที่อยู่ในระดับมูตาวาติร (มีผู้รายงานแต่ละสายรายงานจำนวนมาก)

 

عن النبي صلى الله عليه وسلم : أنه لا يتقي في النار أحد من أهل التوحيد وأهل لاإله إلا الله وأنه سيخرج من النار من قال لاإله إلا الله وكان في قلبه مثقال ذرة من إيمان وكذلك الأحاديث التي في شفاعته صلى الله عليه وسلم وأنها نائلة من مات لا يشرك بالله شيئا وأشباه ذلك من الأحاديث )11

 

     มีรายงานจากท่านนบีศอลลัลลอฮูอะลัยอิวะซัลลัม 

         “แท้จริงจะไม่หลงเหลืออยู่ในนรกจากบรรดาผู้ที่เป็นผู้ให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺ และผู้กล่าวปฎิญาณว่า ลาอิลาอาอิลลัลลอฮฺ (ไม่มีพระเจ้าที่ถูกเคารพโดยเที่ยงแท้นอกจากอัลลอฮฺ

         และเขานั้นจะออกจากนรก ใครที่กล่าวว่า ลาอิลาอาอิลลัลลอฮฺ (ไม่มีพระเจ้าที่ถูกเคารพโดยเที่ยงแท้นอกจากอัลลอฮฺ) และหัวใจของเขานั้นมีความศรัทธาแค่เพียงธุลีหนึ่ง" 

         และหะดีษในทำนองนี้เช่นกัน ซึ่งเกี่ยวกับการขอความช่วยเหลือของท่านนบีศอลลัลลอฮูอะลัยอิวะซัลลัม และแท้จริงการขอความช่วยเหลือจะได้รับ สำหรับผู้ที่ได้เสียชีวิตในสภาพที่เขาไม่ได้เอาสิ่งหนึ่งมาเป็นภาคีต่ออัลลอฮฺ และในทำนองดังกล่าว จากหะดีษต่างๆ

 

         ท่านอิบนูตัยมียะห์ได้กล่าวไว้ในหนังสือของท่าน ที่ชื่อ มินฮาจอัซซุนนะห์ อันนะบาวีย์ เล่มที่๖/๔๒๑ สำหรับพวก อัรรอฟิเดาะห์ พวกเขาอ้างว่า แท้จริงพวกเขาปฏิบัติตามอายะห์นี้ คำดำรัสของอัลลอฮฺ

 

لَّا يَتَّخِذِ الْمُؤْمِنُونَ الْكَافِرِينَ أَوْلِيَاءَ مِن دُونِ الْمُؤْمِنِينَ وَمَن يَفْعَلْ ذَٰلِكَ فَلَيْسَ مِنَ اللَّهِ فِي شَيْءٍ إِلَّا أَن تَتَّقُوا مِنْهُمْ تُقَاةً وَيُحَذِّرُكُمُ اللَّهُ نَفْسَهُ [ال عمران : 28 

 

     “ผู้ศรัทธาทั้งหลายนั้น จงอย่าได้ยึดเอาบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาเป็นมิตรอื่นจากบรรดามุมิน และผู้ใดกระทำเช่นนั้น เขาย่อมไม่อยู่ในสิ่งใดที่มาจากอัลลอฮ์ นอกจากพวกเจ้าจะป้องกัน (ให้พ้นอันตราย) จากพวกเขาจริง เท่านั้น

 

         โดยที่พวกเขาอ้างว่า แท้จริงพวกเขา คือบรรดาผู้ศรัทธา ส่วนบรรดาผู้ที่หันหน้าทางกิบละห์อื่นจากพวกเขา คือบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา ทั้งที่ตามทัศนะของพวกเขา การฮุกุมผู้คนทั้งหลายว่าเป็นกาเฟรมีสองทัศนะ แต่ฉันเห็นว่ามีหลายคนจากบรรดาอิหม่ามของพวกเขา ได้กล่าวออกมาอย่างชัดเจนในหนังสือของพวกเขา และในฟาตาวาของเขา ต่อการตัดสินบรรดามุสลิมว่าเป็นกาเฟร และแท้จริงพวกเขา(บรรดามุสลิม) ออกจากศาสนา และบ้านของพวกเขาเป็นบ้านของพวกริดดะห์ และได้ตัดสินว่าน้ำในบ้านนั้นเป็นสิ่งสกปรก 

 

         ท่านด็อกเตอร์ อับดุลลอฮฺ อัลก็อรนีย์ กล่าวว่า เพราะว่าแท้จริง การตัดสินบุคคลอื่นว่า เป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา มันเป็นข้อตัดสินทางบทบัญญัติ ไม่สามารถนำมาตัดสินแบบเจาะจงได้ เว้นแต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนของการตัดสิน ตามบทบัญญัติ และใครที่ได้ถูกยืนยันว่า ตัวของเขานั้นครบเงื่อนไขต่างๆ ก็สามารถตัดสินเขาได้ว่า เขาได้ออกจากศาสนาโดยไม่ต้องลังเล 

 

          เช่น คนหนึ่งไม่สามารถจะตัดสิน ต่อคำพูด หรือ การกระทำ ว่าแท้จริงเขาได้ตั้งภาคี นอกจากต้องมีหลักฐานทางบทบัญญัติ และคนหนึ่งก็ไม่สามารถจะไปตัดสินแก่ใครว่า ได้ออกจากศาสนาโดยการเจาะจง นอกจากจะต้องมีเกณฑ์ตัดสินทางบทบัญญัติ

 

         และสำหรับมุสลิม หากมีสิ่งคลุมเครือที่เป็นการแสดงออกที่เกี่ยวข้องกับ การตั้งภาคี เราก็ไม่สามารถจะตัดสินเขาว่าได้กระทำชีริก เพราะบางครั้งเขาอาจจะมีสิ่งที่อนุโลมได้ และไม่สามารถตัดสินเขาได้ว่าเขาได้ออกจากศาสนา จนกระทั่งครบเงื่อนไข ของการตัดสินบุคคลว่าเป็นผู้ปฏิเสธ และไม่มีปัจจัยมาห้าม และไม่จำเป็นระหว่างความคลุมเครือในการกระทำดังกล่าว ระหว่างการตัดสินเขาว่า เป็นผู้ที่ออกจากศาสนา

 

          หลังจากนั้นท่านได้กล่าวว่า สำหรับชาวอะลุซซุนนะห์ วัลญามาฮะห์ แท้จริงอัลลอฮฺได้ชี้นำพวกเขา สำหรับสิ่งที่พวกเขาขัดแย้งกัน ในสิ่งที่เป็นสัจธรรมด้วยความประสงค์ของอัลลอฮฺ เนื่องจากการยึ่ดมั่นของพวกเขา ต่อหลักฐานตามบทบัญญัติ และการบอกถึงรูปแบบของการกระทำ และการตัดสินผู้ที่กระทำ โดยพวกเขาได้ยึดมั่นต่อหลักฐานทางบทบัญญัติ ในการกำหนดกฎเกณฑ์ของผู้ที่กระทำ และกำหนดสิ่งที่เป็นการปฏิเสธ และสิ่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งการปฏิเสธ และยึดมั่นต่อเงื่อนไขในการกำหนดเงื่อนไข และกำหนดสิ่งที่มาห้ามไม่ให้มีการตัดสินการปฏิเสธแก่บุคคลเป็นการเจาะจง 

          โดยที่พวกเขาจะไม่กล่าว ในเรื่องของการตัดสินบุคคลว่าเป็นผู้ปฏิเสธโดยรวม โดยไม่พิจราณา พิสูจน์เงื่อนไขต่างๆ ในการตัดสินบุคคลว่าเป็นผู้ปฏิเสธ และจะต้องปราศจากข้อห้ามในการตัดสินบุคคลอื่นว่าเป็นผู้ปฏิเสธ ในการเจาะจงตัวบุคคล และไม่มีสิ่งมายืนยันถึงคุณลักษณะของอิสลาม และบุคคลที่แสดงออกซึ่งสิ่งที่ทำให้เขายังอยู่ในอิสลาม หรือภาพลักษณ์ที่เห็นนั้นยังชี้ให้เห็นซึงการยึดมั่นในอิสลาม และเขายังคงอยู่กับสัจธรรมในเรื่องดังกล่าวทั้งหมด และพวกเขา ยังไม่ได้นำตัวบทต่างมาสร้างความสับสนกับตัวบทอีกบางส่วน เหมือนแนวทางของบุคคลที่มีความขัดแย้งกับพวกเขา 

 

     ท่านเชค อิบนู อุซัยมีน ขออัลลอฮฺโปรดเมตตาต่อท่าน จำเป็นก่อนที่จะมีการตัดสิน ที่ว่าด้วยการตัดสินบุคคลว่าเป็นผู้ที่ปฏิเสธ จะต้องพิจารณาสองประการต่อไปนี้ 

 

     ประการที่หนึ่ง มีหลักฐานจากอัลกุรอ่าน และอัซซุนนะห์ ว่าสิ่งนั้นทำให้เป็นผู้ปฏิเสธ เพื่อไม่เป็นการโกหกใส่อัลลอฮฺ

 

     ประการที่สอง ในการทำการตัดสินแก่บุคคลเป็นการเจาะจง จะต้องมีเงื่อนไขในการตัดสินบุคคลว่าเป็นผู้ปฏิเสธอย่างครบถ้วน และต้องปราศจากสิ่งที่มาห้ามมิให้ตัดสินบุคคลว่าเป็นผู้ปฏิเสธ

 

         และส่วนหนึ่งจากเงื่อนไขที่มีความสำคัญ บุคคลที่เราตัดสินเขาว่า เขาเป็นผู้ปฏิเสธ เขาทราบดีว่าในการฝ่าฝืนของเขานั้น จะทำให้เขากลายเป็นผู้ที่ปฏิเสธ เนื่องจากคำดำรัสของอัลลอฮฺ ผู้ทรงสูงส่ง 

 

وَمَن يُشَاقِقِ الرَّسُولَ مِن بَعْدِ مَا تَبَيَّنَ لَهُ الْهُدَىٰ وَيَتَّبِعْ غَيْرَ سَبِيلِ الْمُؤْمِنِينَ نُوَلِّهِ مَا تَوَلَّىٰ وَنُصْلِهِ جَهَنَّمَ ۖ وَسَاءَتْ مَصِيرًا (115)

 

     “และผู้ใดที่ฝ่าฝืนร่อซูล หลังจากที่คำแนะนำอันถูกต้องได้ประจักษ์แก่เขาแล้ว และเขายังปฏิบัติตามที่มิใช่ทางของบรรดาผู้ศรัทธา(*1*)นั้น เราก็จะให้เขาหันไปตามที่เขาได้หันไป และเราจะให้เขาเข้านรกญะฮันนัม และมันเป็นกลับอันชั่วร้าย

 

         ดังนั้นเงื่อนไขในการลงโทษด้วยนรก ก็คือมีการฝ่าฝืนต่ออัรเราะสูล หลังจากที่ทางนำนั้นได้ชัดเจนแก่เขาแล้ว และสิ่งที่มาห้ามมิให้ตัดสินบุคคลว่าเขาคือผู้ปฏิเสธ คำดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า 

 

: مَن كَفَرَ بِاللَّهِ مِن بَعْدِ إِيمَانِهِ إِلَّا مَنْ أُكْرِهَ وَقَلْبُهُ مُطْمَئِنٌّ بِالْإِيمَانِ وَلَٰكِن مَّن شَرَحَ بِالْكُفْرِ صَدْرًا فَعَلَيْهِمْ غَضَبٌ مِّنَ اللَّهِ وَلَهُمْ عَذَابٌ عَظِيمٌ (106

 

     “ผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮ์หลังจากที่เขาได้รับศรัทธาแล้ว(เขาจะได้รับความกริ้วจากอัลลอฮ์) เว้นแต่ผู้ที่ถูกบังคับ ทั้งๆ ที่หัวใจของเขาเปี่ยมไปด้วยศรัทธา แต่ผู้ใดเปิดหัวอกของเขาด้วยการปฏิเสธศรัทธา พวกเขาก็จะได้รับความกริ้วจากอัลลอฮ์และสำหรับพวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างมหันต์

 

          และส่วนหนึ่งที่มาห้ามไม่ให้ตัดสินบุคคลว่าเป็นผู้ปฏิเสธ การที่เขาไม่มีสติ เกิดความสับสน และไม่เขาไม่รู้ว่าพูดอะไรไป เนื่องจากความดีใจสุดขีด หรือ อาจจะเพราะความเศร้าใจ หรือเพราะความโกรธ หรือกลัว และในทำนองดังกล่าว 

          เนื่องด้วยคำดำรัสของอัลลอฮฺผู้ทรงสูงส่ง 

 

وَلَيْسَ عَلَيْكُمْ جُنَاحٌ فِيمَا أَخْطَأْتُم بِهِ وَلَٰكِن مَّا تَعَمَّدَتْ قُلُوبُكُمْ ۚ وَكَانَ اللَّهُ غَفُورًا رَّحِيمًا (5)

     “และไม่เป็นที่น่าตำหนิแก่พวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้าผิดพลาดในเรื่องนั้น แต่สิ่งที่จิตใจของพวกเจ้ามีความมุ่งหมายต่างหาก และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ

(ซูเราะฮฺ อัลอะหฺซาบ (Al-Ahzab)

 

وفي صحيح عن أنس بن مالك رضي الله عنه أن النبي صلى الله عليه وسلم قال 

لَلَّهُ أَشَدُّ فَرَحًا بِتَوْبَةِ عَبْدِهِ حِينَ يَتُوبُ إِلَيْهِ مِنْ أَحَدِكُمْ كَانَ عَلَى رَاحِلَتِهِ بِأَرْضِ ، فَلَاةٍ فَانْفَلَتَتْ مِنْهُ وَعَلَيْهَا طَعَامُهُ وَشَرَابُهُ ، فَأَيِسَ مِنْهَا ، فَأَتَى شَجَرَةً فَاضْطَجَعَ فِي ظِلِّهَا قَدْ أَيِسَ مِنْ رَاحِلَتِهِ فَبَيْنَا هُوَ كَذَلِكَ ، إِذَا هُوَ بِهَا قَائِمَةً عِنْدَهُ فَأَخَذَ بِخِطَامِهَا " ، ثُمَّ قَالَ : " مِنْ شِدَّةِ الْفَرَحِ اللَّهُمَّ أَنْتَ عَبْدِي وَأَنَا رَبُّكَ أَخْطَأَ مِنْ شِدَّةِ الْفَرَحِ "

 

          ในหนังสือซอเอียะมุสลิม มีรายงานจากอนัส รอฎิยัลลอฮูอันฮู แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮูอะลัยอิวะสัลลัม ได้กล่าวว่า 

     “สำหรับอัลลอฮฺแล้วพระองค์จะดีใจอย่างที่สุดกับการสำนึกผิดของบ่าวของพระองค์ ในขณะที่บ่าวของพระองค์ได้สำนึกผิดยังพระองค์

     เป็นการดีใจยิ่งกว่าการดีใจของชายคนหนึ่งในหมู่พวกเจ้าที่เขาได้ขี่อูฐในกลางทะเลทราย โดยที่อูฐตัวนั้นได้หนีจากเขาไปโดยที่บนหลังของมันนั้น มีอาหารละเครื่องดื่มของเขา และเขาก็หมดหวัง(ที่จะให้มันกลับมา) เขาก็ได้ไปพักใต้ต้นไม้โดยล้มตัวลงนอนใต้ร่มเงาต้นไมนั้น ในสภาพที่หมดหวังจากการกลับมาของอูฐ จู่ๆอูฐก็กลับมายืนอยู่ตรงหน้าเขา เขาก็ได้ไปคว้าเชือกของมัน แล้วกล่าวขึ้นว่า ด้วยความดีใจสุดขีด โอ้อัลลอฮฺพระองค์คือบ่าวฉัน และฉันคือพระเจ้าของท่าน ความผิดพลาดที่กล่าวออกมาเนื่องจากด้วยความดีใจสุดขีด

 

         และส่วนหนึ่งจากปัจจัยที่มาห้ามไม่ให้ตัดสินบุคคลอื่นว่าเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา การกระทำที่เกิดจากความคลุมเครือ การตีความของผู้ที่กระทำสิ่งที่ทำให้เป็นผู้ปฏิเสธ โดยที่เขาเข้าใจว่าสิ่งเขากระทำนั้นคือความถูกต้อง ด้วยเหตุดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นบาปหรือเป็นการฝ่าฝืน ซึงการกระทำนี้มันเข้ารวมอยู่ในคำดำรัสของอัลลอฮฺ ตาอาลาที่ว่า

 

وَلَيْسَ عَلَيْكُمْ جُنَاحٌ فِيمَا أَخْطَأْتُم بِهِ وَلَٰكِن مَّا تَعَمَّدَتْ قُلُوبُكُمْ ۚ

 

     “และไม่เป็นที่น่าตำหนิแก่พวกเจ้าในสิ่งที่พวกเจ้าผิดพลาดในเรื่องนั้น แต่สิ่งที่จิตใจของพวกเจ้ามีความมุ่งหมายต่างหาก

(ซูเราะฮฺ อัลอะซาบ อายะฮฺที่ 5 )

        เนื่องจากความพยายามถึงที่สุดแล้ว และมันก็เข้ารวมในอายะฮฺ ดังคำดำรัสของอัลลอฮฺที่ว่า 

 

لَا يُكَلِّفُ اللَّهُ نَفْسًا إِلَّا وُسْعَهَا ۚ

 

อัลลอฮ์จะไม่ทรงบังคับชีวิตหนึ่งชีวิตใดนอกจากตามความสามารถของชีวิตนั้นเท่านั้น

 

         มีคนถามเชค อุซัยมีน รอฮิมาอุลลอฮฺเช่นเดียวกัน เกี่ยวกับผู้ที่ไม่มีความรู้ในเรื่องการให้เอกภาพต่ออัลลอฮฺ ท่านได้ตอบว่า

 

      “ถือว่าเป็นที่อนุโลมสำหรับความไม่รู้ เป็นสิ่งที่ยืนยันในทุกเรื่องในการถือปฏิบัติศาสนาของบ่าวที่มีต่อพระเจ้าของเขา เนื่องจากอัลลอฮฺ ซุบหานาฮูวาตาอาลา ได้ตรัสไว้ว่า 

 

إِنَّا أَوْحَيْنَا إِلَيْكَ كَمَا أَوْحَيْنَا إِلَىٰ نُوحٍ وَالنَّبِيِّينَ مِن بَعْدِهِ ۚ

 

แท้จริงเราได้มีโองการแก่เจ้า เช่นเดียวกับที่เราได้มีโองการแก่นูฮ์ และบรรดานะบีหลังจากเขา

จนถึงอายะฮฺที่ว่า

 

رُّسُلًا مُّبَشِّرِينَ وَمُنذِرِينَ لِئَلَّا يَكُونَ لِلنَّاسِ عَلَى اللَّهِ حُجَّةٌ بَعْدَ الرُّسُلِ

 

     “คือบรรดาร่อซูลในฐานะผู้แจ้งข่าวดี และในฐานะผู้ตักเตือน เพื่อว่ามนุษย์จะได้ไม่มีหลักฐานใด อ้างแก้ตัวแก่อัลลอฮฺได้ หลังจากบรรดาร่อซูลเหล่านั้น

(อันนิซาฮฺ 163-165)

 

وَمَا كُنَّا مُعَذِّبِينَ حَتَّىٰ نَبْعَثَ رَسُولًا (15)

 

และเรามิเคยลงโทษผู้ใด จนกว่าเราจะแต่งตั้งร่อซูลมา

(อัลอิสรอฮฺ 15 )

 

وَمَا كَانَ اللَّهُ لِيُضِلَّ قَوْمًا بَعْدَ إِذْ هَدَاهُمْ حَتَّىٰ يُبَيِّنَ لَهُم مَّا يَتَّقُونَ

 

     “และอัลลออ์นั้นจะไม่ทรงให้กลุ่มชนใดหลงผิด หลังจากที่พระองค์ได้ทรงชี้ทางที่ถูกต้องให้แก่พวกเขาแล้ว นอกจากจะป็นที่ประจักษ์แก่พวกเขา ซึ่งสิ่งที่พวกเขาจะยำเกรงเท่านั้น

(อัตเตาบะ 115)

 

لقول النبي صلى الله عليه وسلم 

«بما جئت به إلا كان من أصحاب النار والذي نفسي بيده لا يسمع بي واحد من هذه الأمة يهودي ولا نصراني ولم يؤمن

 

     “ขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์ คนหนึ่งคนใดจากประชาชาตินี้ ไม่ว่าจะเป็นยิวหรือ นาซอรอฮฺ เขาไม่ปฏิบัติตามฉัน และไม่ศรัทธาต่อสิ่งที่ฉันได้นำมา เว้นแต่เขาเป็นผู้หนึ่งจากชาวนรก

 

          และตัวบทในลักษณะนี้มีมากมาย ดังนั้นใครที่ไม่รู้เขาจะไม่ถูกเอาโทษเนื่องจากความไม่รู้ของเขา